Real Time Kinematic (RTK) กับงานสำรวจชายหาด

เทคโนโลยี Real-Time Kinematic (RTK) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสำรวจชายหาด ด้วยความสามารถในการระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำในระดับเซนติเมตร RTK ช่วยให้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญสามารถเก็บข้อมูลสัณฐานวิทยาของชายหาดได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นระดับความสูงของพื้นทราย ความลาดเอียงของชายหาด และตำแหน่งของแนวชายฝั่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจและบริหารจัดการปัญหาท้าทายที่ชายหาดต้องเผชิญ การสำรวจสัณฐานวิทยาชายหาด: RTK ช่วยให้เราสามารถสร้างแบบจำลองสามมิติของชายหาดได้อย่างละเอียด เผยให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจมองข้ามไปได้ด้วยวิธีการสำรวจแบบเดิม ข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของชายหาดในระยะยาว และวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดตำแหน่งของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือการเติมทรายเพื่อฟื้นฟูชายหาดที่ถูกกัดเซาะ การตรวจวัดการกัดเซาะชายฝั่ง: การกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม RTK ช่วยให้เราสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาดได้อย่างต่อเนื่องและแม่นยำ ทำให้สามารถระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ และดำเนินมาตรการป้องกันได้อย่างทันท่วงที การวางแผนและออกแบบโครงสร้างชายฝั่ง: การออกแบบโครงสร้างชายฝั่ง เช่น กำแพงกันคลื่น หรือรอดักทราย ต้องอาศัยข้อมูลสัณฐานวิทยาชายหาดที่ถูกต้องและแม่นยำ RTK ช่วยให้วิศวกรสามารถออกแบบโครงสร้างที่สอดคล้องกับสภาพของชายหาด และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การติดตามผลกระทบจากโครงการพัฒนาชายฝั่ง: โครงการพัฒนาชายฝั่ง เช่น การสร้างท่าเรือ หรือการถมทะเล อาจส่งผลกระทบต่อชายหาดและระบบนิเวศทางทะเล RTK ช่วยให้เราสามารถติดตามและประเมินผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การปรับปรุงโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Real-Time Kinematic (RTK) เป็นเทคโนโลยีที่ทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้เราสามารถสำรวจและบริหารจัดการชายหาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การใช้ RTK ในงานสำรวจชายหาดช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงพลวัตของชายหาด และนำไปสู่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งอันมีค่าของเรา ถึงแม้ Real-Time Kinematic (RTK)จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ แต่การใช้งานต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในเทคโนโลยี […]

Beachlover

September 13, 2024

วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง โดยใช้ CCTV ได้หรือไม่

การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยใช้ CCTV เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพอย่างยิ่งในการติดตามและประเมินผลกระทบของกระบวนการทางธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อพื้นที่ชายฝั่ง ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีกล้องและซอฟต์แวร์วิเคราะห์ภาพ ทำให้ CCTV กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักวิทยาศาสตร์ นักอนุรักษ์ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ในการทำความเข้าใจและจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนของการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลักการทำงาน: ข้อดีของการใช้ CCTV: ข้อจำกัดของการใช้ CCTV: การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่งโดยใช้ CCTV เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพและคุ้มค่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการศึกษาในระยะยาวเพื่อทำความเข้าใจ และจัดการกับความท้าทายที่ซับซ้อนของพื้นที่ชายฝั่ง หรือการเฝ้าระวังภัยพิบัติ โดยรวมแล้วการใช้ระบบ CCTV ในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาดไม่เพียงช่วยในการทำความเข้าใจ และจัดการกับพลวัตของชายฝั่งเท่านั้น แต่ยังสนับสนุนการพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้าและการจัดการโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน อย่างไรก็ตาม ควรคำนึงถึงข้อจำกัดของวิธีนี้ และอาจต้องใช้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมและแม่นยำยิ่งขึ้น เพื่อทำให้ CCTV มีศักยภาพในการเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการอนุรักษ์และการพัฒนาที่ยั่งยืนของชายฝั่งในอนาคต

Beachlover

September 9, 2024

กรมทะเล ติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่แหลมสิงห์ จันทบุรี

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี ติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่ เตรียมกำหนดเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรา 21 วันที่ 31 สิงหาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลปากน้ำแหลมสิงห์ และตำบลบางกะไชย อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เพื่อติดตามการใช้ประโยชน์และสำรวจสภาพพื้นที่ที่อยู่ในกระบวนการออกกฎกระทรวงกำหนดเป็นเขตพื้นที่ใช้มาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง มาตรา 21 จำนวน 1 ระบบหาด ได้แก่ ระบบหาดหาดแหลมสิงห์ (T1F019) โดยผลการติดตามและสำรวจพบว่า พื้นที่ดังกล่าวมีการสะสมตัวของตะกอน พบการกระจายตัวของป่าชายเลน และมีสภาพชายหาดที่สมดุล สอดคล้องกับการใช้ประโยชน์เพื่อประกอบอาชีพของประชาชนในพื้นที่ ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะนำผลการสำรวจดังกล่าว มาประกอบการประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการด้านการจัดการการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เพื่อดำเนินการออกกฎกระทรวงฯ ต่อไป

