รอยคลื่นบนชายหาด เกิดจากอะไร?

รอยคลื่นบนชายหาดและเนินทรายนั้นเกิดจากกระบวนการทางธรรมชาติอันทรงพลัง ซึ่งมีทั้งลมและกระแสน้ำเป็นกลไกหลักในการก่อกำเนิด เมื่อคลื่นเคลื่อนเข้าสู่ชายฝั่ง การไหลเวียนของน้ำทะเลจะพัดพาเม็ดทรายให้เคลื่อนที่ไปด้วย เมื่อน้ำลดลง จะเกิดร่องเล็กๆ บนพื้นทราย คลื่นลูกถัดมาจะดันทรายกลับขึ้นไปจนเกิดสันทรายขนาดเล็ก วัฏจักรของการทับถมและการกัดเซาะนี้จะก่อให้เกิดรอยคลื่นที่มีลักษณะสมมาตร เรียงตัวขนานไปกับแนวชายฝั่ง อันเป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของคลื่นที่สม่ำเสมอ ในกรณีที่กระแสน้ำมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น กระแสน้ำที่เกิดจากน้ำขึ้นน้ำลง หรือกระแสน้ำที่ไหลขนานไปกับชายฝั่ง จะส่งผลให้เกิดแรงกระทำต่อเม็ดทรายรุนแรงยิ่งขึ้น เม็ดทรายจะถูกพัดพาไปในทิศทางเดียวกัน ทำให้เกิดรอยคลื่นแบบไม่สมมาตร โดยมีความลาดเอียงชันไปทางทิศทางของกระแสน้ำ ร่องรอยเหล่านี้เป็นเครื่องบ่งชี้ถึงพลังอันซ่อนเร้นของกระแสน้ำที่ค่อยๆ กัดกร่อนพื้นผิวชายฝั่งอย่างต่อเนื่อง บนชายหาดและเนินทรายที่แห้ง ลมจะทำหน้าที่เป็นผู้สลักเสลาธรรมชาติ เมื่อลมพัดผ่านพื้นผิวทราย มันจะพัดพาเม็ดทรายไปด้วย เมื่อลมปะทะสิ่งกีดขวาง เช่น ก้อนหิน หรือกลุ่มพืช จะทำให้ความเร็วลมลดลง และเกิดการทับถมของทรายเป็นเนินขนาดเล็ก จากนั้นลมจะพัดพาเม็ดทรายจากด้านหนึ่งของเนินไปทับถมอีกด้านหนึ่งอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดรอยคลื่นแบบไม่สมมาตร โดยมีความลาดเอียงชันไปทางทิศทางของลม คล้ายกับเนินทรายขนาดเล็ก ขนาดและระยะห่างของรอยคลื่นจะแตกต่างกันไปตามความเร็วและทิศทางของลมหรือกระแสน้ำ รวมถึงขนาดของเม็ดทราย ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดรูปแบบของรอยคลื่นที่หลากหลาย ตั้งแต่รอยคลื่นขนาดเล็กที่มีระยะห่างใกล้กัน ไปจนถึงรอยคลื่นขนาดใหญ่ที่มีระยะห่างมาก แต่ละรูปแบบล้วนสะท้อนถึงสภาพแวดล้อมและปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเกิดรอยคลื่น ซึ่งเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงพลวัตของธรรมชาติที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงบริเวณชายฝั่ง

Beachlover

July 14, 2024

ความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันชายหาดกับขนาดเม็ดทราย

ความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันชายหาดกับขนาดเม็ดทรายเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีความสำคัญในการศึกษาด้านชายฝั่งทะเล โดยสามารถอธิบายความสัมพันธ์เบื้องต้นได้ดังนี้: ความลาดชันชายหาด (Beach Slope): ขนาดเม็ดทราย (Grain Size): ความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันชายหาดกับขนาดเม็ดทราย: งานวิจัยจำนวนมากทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศพบว่า ชายหาดที่มีเม็ดทรายหยาบกว่า มักมีหน้าหาดที่ชันกว่าเมื่อเทียบกับชายหาดที่มีเม็ดทรายละเอียดกว่า ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้ กลไกที่เกี่ยวข้อง: ความสำคัญในการศึกษา: ความเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างความลาดชันชายหาดกับขนาดเม็ดทรายมีความสำคัญต่อการจัดการชายฝั่ง การป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง งานออกแบบการเติมทรายชายหาด และการวางแผนการใช้ประโยชน์ชายฝั่งอย่างยั่งยืน ข้อควรพิจารณาเพิ่มเติม:

