ถนนเลียบชายหาด ท่าเรือหน้าทอน เกาะสมุย

เกาะสมุย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นที่รู้จักดีสำหรับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติว่าเป็นเกาะขนาดกลางทางฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่อุดมไปด้วยหาดทรายขาว น้ำทะเลสีสวย ที่พักและอาหารก็มีหลากหลายให้เลือกตามความสามารถในการจ่ายเงิน การเดินทางไปยังเกาะสมุยสามารถไปได้ในสองช่องทางหลักคือ เดินทางโดยเครื่องบินตรงลงสนามบินเกาะสมุย สำหรับสายการบินตรงของประเทศไทย ณ ปัจจุบัน มีเพียง Bangkok Airways เพียงสายการบินเดียว (ในอดีตมีสายการบินไทยด้วย) และอีกช่องทางหนึ่งคือการนั่งรถมาต่อเรือ Ferry ที่ท่าเรือดอนสัก โดยมีสองบริษัทใหญ่ให้บริการอยู่คือ Seatran Ferry และ Racha Ferry ในราคาค่าโดยสารที่เท่ากัน โดยสามารถนำรถทุกขนาดขึ้นเรือได้ สำหรับท่าเรือฝั่งเกาะสมุย หากเป็นบริษัท Racha Ferry จะขึ้นที่ท่าเรือแถวลิปะน้อย ซึ่งอยู่ห่างจากสิ่งอำนวยความสะดวกของนักท่องเที่ยวพอสมควร แต่หากเป็น Seatran Ferry จะขึ้นที่ท่าเรือหน้าทอน ซึ่งอยู่ในแหล่งที่เป็นใจกลางของเกาะ คือรายล้อมไปด้วยสถานที่ราชการ ร้านอาหาร ที่พัก รถเช่า ขนส่งสาธารณะ และชายหาดที่สวย ในระยะเดินได้อย่างสะดวก บริเวณหาดหน้าทอนนี้ อดีตเป็นชายหาดยาวและกว้าง แต่หลังจากที่มีการพัฒนาเมืองและท่าเทียบเรือ มีการตัดถนนประชิดชายหาดมาก แต่เนื่องจากชายหาดแถบนี้ค่อนข้างกว้าง และมีความลาดชันต่ำมาก ยามน้ำลงนั้น ระดับน้ำห่างจากแนวถนนลงไปค่อนข้างมาก ยามน้ำขึ้นแม้ในบางฤดูกาลจะขึ้นถึงขอบถนนส่วนที่ประชิดทะเล แต่ด้วยหาดที่กว้าง […]

Beachlover

September 22, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 7 ถนนเลียบฝั่งปานาเระ

