ติดตามการปักไม้ไผ่ แก้ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ป่าชายเลนบ้านเกาะแมว จ.จันทบุรี

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 20 เมษายน 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจร ติดตามโครงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งด้วยวิธีการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น โดยมีนายปรานต์ ดิลกคุณากุล ผู้อำนวยการกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง พร้อมด้วยนายภุชงค์ สฤษฎีชัยกุล ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) ตลอดจนผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ในสังกัดกรม ทช. ร่วมลงพื้นที่ในครั้งนี้ ณ พื้นที่ป่าชายเลน บ้านเกาะแมว ต.ปากน้ำแหลมสิงห์ อ.แหลมสิงห์ จ.จันทบุรี สำหรับในพื้นที่บ้านเกาะแมวแห่งนี้ กรมทช. ดำเนินการในปี พ.ศ. 2556 ระยะทาง 1,000 เมตร และในปี พ.ศ. 2558 ระยะทาง 2,000 เมตร โดยทช. ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จัดทำโครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศชายฝั่งทะเล (หาดโคลน) ภายหลังการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ท้องที่จังหวัดจันทบุรี ในปี พ.ศ. 2563 โดยศึกษาในพื้นที่ป่าชายเลนบ้านเกาะแมว ซึ่งศึกษาโครงสร้างป่า องค์ประกอบของชนิดไม้ป่าชายเลน ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ไม้ป่าชายเลน […]

Beachlover

April 24, 2023

ติดตามการดักตะกอน สร้างแนวป่าชายเลนอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ติดตาม ตรวจสอบ ผลการดำเนินงานแนวการปักไม้ไผ่ โครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ จ.ปัตตานี ระยะทาง ๘๐๐ เมตร โดยใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อให้ได้ภาพมุมสูง ในพื้นที่ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ผลการสำรวจพบว่า เริ่มมีตะกอนสะสมทั้งด้านหลังและด้านหน้าแนวไม้ไผ่ ซึ่งอาจเป็นผลมากจากตะกอนดินเลนจากปากคลองดีแช และสายคลองขนาดเล็กอื่นๆ ไหลลงสู่อ่าวปัตตานี ซึ่งตะกอนดินเลนส่วนหนึ่งโดนดักด้วยแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ก่อให้เกิดการสะสมตัวของตะกอนดินเลน

Beachlover

June 22, 2022

ประสิทธิภาพยังดี แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นชายฝั่งบางปะกง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดโคลน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นเมื่อปี ๒๕๖๒ บริเวณชายฝั่ง ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๔ กม. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวไม้ไผ่ โดยใ้ช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) รวม ๒๒ ตำแหน่ง ผลการสำรวจพบแนวไม้ไผ่คงเหลือประมาณร้อยละ ๗๐ ประสิทธิภาพของไม้ไผ่ยังคงแข็งแรงดี มีการหักพังเสียหายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากคลื่นลม และพายุ อีกทั้งยังพบพรรณไม้หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น เช่น ต้นแสมทะเล และต้นโกงกาง เป็นต้น

Beachlover

December 12, 2021

ปักแนวไม้ไผ่เพชรบุรีเดินหน้ากว่าครึ่ง พร้อมส่งมอบสิงหาคมนี้

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามความก้าวหน้าการปักแนวไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่ จ.เพชรบุรี ระยะทางการปักไม้ไผ่ตามงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ รวม ๑,๗๕๐ เมตร ในครั้งนี้สามารถปักได้รวม ๘๗๕ เมตร เหลืออีก ๘๗๕ เมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จส่งมอบให้พี่น้องประชาชนชาว จ.เพชรบุรี ได้ภายในเดือนสิงหาคม ๒๕๖๔ ทั้งนี้ แนวไม้ไผ่นอกจากจะมีประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วยเร่งการตกตะกอนเพื่อฟื้นฟูป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่เพื่อเป็นปราการธรรมชาติในการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

Beachlover

August 2, 2021

เพิ่มแนวป้องกัน ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นปากทะเล เพชรบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น พื้นที่ ต.ปากทะเล และ ต.บางแก้ว จ.เพชรบุรี

