การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 12 เทพา สะกอม

เช้าวันรุ่นขึ้นกระบะสองประตูมาบีบแตรรออยู่หน้าบ้านน้ำฝน พร้อมคำทักทายแบบอิสลาม “อัสซะลามุอะลัยกุม” (https://th.wikipedia.org/wiki/อัสซะลามุอะลัยกุม) น้ำฝนแนะนำเม็ดทรายให้รู้จักหยก นักศึกษาปริญญาโทด้านสิ่งแวดล้อม ม.อ. “หวัดดีค่ะพี่หยก ขอบคุณพี่มากๆเลย ถ้าไม่ได้พี่พวกเราต้องตัวดำก้นพังกันแน่ๆ”  “พี่ทำงานเกี่ยวกับต้นน้ำบนเขา อยากรู้ว่าที่ปลายน้ำที่ออกทะเลมันเป็นยังไง ดีเหมือนกันแหล่ะ ได้เปลี่ยนบรรยากาศบ้าง” ระหว่างทางหาดใหญ่-เทพา ทั้ง 3 คนได้ถกปัญหาสิ่งแวดล้อมกันอย่างสนุกถูกคอ รู้ตัวอีกทีหยกก็พารถมาจอดที่สันทรายขนาดใหญ่กว้างสุดลูกหูลูกตา มีพืชปกคลุมสันทรายนี้อย่างประปราย “โห! กว้างกว่าที่ส่องจาก Google เยอะเลย” เม็ดทรายตื่นเต้นกับภาพชายหาดสุดลูกหูลูกตาเบื้องหน้า ทั้งสามกึ่งวิ่งกึ่งเดินจากถนนดินที่จอดรถไปยังชายหาด ระหว่างทางต้องฝ่าดงหญ้าลูกลมที่มีหนามแหลมคม ซึ่งเป็นพืชพื้นถิ่นที่ขึ้นอยู่บริเวณหาดทรายแห่งนี้มาเนิ่นนานแล้ว (https://www.dmcr.go.th/detailAll/23795/nws/141) “เหนื่อยไม่เบาเลยนะเนี่ย ทำไมหาดตรงนี้มันถึงกว้างขนาดนี้อ่ะ” น้ำฝนถามอย่างประหลาดใจ แม้จะเป็นคนสงขลาแต่ไม่มีโอกาสได้มาเยี่ยมเยือนหาดแถบนี้เลย” “นี่ตกลงใครเป็นคนสงขลากันแน่ แกไม่รู้เลยรึว่าเกิดอะไรขึ้นที่นี่” เม็ดทรายหยอกเพื่อนแรงๆ “เออเน่อะ แต่ไม่เคยมา และถึงมาก็ไม่มีความรู้เรื่องอะไรแบบนี้เลยอ่ะ” น้ำฝนซึ่งไม่มีความรู้มากนักเรื่องชายหาด แต่สนอกสนใจด้านสิ่งแวดล้อมตอบเพื่อน “เห็นกองหินไกลๆตรงโน้นไหม ยาวๆออกไปในทะเลน่ะ เค้าเรียกกันว่า เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ หรือ Jetty” (https://beachlover.net/jetty/) “ยาวมากเลยนะ ลองวัดระยะดูมันมากกว่าครึ่งโลอีก” หยกผู้มีทักษะการค้นข้อมูลมากกว่าน้องๆตามประสานักศึกษาปริญญาโทพูดพลางเอาหน้าจอ Smartphone ที่เปิด Application Google Earth […]

Beachlover

December 13, 2022

ถนนขาด หาดสะกอม

หาดสะกอมที่ Beach Lover พาไปชมในวันนี้ หมายถึงหาดสะกอม อ.เทพา จ.สงขลา บริเวณที่เป็นหาดสาธารณะ มีระยะทางตามแนวชายหาดระหว่างหัวแหลมที่ขนาบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของหาดสะกอมประมาณ 1.2 กิโลเมตร เบื้องหน้าของชายหาดห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร คือเกาะขาม หาดสะกอมแห่งนี้มีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว พบว่าถนนเลียบหาดฝั่งทิศตะวันตกจากสามแยกทางเข้าหาดนั้นพังเสียหายตาม Clip VDO https://www.youtube.com/watch?v=x-KN-thBBnI Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้มาแล้วในปี 2557 (2014)โดยพบว่าถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ได้รุนแรงเท่าที่พบเห็นในปัจจุบัน และสืบเนื่องจากพื้นที่หาดสะกอมบริเวณนี้เป็นชายหาดระหว่างหัวแหลมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้จึงไม่น่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายนอกทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของชายหาดสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นยังพบว่ามีตะกอนจำนวนมากไหลล้นข้ามหัวแหลมทางทิศตะวันออกเข้ามาบริเวณชายหาดตามภาพจาก Google Earth จากการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พบร่องรอยของการสร้างรอดักทราย (Groin) ระหว่างปี 2002-2006 (ไม่มีภาพถ่ายระหวางช่วงเวลานี้มาพิสูจน์ว่าสร้างขึ้นปีใด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการตัดถนนเลียบชายหาดนี้แล้ว หลังจากนั้นก็สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแนวของถนนเลียบชายฝั่งเส้นนี้เริ่มขยับเข้าหาทะเลมากขึ้น หมายความว่า เริ่มเกิดการกัดเซาะจนสันทรายและชายหาดด้านหน้าถนนค่อยๆหายไป พร้อมกับพื้นที่ของชายหาดด้านทิศตะวันออกของรอดักทรายเกิดการงอกเงยขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของรอดักทรายนั่นเอง (https://beachlover.net/groin/) จริวอยู่ที่คลื่นใหญ่ลมแรงจากมรสุมและพายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในกรณีคงปฏิเสธได้ยากถึงผลกระทบเชิงประจักษ์จากรอดักทรายเพียง 1 ตัวที่ไม่ทราบทั้งหน่วยงานและช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง หากแม้สาเหตุนั้นเกิดจากพลังของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เราคงต้องเห็นการกัดเซาะในลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งแนวชายหาดแล้ว หากมองให้ลึกลงไปมากกว่าสาเหตุการพังทลายของถนนเลียบชายหาดสะกอม พบว่า ถนนเส้นนี้ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำ […]