“อ้าว! นี่พี่ก็ขับตาม Google map มานะ ทำไมมันไม่มีทางไปต่อแล้วหล่ะ” รุ่นพี่งุนงงกับถนนที่สิ้นสุดตรงนี้ ทั้งที่ยังปรากฏเส้นทางให้ไปต่อได้ถึงแหลมตาชีใน Google map “เอ…ยังไงกันหล่ะเนี่ย ของหนูก็ยังมีเส้นทางอยู่ในพี่” ดาด้าพูดพลางโชว์หน้าจอระบบนำทางของตัวเอง “ของเราก็เหมือนกับด้าเลย” เม็ดทรายสนับสนุนข้อมูลต่อทันที แท้จริงแล้ว ถนนเส้นที่ทั้งสามคนกำลังงุนงงอยู่นั้น ในอดีตเป็นถนนที่วิ่งเลียบทะเลจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชี แต่หลังจากงานก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำปานาเระแล้วเสร็จ ก็ส่งผลกระทบให้ชายหาดแถบนี้ รวมถึงถนนเส้นนี้ถูกกัดเซาะจนขาดไปในที่สุด (https://beachlover.net/ถนน-ปานาเระ-หายไปไหน/) “มันส่งผลกระทบรุนแรงมากขนาดนี้เลยรึ แบบนี้คุ้มกันไหมกับการตัดสินใจสร้างน่ะ” รุ่นพี่แสดงทัศนะของตัวเองทันทีที่ทั้งสามคนเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการหาข้อมูลผ่าน Website  “นั่นแหล่ะ พี่ว่าไหมว่าเค้าจะต้องสร้างอะไรตรงนี้ต่อไปแน่ๆ ยิ่งมันกัดเซาะแบบถนนหายไปแบบนี้ ยิ่งต้องสร้างถนนใหม่ หรือหาอะไรมาป้องกันแน่นอนเลย” เม็ดทรายพูดพลางเดินถ่าย vdo clip ไปพลาง  “นี่ถ้าเค้าไม่ตัดถนนเลียบทะเลมากขนาดนี้ ก็คงไม่มีปัญหาอะไรเน้อะ มันน่าจะมีกฎหมายเรื่องระยะถอยร่น อะไรประมาณนี้อยู่นะ พอจำได้บ้างตอนอาจารย์ยกตัวอย่างในวิชากฏหมายสิ่งแวดล้อมอ่ะ” ว่าที่นักกฏหมายอย่างดาด้าพูดพลางก้มหน้าก้มตาค้นข้อมูลบางอย่างผ่าน website  (https://beachlover.net/วิชาการ-ระยะถอยร่นชายฝั่งทะเล/) “เข้าใจแล้ว ถ้าเป็นอาคารสิ่งปลูกสร้างถาวรมันจะต้องถอยร่นเข้ามาจากแนวน้ำทะเล 12 เมตร แต่ถ้าเป็นถนนมันยังไม่มีกฎหมายที่บังคับเรื่องนี้” ดาด้าสรุปข้อมูลในเอกสารที่เธอค้นเจอจากหน้าจอให้ทุกคนฟัง (https://beachlover.net/กฎกระทรวง-เกี่ยวกับระยะร่นอาคารจากชายฝั่ง/) “แบบนี้นี่เอง พี่เห็นถนนริมเลแถวบ้านพี่นี่ตัดประชิดทะเลมากๆเลย พอช่วงมรสุมทีนึงนะ อบต. ก็ต้องหางบมาซ่อมถนนเกือบทุกปีเลย” รุ่นพี่นึกภาพถนนริมชายหาดหลายแห่งของนราธิวาสได้  “คราวนี้พวกเราจะเอายังไงต่อดีหล่ะ” “ตะกี้เราผ่านทางเข้าเล็กๆทางซ้ายมือมา […]

