แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

Beachlover

January 31, 2024

คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ

ที่มาข่าว: หนังสือพิมพ์ประจวบโพสต์ คลื่นใหญ่ซัดประจวบฯ ต่อเนื่อง วันที่2 ส่วนหัวหิน กำแพงโรงแรมพังน้ำเต็มฝั่ง​ (วันที่ 18 พ.ย.2566) ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์คลื่นลมในทะเลยังคงรุนแรงต่อเนื่องตลอดแนวชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยเฉพาะตั้งแต่ช่วงเช้าคลื่นจะมีความรุนแรง ซัดเข้าหากชายหาดตลอดเวลา โดยเฉพาะที่ชายหาดหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ และหาดเขาเต่า ไม่มีชายหาดเหลือให้เห็นเนื่องจากคลื่นซัดน้ำทะเลเข้ามาจนถึงแนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรม รีสอร์ท ร้านอาหารตลอดแนว จากเดิมจะมีชายหาดกว้างให้นักท่องเที่ยวได้ลงมาเดิน และชี่ม้าเล่นกัน แต่ตั้งแต่วานนี้ไม่สามารถทำกิจกรรมทางทะเลได้ โดยเฉพาะร้านอาหารชายหาดหัวหิน 22 ต้องเก็บข้าวของและเตียงผ้าใบขึ้นมาจนติดแนวกำแพง ทำให้ไม่สามารถจำหน่ายอาหารให้กับนักท่องเที่ยวได้ ส่วนบรรดาผู้ประการให้ม้าเช่าที่ชายหาดหัวหิน ก็บ่นว่ารายได้ 2 วันนี้ลดลงไปทันที เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวมานั่งม้าขี่ไปตามแนวชายหาด ซึ่งคาดว่าน่าจะเป็นลักษณะเช่นนี้ไปอีก 2-3 วัน มีเพียงนักท่องเที่ยวต่างชาติ และชาวจีนที่ลงมาที่หาดดูคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งกัน อย่างไรก็ตามจากคลื่นที่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างรุนแรงต่อเนื่องส่งผลให้แนวกำแพงกันคลื่นของโรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ หัวหิน พังเสียหายเป็นแนวยาวบางช่วง ส่วนที่เหลือคลื่นได้กัดเซาะเข้าไปใต้ฐานจนมีเศษก้อนหินขนาดใหญ่ เล็กโผล่ขึ้นมาให้เห็น ในขณะเดียวกันพนักงานโรงแรมต้องนำเชือกขาว แดงมากั้นเป็นแนวยาวกันให้นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนในโรงแรม เดินไปบริเวณดังกล่าวเพื่อความปลอดภัย นอกจากนั้นต้นมะพร้าว เสาไฟบริเวณชายหาดได้รับความเสียหาย ต้นมะพร้าวโค่นล้ม ตลอดจนมีเศษไม้ เศษขยะ ต่างๆถูกคลื่นซัดขึ้นมาบริเวณชายหาดตลอดแนวหัวหิน-หาดเขาตะเกียบ ส่วนเรือประมงพื้นที่บ้านกว่า 100 ลำได้นำเรือเข้ามาจอดหลบคลื่นลมในบริเวณคลองเขาตะเกียบ และบริเวณสะพานปลาหัวหิน นายจำนงค์ บุตรสงค์ […]

Beachlover

November 19, 2023

หาดแม่รำพึง ยังสบายดี?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ (https://beachlover.net/ชาวบ้านบางสะพานจี้กรมโยธาฯ-ทบทวนโครงการสร้างเขื่อนกันตลิ่งมูลค่า-79-ล้าน/) ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ (https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง-ประจวบคีรีขันธ์-๙๖๖-เมตร-บนคำถาม/) […]

