การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 13 บ้านสวนกง

ทันที่ที่หัวรถเลี้ยวเข้าสู่อาณาเขตของบ้านสวนกง เม็ดทรายตะลึงกับสันทรายชายฝั่งทะเลขนาดมหึมาที่ถูกปกคลุมด้วยต้นสน และป่าหาดชาย “ไม่เคยเห็นที่ไหนมาก่อนเลย สันทรายแบบนี้”  “คนที่นี่เค้าบอกว่าเป็นสันทรายโบราณอายุมากกว่า 6,000 ปีเชียวนา (https://www.facebook.com/lynstheshanghaicafe/videos/567000467580231/) สวยไหมหล่ะ ชั้นกับพี่หยกเคยมาใช้พื้นที่ตรงนี้จัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์บ่อยๆ บรรยากาศมันได้มากๆ” น้ำฝนเล่าพร้อมชี้มือไม้ไปตามตำแหน่งต่างๆบนสันทรายที่เธอเคยมาใช้พื้นที่เพื่อจัดกิจกรรมใต้ทิวสน “นอกจากสวยแล้วมันยังมีคุณค่าอื่นด้วยนะ สันทรายเนี่ย” เม็ดทรายยังไม่ทันอธิบายความรู้ที่ได้ร่ำเรียนมาให้เพื่อนฟังก็มีเด็กสาววัยรุ่นวิ่งตรงมาหาทั้งสามคนที่ยืนอยู่บนตำแหน่งสูงสุดของสันทรายโบราณ “พี่หยก พี่ฝน หวัดดีค่ะ” นั่นคือน้องย๊ะ หรือเจ้าย๊ะที่น้ำฝนกล่าวถึง ลูกสาวชาวประมง เกิดและโตที่นี่ ย๊ะเคยเข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมหลากหลายกิจกรรม รวมถึงเป็นแกนนำในการจัดกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอยู่บ่อยครั้ง เนื่องจากความที่เป็นลูกทะเล และมีบ้านริมทะเล ย๊ะจึงอินกับเรื่องนี้เป็นพิเศษ ย๊ะพาทุกคนเดินเล่นไปบนสันทราย และเดินเลาะริมชายหาดไปดูเรือประมงพื้นบ้านของครอบครัวเธอ พลางอัพเดทประเด็นสิ่งแวดล้อมใหม่ๆกับทั้งสามคน  “ไว้พี่ทรายมาหาย๊ะอีกนะ เมื่อไหร่ก็ได้ที่ต้องการ จะได้พาออกเลไปดำน้ำฟังเสียงปลา” ย๊ะเชิญชวนเม็ดทรายหลังทั้งสองคนได้แลกเปลี่ยนเรื่องราวของทะเลจะนะ และเม็ดทรายได้ประหลาดใจกับทักษะพิเศษในการฟังเสียงปลาของย๊ะที่ถูกถ่ายทอดทางสายเลือดมาจากพ่อของเธอ  “ไว้พี่ต้องไปหาข้อมูลเพิ่มเติมละ ว่า ดูหลำ นี่เค้าฝึกกันยังไง” (https://www.facebook.com/watch/?v=2791732367767865) เม็ดทรายพูดพลางก้าวขึ้นรถพร้อมคนอื่นๆ และอำลาบ้านสวนกงพร้อมคำถามในหัวมากมายว่า ที่แห่งนี้รึที่จะมีการพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือน้ำลึก (https://beachlover.net/สันทราย-สวนกง-ท่าเรือ/ ) (https://properea.com/port-of-songkhla-10-05-2019-10-05-2019/) แล้วสันทรายโบราณ รวมถึงทรัพยากรในทะเลที่อุดมสมบูรณ์จะเปลี่ยนแปลงไปยังไง มันจำเป็นขนาดไหนกัน รถเคลื่อนผ่านสันทรายที่ทอดยาวหลายกิโลเมตรจากบ้านสวนกงเรื่อยมาทางทิศเหนือ ทิวสนบนสันทรายค่อยๆห่างออกและเลือนหายไป ต่างกับเครื่องหมายคำถามมากมายในหัวเม็ดทรายตอนนี้ ที่ยังคงแจ่มชัดและยังไม่จางหายไป