Beachlover

November 1, 2022

ถนนขาด หาดสะกอม

หาดสะกอมที่ Beach Lover พาไปชมในวันนี้ หมายถึงหาดสะกอม อ.เทพา จ.สงขลา บริเวณที่เป็นหาดสาธารณะ มีระยะทางตามแนวชายหาดระหว่างหัวแหลมที่ขนาบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของหาดสะกอมประมาณ 1.2 กิโลเมตร เบื้องหน้าของชายหาดห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร คือเกาะขาม หาดสะกอมแห่งนี้มีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว พบว่าถนนเลียบหาดฝั่งทิศตะวันตกจากสามแยกทางเข้าหาดนั้นพังเสียหายตาม Clip VDO https://www.youtube.com/watch?v=x-KN-thBBnI Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้มาแล้วในปี 2557 (2014)โดยพบว่าถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ได้รุนแรงเท่าที่พบเห็นในปัจจุบัน และสืบเนื่องจากพื้นที่หาดสะกอมบริเวณนี้เป็นชายหาดระหว่างหัวแหลมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้จึงไม่น่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายนอกทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของชายหาดสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นยังพบว่ามีตะกอนจำนวนมากไหลล้นข้ามหัวแหลมทางทิศตะวันออกเข้ามาบริเวณชายหาดตามภาพจาก Google Earth จากการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พบร่องรอยของการสร้างรอดักทราย (Groin) ระหว่างปี 2002-2006 (ไม่มีภาพถ่ายระหวางช่วงเวลานี้มาพิสูจน์ว่าสร้างขึ้นปีใด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการตัดถนนเลียบชายหาดนี้แล้ว หลังจากนั้นก็สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแนวของถนนเลียบชายฝั่งเส้นนี้เริ่มขยับเข้าหาทะเลมากขึ้น หมายความว่า เริ่มเกิดการกัดเซาะจนสันทรายและชายหาดด้านหน้าถนนค่อยๆหายไป พร้อมกับพื้นที่ของชายหาดด้านทิศตะวันออกของรอดักทรายเกิดการงอกเงยขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของรอดักทรายนั่นเอง (https://beachlover.net/groin/) จริวอยู่ที่คลื่นใหญ่ลมแรงจากมรสุมและพายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในกรณีคงปฏิเสธได้ยากถึงผลกระทบเชิงประจักษ์จากรอดักทรายเพียง 1 ตัวที่ไม่ทราบทั้งหน่วยงานและช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง หากแม้สาเหตุนั้นเกิดจากพลังของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เราคงต้องเห็นการกัดเซาะในลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งแนวชายหาดแล้ว หากมองให้ลึกลงไปมากกว่าสาเหตุการพังทลายของถนนเลียบชายหาดสะกอม พบว่า ถนนเส้นนี้ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำ […]

Beachlover

October 10, 2022

ถนนเส้นใหม่เลียบหาดปากแตระ ระโนด

ปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา ในอดีตเป็นหาดทรายยาวต่อเนื่อง แต่ปัจจุบันพื้นที่หมู่ 3,4 และ 5 ของปากแตระนี้ เป็นพื้นที่ที่มีงานก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งพร้อมปรับภูมิทัศน์จำนวน 4 โครงการ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2565 รวมความยาวตามแนวชายฝั่ง 2.7085 กิโลเมตร งบประมาณรวมทั้งสิ้น 386.08 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วกำแพงกันคลื่นแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังก่อสร้างอยู่ และจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 นี้ มีราคากิโลเมตรละ 142.54 ล้านบาท !!! อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-หาดปากแตระ/ Beach Lover ได้มีโอกาสลงสำรวจภาคสนามหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าบัดนี้ไม่มีชายหาดให้ลงเหยียบย่ำทรายให้เปียกเปื้อนเท้าอีกแล้ว หาดปากแตระส่วนนี้ถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดและหินเรียง รวมถึงถนนสองเลนริมชายหาด และฟุตบาทกว้างสองฝั่งถนน ก่อสร้างแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่ามีการสร้างทางลาดเพื่อขึ้นลงเรือ แต่ไม่พบการลากเรือขึ้นลงแต่อย่างใดเนื่องจากมีความลาดชันค่อนข้างสูงและช่องเปิดเพื่อลากเรือขึ้นนั้นค่อนข้างแคบ สังเกตจากสภาพแล้วคาดว่าจะไม่เคยมีการใช้งานมาก่อน คำถามที่น่าสนใจคือ อดีตของหาดแถบนี้ไม่เคยมีถนนเลียบชายหาดมาก่อน ระยะต่อมาได้มีการนำดินลูกรังมาถมเพื่อทำเส้นทางสัญจรขนาดเล็กๆสำหรับชาวบ้าน (ไม่ทราบหน่วยงาน) เหตุผลใดจึงมีการขยายขนาดถนนให้มีความกว้างระดับทางหลวงสายหลักพร้อมฟุตบาทถึงสองฝั่งถนนขนาดใหญ่ ยังไม่รวมความกว้างของกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่นี้ที่วางทับลงไปบนชายหาดอีก  หากพื้นที่นี้เกิดการกัดเซาะรุนแรงจริงในระดับที่ต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม และหากวัตถุประสงค์หลักของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นนี้คือป้องกันรักษาพื้นที่ชายฝั่งให้รอดพ้นจากการถูกกัดเซาะรุนแรงนี้ ก็ควรสร้างกำแพงกันคลื่นในขนาดเท่าที่จำเป็นตามวัตถุประสงค์หลัก แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าโครงสร้างนี้มีขนาดที่เกินจำเป็นไปมาก  การสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเมื่อมีเหตุจำเป็นนั้นไม่ผิด ผิดที่มันมีขนาดที่เกินจำเป็นไปมาก และเมื่อเป็นเช่นนั้น มันจะรบกวนกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่งอย่างเกินพอดีเช่นเดียวกัน