Beachlover

January 4, 2023

ร้อยเมตรสุดท้ายของชายหาด

พื้นที่นี้ตั้งอยู่ในตําบลสามร้อยยอด อําเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นชายหาดส่วนสุดท้ายที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลก ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี ตลอดระยะทางประมาณ 4,530 เมตร ก่อนถึงชายหาดส่วนสุดท้ายนี้ ไม่หลงเหลือสภาพชายหาดธรรมชาติแล้ว เนื่องจากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง ดําเนินการก่อสร้างโดยสํานักงานโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 ทางทิศใต้ของพื้นที่หาดผืนสุดท้ายนี้ คือเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ และมีการใช้ประโยชน์เป็นชุมชนประมงด้านในคลอง น่าแปลกใจว่า เหตุใดตอนก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงที่ยาวต่อเนื่องมาจากเขากะโหลกเป็นระยะทางกว่า 4.53 กิโลเมตร ในปี 2555 จึงได้เว้นช่วงชายหาดผืนสุดท้ายนี้ไว้ประมาณ 120 เมตร เหตุใดจึงไม่ได้ออกแบบก่อสร้างให้จรดโครงสร้างปากร่องน้ำ นับเป็นโครงการที่น่าตั้งคำถามอยู่ไม่น้อย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 22 ธันวาคม 2565 พบว่า มีกองหินขนาดเล็กวางระเกะระกะบนบางส่วนของชายหาด แต่ยังไม่พบร่องรอยคลื่นกัดเซาะจนถนนได้รับความเสียหาย โดยถนนเส้นนี้วิ่งมาจรดปากคลองเท่านั้น ไม่ได้เป็นเส้นทางหลักเพื่อวิ่งเชื่อมต่อไปยังพื้นที่อื่นแต่อย่างใด ในปี 2565 ท้องถิ่นได้ทำเรื่องร้องขอโครงสร้างป้องกันพื้นที่ชายหาดผืนสุดท้ายนี้ต่อกรมโยธาธิการและผังเมือง คาดเดาได้ว่า กรมจะใช้วิธีคิดแบบเดิมๆคือป้องกันไปเสียให้จบๆ เพราะเหลืออีกแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้น ซึ่งอาจหมายความว่าเราจะได้กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงในรูปแบบเดิมกับที่มีอยู่แล้วกว่า 4.53 กิโลเมตร หากกรมฯปรับเปลี่ยนมุมมองในการมองปัญหาใหม่ อาจคิดได้ว่า เหลือเพียงแค่ร้อยกว่าเมตรเท่านั้นที่เป็นหาดทรายธรรมชาติผืนสุดท้ายของชายหาดที่ยาว 4.65 […]

Beachlover

January 3, 2023

พบโกงกางเทียม บน หาดทราย

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งชนิดหนึ่งที่เรียกขานกันว่า “ซีออส C-Aoss หรือ โกงกางเทียม” (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) ไปบ้างแล้วในโพสเก่าๆ ติดตามได้จาก หาดนางทอง เขาหลัก พังงา Youtube https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg ระเนระนาด @ หาดนางทอง (https://beachlover.net/ระเนระนาด-หาดนางทอง-เขาหลัก/) Beach Lover ได้ลงสำรวจภาคสนาม (21 ธันวาคม 2565) และพบว่ามีความพยายามใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายหาด ณ หาดสามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ จากการเดินเท้าสำรวจไม่พบป้ายระบุว่าหน่วยงานใดเป็นผู้รับผิดชอบ รายละเอียดของโครงสร้าง รวมถึงงบประมาณที่ใช้ พบว่า ตัวแท่งเสาหลักที่ทำจากเนื้อไม้ผสมพลาสติกชนิดพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูง(High Density Polyethylene : HDPE) หรือตัวต้นโกงกางเทียมได้ถูกปักลงบนหาดทรายแล้วจำนวน 4 และ 6 แถว โดยใช้รถเจาะที่จอดอยู่บริเวณใกล้เคียง ส่วนตัวรากไม้เทียมที่มีส่วนผสมของยางพาราธรรมชาติร้อยละ 35 ของส่วนผสมทั้งหมด ยังไม่ถูกประกอบเข้ากับเสาหลัก พบว่าวางใส่ถุงกระสอบขนาดใหญ่อยู่บนชายหาดด้านหลังแท่งเสาหลัก เมื่อเดินเข้าไปใกล้ๆพบว่ามีกลิ่นคล้ายยางรถยนต์ชัดเจนมากจากรากไม้เทียมนี้ ทางทิศใต้ของบริเวณที่คาดว่าเป็นพื้นที่ก่อสร้างนี้มีลักษณะเป็นหาดทรายยาว โดยยังไม่พบโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง และยังไม่พบหลักฐานของการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงด้วยเช่นกัน ส่วนทางทิศเหนือของพื้นที่ก่อสร้างนี้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงใหญ่ สร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองระยะทางประมาณ 1.5 […]