Beachlover

January 29, 2021

บางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพ

“ทะเลกรุงเทพ” ของจริงอยู่ที่นี่ ไม่ใช่ “สวนสยาม” อย่างที่ใครเค้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด! กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตบางขุนเทียน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ชายฝั่งทะเลถูกกัดกินลึกเข้าไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร กรุงเทพมหานครพยายามต่อสู้กับธรรมชาติโดยการปักเสาไฟฟ้า ปลูกป่าชายเลน ปักไม้ไผ่มาอย่างต่อเนื่อง แม้กิจกรรมหลักจะไม่ได้ใช้งบประมาณประจำปีของกรุงเทพฯ แต่ก็เป็นงบประมาณที่มหาศาลมากจากภาคเอกชนผ่านทางมูลนิธิเพื่อปลูกป่าชายเลน ล่าสุดได้วางแผนใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Breakwater) ท่าเรือ ทางเดินธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงการทั้งหมดนั้นผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนงบก้อนนี้ถูกตีตกไปในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 แต่กรุงเทพมหานครยังคงไม่ลดละความพยายาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการของบประมาณปี 2565 เพื่อการดำเนินโครงการนี้ งบประมาณที่ใช้กว่า 1,400 ล้านบาท นั้น เท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของ 2 กรมรวมกันคือกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ครั้งนี้จะใช้เพื่อป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานครระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร ?!?!?

Beachlover

November 22, 2020

ปลายแหลมตาชี มีอะไร ?

แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย Beach Lover พาชมปลายสุดแหลมตาชีในมุมสูง ซึ่งเผยให้เห็นป่าชายหาด ป่าชายเลน ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งสองฝั่งของปลายแหลม นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี เรื่องราวนี้คงจะได้พิสูจน์โดยใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์กันด้วยหลักเหตุผลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก … รอติดตามต่อไป

Beachlover

September 5, 2020

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางแผน ปักไม้ไผ่ รวม 15.85 กิโลเมตร ปี 2563 [17ก.พ.2563]

ปีนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางแผนปักไม้ไผ่ ความยาวรวม 15.85 กิโลเมตร งบประมาณรวม 63.4 ล้านบาท สำหรับ 4 พื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี จันทบุรี และสมุทรปราการ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยว่า 3 นิ้ว โดยปักตามแบบที่กำหนดนี้ ตกกิโลเมตรละ 4 ล้านบาท เท่าที่เห็นเชิงประจักษ์ยังพบหลายพื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตกทับถมของตะกอนเลนตามที่กรมฯตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์  คำถามสำคัญคือ ได้มีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือไม่อย่างไร เหตุใดจึงมั่นใจได้ว่า ทั้ง 4 โครงการที่กำลังเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2563 นี้จะบรรลุวัตถุประสงค์

Beachlover

February 17, 2020

ป่าชายเลนคลองโคนสมบูรณ์ ชายฝั่งสมดุลตามธรรมชาติ [13ก.พ.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบสถานภาพชายฝั่งในพื้นที่ระบบหาดU-SKM/PBI (เเม่กลอง-บางตะบูน) บริเวณ ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม จนถึง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ผลการสำรวจพบว่าเป็นหาดโคลน ตะกอนที่พบส่วนใหญ่เป็นตะกอนโคลนทะเล จากการสำรวจพบแปลงเลี้ยงหอยบริเวณบ้านคลองช่อง ม.๕ และ ม.๗ ต.คลองโคน รวมถึงพื้นที่ด้านทิศเหนือของคลองบางตะบูนในเขต ต.บางตะบูน สถานภาพชายฝั่งมีสภาพสมดุล ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง ป่าชายเลนสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบ ได้แก่ เเสมขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ รวมทั้งพบฝูงลิงแสม ทั้งนี้ในพื้นที่พบต้นโกงกางที่กำลังเติบโตจำนวนมาก

Beachlover

February 13, 2020