Beachlover

December 20, 2022

ประชุมรับฟังความคิดเห็น หาดบางเสร่ [20 พ.ค.2565]

กรมเจ้าท่า ได้พิจารณาเห็นแล้วว่าสมควรสนับสนุนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการขนส่งทางน้ํา ท่าเรือมาริน่ารองรับการท่องเที่ยว บริเวณหาดบางเสร่ อีกทั้งกรมเจ้าท่าได้รับการร้องเรียนจากประชาชนและผู้ประกอบการในพื้นที่ ชายหาดบางเสร่ในเรื่องปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง จึงเห็นสมควรที่จะดําเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่หาดบางเสร่ อําเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร Click ที่ Download เพื่อนำสู่เอกสารรับฟังความคืดเห็นฉบับเต็ม

Beachlover

May 9, 2022

ทิ้งร้างกลางทะเล กับท่าเทียบเรือเมืองพัทยา

โครงการศูนย์บริการจอดเรือ แหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา สร้างบนผืนน้ำเนื้อที่ 120 ไร่ นับถึงปัจจุบันยังไม่มีการใช้งานตามที่ได้ออกแบบไว้เลยตั้งแต่สร้างแล้วเสร็จ เนื่องจากประสบปัญหาคลื่นที่วิ่งผ่านเข้าด้านในที่จอดเรือมีขนาดใหญ่ จนส่งผลให้ท่าเทียบเรือแบบลอยน้ำเกิดความเสียหายหลุดลอยออกจากตำแหน่งเดิม หลังจากการซ่อมแซมบางส่วน สามารถจอดได้เฉพาะเรือขนาดเล็กเท่านั้น  โครงการนี้ประกอบด้วย การก่อสร้างพื้นที่จัดเก็บเรือริมชายฝั่งทะเลแหลมบาลีฮาย ขนาดพื้นที่ 120 ไร่ มีลักษณะเป็นท่าเทียบเรือแบบลอยน้ำได้ สามารถรองรับเรือขนาดต่ำกว่า 500 ตันกรอส พร้อมยังมีองค์ประกอบอื่นๆเช่น ทุ่นสำหรับยกเรือระบบ Hydro Lift สามารถใช้จอดเรือเร็วได้ 360 ลำ โดยโครงการนี้ไม่เข้าข่ายที่ต้องจัดทำ รายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการนี้จึงจัดทำเฉพาะรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น แล้วเสร็จไปตั้งแต่ มีนาคม 2553 โดยบริษัทเทสโก้ เจ้าของงานคือเมืองพัทยา หากสังเกตจากภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth เริ่มปรากฏหลักฐานว่ามีการพัฒนาท่าเทียบเรือ ณ แหลมบาลีฮาย ในช่วงระหว่างปี 2010-2013 (ไม่มีภาพถ่ายระหว่างนั้น จึงไม่ทราบปีที่แน่นอน) โดยเมืองพัทยามีแผนจะพัฒนาให้เป็นศูนย์จอดเรือเพื่อการนันทนาการขนาดใหญ่ โดยตั้งใจให้เป็น Hub พร้อมระบบเชื่อมต่อ แต่นับตั้งแต่มีการก่อสร้างยังไม่เคยถูกใช้งานเนื่องจากโครงสร้างชำรุดเสียหายตั้งแต่ยังไม่เปิดใช้ เมืองพัทยาเคยตั้งคณะกรรมการสอบหาข้อเท็จจริงเพื่อหาคนรับผิดชอบในเรื่องนี้ แต่เรื่องก็เงียบไปตั้งแต่ปี 2560 หลังจากรัฐได้มีแนวคิดพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) โครงการท่าเรือนี้ได้ถูกนำมาปัดฝุ่นกันอีกรอบ […]