Beachlover

January 1, 2023

กำแพงๆๆ มากองรวมกันตรงนี้

Beach Lover พาชมกำแพงกันคลื่นมาแล้วหลากหลายรูปแบบในหลายพื้นที่ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ครั้งนี้ขอพาชมกำแพงริมทะเล ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อกันเขตที่ดินส่วนติดทะเลของเจ้าของที่ดินเอง ณ ชายหาดหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ หัวหิน เป็นเทศบาลเมืองแห่งหนึ่งในอำเภอหัวหินจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นที่ตั้งของพระราชวังไกลกังวล ศูนย์ราชการอำเภอหรือที่ว่าการอำเภอ ย่านธุรกิจประจำอำเภอหัวหิน และเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวตากอากาศที่สำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทยและระดับโลก นอกจากนี้ เทศบาลเมืองหัวหินยังเป็นเทศบาลที่มีประชากรมากที่สุดในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และในภาคตะวันตกของประเทศไทย (https://th.wikipedia.org/wiki/เทศบาลเมืองหัวหิน) ชายหาดหัวหินเป็นแหล่งท่องเที่ยวพักตากอากาศที่มีชื่อเสียงแห่งแรกของเมืองไทย ด้วยน้ำทะเลใส ทรายสะอาด บรรยากาศดี จึงเป็นที่ใฝ่ฝันและได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวมานาน ทุกยุคทุกสมัย โดยเป็นที่มาของ นวนิยายแและละครหลากเรือง เช่น ปริศนา รวมทั้งยังมีพระราชวังไกลกังวล สำหรับแปรพระราชฐานในฤดูร้อน โดยจุดสังเกตพิเศษ ชาดหาดจะมีเขื่อนหินซีเมนต์ซึ่งถูกก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 ก่อนการเริ่มก่อสร้างพระราชวัง ในรัชกาลที่ 5 และไม่มีถนนเลียบหาด เนื่องจากชายหาดในสมัยโบราณจำเป็นจำต้องให้มีบ้านพักของขุนนางและพระญาติ เพื่อมิให้มีผู้บุกรุกทางชาดหาดและทะเล จึงทำให้ที่ดินในปัจจุบันสามารถมีหาดติดส่วนของที่ดินได้ แต่มิใช่หาดจะเป็นสถานที่ส่วนตัว ยังถูกดูแลโดยส่วนเทศบาล โดยยังมีโรงแรมซึ่งเดิมเป็นของเชื้อพระวงศ์คือ วังจักรพงศ์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าจักรพงศภูวนาถ ปัจจุบันเป็นโรงแรมฮิลตัน หัวหิน และโรงแรมรถไฟ ซึ่งเป็นโรงแรมดั้งเดิมของหัวหิน และยังมีบ้านพักตากอากาศส่วนตัว เช่น บ้านประเสริฐ บ้านสายนัดดา บ้านกิติก้อง บ้านรวมสุข บ้านกินนอน บ้านล่ำซำ บ้านสามสุข บ้านฮุนซุยโห […]

