ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: การเปลี่ยนแปลงของชายหาด (ตอนที่ 2/4)

วิธีการที่ง่ายและประหยัดที่สุดในยุคนี้ที่จะสามารถศึกษาประวัติการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งได้ในระยะยาวคือการศึกษาจากภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายใช้งานสะดวกโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หากศึกษาจาก Google earth ย้อนหลังไปตั้งแต่ปี 2013 (หรือ พ.ศ.2556) จนถึงปี 2019 (หรือ พ.ศ.2562) ณ พื้นที่ชายหาดมหาราช พบการเปลี่ยนแปลงดังรูปที่ 1 ข้อมูลจากภาพถ่ายดาวเทียมลักษณะนี้ แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องของแนวชายฝั่งที่เป็นแนวน้ำตัดกับทราย ที่จะแปรเปลี่ยนไปตามระดับน้ำขึ้นลง หากเราต้องการกำจัดอิทธิพลเรื่องระดับน้ำแตกต่างกันที่ว่านี้ออกไป นิยามของแนวชายฝั่งอีกตัวหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ แนวพืชขึ้นถาวร (Permanent vegetation line) [ศึกษาเพิ่มเติมจาก https://beachlover.net/shoreline-detection/] เมื่อเรามองภาพรวมของหาดมหาราชทั้งสี่ภาพด้านบนจะพบว่า แนวพืชขึ้นถาวร (แนวขอบของหญ้า ผักบุ้งทะเล หรือต้นสน) นั้นไม่มีร่องรอยการเปลี่ยนแปลงที่จะสามารถบ่งบอกได้ว่าบริเวณนี้เผชิญปัญหากัดเซาะชายฝั่งจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังพบว่ากำแพงกันดินที่ท้องถิ่นเคยสร้างไว้เดิมเพื่อปรับภูมิทัศน์ยังถูกปกคลุมมิดด้วยหญ้าและผักบุ้งทะเล (จากโพสตอนที่ 1/4) นั่นย่อมชี้ให้เห็นว่าชายหาดมีเสถียรภาพต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน เมื่อนำแนวชายฝั่งของแต่ละชุดข้อมูลมาซ้อนทับกันเพื่อวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่าชายหาดมหาราชระยะทางตามแนวชายฝั่ง 1.9 กิโลเมตร มีอัตราการเปลี่ยนแปลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2562 (ค.ศ.2013-2019) แสดงดังกราฟรูปที่ 2 จากรูปที่ 2 พบการกัดเซาะในช่วงเดือนมีนาคมถึงสิงหาคมของปี 2558 (ค.ศ.2015) […]

Beachlover

January 20, 2021

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดมหาราช จ.สงขลา: ความเป็นมา(ตอนที่ 1/4)

หาดมหาราช หาดทรายชายทะเลที่สงบร่มรื่นและมีความเป็นส่วนตัวมาก หาดทรายขาวน้ำไม่ลึกมากสามารถเล่นน้ำได้ มีชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสน มีการจัดแต่งเป็นที่พักผ่อนที่ชมทิวทัศน์ ให้ความสะดวกในการพักผ่อนที่กลมกลืนกับธรรมชาติพอสมควร ด้านหลังแนวหาดเป็นสวนหย่อมและเป็นที่ตั้งของพระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ 5 ประทับยืนหันหน้าออกสู่ทะเล มีที่พักและร้านอาหารให้บริการนักท่องเที่ยว หาดมหาราชยังมีสภาพชายหาดที่ค่อนข้างสมบูรณ์ ไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง สังเกตได้จากพืชที่ขึ้นปกคลุมแสดงให้เห็นถึงความมีเสถียรภาพของชายหาด ชายหาดแห่งนี้เคยมีการสร้างกำแพงกันดินเพื่อปรับภูมิทัศน์ไปแล้วหนึ่งครั้ง (รูปที่ 1) ซึ่งปัจจุบันกำแพงนั้นได้ถูกพืชชายหาดปกคลุมจนเกือบมิด นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ชายหาดแห่งนี้ค่อนข้างเสถียร แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพใดๆ แม้ช่วงที่เกิดพายุซัดฝั่งอย่างพายุปาบึกเมื่อเดือนมกราคม 2562 จากการลงพื้นที่สำรวจก็ไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง มีเพียงทรายที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบนถนนและน้ำที่กระเซ็นข้ามมาด้านในเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ชายหาดมหาราชเริ่มมีเสาเข็มจำนวนมากมาวางริมชายหาด มีการปักหมุดเขตการก่อสร้าง เมื่อเดือน พ.ย.2562 (รูปที่ 2) โดยในช่วงเวลานั้นยังไม่มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ หลังจากนั้นไม่ถึง 1 เดือน ได้มีป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ (รูปที่ 3) มาวางอยู่ริมชายหาดบริเวณหัวมุมทางเลี้ยวโค้งหน้าร้านอาหารพร้อมกับการลงมือเปิดพื้นที่ทำงานบางส่วน รายละเอียดบนป้ายระบุว่ากำลังจะมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยาว 1.102 กิโลเมตร พร้อมปรับภูมิทัศน์โดยทำซุ้มไม้ระแนงอีก 5 แห่ง งบประมาณทั้งสิ้น 167.2 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 2 ปี 1 เดือน คิดเป็น 151.72 ล้านบาท ต่อ […]