Beachlover

August 31, 2024

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย บ้านบ่ออิฐ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) พื้นที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา วันที่ 31 สิงหาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดสะกอม (T6B153) เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) ความยาวตามแนวชายฝั่ง 269 เมตร รูปแบบก้างปลา ใช้ไม้สน (ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2565) ทำการสำรวจรังวัดการเปลี่ยนแปลงชายหาด (Beach Profile) ด้วยระบบ RTK GNSS Network มีแนวสำรวจทั้งหมด 14 แนว ซึ่งเป็นการสำรวจก่อนฤดูมรสุม ผลการสำรวจพบว่า รั้วดักทรายได้รับความเสียหายจากเพรียงทะเลและคลื่นมรสุม ทั้งบริเวณด้านทิศเหนือและทิศใต้ของแนวรั้วซึ่งรั้วที่หักเสียหายกับรั้วที่เหลืออยู่ยังมีประสิทธิภาพในการดักทราย โดยมีตะกอนทรายสะสมตัวหลังแนวรั้วเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ระดับ +1.17 เมตร ความลาดชัน 4 องศา […]

Beachlover

August 31, 2024

พาชมงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได อ่าวบางละมุง

กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว และกำลังดำเนินงานอยู่ บริเวณพื้นที่ของ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง และรอยต่อไปทางทิศใต้ยังศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลกรและสวัสดิการตำรวจ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โครงสร้างที่แล้วเสร็จ รวมถึงโครงสร้างที่กำลังสร้างอยู่นี้ มีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได จากการเดินเท้าสำรวจพบว่าโครงสร้างดังกล่าววางทับลงไปบนชายหาดเกือบทั้งหมด แทบไม่หลงเหลือพื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงแล้ว พร้อมมีการปรับภูมิทัศน์ด้านบน ทำเป็นทางเดินสาธารณะและมีการปลูกต้นไม้ประดับ เท่าที่ทราบ โครงสร้างดังกล่าวเป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนรายละเอียดอื่นๆเช่น งบประมาณ ระยะทาง Beach Lover ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต จะนำมาเสนอในครั้งถัดๆไป

Beachlover

August 11, 2024

สำรวจชายฝั่ง ณ หาดบ้านหัวถนน ตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 28 กรกฎาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่หาดบ้านหัวถนน ตำบลท่ายาง อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร ซึ่งอยู่ในระบบหาดปากน้ำชุมพร (T5F114) ซึ่งเป็นพื้นที่กัดเซาะรุนแรง ตามสถานภาพชายฝั่ง พ.ศ. 2565 จากการสำรวจพบว่า เป็นหาดทรายปนโคลน มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำ (Jetty) ความยาวยื่นออกจากชายฝั่งประมาณ 1,068 เมตร พบร่องรอยการกัดเซาะบริเวณโครงสร้างดังกล่าว มีป่าชายเลนบางส่วนได้รับความเสียหาย เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ (End effect) จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่ปัจจุบันเริ่มมีตะกอนทรายเข้ามาทับถมในพื้นที่ทำให้สามารถเดินลงชายหาดได้ในช่วงน้ำลง ซึ่งจากการสำรวจในครั้งนี้ได้ทำการบันทึกภาพถ่ายทางอากาศโดยอากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicle : UAV ) เพื่อนำไปใช้สำหรับประมวลผลด้วยกระบวนการโฟโตแกรมเมตรี (Photogrammetry) ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะนำข้อมูลจากการสำรวจในครั้งนี้ ใช้ประกอบการวิเคราะห์ และจัดทำแผนการขยายผลการติดตัังรั้วดักทราย (Sand Fence) ซึ่งเป็นแนวทางการแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน (Nature-based Solutions) หรือมาตรการสีเขียว ตามแนวทาง แผนงาน/โครงการ ป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดซาะชายฝั่ง โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว […]