Beachlover

October 29, 2022

ข้อสังเกต 11 ประการ ต่อโครงการกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง บางสะพาน

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดแม่รำพึง บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ไปแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ปาบึกกำลังจะเปลี่ยนหาดe/ โดยในครั้งนั้นได้นำเสนอว่า หาดแม่รำพึงนี้ กำลังจะมีโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในรูปแบบของกำแพงกันคลื่น เจ้าของงานคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษา STS Engineering Consultant จำกัด ศึกษาออกแบบรายละเอียดแล้วเสร็จไปเมื่อปี 2562 โดยในครั้งนั้นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าจะเกิดโครงการกำแพงกันคลื่นขึ้น ณ ตำแหน่งใดของชายหาดเป็นเฟสแรก กรมโยธาฯได้บรรจุงบประมาณเพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึงไว้ในปีงบประมาณ 2564 และต่อเนื่องมาถึงปี 2567 ด้วยงบประมาณรวม 79.078 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างกำแพงกันคลื่นสามรูปแบบบนชายหาดแม่รำพึง ความยาว 805 เมตร (ข้อมูลจากร่างงบประมาณเล่มขาวคาดแดงปี 2566 แต่จากเวทีรับฟังความคิดเห็นมีความยาว 966 เมตร) เมื่อประมาณต้นปี 2565 ได้เกิดกระแส ไม่เห็นด้วยกันโครงการนี้มากขึ้นโดย “กลุ่ม Save หาดแม่รำพึง” ที่เป็นกลุ่มหลักในการเคลื่อนไหวในครั้งนี้ ระบุถึงความไม่จำเป็นในหลายประการรวมถึงข้อห่วงกังวลต่างๆ จากนั้นก็มีการยื่นหนังสือร้องเรียนและขอข้อมูลไปยังหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จนเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ได้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่ชอบธรรมของโครงการนี้อย่างรุนแรงอีกครั้ง สืบเนื่องจากข้อมูลที่ปรากฏในรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นนั้นเป็นการคัดลอกข้อมูลจากจังหวัดสงขลามาใส่ในรายงาน แม้จะเป็นข้อมูลประกอบรายงานในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญนัก แต่ก็เพียงพอที่จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการทำและจัดส่งรายงานนั้นดำเนินการด้วยความไม่รอบคอบ […]

Beachlover

June 22, 2022

กลุ่มคัดค้านเขื่อนกันคลื่นหาดแม่รำพึง แถลงไม่ยอมรับ เวทีประชามติ

ที่มา: https://www.thairath.co.th/ กลุ่มคัดค้านเขื่อนกันคลื่นหาดแม่รำพึงแถลงไม่ยอมรับเวทีรับฟังความเห็น หลังรองผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ ประธานชิงกล่าวปิดเวที เผยมีนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญหลายคนยกมือแสดงความเห็นแต่ถูกปิดกั้น มีการเกณฑ์คนมาร่วมเวที จัดป้ายสนับสนุน และลงคะแนนที่ไม่เป็นธรรม การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นในวันนี้จึงเป็นโมฆะ เตรียมบุกกรมโยธาธิการฯ ให้ยกเลิกโครงการโดยเร็วที่สุด เวลา 14.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน 2565 ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้เป็นประธานเปิดเวทีประชุมรับฟังความเห็นโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลพร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์ พื้นที่ชายฝั่งทะเล หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมโยธาธิการและผังเมือง เจ้าหน้าที่จากสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 จ.เพชรบุรี กลุ่ม Beach for life กลุ่ม Saveหาดแม่รำพึง กลุ่มอนุรักษ์ฯ บ้านกรูด ประชาชนในหมู่ 5 ต.แม่รำพึงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่จะมีการก่อสร้าง และประชาชนทั่วไป เข้าร่วมเวทีกว่า 300 คน บรรยากาศเวทีในช่วงแรกเป็นไปด้วยความเรียบร้อย มีการสลับสับเปลี่ยนการให้ข้อมูลจากทางกรมโยธาธิการฯ และกลุ่มผู้คัดค้านและกลุ่มผู้เห็นด้วยกับการก่อสร้างในการให้ข้อมูลประชาชนที่เข้าร่วมรับฟัง จนกระทั่งเวลาประมาณ 16.40 น. พิธีกรในเวทีได้กล่าวเรียนเชิญ ว่าที่พันตรีอดิศักดิ์ น้อยสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งประธานในพิธีได้กล่าวปิดท้ายเวที […]