Beachlover

January 18, 2021

เร่งช่วยชาวบ้านได้รับผลกระทบคลื่นกัดเซาะ ท่าบอน ระโนด

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/politics/ เมื่อวันที่ 16 ม.ค. นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว คณะทำงาน นายชาตรี ณ ถลาง นายอำเภอระโนด นายปราโมทย์ แสงอรุณ นายก อบต.ท่าบอน นายสมเพียร บุญศิริ นายกเทศมนตรีตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันตรวจพื้นที่ชายทะเลฝั่งอ่าวไทย  ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลื่นกัดเซาะตลิ่ง ทำให้พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ประกอบอาชีพ รวมถึงวัดอู่ตะเภาได้รับความเสียหาย  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม  และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดงบประมาณมาดำเนินการก่อสร้าง เพื่อป้องกันตลิ่งพัง ปรากฏว่ารูปแบบการก่อสร้างมี 3 รูปแบบ 1.คันคอนกรีต 2.คอนกรีตเทราดทับตามแนวราดของชายหาด และ 3.เรียงหินก้อนใหญ่ ผลปรากฏว่าการก่อสร้างในรูปแบบเรียงหินก้อนใหญ่ สามารถป้องกันตลิ่งได้ และตนได้โทรศัพท์คุยกับนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้รับคำตอบว่าจะส่งเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าส่วนภูมิภาคมาตรวจสอบความเสียหายและจะได้จัดสรรงบประมาณมาแก้ไข รวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป

Beachlover

January 18, 2021

ดูกันชัดๆ กัดเซาะ “ชั่วคราว” หรือ “ชั่วโคตร”