Beachlover

October 10, 2022

สิ้นแล้วหาดสร้อยสวรรค์

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดสร้อยสวรรค์มาแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดสร้อยสวรรค์-ฤาจะเหลือแต่ชื่อ/ ในครั้งนั้นหาดนี้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข วันนี้ Beach Lover ได้ติดตามดูสถานการณ์ของหาดนี้อีกครั้ง พบว่า ที่นั่งของร้านอาหาร ศาลนั่งชมวิวริมทะเล ถนนเส้นเล็กเลียบทะเล ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว (VDO Clip ที่ https://youtu.be/-I9s6CkKvbE) ผู้ประกอบการได้เล่าให้ฟังว่า ศาลาที่เคยอยู่ตรงนี้ไม่ได้พังทลายไปจากคลื่น แต่หน่วยงานเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ที่เข้าไปใช้เนื่องจากเสาต้นด้านนอกสุดถูกกัดเซาะไปมากแล้ว จึงทำการรื้อทิ้ง ส่วนที่เห็นเป็นซากปรักหักพังนี้ เกิดจากคลื่นลมแรง เมื่อสองปีก่อน และต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ Beach Lover เคยสำรวจไว้ในอดีต สำหรับพื้นที่นี้ถือเป็นพื้นที่ค่อนข้างพิเศษเนื่องจากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ.เทพา จ.สงขลา รับผิดชอบโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีระเบียบข้อบังคับในการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่มากกว่าพื้นที่อื่นๆ อาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาแก้ไขจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของระเบียบปฏิบัตินี้ จึงเกิดความล่าช้าตามที่เห็น ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหาดคือโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา (https://beachlover.net/jetty/) แม้จะเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลให้พื้นที่ชายหาดทางทิศเหนือของปากร่องน้ำเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีการก่อสร้าง แต่การกัดเซาะที่ค่อยๆกัดกินพื้นที่อย่างต่อเนื่องแบบโดมิโน่มาทางทิศเหนือนี้ น่าจะเกิดจากความพยายามในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเสียมากกว่า เมื่อพื้นที่ของตนเองถูกกัดเซาะไปจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา จึงพยายามป้องกันพื้นที่ของตนเองเพื่อความอยู่รอด ยิ่งป้องกัน ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับชายหาดทางทิศเหนือของพื้นที่ป้องกัน พื้นที่ถัดไปก็ได้รับผลกระทบจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันต่อเนื่องไปอีก และแน่นอนว่ามันก็จะกระทบพื้นที่ถัดไปทางทิศเหนือ ก่อให้เกิดความพยายามครั้งใหม่เพื่อความอยู่รอดวนซ้ำไปไม่จบสิ้น จริงอยู่ที่ความรุนแรงของธรรมชาตินั้นมากมายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่หากเรายังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ […]

Beachlover

October 8, 2022

ชายฝั่งเทพา ตะกอนทรายคืนหลังมรสุม

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่ ต.เทพา อ.เทพา จ.สงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบ ร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่ง อาจเริ่มต้นจากเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำเทพา (Jetty) เขื่อนกันทรายและคลื่นนอกชายฝั่ง ทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องจากโครงสร้างดังกล่าว อีกทั้งโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งริมและกำแพงกันคลื่นชายฝั่งของผู้ประกอบการภาคเอกชนก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่กระตุ้นทำให้เกิดกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดโครงสร้างอีกด้วย นอกจากนี้ยังพบการสะสมตัวของตะกอนทรายและการฟื้นฟูเนินทรายชายฝั่งในบางพื้นที่

