ไม่หลงเหลือความเป็นชายหาดแล้วที่คลองวาฬ

หาดคลองวาฬ เป็นชายหาดที่ติดกับอ่าวมะนาวมีคลองวาฬเชื่อมต่อกับทะเลสองฝั่งคลองเป็นป่าชายเลน  บริเวณหาดคลองวาฬเป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมง มีความเงียบสงบ ความยาวของหาดประมาณ 4 กม. เป็นชายหาดทรายผสมเลน มีร้านอาหาร ที่พัก   ชุมชนชายฝั่ง  โครงการป้องกันชายฝั่งบริเเวณนี้ในอดีตมีองค์ประกอบคือ (1)  เขื่อนคอนกรีตเสริมเหล็กป้องกันตลิ่งยาว 300  ม. บนชายหาด สร้างเมื่อ ก.ย.2547 (2)  สวนสาธารณะบนชายหาดคลองวาฬ ซึ่งประกอบด้วยลานเอนกประสงค์   ถนนคอนกรีตเสริม  เหล็ก ลานจอดรถ รางระบายน้ำ    ทางดินถมพร้อมเกรดปรับแต่ง   พร้อมปรับภูมิทัศน์ ดำเนินการพร้อมเขื่อนป้องกันตลิ่งเมื่อปี  2547 (3)  เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งแบบหินทิ้งจำนวน 11 ตัว ความยาวตัวละ 50 ม. จำนวน 5 ตัว และยาวตัวละ 100 ม. จำนวน 6 ตัว ตลอดแนวชายฝั่งยาวประมาณ 1.3 ก.ม. สร้างเมื่อปี 2548 แสดงดังรูปที่ 1 เมื่อมีการสร้างกำแพงป้องกันชายฝั่งชายหาดด้านหน้ากำแพงจะค่อยๆหดหายได้ เนื่องมาจากแรงปะทะของคลื่นที่วิ่งเข้ากระทบกำแพงแล้วสะท้อนออก ส่งผลให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงหายออกไปด้านนอกฝั่ง ยังคงเห็นชายหาดโผล่พ้นน้ำบ้างยามน้ำลงบางครั้งเท่านั้น เรือประมงชาวบ้านที่เคยใช้พื้นที่ชายหาดเป็นที่จอดเรือจึงไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้แบบเดิม ในส่วนของเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งนั้น ได้ส่งผลให้คลื่นที่เข้ามาปะทะอ่อนกำลังลงด้านหลังเขื่อนกันคลื่นและเกิดการทับถมของตะกอนทรายด้านหลัง  ซึ่งทำให้ชายหาดระหว่างช่องเปิดของเขื่อนแต่ละตัวนั้นเกิดการกัดเซาะเว้าโค้งเป็นวงเสี้ยวพระจันทร์  พื้นที่ชายหาดด้านหน้าบริเวณที่มีการปรับภูมิทัศน์ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการสร้างกำแพงคอนกรีตป้องกันคลื่นนั้น สามารถมองเห็นหาดได้ยามน้ำลงบางครั้ง การขึ้นลงชายหาดเป็นไปได้ยากยิ่งเพราะต้องปีนข้ามสันและแนวลาดของกำแพงซึ่งอยู่สูงกว่าชายหาดมาก ส่วนในฤดูมรสุมคลื่นที่วิ่งเข้ามาปะทะกำแพงแนวดิ่งส่งผลให้มีน้ำทะเลกระเซ็นข้ามสันกำแพงขึ้นมาบนทางเดินริมกำแพงบ้าง แสดงดังรูปที่ […]

Beachlover

June 17, 2024

วัดขุนสมุทรจีน แผ่นดินล้ำค่าที่กำลังจมน้ำหาย

ที่มา: https://www.facebook.com/themomentumco ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชื่อของ ‘วัดขุนสมุทรจีน’ หรือ ‘วัดขุนสมุทราวาส’ จังหวัดสมุทรปราการ ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง จากการเป็นวัดขนาดใหญ่ริมอ่าวไทยที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะกินพื้นที่บริเวณวัดเข้าไปเป็นจำนวนหลักหลายกิโลเมตร จนกลายเป็นเกาะ และเกิดความกังวลว่า วัดที่สวยงามเงียบสงบริมทะเลแห่งนี้อาจ ‘จม’ ลงในวันใดวันหนึ่งในอนาคต และชาวบ้านในชุมชนบริเวณใกล้เคียงต้องทยอยอพยพออกไปเรื่อยๆ เดิมทีพื้นที่ของวัดขุนสมุทรจีนเป็นแหลมเล็กๆ ยื่นเข้าไปในอ่าวไทย มีเนื้อที่กว่า 76 ไร่ โดยได้รับบริจาคจากชาวบ้านขุนสมุทรจีน และเคยมีที่อยู่อาศัย รวมถึงโรงเรียนตั้งอยู่ แต่เนื่องจากบริเวณชายฝั่งประเทศไทยโดนน้ำทะเลกัดเซาะตามธรรมชาติอยู่แล้ว บวกกับภาวะโลกร้อนที่ทำให้คลื่นแรงขึ้น น้ำทะเลเพิ่มขึ้น จึงทำให้ครั้งหนึ่งพระอุโบสถเก่าแก่ภายในวัดบางส่วนต้องจมอยู่ใต้น้ำในเวลาน้ำขึ้น และสามารถเข้าชมได้เมื่อน้ำลด อย่างไรก็ดี หลังจากทางวัดและชาวบ้านในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยอาศัยเสาไฟฟ้าเก่า ปักเป็นแถวเพื่อสร้างแนวเขื่อนหินป้องกันคลื่นทะเลและดักตะกอน รวมถึงทางวัดได้ยกพื้นให้สูงขึ้นด้วยโครงไม้ และปลูกไม้ป่าชายเลน เพื่อเพิ่มความหนาแน่นให้เป็นธรรมชาติ จึงทำให้วัดแห่งนี้ รวมถึงพระอุโบสถ กลายเป็นสถานที่ทางศาสนาที่มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ เนื่องจากมีร่องรอยของน้ำทะเลจากธรรมชาติที่ประทับอยู่ตามจุดต่างๆ แต่ปัญหายังไม่จบ เนื่องจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะของวัดขุนสมุทรจีนเป็นเรื่องของชายฝั่ง ซึ่งชายฝั่งของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชายหาดโคลน จึงได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลและมีความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ศาสตราจารย์ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับ The Momentum ถึงภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยระบุว่า การกัดเซาะที่บริเวณพื้นที่วัดขุนสมุทรจีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และมีการทดลองติดตั้งเสา […]