Beachlover

January 8, 2022

ประมงพื้นบ้านนาเกลือค้านแผนการสร้างท่าเทียบเรือ

ที่มา: https://www.facebook.com/STVPattaya/ กลุ่มประมงพื้นบ้านนาเกลือ ค้านแผนการก่อสร้างท่าเทียบเรือประมงตลาดลานโพธิ์ ชี้ไม่เกิดประโยชน์ไม่ตอบโจทย์ต่อวิถีชีวิต หวั่นสูญงบประมาณโดยใช่เหตุ วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ โรงแรม เดอะไซมิทพัทยา จ.ชลบุรี เมืองพัทยา ซึ่งมีแผนดำเนินการโครงการ Neo Pattaya ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาสำรวจออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือและระบบขนส่งทางทะเลรองรับนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในเมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่อง อำเภอบางละมุง จัดประชุมชี้แจงรูปแบบและแผนดำเนินการต่อภาคประชาชนครั้งที่ 1 โดยมีนายสมศักดิ์ สถิตเกษมสานต์ ผู้จัดการโครงการฯ พร้อมด้วย นายกนก เข็มนาค ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ ให้ กับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ตามแผนการจะดำเนิน 4 โครงการ ประกอบด้วย 1.โครงการออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือแหลมไม้รวก (หาดยินยอม) 2.โครงการออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือประมงบริเวณตลาดลานโพธิ์ 3.โครงการออกแบบรายละเอียดเส้นทางเดินชมธรรมชาติตลาดลานโพธิ์-จุดชมทัศนีย ภาพปากคลองนาเกลือและคลองนกยาง (สะพานยาว) 4.โครงการออกแบบรายละเอียดจุดชมทัศนียภาพปากคลองนาเกลือและคลองนกยาง (สะพานยาว) นายสมศักดิ์ สถิตเกษมสานต์ ผู้จัดการโครงการฯ ชี้แจงว่าด้วยเมืองพัทยามีนโยบายจัดทำแผน Neo Pattaya พัทยาโฉมใหม่ใส่ใจไม่ทิ้งกัน โดยมีแนวคิดในการพัฒนา ประกอบด้วย 1.พัฒนาโมโนเรลสายสีเขียวสายสีแดงและสายสีเหลืองเชื่อมต่อสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบราง 2. พัฒนาท่าเทียบเรือเพิ่มโครงข่ายการเดินทางทางน้ำเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มสัดส่วนการเดินทางทางน้ำ […]

Beachlover

June 26, 2021

นักธรณีวิทยาชี้ท่าเรือคลองวาฬงบ 430 ล้านไร้ประโยชน์หลังสร้างทิ้งนาน 15 ปี มีปัญหากัดเซาะชายฝั่ง

ที่มา: https://www.talknewsonline.com/ เมื่อวันที่ 10 มีนาคม นายทิวา ศุภจรรยา ผู้อำนวยการสถาบันถิ่นฐานไทย อดีตนักวิชาการด้านธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อดีตสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) จ.ประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ที่ผ่านมามีหลายหน่วยงานทำการสำรวจท่าเทียบเรือร่องน้ำคลองวาฬ เขตเทศบาลตำบลคลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อหาแนวทางใช้ประโยชน์ หลังจากกรมเจ้าท่าใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 430 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันนานกว่า 15 ปี แต่ยังไม่มีหน่วยงานในท้องถิ่นบริหารจัดการให้มีความคุ้มค่า ล่าสุดจากการสำรวจทางธรณีวิทยาพบว่า ท่าเรือคลองวาฬช่วงน้ำทะเลลดลง เดิมชายหาดเป็นแนวค่อนข้างตรง ต่อมาเมื่อมีการสร้างท่าเรือและเขื่อนกันคลื่นในทะเล ทำให้แนวชายหาดมีความเปลี่ยนแปลง มีการงอกของชายฝั่งและชายหาดบางส่วนถูกน้ำทะเลกัดเซาะ จากการไหลเวียนของน้ำทะเล ทำให้กรมโยธาธิการต้องออกแบบวางแผนใช้งบสร้างเคลื่อนกันคลื่นเพื่อป้องกันความเสียหายในระยะยาวในพื้นที่ชายฝั่ง “การก่อสร้างท่าเรือคลองวาฬถือเป็นตัวอย่างการศึกษาทางวิชาการที่น่าสนใจ หากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ได้ประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้รอบคอบ ก็ไม่ควรสร้างให้สิ้นเปลืองงบประมาณทั้งโครงสร้างคอนกรีต กองหินขนาดใหญ่ในทะเล และการใช้งบรายปีเพื่อขุดลอกทรายที่ตื้นเขินทำให้เรือประมงพาณิชย์ไม่สามารถเข้าจอดเทียบท่าได้ในบางฤดูกาล ดังนั้นกระทรวงคมนาคม กรมเจ้าท่า กรมธนารักษ์ ผู้บริหารควรให้ความสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาทั้งระบบ แม้ว่าจะต้องใช้งบประมาณอีกจำนวนมากเพื่อปรับปรุงท่าเรือ อาคารสำนักงาน และต้องวางแผนเพื่อป้องกันผลกระทบกับชายฝั่ง” นายทิวา กล่าว ขณะที่ประธานสหกรณ์ชาวประมงบ้านคลองวาฬ ระบุว่าท่าเทียบเรือแห่งนี้ปกติควรยื่นออกไปในทะเลอีกราว 100 เมตร ขณะมีการก่อสร้างโครงการนานกว่า 3 […]