Beach Lover ได้เคยนำเสนอประเด็นกัดเซาะชั่วคราวและชั่วโคตรไปแล้ว ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ชายหาดกัดเซาะแบบไหน/ มาครั้งนี้ ขอนำเสนอภาพถ่ายเพื่อย้ำเตือนประเด็นนี้กันอีกรอบ ณ ชายหาดม่วงงาม หาดแก้ว บ่ออิฐ และหาดชิงโค จ.สงขลา “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว ภาพด้านซ้ายมือของชายหาดม่วงงาม ณ ตำแหน่งเดียวกัน เพียงแต่ต่างช่วงเวลากัน แสดงให้เห็นว่า ชายหาดมีความเป็นพลวัต ยามมรสุมชายหาดอาจถูกกัดเซาะไปบ้าง คลื่นขนาดใหญ่วิ่งเข้ามาทักทายถนนให้ชำรุดไปบ้าง แต่ยามปลอดมรสุม คลื่นขนาดเล็กจะหอบเอาทรายขึ้นมาเติมจนเต็ม พืชขึ้นปกคลุมชายหาด ชายหาดกลับมาเสถียรและสมบูรณ์อีกครั้ง ตราบเท่าที่ไม่มีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ “กัดเซาะชั่วโคตร” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบถาวร ภาพด้านขวาของหาดชิงโค บ่ออิฐ และหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท แสดงให้เห็นถึงการกัดเซาะในรูปแบบที่หาดถูกกัดเซาะแบบกัดแล้วไม่คืนสมดุลเดิม ไม่ว่าเวลาจะผ่านไปนานขนาดไหนก็ตาม โดยการกัดเซาะลักษณะนี้มักเกิดขึ้นบริเวณที่มีการแทรกแซงสมดุลชายฝั่งจากกิจกรรมของมนุษย์ ซึ่งในที่นี้คือการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ของทั้งสามพื้นที่ ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือเสียสมดุลและเกิดการกัดเซาะอย่างถาวร “กัดเซาะชั่วคราว” อาจเปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” ได้เมื่อมีการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งตามธรรมชาติ เป็นต้นว่า การสร้างโครงสร้างในทะเลหรือริมทะเล ที่กีดขวางการเคลื่อนตัวของคลื่นกระแสน้ำและตะกอนชายฝั่ง เหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้ชายหาดที่เคย “กัดเซาะชั่วคราว” เปลี่ยนเป็น “กัดเซาะชั่วโคตร” แบบที่มิอาจหวนกลับคืนได้ตราบเท่าที่ปัจจัยแทรกแซงนั้นยังคงดำรงอยู่

Beachlover

January 8, 2021

ชาวท่าบอน อ.ระโนดเดือดร้อนหนัก​ คลื่นพัดถล่มเข้าหาชายฝั่ง​ บ้านพังเสียหาย

ที่มา: https://siamrath.co.th/n/209907 ฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ทะเลมีคลื่นลมแรงซัดเข้าหาฝั่ง ตั้งแต่ช่วงต้นเดือนมกราคมที่ผ่านมา ทำให้พี่น้องประชาชน ใน อ.ระโนด จ.สงขลา ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งทะเลอ่าวได้รับความเดือดร้อน โดยเฉพาะในพื้นที่ ม.3 และ ม.2 ต. ท่าบอน อ.ระโนด ซึ่งตอนนี้ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เนื่องจากคลื่นได้ถล่มเข้าหาชายฝั่งตั่งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ที่ผ่านมา ล่าสุดในวันนี้ 6 มกราคม 2564 ผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ พร้อมด้วย ร.ต.อ. อรุณ สวัสดี ส.ส. เขต 4 สงขลา ไปตรวจสอบสภาพปัญหาบ้านเรือนของชาวบ้านหมู่ที่ 2 และหมู่ที่ 3 ต. ท่าบอน อ.ระโนด จ.สงขลา พบว่า คลื่นลมในทะเลยังแรงคลื่นสูงประมาณ3 เมตร ซัดเข้าใส่ผนังกันคลื่นที่เคยสร้างด้วยคอนกรีต ความยาวกว่า 5 กิโลเมตร จนพังทลาย และกัดเซาะชายฝั่งเข้ามาอย่างรุนแรง จนมาถึงบ้านเรือนประชาชน ซึ่งโดนคลื่นถล่มกัดเซาะเอาดินใต้พื้นออกหมดทำให้บ้านพังและกำแพงแตกร้าว […]