Beachlover

July 31, 2024

วิทยาศาสตร์พลเมืองเพื่อการติดตามชายหาด

พื้นที่ชายฝั่งกำลังเผชิญกับแรงกดดันที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มลพิษ และกิจกรรมของมนุษย์ การติดตามสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการจัดการและการอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพ วิทยาศาสตร์พลเมือง ซึ่งเป็นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ ได้กลายเป็นเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสภาพชายหาด ให้ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการตัดสินใจ และเพิ่มความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาชายฝั่ง ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์พลเมืองสำหรับการติดตามชายหาด: ตัวอย่างโครงการวิทยาศาสตร์พลเมืองสำหรับการติดตามชายหาด: วิทยาศาสตร์ภาคพลเมือง (Citizen Science) มีส่วนช่วยงานเชิงนโยบายในหลายด้าน ดังนี้: ตัวอย่างโครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองที่ช่วยงานเชิงนโยบาย: ความท้าทายและข้อควรพิจารณา: ทิศทางในอนาคต: สรุป: วิทยาศาสตร์พลเมืองได้แสดงให้เห็นถึงศักยภาพในฐานะเครื่องมือที่มีคุณค่าสำหรับการติดตามชายหาด นำเสนอประโยชน์และโอกาสที่หลากหลาย โดยการรับมือกับความท้าทายและยอมรับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์พลเมืองสามารถมีบทบาทสำคัญมากขึ้นในการทำความเข้าใจและปกป้องสภาพแวดล้อมชายฝั่งของเรา วิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองเป็นเครื่องมือที่มีศักยภาพในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดโครงการวิทยาศาสตร์ภาคพลเมืองในประเทศไทย จะเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาสังคมที่ยั่งยืนและมีส่วนร่วมของประชาชน

Beachlover

June 23, 2024

สำรวจการเปลี่ยนแปลงชายหาด อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

ที่มา: https://www.facebook.com/mnpoc.trang3 วันที่ 24 – 31 พฤษภาคม 2567 ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา สำรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด บริเวณอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล จำนวน 2 สถานี ได้แก่ หาดแหลมสน เกาะอาดัง จำนวน 17 แนวสำรวจ และหาดทรายขาว เกาะราวี จำนวน 6 แนวสำรวจ เบื้องต้นพบว่า บริเวณหาดแหลมสน เกาะอาดัง สภาพชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะคงสภาพ พบชายฝั่งถูกกัดเซาะบริเวณฝั่งทิศตะวันตกของแหลมสน เนื่องจากเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากกว่าบริเวณอื่น ๆ บริเวณหาดทรายขาว เกาะราวี สภาพชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะถูกกัดเซาะ โดยเฉพาะบริเวณด้านทิศตะวันออกของหาด พบชายฝั่งคงสภาพบางส่วน บริเวณทิศใต้ของหาดทรายขาว โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป

Beachlover

June 7, 2024

เกาะ “ผีทัก” ณ.ชุมพร

“เกาะพิทักษ์” หรือที่เพี้ยนมาจากชื่อ “เกาะผีทัก” คือเกาะเล็กๆขนาดเดินรอบภายใน 60 นาที อยู่ใกล้ชายฝั่งมาก นั่งเรือหางยาวของชาวบ้านไปเพียงคนละ 30 บาท ด้วยระยะเวลาไม่เกิน 15 นาที เกาะพิทักษ์ ตั้งอยู่บริเวณอ่าวท้องครก ตำบลบางน้ำจืด อำหลังหลังสวน จังหวัดชุมพร อยู่ในชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ห่างจากชายฝั่ง 1 กิโลเมตร  แต่เดิม เกาะพิทักษ์ มีชื่อเรียกว่า เกาะผีทัก เนื่องจากสมัยก่อนมีชาวประมงออกเรือหาปลามาถึงบริเวณ เกาะพิทักษ์ พอมองขึ้นไปบนฝั่งบน เกาะก็พบเงาคนกำลังกวักมือเรียก แต่พอเข้าไปใกล้ ๆ เกาะกลับไม่พบใคร ทำให้ชาวประมงพากันเรียก เกาะแห่งนี้ว่า เกาะผีทัก จวบจนเริ่มมีชาวบ้านขึ้นไปอาศัยอยู่บนเกาะ จึงมีทำการเปลี่ยนชื่อจาก เกาะผีทัก เป็น เกาะพิทักษ์ เพื่อความเป็นสิริมงคล (https://www.chppao.go.th/travel/detail/7) Beach Lover พาเดินชมเกาะพิทักษ์ในหลากหลายมุม โดยทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นโซนที่คลื่นลมสงบกว่า เนื่องจากหันเข้าฝั่งแผ่นดิน มีการสร้างบ้านเรือน รีสอร์ท ร้านอาหาร ยื่นลงมาในทะเลในลักษณะของอาคารไม้โดยมีบางส่วนของอาคารอยู่บนชายหาดซึ่งส่วนมากเป็นทรายทั้งหมด พบไม้ชายเลนประปรายในบางพื้นที่ เมื่อเดินผ่านทางเดินคอนกรีตขนาดไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเกาะ จะพบหาดทรายกระเปาะเล็กและแนวโขดหินกระจายอยู่เต็มพื้นที่ […]

Beachlover

April 30, 2024

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024
1 2 12