Beachlover

March 6, 2022

ประสิทธิภาพยังดี แนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นชายฝั่งบางปะกง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งหาดโคลน จ.ฉะเชิงเทรา ที่ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นเมื่อปี ๒๕๖๒ บริเวณชายฝั่ง ต.บางปะกง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๔ กม. เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแนวไม้ไผ่ โดยใ้ช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) รวม ๒๒ ตำแหน่ง ผลการสำรวจพบแนวไม้ไผ่คงเหลือประมาณร้อยละ ๗๐ ประสิทธิภาพของไม้ไผ่ยังคงแข็งแรงดี มีการหักพังเสียหายเพียงเล็กน้อย เนื่องจากคลื่นลม และพายุ อีกทั้งยังพบพรรณไม้หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น เช่น ต้นแสมทะเล และต้นโกงกาง เป็นต้น

Beachlover

December 12, 2021

กำกับงานปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น เสริมชายฝั่งนครศรีธรรมราช

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒ กรกฎาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมกับกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ติดตามงานปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น ตามโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีการปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่ ต.ปากนคร และ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ระยะที่ ๑ ระยะทาง ๑,๐๐๐ เมตร จากแนวปักไม้ไผ่รวมทั้งโครงการ ๔,๐๐๐ เมตร

Beachlover

July 3, 2021

เพิ่มแนวป้องกัน ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นปากทะเล เพชรบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น พื้นที่ ต.ปากทะเล และ ต.บางแก้ว จ.เพชรบุรี

Beachlover

January 29, 2021

บางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพ

“ทะเลกรุงเทพ” ของจริงอยู่ที่นี่ ไม่ใช่ “สวนสยาม” อย่างที่ใครเค้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด! กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตบางขุนเทียน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ชายฝั่งทะเลถูกกัดกินลึกเข้าไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร กรุงเทพมหานครพยายามต่อสู้กับธรรมชาติโดยการปักเสาไฟฟ้า ปลูกป่าชายเลน ปักไม้ไผ่มาอย่างต่อเนื่อง แม้กิจกรรมหลักจะไม่ได้ใช้งบประมาณประจำปีของกรุงเทพฯ แต่ก็เป็นงบประมาณที่มหาศาลมากจากภาคเอกชนผ่านทางมูลนิธิเพื่อปลูกป่าชายเลน ล่าสุดได้วางแผนใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Breakwater) ท่าเรือ ทางเดินธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงการทั้งหมดนั้นผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนงบก้อนนี้ถูกตีตกไปในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 แต่กรุงเทพมหานครยังคงไม่ลดละความพยายาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการของบประมาณปี 2565 เพื่อการดำเนินโครงการนี้ งบประมาณที่ใช้กว่า 1,400 ล้านบาท นั้น เท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของ 2 กรมรวมกันคือกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ครั้งนี้จะใช้เพื่อป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานครระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร ?!?!?

Beachlover

November 22, 2020

กำแพงกันคลื่นราคา 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร!

จ.สมุทรปราการตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดโคลนมีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 44 กิโลเมตร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เผชิญปัญหาการกัดเซาะเรื่อยมา ในส่วนของเทศบาลตำบลบางปูนั้นมีความยาวชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วย ต.ท้ายบ้าน ต.บางปูใหม่ และ ต.บางปู โดยเกือบทั้งหมดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยการก่อสร้างเขื่อนหินเรียงริมชายฝั่งความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร ภาพด้านล่างฝั่งซ้าย เป็นภาพเมื่อปี 2551 เทศบาลตำบลบางปูได้ดำเนินการปรับปรุงเสริมแนวเขื่อนเรียงหินเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณท้านซอยบางเมฆขาว-บริเวณคลองตำหรุ ส่วนภาพฝั่งขวา คือ สภาพหลังการปรับปรุงเขื่อนเรียงหินเดิมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการเพิ่ม side slope และขยายความกว้างของสันเขื่อน ทำการปูยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตบนแนวสันเขื่อน เพื่อใช้ประโยชน์ในการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน อีกทั้งยังมีการสร้างกำแพงเพื่อเสริมความสูงของเขื่อนเพื่อป้องกันการซัดของคลื่นที่รุนแรงในช่วงมรสุม (ที่มา: เทศบาลตำบลบางปู) ลักษณะของโครงสร้างแบบนี้ หากสร้างในคราวเดียวกัน ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประเมินไว้ว่าใช้งบประมาณ 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งทะเลที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่ Beach Lover เคยสำรวจข้อมูลมีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Beachlover

November 12, 2020