Beachlover

January 7, 2021

” 3 ความต่าง ” ของชายหาดมหาราช ช่วงมรสุม

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดมหาราชไปแล้วในหลายตอน ติดตามได้จาก โพสเดิมๆโดยใช้ icon search มุมขวาบน แล้วพิมพ์คำว่า “หาดมหาราช” ได้เลย กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดริมชายหาดมหาราช จ.สงขลา ระยะที่ 2 ที่กำลังเร่งมือก่อสร้างในช่วงเวลานี้ ได้ก่อสร้างต่อจากโครงสร้างกำแพงกันคลื่นที่มีอยู่เดิมทางทิศใต้ ที่มีความยาว 92 เมตรในรูปแบบที่ใกล้เคียงกัน เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2564 เป็นช่วงที่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้อ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นลมแรง และระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้น จากการสำรวจภาคสนามโดยเครือข่าย Beach for life พบว่า ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงขึ้นกว่าปกติ ชายหาดด้านหน้าหายไป รวมถึงคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนออกไปอย่างปั่นป่วน ยอดน้ำกระเซ็นของปลายคลื่นได้หอบเอาทรายขนาดละเอียดข้ามสันโครงสร้างเข้ามาด้านในบางส่วน เมื่อสำรวจไปทางทิศเหนือห่างจากจุดเดิมไปประมาณ 1.7 กิโลเมตร ในช่วงเวลาเดียวกัน บริเวณที่กำลังมีการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นระยะที่สองของกรมโยธาธิการและผังเมือง พบว่าหลุมบ่อที่เคยขุดไว้เพื่อเปิดหน้าหาดสำหรับงานฐานรากถูกทรายกลบจนหมด (สังเกตจากภาพวันที่ 29 ต.ค.2563 เทียบกับภาพของวันที่ 1 ม.ค.2564) แต่ยังพอหลงเหลือพื้นที่หน้าหาดอยู่บ้างเนื่องจากโครงสร้างในส่วนของขั้นบันไดยังไม่แล้วเสร็จ เช่นเดียวกันกับพื้นที่ส่วนถัดไปที่เป็นตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างระยะที่สองนี้ เป็นชายหาดที่ยังไม่มีโครงสร้าง แต่วางแผนว่าจะสร้างต่อไปในระยะที่สาม พื้นที่ส่วนนี้ยังคงมีพื้นที่หน้าหาดอยู่พอสมควร ซึ่งแตกต่างจากพื้นที่หน้าหาดของกำแพงกันคลื่นระยะที่ 1 […]

Beachlover

January 4, 2021

ภาพเปรียบเทียบวันเวลาเดียวกัน ของชายหาด”มี”และ”ไม่มีโครงสร้าง”

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL/ วันที่ 1 มกราคม 2564 หาดทรายเเก้ว-ชิงโค จ.สงขลา โดยภาพแรก ถ่าย ณ ตำเเหน่งที่มีกำเเพงกันคลื่น เเละภาพที่สองถ่าย ณ ตำแหน่งที่ไม่มีกำเเพงกันคลื่น ภาพที่ 1 หาดที่มีกำเเพงกันคลื่น คลื่นปะทะข้ามกำเเพงกันคลื่นเข้ามา พื้นที่ด้านหลังกำเเพงกันคลื่น น้ำทะเลท่วมขัง ไอน้ำทะเลฟุ้งกระจายเต็มพื้นที่ ภาพที่ 2 เป็นสุดสิ้นสุดกำเเพงกันคลื่น ยังคงมีชายหาดอยู่ หาดทรายค่อยๆซับพลังงานคลื่น

Beachlover

January 2, 2021

ติดตามสถานการณ์กัดเซาะชายฝั่งทะเลสงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ติดตามสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่ง ในพื้นที่ ต.ชุมพล ต.ดีหลวง ต.สนามชัย ต.กระดังงา อ.สทิงพระ และ ต.คลองแดน ต.ท่าบอน ต.ปากแตระ ต.ระวะ ต.วัดสน ต.บ่อตรุ อ.ระโนด จ.สงขลา มีความยาวชายฝั่งทะเลรวม ๕๐.๐๗ กม. ผลการสำรวจเป็นหาดทรายสมดุลมีระยะทางประมาณ ๑๘.๕๑ กม. พื้นที่ปากแม่น้ำ ๐.๐๘ กม. กัดเซาะชายฝั่งปานกลางระยะทางยาว ๐.๑๙ กม. มีโครงสร้างเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางยาว ๓๐.๓๗ กม. ได้แก่ เขื่อนหินทิ้งริมชายฝั่ง หินทิ้งริมชายฝั่ง Elastocoast และกำแพงกันคลื่นคอนกรีตแบบตั้งตรง เนื่องจากปัจจุบันเป็นฤดูมรสุมทำให้โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภท Elastocoast และหินทิ้งริมชายฝั่ง พังเสียหายและชำรุด มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรงบริเวณด้านหลังของโครงสร้าง ระยะทางประมาณ ๑ กม. […]