Beachlover

March 14, 2021

หาดสุชาดา-แสงจันทร์-ปากน้ำระยอง … ทุกโครงสร้างชายฝั่ง พบได้ที่นี่

หลังจากการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมงานก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกมาบตาพุด ชายหาดฝั่งตะวันออกของท่าเทียบเรือก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป… การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ถือเป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเล ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการคมนาคมและการค้า เพื่อให้เกิดการขยาย ตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยจะกระจายตัวไปในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา เช่น ท่าเรือน้ำลึกสงขลา แหลมฉบัง และมาบตาพุด  ท่าเรือมาบตาพุดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นท่าเรือที่ใช้เวลาศึกษาและก่อสร้างน้อยมาก กล่าวคือ ในปี 2525 ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ในปี 2528 ทำการออกแบบด้านวิศวกรรม  ในปี 2532 เริ่มการก่อสร้างท่าเรือซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2535 และมีเรือเข้าเทียบท่าลำแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2535 (http://www.cuti.chula.ac.th/triresearch/mabtaput/mabtaput.html) ด้วยลักษณะทางสมุทรศาสตร์และสัณฐานชายฝั่ง ทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนที่ขนานกับชายฝั่งทะเล (longshore sediment transport) ในบริเวณมาบตาพุดนี้ จะมีการเคลื่อนที่สุทธิจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกของท่าเทียบเรือ ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อมีการก่อสร้างโครงสร้างชายฝั่งทะเล จะส่งผลให้กระแสน้ำชายฝั่ง (longshore current) มีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คลื่นเมื่อเคลื่อนที่ปะทะโครงสร้างจะเกิดปรากฏการณ์คลื่นหักเห  (refraction) เลี้ยวเบน (diffraction) และสะท้อน (reflection)  ส่งผลให้ชายฝั่งทางด้านท้ายน้ำ หรือส่วนถัดไปจากโครงสร้าง เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง คาดเดาได้ไม่ยากว่า หากมีสิ่งก่อสร้างอย่างการถมทะเลและท่าเทียบเรือน้ำลึกมาบตาพุดยื่นลงไปในทะเลด้วยระยะทาง 3.5 กิโลเมตรนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับชายหาดทิศตะวันออกของท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชายหาดสุชาดาและหาดแสงจันทร์ เรื่อยยาวจากปากคลองตากวนจนถึงปากน้ำระยองระยะทางประมาณ 10.5 กิโลเมตร หลังการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ชายหาดแถบนี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจำเป็นต้องดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมหลากหลายรูปแบบ อันประกอบด้วย […]

Beachlover

October 1, 2020

สภาพชายหาด อ่าวบางละมุง จ.ชลบุรี [10 มี.ค.2563]

ชายหาดแถบอ่าวบางละมุงบริเวณนี้อยู่ถัดจากท่าเรือแหลมฉบังไปทางทิศใต้เพียง 3 กิโลเมตร ซึ่งอาจได้รับผลกระทบจากการต่อขยายท่าเรือเฟสที่ 3 สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือ ไม่มีการศึกษาถึงผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้ปรากฏอยู่ในรายงาน EIA ?!?!

Beachlover

March 12, 2020