Elastocoast กับกำแพงกันคลื่น

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (Two-component polyurethane) โดยหินกรวดนี้จะถูกน้ำยาเคลือบเหมือนมี Film บางๆของโพรียูรีเทนมาหุ้ม เมื่อน้ำยานี้แข็งตัว Film บางๆที่เคลือบหินกรวดจะเป็นตัวยึดให้หินทุกก้อนติดกันเฉพาะส่วนที่ contact กัน ซึ่งจะทำให้เกิดช่องว่างระหว่างก้อนกรวดนี้ ส่งผลให้โครงสร้างที่ถูกเททับด้วย Elastocoast มีความพรุนน้ำสูง ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการการรับแรงปะทะและสลายพลังงานคลื่น Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับ Elastocoast ไปแล้ว ติดตามได้จาก https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/ วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท พบว่า มีการใช้ Elastocoast กับพื้นที่ด้านในส่วนถัดจากโครงสร้างหลัก หรือ กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงตลอดทั้งแนว โดยมีระดับอยู่ใกล้เคียงกับสันของกำแพงกันคลื่นพอดี โดยพบว่าพื้นที่ด้านในส่วนถัดจาก Elastocoast เข้ามามีการปูทับด้วยคอนกรีตบล็อคเพื่อเป็นทางเดินเท้า จากการสำรวจพบเศษหินขนาดเล็กที่หลุดล่อนออกจากการเคลือบประสานด้วยน้ำยาอยู่บ้าง โดยยังไม่พบความเสียหายในลักษณะเดียวกันกับพื้นที่อื่นๆที่ใช้ Elastocoast เหมือนกัน อาจเกิดจากการที่พื้นที่อื่นๆได้ใช้ […]

Beachlover

July 7, 2023

กำแพงกระสอบป้องกันแบบชั่วคราว ณ หาดม่วงงาม

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover  เคยพาชมพื้นที่นี้ไปแล้วช่วงก่อนมรสุม ในเวลานั้นพบว่าชุมชนได้เตรียมความพร้อมรับมือกับคลื่นใหญ่ลมแรงในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นมรสุมประจำถิ่นของทุกปีโดยใช้กระสอบทรายขนาดเล็ก ติดตามอ่านได้จากโพส https://beachlover.net/หาดม่วงงาม-เตรียมรับมรสุมแล้ว/ Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม 2566 พบว่ากระสอบทรายที่วางไว้เดิมเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือมรสุม ส่วนมากยังอยู่ในตำแหน่งเดิม และยังคงมีสภาพดี ในขณะที่บางส่วนกระจัดกระจายอยู่บนชายหาดโดยถูกทรายกลบไปบ้างแล้ว นอกจากนั้นยังพบเสาไม้โผล่ขึ้นมาริมชายหาดบางส่วน ไม่แน่ใจว่าสร้างไว้เมื่อใด และพบเศษท่อนไม้ซากไม้บนชายหาดที่เกิดขึ้นคลื่นซัดขึ้นมากองในช่วงมรสุม  เมื่อสำรวจทางทิศใต้ของหมู่ 3 ไม่พบโครงสร้างกระสอบหรือเสาไม้ และไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง พบเพียงผ้าพลาสติกที่ชาวบ้านขึงไว้เพื่อกันทรายและลมพัดเข้าบ้านซึ่งมักพบเห็นเป็นปกติในช่วงมรสุมสำหรับบ้านเรือนที่อยู่ประชิดชายหาด (VDO clip: https://www.youtube.com/watch?v=gYdX-rjOBig) ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า จากเวลานี้ไปน่าจะไม่มีคลื่นและน้ำใหญ่ระดับที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงอีกแล้ว น่าจะหมดช่วงมรสุมแล้ว ที่ผ่านมาสังเกตว่าช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมาค่อนข้างมาล่าช้าและยาวนานกว่าปีก่อน ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใด

