7 ข้อชวนคิด กับโครงการถมทะเลอ่าวไทย…เอาไงดี

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการถมทะเลในบริบทของการพัฒนาและขยายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในงาน Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 โดยเสนอให้มีการถมทะเลที่บางขุนเทียนและปากน้ำ เพื่อให้ได้พื้นที่ลดความแออัดของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่ง และเป็นเมืองสีเขียวและเมืองใหม่ ให้เฉพาะรถไฟฟ้าวิ่งเท่านั้นและมีรถไฟเชื่อม และป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ (อ้างอิง) นายทักษิณเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนภาครัฐในช่วงสามปีของรัฐบาลนี้ และกล่าวว่าโครงการถมทะเลจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน (อ้างอิง) หลังจากนั้นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาอธิบายถึงแนวคิดหลักของโครงการนี้เพิ่มเติมในชื่อใหม่ที่เรียกว่า “โครงการสร้อยไข่มุกอ่าวไทย” โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลในลักษณะของเกาะ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีเกาะจำนวน 9 เกาะ และให้แต่ละเกาะมีเขื่อนเป็นแนวกั้นน้ำ และมีประตูเปิด-ปิดได้ซึ่งเกาะแรกจะสร้างในพื้นที่ของชายทะเลบางขุนเทียน จากนั้นจะสร้างเกาะอื่นไปจนถึงชลบุรี รวมระยะทางตลอดอ่าวตัว ก.ประมาณ 100 กิโลเมตร  ทั้งนี้พื้นที่เกาะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเชื่อมของเขื่อนกั้นน้ำแต่ละเกาะจะมีขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และสร้างห่างจากชายฝั่งไป 1 กิโลเมตร มีถนนเชื่อมกับพื้นที่ชายฝั่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปยังพื้นที่เกาะต่างๆ ได้  สำหรับแนวทางการลงทุนจะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน โดยผู้ที่เข้ามาลงทุนจะได้สัมปทานการใช้ที่ดินอาจจะเป็น 99 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเกาะนี้ใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ หรือเป็นเมืองใหม่ที่เป็นสมาร์ตซิตี้ใช้พลังงานสะอาด โดยจะมีการติดตั้งกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ก็สามารถที่จะออกแบบได้ โดยเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทานแล้วพื้นที่นี้ก็จะเป็นของภาครัฐ (อ้างอิง) สำหรับแนวความคิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้โครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ลุ่มในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล […]

Beachlover

September 17, 2024

ทางเดินเลียบชายหาด หาดวงศ์อมาตย์ พัทยา

Beach Lover ขอชวนเดินสำรวจชายหาดบนทางเท้าเลียบชายหาดวงศ์อมาตย์ ไม่ไกลจากหาดพัทยาไปทางทิศเหนือ หาดนี้มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 1.2 กิโลเมตร มีทางเดินคอนกรีตสาธารณะเลียบทะเลตลอดทั้งแนว ในรูปแบบที่แตกต่างกัน โดยมีกำแพงกันคลื่นทำหน้าที่ป้องกันทางเดินนี้อีกชั้นหนึ่ง นั่นหมายความว่าทั้งร้านอาหาร ที่พัก ที่ตั้งอยู่ริมทะเล จะมีทางเดินสาธารณะที่กั้นอยู่ระหว่างที่ดินเอกชน กันชายหาด จากการเดินเท้าสำรวจตลอดแนว พบว่าบางส่วนของกำแพงและทางเดินถูกคลื่นซัดเอาทรายขึ้นมาถมด้านบนจนเกือบมิด ในขณะที่บางส่วนของกำแพงและทางเดิน ก็ปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัด เมื่อหลายปีก่อน ได้มีข่าวว่าบางส่วนของทางเดินนี้พังเสียหายจากคลื่นสูงและน้ำทะเลซัด (https://mgronline.com/local/detail/9590000055838 และ https://www.posttoday.com/politics/435452) Beach Lover จึงขอพาสำรวจสภาพของแนวทางเดินที่เคยพังเสียหายไปในอดีต ว่าปัจจุบันได้รับการแก้ไขแบบไหนอย่างไร พบว่า อิฐตัวหนอนที่พังเสียหายตามภาพด้านบนนั้นถูกรื้อออก แทนที่ด้วยพื้นคอนกรีตและกลบทับด้วยทราย โดยโครงสร้างกำแพงมีการเสริมความหนาและความแข็งแรงขึ้น แต่ยังคงเป็นแบบตั้งตรงเหมือนเดิม สันนิษฐานว่า ช่วงที่เกิดความเสียหายคลื่นน่าจะวิ่งมาปะทะและ Overtop ข้ามสันกำแพงและตกลงมาปะทะบนทางเดินตัวหนอน แรงของน้ำที่ตกกระทบ และน้ำทะเลที่กระเซ็นข้ามปริมาณมากส่งผลให้ตัวหนอนและพื้นคอนกรีตด้านล่างพังเสียหาย รปภ.ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บริเวณทางเข้าออกของโรงแรมแห่งหนึ่งเล่าให้ Beach Lover ฟังว่า ในบางฤดูกาล คลื่นซัดเอาทรายมากลบทางเดินจนมิด จนเจ้าหน้าที่โรงแรมที่อยู่ริมทะเลต้องช่วยกันโกยทรายออกไปเพื่อเปิดทางสัญจร ในขณะที่บางฤดูกาล น้ำทะเลก็ยกตัวสูงขึ้นจนเกือบถึงทางเดินนี้เลย