Beachlover

December 19, 2021

หาดบางเก่า ปัตตานี สมบูรณ์ประมาณนี้

หาดบางเก่า ตั้งอยู่ในตำบลบางเก่า มีชื่อเรียกเดิมว่า “มืองาแบ” หมายความว่าเนินดินที่ร่องน้ำธรรมชาติอยู่ส่วนกลาง สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะแรกเริ่มนั้นบางเก่าเป็นพื้นที่เป็นป่าโดยธรรมและมีคลองไหลผ่านไปทางทะเลและแต่เดิมนั้นบางเก่าขึ้นอยู่กับตำบลปะเสยะวอ ต่อมาจึงได้แยกออกมาเป็นตำบล “บางเก่า” จนมาถึงปัจจุบัน (ที่มา: https://www.thaitambon.com/tambon/940704) Beach Lover ได้เคยนำเสนอกิจกรรมติดตามสภาพชายหาดโดยเยาวชน ณ หาดบางเก่า จ.ปัตตานี ซึ่งตั้งอยู่ตอนเหนือของปากแม่น้ำสายบุรี ไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว สามารถติดตามได้จาก https://beachlover.net/วัดหาด-บางเก่า-ปัตตานี/ และ https://beachlover.net/เยาวชนวัดหาด-บางเก่า/ Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่ชายหาดบางเก่าในช่วงต้นเดือนสิงหาคมซึ่งเป็นช่วงปลอดมรสุม พบชายหาดกว้าง ยาวต่อเนื่องและไร้ร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งในระดับรุนแรง มีบ้านเรือนและโรงเรือนเก็บอุปกรณ์ประมงตั้งอยู่ในระยะประชิดชายหาดอย่างประปราย พบว่ามีถนนเลียบชายหาดตลอดแนว บางตำแหน่งอยู่ในระยะประชิดชายหาดค่อนข้างมากและมีสภาพค่อนข้างใหม่ แต่ในบางตำแหน่งก็กระเถิบห่างออกไปในระยะปลอดภัย น่าสนใจติดตามว่า ช่วงฤดูมรสุมประจำปี หรือในช่วงที่มีเหตุการณ์พิเศษเช่น พายุซัดฝั่ง ชายหาดแห่งนี้จะมีสภาพเป็นอย่างไร บ้านเรือนประชาชนที่ตั้งอยู่ริมชายหาด และถนนเส้นที่ว่านี้จะยังอยู่รอดปลอดภัยหรือไม่ เราปฎิเสธการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอย่างถนนหนทางได้ยาก ตราบเท่าที่เราต้องการการพัฒนาในพื้นที่ แต่จากบทเรียนที่ผ่านมา ผู้วางผังการพัฒนาเมือง ควรตระหนักถึงธรรมชาติของชายหาดได้แล้วว่า ชายหาดต้องการพื้นที่ “Exercise” เพื่อรองรับคลื่นลมในยามมรสุมและปลอดมรสุมไม่เท่ากัน หากเราไม่ยอมรับและเรียนรู้ร่วมกันในประเด็นนี้ อาจนำพาความเสียหายทั้งชีวิตและทรัพย์สินในระดับที่ผู้กำหนดนโยบายเองก็มิอาจประเมินได้

Beachlover

September 7, 2020