Beachlover

April 23, 2023

การเดินทางของเม็ดทราย: ตอนที่ 11 หาดใหญ่

เม็ดทรายไม่ได้รู้ตัวเลยว่ารถตู้ได้พาเธอเดินทางข้ามจากปัตตานีมายังสงขลาเรียบร้อยแล้ว ด้วยสองข้างทางที่เหมือนๆกันหมด บนถนนหมายเลข 43 ที่วิ่งระหว่างปัตตานี-สงขลา ทะเลแรกของสงขลาที่เธอได้ชะเง้อมองผ่านกระจกรถตู้จากที่นั่งด้านขวาคือ หาดทางทิศเหนือของปากร่องน้ำเทพา อ.เทพา เพราะถนนสายหลักที่รถตู้วิ่งนั้นตัดประชิดชายหาดมากๆ เธอจึงได้เห็นภาพชายหาดแถบเทพาแบบเต็มอิ่มยาวๆ “โห! น้ำทะเลสีสวยจัง สวยกว่าที่คิดเยอะเลย” เม็ดทรายพึมพำในใจ ด้วยภาพของชายหาดสงขลาที่เธอเคยได้ฟังจากอาจารย์ของเธอสมัยเรียนตอนปี 3 นั้น ไม่ค่อยมีทะเลหรือหาดแถวไหนที่สวยสะดุดตาสักเท่าไหร่ ครั้นได้เห็นน้ำทะเลสีฟ้าเข้มตัดกับท้องฟ้าสีใส และป่าชายหาดสีเขียวริมทะเลแบบนี้ จึงเป็นภาพที่เกินจินตนาการในหัวไปไม่น้อย ทันทีที่รถตู้จอดที่ตลาดเกษตร ปลายทางของรถตู้เส้นทางปัตตานี-หาดใหญ่ เด็กสาวท่าทางทะมัดทะแมงวิ่งปรี่เข้ามาประชิดตัวรถ “มาจนได้ ดีใจชะมัด” นั่นคือน้ำฝน เพื่อนที่เพิ่งเรียนจบนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) หมาดๆในเวลาใกล้เคียงกับเม็ดทราย น้ำฝนกับเม็ดทรายเคยร่วมกิจกรรมเชิงอนุรักษ์ด้วยกันที่บางแสนเมื่อสองปีก่อน จากนั้นก็ติดต่อกันอยู่เสมอ “ต้องเริ่มจากไก่ทอดหาดใหญ่ ใบเหลียงผัดไข่ ปิดท้ายด้วยร้านน้ำชาตอนค่ำ” น้ำฝนเล่าแผนการพาไปชิมของเธอให้เม็ดทรายฟังตามประสาเจ้าถิ่นทันทีที่กระโดดขึ้นมอเตอร์ไซค์ พาหนะคู่กายเด็ก ม.อ.  “นี่ๆ สนใจแต่เรื่องกินไม่เปลี่ยนเลยนะแก จะไม่ถามสักหน่อยหรือว่า เรามีแผนการอะไรยังไงที่สงขลาเนี่ย” เม็ดทรายแซวขณะที่กระโดดขึ้นซ้อนท้ายและกอดเอวน้ำฝนจนแน่นตามประสาเด็ก กทม ที่ไม่ค่อยคุ้นเคยกับการนั่งซ้อนท้ายมอเตอร์ไซค์บนถนนสายใหญ่ๆแบบนี้  “เออ นั่นดิ ไม่รู้หล่ะ ไปเติมพลังให้ท้องอิ่มก่อน กินไปคุยไปก็ได้นิ” จากนั้นน้ำฝนก็บิดอย่างรวดเร็วมายังร้านน้ำชาเจ้าประจำของเด็ก ม.อ. ที่ร้านน้ำชา เม็ดทรายกางแผนที่ที่พกติดตัวมาให้เพื่อนดูพร้อมชี้โน่นนี่ในแผนที่พร้อมคำอธิบายอย่างละเอียด […]

Beachlover

December 6, 2022

รั้วไม้ เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ?

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของการปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา ไปในโพสก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ และ https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน-ภาคต่อ/) หลังจากการปักรั้วไม้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า กรมเจ้าท่าโดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา ได้แจ้งทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเจ้าของรั้วไม้ดักทรายว่าจะต้องขออนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำกับกรมเจ้าท่าก่อนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (ปี พ.ศ.2537) ซึ่งออกตามความในมาตรา 117 แห่ง พรบ.การเดินเรือน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456 โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่ารั้วไม้ดักทรายบริเวณนี้ เป็นการนำไม้มาปักบนทรายตามรูปแบบโดยไม่มีการหล่อซีเมนต์หรือวัสดุยึดติดแบบโครงสร้างถาวร ทำจากวัสดุธรรมชาติ มีระยะเวลาการใช้งาน 3-5 ปี และเป็นการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีลักษณะกีดขวางการสัญจรทางน้ำ และยังเป็นการดำเนินการงานตามภารกิจ ตาม พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 จึงไม่ต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า เมื่อสองหน่วยงาน จากสองกระทรวงมีความเห็นในข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า การปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา จำเป็นต้องขออนุญาตต่อกรมเจ้าท่าหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 ลงความเห็นตามเอกสารระบุวันที่ 17 ตุลาคม 2565 […]