Beachlover

August 27, 2024

พาชมงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได อ่าวบางละมุง

กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ Beach Lover พาชมในครั้งนี้ มีทั้งส่วนที่สร้างเสร็จแล้ว และกำลังดำเนินงานอยู่ บริเวณพื้นที่ของ สถานสงเคราะห์เด็กชายบ้านบางละมุง และรอยต่อไปทางทิศใต้ยังศูนย์ฝึกอบรมพัฒนาบุคลกรและสวัสดิการตำรวจ ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง โครงสร้างที่แล้วเสร็จ รวมถึงโครงสร้างที่กำลังสร้างอยู่นี้ มีรูปแบบเป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได จากการเดินเท้าสำรวจพบว่าโครงสร้างดังกล่าววางทับลงไปบนชายหาดเกือบทั้งหมด แทบไม่หลงเหลือพื้นที่ชายหาดด้านหน้ากำแพงแล้ว พร้อมมีการปรับภูมิทัศน์ด้านบน ทำเป็นทางเดินสาธารณะและมีการปลูกต้นไม้ประดับ เท่าที่ทราบ โครงสร้างดังกล่าวเป็นของกรมโยธาธิการและผังเมือง ส่วนรายละเอียดอื่นๆเช่น งบประมาณ ระยะทาง Beach Lover ยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต จะนำมาเสนอในครั้งถัดๆไป

Beachlover

August 11, 2024

พาส่องงานปรับภูมิทัศน์ หาดวอนนภา บางแสน

งานปรับปรุงภูมิทัศน์ หาดบางแสนล่าง หรือที่เรียกขานกันโดยทั่วไปว่า หาดวอนนภา ได้มีการดำเนินการมาเรื่อยๆอย่างต่อเนื่อง (https://www.facebook.com/ChonburiToday2016/posts/หาดวอนนภา-บางแสนล่าง-จะมีการปรับภูมิทัศน์ใหม่-เร็ว-ๆ-นี้/2420976234898734/) โดยปรับเปลี่ยนรูปแบบไปบ้าง ต่อโน่นเสริมนี่บ้าง รื้อของเดิมสร้างใหม่บ้าง แล้วแต่นโยบายของผู้รับผิดชอบพื้นที่ โดยมีความเห็นที่หลากหลายต่องานปรับปรุงพื้นที่นี้ โดยมีทั้งชื่นชม (https://mgronline.com/travel/detail/9640000056197) และห่วงกังวลในบางประเด็น (https://thematter.co/social/how-about-wonnapha-beach-seawall/223441) Beach Lover ขอพาสำรวจงานปรับภูมิทัศน์ริมชายหาดวอนนภานี้กันอีกรอบในช่วงเดือน กรกฎาคม 2567 โดยพบว่า โครงสร้างหลักยังอยู่ในสภาพปกติ

Beachlover

August 4, 2024

พบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังได้รับแจ้งเหตุพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วันที่ 16 มิถุนายน 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการประสานงานสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) กรณีแจ้งเหตุพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 จาการสอบถามเจ้าหน้าที่เทศบาลพัทยาเพิ่มเติม ทราบว่าท่อส่งน้ำเสียด้วยแรงดันสถานีสูบน้ำเสียพัทยารั่ว และได้ดำเนินการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้สำรวจเบื้องต้น 3 สถานี ได้แก่ ประภาคาร ท่าเรือแหลมบาลีฮาย และหาดพัทยา โดยสถานีประภาคารสภาพน้ำทะเลกลับคืนสู่สภาพปกติ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่พบสัตว์น้ำตาย ส่วนแหลมบาลีฮาย และหาดพัทยา สภาพน้ำทะเลเป็นปกติ ไม่มีกลิ่นเหม็น จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 7.86-8.00 อุณหภูมิ 31.7-32.7 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30.8-31.2 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.20-5.80 […]