Beachlover

June 12, 2022

กมธ.ที่ดินฯ รับหนังสือร้องเรียนโครงการสร้างกำแพงกันคลื่นหาดแม่รำพึง

ที่มา: https://www.facebook.com/TheReportersTH/ วันนี้ (11 พ.ค. 65) นายนิติพล ผิวเหมาะ โฆษกคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือจากนายนราวิชญ์ กิตติพงศ์ธนกิจ ตัวแทนกลุ่ม Save หาดแม่รำพึง เพื่อขอให้ตรวจสอบกรณีการสร้างกำแพงกันคลื่น ความยาว 966 เมตร ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ อ.บางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังยื่นเรื่องต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่อประสานกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้เปิดเผยข้อมูลรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (IEE) ภายใน 15วัน แต่ไม่ได้รับคำตอบ นายนราวิชญ์ ระบุว่าตนเดินทางมายื่นหนังสือต่อ กมธ. ที่ดิน ฯ เพื่อขอให้ตรวจสอบ และยกเลิกโครงการสร้างกำแพงกันคลื่น ของกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งตนมองว่าโครงการนี้ไม่เหมาะสม เนื่องจากเหตุผลที่กรมโยธาฯ ชี้แจงเรื่องการสร้างกำแพงกันคลื่น คือการกัดเซาะของพายุปลาบึกที่เกิดขึ้นเมื่อช่วงปี 2561 แต่ในปัจจุบันพายุปลาบึกได้หายไป และไม่มีการกัดเซาะเพิ่มเติมอีกแล้ว ซึ่งเป็นการกัดเซาะชั่วคราว ไม่ใช่การกัดเซาะถาวร รวมถึงพื้นที่ที่มีการกัดเซาะมีระยะทางเพียงแค่ 100 เมตร แต่โครงการการสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการ มีความยาวถึง 966 เมตร […]

Beachlover

May 11, 2022

เสียงสะท้อนที่หลากหลายต่อกรณีโครงการเขื่อนกันตลิ่ง หาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน

ที่มา: https://www.opt-news.com/ โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล บริเวณหาดแม่รำพึง ต.แม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ของกรมโยธาธิการและผังเมือง งบประมาณประจำปี 2564 ความยาว 900 เมตร มูลค่าการก่อสร้าง 79.94 ล้านบาท ก่อให้เกิดข้อถกเถียงกันเป็นจำนวนมากทั้งจากประชาชนในพื้นที่อำเภอบางสะพาน กลุ่มนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม กลุ่มนักอนุรักษ์ฯ ถึงความจำเป็น และ ผลดี-ผลเสีย หากมีการก่อสร้าง  จุดเริ่มต้นของโครงการฯ เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2559 โดยทาง อบต.แม่รำพึง ได้ทำหนังสือ ที่ ปข.71907/259 ถึงโยธาธิการและผังเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในเรื่อง ขอความอนุเคราะห์สนับสนุนงบประมาณโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง ต.แม่รำพึง จำนวน 2 โครงการ คือ  1. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง และขุดลอกริมคลองบางสะพาน ในพื้นที่ ม.8 ต.แม่รำพึง 2. โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายหาดแม่รำพึง ม.1 – ม.5 ต.แม่รำพึง เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนกว่า 240 ครัวเรือนตลอดแนวชายฝั่งหาดแม่รำพึง […]

Beachlover

May 3, 2022
1 2 4