Beachlover

October 24, 2022

Elastocoast (อีกแล้ว) บนกำแพงกันคลื่น สงขลา

Elastocoast คือวัสดุที่ใช้เพื่อเททับแนวเขื่อนป้องกันการกัดเซาะตลิ่งแม่น้ำและทะเล ประกอบด้วยหินกรวดขนาดเล็กที่ถูกยึดติดกันด้วยโพรียูรีเทน 2 องค์ประกอบ (https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/) Beach Lover เคยพาชมโครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดชะอำ บริเวณทิศใต้ติดกับหน้าชายหาดของโรงแรม Vala โรงแรมระดับ Small Luxury Hotels ในเครือ The Regent Cha Am (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) กำแพงกันคลื่นแบบ Elastocoast ณ หาดกระทิงลาย จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/elastocoast-หาดกระทิงลาย-ยังสบายดี/) และ โครงสร้างหัวหาด (Headland) ที่ใช้ Elastocoast ณ ชายหาดพัทยาเหนือ จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หัวหาด-elastocoast-หาดพัทยา/) วันนี้ขอพาชมโครงการของกรมเจ้าท่าที่ใช้ Elastocoast เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบโครงการกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณบ้านทุ่งใหญ่ ต.เขารูปช้าง หรือที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่าริมทะเลบ่ออิฐ-เกาะแต้ว ที่เพิ่งแล้วเสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2565 ด้วยระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท Beach […]

Beachlover

October 20, 2022

ถนนขาด หาดสะกอม

หาดสะกอมที่ Beach Lover พาไปชมในวันนี้ หมายถึงหาดสะกอม อ.เทพา จ.สงขลา บริเวณที่เป็นหาดสาธารณะ มีระยะทางตามแนวชายหาดระหว่างหัวแหลมที่ขนาบทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตกของหาดสะกอมประมาณ 1.2 กิโลเมตร เบื้องหน้าของชายหาดห่างออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร คือเกาะขาม หาดสะกอมแห่งนี้มีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว พบว่าถนนเลียบหาดฝั่งทิศตะวันตกจากสามแยกทางเข้าหาดนั้นพังเสียหายตาม Clip VDO https://www.youtube.com/watch?v=x-KN-thBBnI Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้มาแล้วในปี 2557 (2014)โดยพบว่าถนนเส้นนี้ถูกตัดขาดไปแล้วบางส่วน แต่ไม่ได้รุนแรงเท่าที่พบเห็นในปัจจุบัน และสืบเนื่องจากพื้นที่หาดสะกอมบริเวณนี้เป็นชายหาดระหว่างหัวแหลมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้น การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้จึงไม่น่าจะมีผลมาจากปัจจัยภายนอกทางทิศตะวันออกหรือตะวันตกของชายหาดสักเท่าไหร่ นอกจากนั้นยังพบว่ามีตะกอนจำนวนมากไหลล้นข้ามหัวแหลมทางทิศตะวันออกเข้ามาบริเวณชายหาดตามภาพจาก Google Earth จากการวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พบร่องรอยของการสร้างรอดักทราย (Groin) ระหว่างปี 2002-2006 (ไม่มีภาพถ่ายระหวางช่วงเวลานี้มาพิสูจน์ว่าสร้างขึ้นปีใด) ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังจากที่มีการตัดถนนเลียบชายหาดนี้แล้ว หลังจากนั้นก็สังเกตได้อย่างชัดเจนว่าแนวของถนนเลียบชายฝั่งเส้นนี้เริ่มขยับเข้าหาทะเลมากขึ้น หมายความว่า เริ่มเกิดการกัดเซาะจนสันทรายและชายหาดด้านหน้าถนนค่อยๆหายไป พร้อมกับพื้นที่ของชายหาดด้านทิศตะวันออกของรอดักทรายเกิดการงอกเงยขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นจากผลกระทบของรอดักทรายนั่นเอง (https://beachlover.net/groin/) จริวอยู่ที่คลื่นใหญ่ลมแรงจากมรสุมและพายุเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ในกรณีคงปฏิเสธได้ยากถึงผลกระทบเชิงประจักษ์จากรอดักทรายเพียง 1 ตัวที่ไม่ทราบทั้งหน่วยงานและช่วงเวลาที่ทำการก่อสร้าง หากแม้สาเหตุนั้นเกิดจากพลังของธรรมชาติเพียงอย่างเดียว เราคงต้องเห็นการกัดเซาะในลักษณะที่เหมือนกันตลอดทั้งแนวชายหาดแล้ว หากมองให้ลึกลงไปมากกว่าสาเหตุการพังทลายของถนนเลียบชายหาดสะกอม พบว่า ถนนเส้นนี้ไม่ได้มีความจำเป็นที่ต้องสร้างตั้งแต่ตอนแรกด้วยซ้ำ […]