Beachlover

July 4, 2024

พาสำรวจตะกอนทรายชายหาดปัตตานี

ตะกอนบนชายฝั่งแต่ละแห่งมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันไปตามบริบทของสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้นๆ แรงกระทำจากภายนอกอย่างคลื่น ลม กระแสน้ำ ตลอดจนแหล่งกำเนิดของตะกอน แม้กระทั่งบนพื้นที่เดียวกันแต่ต่างช่วงเวลากัน ตะกอนชายฝั่งก็อาจมีลักษณะที่แตกต่างกันไปตามปัจจัยที่ว่ามานี้ ชายหาด จ.ปัตตานี มีระยะทางกว่า 140 กิโลเมตร ส่วนมากเป็นหาดทรายทั้งหมดมีโคลนปะปนบ้างบริเวณปากร่องน้ำและปากอ่าวปัตตานี Beach Lover ได้มีโอกาสลงสำรวจชายหาด จ.ปัตตานี ในหลายพื้นที่ ขอนำภาพทรายของแต่ละชายหาดมานำเสนอให้ได้ชมกันว่าแม้จะเป็นหาดทรายที่อยู่ใกล้เคียงในจังหวัดเดียวกัน ก็พบว่ามีคุณลักษณะที่แตกต่างกันทั้งขนาดและสี

Beachlover

November 1, 2023

พาสำรวจตะกอนชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจตะกอนทรายบนชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ข้อมูลคุณสมบัติของตะกอน ได้จากการนำตัวอย่างทรายจากตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) จำนวน 1.5 กิโลกรัม มาทำการอบแห้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปร่อนผ่านตะแกรงเพื่อหาขนาดกลางของตะกอน (D50) โดยวิธี Sieve analysis ในห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ตามมาตรฐาน ASTM จากการนำทรายไปร่อนผ่านตะแกรงจะได้ข้อมูลน้ำหนักทรายคงค้างบนตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพล็อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเม็ดทรายซึ่งเป็น Semi-logarithmic scale และเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของเม็ดทรายที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้เป็นกราฟการกระจายของขนาดเม็ดทรายของแต่ละตำแหน่งสำรวจ แล้วนำมาหาค่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจ จากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ บริเวณที่เป็นหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Sieve analysis พบว่า ขนาดกลางของตะกอนมีการกระจายตัวดัง Histrogram ด้านล่าง พบว่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจจำนวน 47 ตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 มิลลิเมตร มีค่าขนาดกลางของตะกอนใหญ่ที่สุด 2.90 มิลลิเมตร และค่าขนาดกลางของตะกอนเล็กที่สุด 0.13 มิลลิเมตร โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนในพื้นที่ศึกษามีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนชายหาดในประเทศไทยซึ่งมีขนาด 0.33 มิลลิเมตร […]

Beachlover

August 19, 2022

ชายหาด มี “Character”

ชายหาดแต่ละแห่งมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทั้งเชิงกายภาพและการใช้ประโยชน์บนชายหาด เหล่านี้ส่งผลให้ชายหาดมี “Character” ที่แตกต่างกัน ไม่ต่างจากตัวละครในหนังและละคร ยิ่งมองร่วมกับปัจจัยภายนอกอย่างสภาพคลื่นลมที่ส่งอิทธิพลต่อชายหาดแต่ละแห่งด้วย Degree ที่แตกต่างกันด้วยแล้ว ยิ่งทำให้ “Character” ของแต่ละหาดนั้นมีความแตกต่างกันมากขึ้นไปอีก หากเราเข้าใจ “Character” ของตัวละครที่โลดแล่นอยู่ในจอทีวี จะทำให้เราเข้าใจเนื้อหา เรื่องราวและการ Re-act ของตัวละครนั้นได้เป็นอย่างดี เฉกเช่นเดียวกันกับชายหาด หากเราได้เข้าใจ “Character” ของแต่ละหาดเป็นอย่างดีแล้ว เราจะสามารถเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลง ความเป็นพลวัตของชายหาด ตลอดจนวิธีการรักษาดูแลให้สอดคล้องเหมาะสมแบบที่ยังคงเก็บ “Character” เดิมไว้ ไม่เปลี่ยนแปลง

Beachlover

April 19, 2021