Beachlover

May 1, 2021

สำรวจต่อเนื่อง เก็บข้อมูลกัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง ต.เทพา และ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา มีความยาวชายฝั่งทะเล ๑๕.o๔ กม. ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเล ต.ปากบาง เป็นหาดทรายที่สมดุลตะกอนทรายสะสมมาก และชายฝั่งทะเล ต.เทพา ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง ระยะทางประมาณ ๑.๕๙ กม. ส่งผลกระทบทำให้ต้นไม้ล้มหลายต้น และกล่องกระชุหินพังเสียหายทั้งหมด นอกจากนี้ยังพบโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ เขื่อนกันคลื่นริมชายฝั่ง กำแพงกันคลื่น และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง

Beachlover

January 28, 2021

ใครรุก ใครล้ำ @ เทพา จ.สงขลา

หากใครได้เห็นภาพด้านล่างนี้อาจจะรู้สึกว่ารีสอร์ทริมหาดเทพานี้กำลังรุกล้ำพื้นที่ชายหาด แต่ความเป็นจริงก็คือ ชายฝั่งเทพา จ.สงขลา เกิดการกัดเซาะมาอย่างต่อเนื่องหลังจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา พร้อมเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งอีก 5 ตัว ส่งผลกระทบหนักกับชายหาดด้านทิศเหนือของปากน้ำ เมื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณนี้จาก Google Earth ใน 5 ช่วงเวลา พบว่าเริ่มเห็นการดำเนินการในพื้นที่ด้านหน้าทะเลของรีสอร์ทโดยการถมดิน ไม่แน่ใจว่าเป็นไปเพื่อป้องกันพื้นที่ตนเองช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในปลายปี 2015 หรือเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้ประโยชน์ด้านหน้าชายหาด สังเกตจากวงกลมสีแดงในแต่ละภาพ แสดงตำแหน่งของรีสอร์ท จากภาพมุมสูงที่ถ่ายในช่วง ก.ค.2563 พบกำแพงแสดงขอบเขตพื้นที่สิ้นสุดในแนวเดียวกันกับขอบฝั่งของพื้นที่ผืนถัดไปจากรีสอร์ท ซึ่งอาจจะหมายถึงตำแหน่งของขอบเขตที่ดินด้านหน้าทะเลซึ่งไม่ได้ยื่นล้ำลงไปในทะเลมากเท่ากับพื้นที่ดินถมด้านหน้ารีสอร์ท ” ใครรุกใครล้ำใครกันแน่” เรื่องราวนี้สามารถพิสูจน์กันได้ด้วยหมุดหลักเขตที่ดิน หมุดควบคุมทางน้ำของกรมเจ้าท่า ซึ่งตามปกติแล้ว มักหาไม่ค่อยเจอในพื้นที่แบบนี้ …..

Beachlover

August 8, 2020

ใครรุกใครล้ำใครกันแน่ ?

เหตุเกิด ณ ชายหาดแห่งหนึ่งใกล้ๆกับตลาดบางพังกา ต.สะกอม อ.เทพา จ.สงขลา คาดว่าเป็นการนำดินและหินมาถมเพื่อขยายพื้นที่ด้านหน้าร้านอาหาร โดยไม่น่าจะทำเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เนื่องจากพื้นที่โดยรอบนั้นไม่มีสภาพถูกกัดเซาะ และแนวสันทรายชายหาดทั้งฝั่งทิศเหนือและทิศใต้ของพื้นที่นี้ ล้วนอยู่ในแนวเดียวกัน เว้นเพียงแต่กองหินกองดินที่ถมจนล้ำออกมาหน้าร้านอาหารนี้เท่านั้น [ภาพเมื่อ 30 มิ.ย.2563]

Beachlover

July 1, 2020

พบโลมาเกยตื้น บริเวณหาดเทพา จ.สงขลา [25 ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง รับแจ้งจาก เจ้าหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม พบสัตว์ทะเลเกยตื้นเสียชีวิต บริเวณ ม.๔ ต.ปากบาง อ.เทพา จ.สงขลา ผลการตรวจสอบเป็นโลมาหัวบาตรหลังเรียบ เพศผู้ ขนาดความยาว ๑๕๒ ซม. น้ำหนักประมาณ ๒๕ กก. สภาพเน่า ผิวหนังลอกหลุด คาดว่าเสียชีวิตมาแล้วไม่น้อยกว่า ๕ วัน มีรอยถลอกที่หางและครีบ ผลการชันสูตรเบื้องต้นพบว่า อวัยวะภายในเริ่มเน่าสลาย ทั้งตับ ไต หัวใจ ปอด พบอาหารเล็กน้อยกระเพาะอาหาร เป็นปลาที่ยังไม่ย่อย ๒ ตัว ทั้งนี้ ไม่สามารถระบุสาเหตุการเสียชีวิตได้ จึงเก็บตัวอย่างนำไปวิเคราะห์ DNA เพื่อใช้ศึกษาทางพันธุกรรมต่อไป

Beachlover

January 26, 2020