Beachlover

October 10, 2022

สิ้นแล้วหาดสร้อยสวรรค์

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดสร้อยสวรรค์มาแล้วเมื่อสองปีก่อน ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดสร้อยสวรรค์-ฤาจะเหลือแต่ชื่อ/ ในครั้งนั้นหาดนี้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้รับการแก้ไข วันนี้ Beach Lover ได้ติดตามดูสถานการณ์ของหาดนี้อีกครั้ง พบว่า ที่นั่งของร้านอาหาร ศาลนั่งชมวิวริมทะเล ถนนเส้นเล็กเลียบทะเล ไม่หลงเหลืออยู่แล้ว (VDO Clip ที่ https://youtu.be/-I9s6CkKvbE) ผู้ประกอบการได้เล่าให้ฟังว่า ศาลาที่เคยอยู่ตรงนี้ไม่ได้พังทลายไปจากคลื่น แต่หน่วยงานเกรงว่าจะเกิดอันตรายต่อผู้ที่เข้าไปใช้เนื่องจากเสาต้นด้านนอกสุดถูกกัดเซาะไปมากแล้ว จึงทำการรื้อทิ้ง ส่วนที่เห็นเป็นซากปรักหักพังนี้ เกิดจากคลื่นลมแรง เมื่อสองปีก่อน และต่อเนื่องมาเรื่อยๆ ซึ่งก็สอดคล้องกับที่ Beach Lover เคยสำรวจไว้ในอดีต สำหรับพื้นที่นี้ถือเป็นพื้นที่ค่อนข้างพิเศษเนื่องจากเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อ.เทพา จ.สงขลา รับผิดชอบโดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช จึงมีระเบียบข้อบังคับในการเปลี่ยนแปลงสภาพพื้นที่ที่มากกว่าพื้นที่อื่นๆ อาจเป็นไปได้ว่าหน่วยงานที่จะเข้ามาแก้ไขจำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของระเบียบปฏิบัตินี้ จึงเกิดความล่าช้าตามที่เห็น ถัดไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหาดคือโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา (https://beachlover.net/jetty/) แม้จะเป็นสาเหตุโดยตรงที่ส่งผลให้พื้นที่ชายหาดทางทิศเหนือของปากร่องน้ำเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีการก่อสร้าง แต่การกัดเซาะที่ค่อยๆกัดกินพื้นที่อย่างต่อเนื่องแบบโดมิโน่มาทางทิศเหนือนี้ น่าจะเกิดจากความพยายามในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเสียมากกว่า เมื่อพื้นที่ของตนเองถูกกัดเซาะไปจากการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา จึงพยายามป้องกันพื้นที่ของตนเองเพื่อความอยู่รอด ยิ่งป้องกัน ก็ยิ่งส่งผลกระทบต่อเนื่องกับชายหาดทางทิศเหนือของพื้นที่ป้องกัน พื้นที่ถัดไปก็ได้รับผลกระทบจนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันต่อเนื่องไปอีก และแน่นอนว่ามันก็จะกระทบพื้นที่ถัดไปทางทิศเหนือ ก่อให้เกิดความพยายามครั้งใหม่เพื่อความอยู่รอดวนซ้ำไปไม่จบสิ้น จริงอยู่ที่ความรุนแรงของธรรมชาตินั้นมากมายขึ้นอย่างเห็นได้ชัด แต่หากเรายังใช้วิธีการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ […]

Beachlover

October 8, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]