Beachlover

December 30, 2020

ติดตามโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลสงขลา

ที่มา: Facebook page กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง วันที่ ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง ติดตามสภาพระบบนิเวศชายหาดและสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายบริเวณพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดทรายแก้ว หาดม่วงงาม และหาดมหาราช จ.สงขลา ผลการตรวจสอบที่หาดทรายแก้วยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกทับถมอยู่ใต้ชั้นผิวทรายลึกลงไป ๑๕ ซม. ชั้นเศษหินมีความหนาประมาณ ๑๒ ซม. และพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายน้อยมาก ส่วนพื้นที่หาดม่วงงาม บริเวณหน้าหาดเริ่มมีตะกอนทรายธรรมชาติถูกคลื่นซัดมาทับถมตลอดแนว และจากการเก็บตะกอนดินโดยใช้ท่อเจาะมาวิเคราะห์ไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างแต่สภาพชายหาดทั่วไปยังพบเศษวัสดุก่อสร้างเป็นระยะๆ (เหล็กเสาเข็ม) ส่วนพื้นที่ชายฝั่งในทะเลก็ยังมีกองหินจากการก่อสร้างจมอยู่ใต้น้ำ และเริ่มจะพบจำนวนสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทราย แสดงถึงการเริ่มคืนสภาพระบบนิเวศหาดทรายหลังจากถูกระงับการก่อสร้าง ส่วนพื้นที่ชายหาดมหาราช ยังคงมีงานก่อสร้าง แม้จะไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างปนเปื้อนในระบบนิเวศหาดทรายในพื้นที่ข้างเคียง แต่พบสิ่งมีชีวิตได้น้อยมาก

Beachlover

November 29, 2020

การเปิด-ปิด ของสันทรายปากคลองสำโรง

คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลในเขตเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ทำให้ซึ่งคลองสำโรงนี้มีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ซึ่งเดิมได้ใช้เส้นคลองสายนี้เป็นเส้นทางการค้าขายหรือการเข้ามาของเรือสำเภา เมื่อชุมชนมีมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น ประกอบกับระบบระบายน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นในคลอง อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปากคลองสำโรงฝั่งทะเลอ่าวไทยมักถูกปิดตามธรรมชาติ จากการพัดพาของทรายมาปิดปากคลองในบางฤดูกาล ยิ่งส่งผลให้น้ำในคลองไหลถ่ายเทไม่สะดวก ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งผู้ใช้ประโยชน์จากคลองได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายวาระโอกาส เช่น https://siamrath.co.th/n/161620 และ https://beachlover.net/ชุมชนเก้าแสนเดือดร้อน-ทช-สงขลาเร่งช่วยแก้ปัญหา/ Beach Lover เองก็เคยนำเสนอเรื่องราวนี้ไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/ปากคลองสำโรง-7-ต-ค-2562/ จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ทั้งหมด 28 ช่วงเวลาตั้งแต่ ธันวาคม 2014 ถึง กรกฎาคม 2020 พบว่า ปากคลองสำโรงถูกปิด 18 ครั้ง และเปิด 10 ครั้ง ตลอดระยะเวลาเท่าที่มีข้อมูลกว่า 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติที่กระบวนการชายฝั่งทะเลพัดพาเอาทรายมาทับถมที่ปากคลอง และเกิดจากการเปิดปากร่องน้ำโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อบรรเทาปัญหาให้ชาวบ้านในชุมชน Beach Lover ได้ลงสำรวจปากคลองสำโรงเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 พบว่าปากคลองสำโรงได้ถูกเปิดออก โดยพบกองทรายขนาดใหญ่อยู่ริมชายหาดหน้าชุมชนเก้าเส้ง […]

Beachlover

November 24, 2020
1 5 6 7 10