Beachlover

August 10, 2022

ตาข่ายลดการกัดเซาะ Derosion lattice แห่งแรกและแห่งเดียวในไทย

Derosion lattice เป็นเทคโนโลยีจากประเทศไต้หวันเพื่อลดทอนพลังงานคลื่นพร้อมทั้งดักทรายที่มาพร้อมคลื่นไว้บริเวณใกล้ชายฝั่ง สร้างจากวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีความมั่นคงแข็งแรงทนทาน เมื่อใช้งานจะวาง Derosion lattice ไว้ใต้น้ำในเขตน้ำตื้นใกล้ชายหาด (www.reshore.tech) Derosion lattice แตกต่างจากการเติมทรายชายหาดเนื่องจากไม่จำเป็นต้องทำซ้ำทุกๆสองสามปี ทรายที่มาทับถมจาก Derosion lattice จะไม่ถูกกัดเซาะออกไปอีก และไม่ก่อให้เกิดปัญหาทรายทับถมบนสิ่งมีชีวิตหรือปะการังใต้ทะเลด้วย (www.reshore.tech) หลักการของ Derosion lattice คือการลดทอนพลังงานคลื่นจากแรงเสียดทานและการสั่นสะเทือน (friction and vibration) ทำให้ตะกอนที่มากับคลื่นสามารถตกทับถมบนชายหาดได้ ซึ่งแตกต่างจากเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง หรือ รอดักทราย ที่จะส่งผลกระทบต่อทิศทางของคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะบริเวณพื้นที่ชายฝั่งข้างเคียงได้ (www.reshore.tech) สำหรับประเทศไทยมีการทดลองใช้ Derosion lattice บริเวณตำแหน่งสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่นของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว จ.สงขลา เป็นแห่งแรก และแห่งเดียว โดยทำการติดตั้งมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 ด้วยความร่วมมือของบริษัท Thai Wring Syatems จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และกรมเจ้าท่า จากการสำรวจภาคสนามพบว่า Derosion lattice ที่ถูกวางในพื้นที่นี้ อยู่ในแนวเดียวกันกับฐานของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าพอดี […]

Beachlover

July 26, 2022

ตรวจสอบระบบนิเวศชายหาดสงขลา หลังแนวเขื่อน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง ตรวจสอบสภาพระบบนิเวศชายหาดและศึกษาสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายในพื้นที่โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล หาดทรายแก้ว หาดม่วงงาม และหาดมหาราช จ.สงขลา ผลการตรวจสอบพบว่า หาดทรายแก้ว มีแนวกำแพงกันคลื่นตลอดแนวชายหาด ไม่มีระบบนิเวศหาดทราย ยังคงพบตะกอนทรายจากช่วงมรสุม ทับถมตลอดพื้นที่หลังกำแพงกันคลื่น ส่วนพื้นที่บริเวณสิ้นสุดโครงการพื้นที่ได้รับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งลึกเข้ามาประมาณ ๒๐ เมตร ในช่วงมรสุม พื้นที่ดังกล่าวได้ถูกตะกอนทรายทับถมกลายเป็นหาดทราย ลึกเข้ามาจากแนวชายหาดเดิม ทำให้ชายหาดมีความกว้างประมาณ ๓๐-๓๕ เมตร และยังคงพบเศษหินจากการก่อสร้างถูกคลื่นพัดขึ้นมาทับถมบริเวณแนวน้ำขึ้นน้ำลง เริ่มพบสิ่งมีชีวิตในกลุ่มหอยเสียบ และจักจั่นทะเล ตลอดแนวหาดทรายบริเวณสิ้นสุดโครงการ หาดม่วงงาม พื้นที่หน้าหาดเป็นแนวหาดทรายกว้างประมาณ ๒๕-๓๐ เมตร เวลาน้ำลงต่ำสุด ไม่พบเศษหิน และวัสดุจากการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น สามารถพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายใกล้เคียงกับสถานีอ้างอิง (Reference size) แสดงถึงการคืนสภาพระบบนิเวศหาดทรายหลังจากถูกระงับโครงการก่อสร้าง ชายหาดมหาราช การก่อสร้างกำแพงกันคลื่นเสร็จสิ้นแล้ว ไม่พบเศษหินจากการก่อสร้างปนเปื้อนในระบบนิเวศหาดทราย พบมีพื้นที่หาดทรายต่อจากแนวกันคลื่นกว้างประมาณ ๒๐-๒๕ เมตร เวลาน้ำลงต่ำสุด และพบสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหาดทรายใกล้เคียงกับพื้นที่นอกเขตก่อสร้าง (สถานีอ้างอิง)

Beachlover

June 16, 2022
1 2 10