Beachlover

June 18, 2024

สำรวจงานเติมทรายหาดจอมเทียน มิ.ย.2567

ที่ผ่านมา Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดจอมเทียนทั้งก่อนและหลังการเติมทรายมาแล้วหลายรอบ เช่น https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/ , https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเ/, https://beachlover.net/ส่องงานเติมทรายชายหาดจ/ รวมถึงสืบค้นได้จาก Icon search คำว่า “จอมเทียน” Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจหาดจอมเทียนอีกครั้งในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 ตลอดทั้งแนว ทั้งนี้ไม่แน่ใจเลยว่า งานเติมทรายของชายหาดนี้ที่ดำเนินการโดยกรมเจ้าท่านั้นเสร็จสิ้นตลอดทุกเฟสทั้งแนวชายฝั่งหรือยัง เนื่องจากไม่เห็นรั้วเพื่อปิดพื้นที่ก่อสร้างอีกแล้ว แต่ยังพบเรือขุดและพ่นทรายจอดอยู่นอกชายฝั่ง เมื่อเดินเท้าสำรวจชายหาดตั้งแต่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตั้งแต่หาดยินยอม หาดดงตาล เรื่องลงมาทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของหาดจอมเทียนจนเข้าเขตพื้นที่นาจอมเทียนถึงร้านอาหารลุงไสว ที่เป็นเขตสิ้นสุดงานก่อสร้าง มีสภาพชายหาดดังรูป พบว่า มีการทำทางขึ้นลงบันได และป้ายชื่อหาด เพิ่มเติมจากครั้งก่อนที่ Beach Lover ได้ลงมาสำรวจ พบว่าชายหาดจอมเทียนที่ถูกเติมทรายในระยะแรกๆยังมีสภาพไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก ชายหาดยังคงกว้างประมาณ 40-50 เมตร โดยพบว่าการตัด Slope ชายหาดเป็นสองระดับตามที่ได้ก่อสร้างไว้นั้นหายไปจนหมด หาดทรายกลืนกันเป็น Slope เดียวไม่ต่างจากหาดพัทยา ที่ Beach Lover พาสำรวจในช่วงเวลาใกล้ๆกัน (https://beachlover.net/pataya-after-sunset/)

Beachlover

June 16, 2024

หาดดงตาล … ที่ไร้ต้นตาลในวันนี้

หากกล่าวถึงหาดดงตาล อาจมีหลายคนสับสนกับหาดดงตาลในฐานทัพเรือสัตหีบที่มีชื่อเรียกขานเดียวกัน แต่หาดดงตาลที่ Beach Lover จะพาสำรวจนี้ หมายถึงหาดดงตาล รอยต่อระหว่าง เขาพระตำหนัก กับ หาดจอมเทียน พัทยา จ.ชลบุรี หาดดงตาลเป็นชายหาดแนวตรง ทอดยาวระหว่างหาดยินยอม กับ หาดจอมเทียน มีถนนขนาดเล็กเลาะเลียบริมหาดสามารถเข้าถึงได้ง่าย มีร่มเตียง ร้านค้า ร้านอาหารไม่มากเท่ากับจอมเทียนหรือพัทยา แต่ก็ถือว่ามีครบอย่างเพียงพอทีเดียว จากการเดินเท้าสำรวจ ชายหาดกว้างประมาณ 30-40 เมตร และยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่ง หรือ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้

Beachlover

June 10, 2024

หาดยินยอม…ต้องยอมมา

หาดยินยอม พัทยา จ.ชลบุรี อยู่ระหว่างเขาพระตำหนักกับหาดดงตาล เป็นเวิ้งของชายหาดที่ค่อนข้างเงียบ สงบ คนไม่พลุกพล่าน หากใครต้องการนั่งเล่น ชมวิว กินอาหาร เล่นน้ำ แบบที่ไม่ต้องการผู้คนวุ่นวาย ต้องยอมขับรถออกมาจากพัทยาสัก 10 นาที แล้วจะรู้ว่าบรรยากาศนั้นช่างแตกต่างกันมากเหลือเกิน การเข้าถึง การจอดรถรา สามารถทำได้สะดวกกว่าหาดพัทยามาก เพียงแต่ถนนเลียบชายหาดจะค่อนข้างแคบ และไม่มีร้านค้าบริการมากมายนัก ริมหาดเป็นสวนหย่อมขนาดเล็กพร้อมทางเดิน มีต้นไม้พอให้ร่มเงาได้บ้าง เท่าที่เดินเท้าสำรวจ ยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณนี้

Beachlover

June 9, 2024

หาดพัทยา (ยามใกล้ค่ำ)…ยังสบายดี ?

Beach Lover เคยพาสำรวจหาดพัทยามาหลายครั้งแล้ว ตั้งแต่ช่วงเริ่มเติมทรายใหม่ๆจนถึงปัจจุบัน หาอ่านเพิ่มเติมได้จากโพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon มุมขวาของ Web ครั้งนี้ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2567 Beach Lover ได้กลับมาสำรวจการใช้ประโยชน์ชายหาดแห่งนี้อีกครั้ง โดยครั้งนี้เป็นช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ตกได้ไม่นาน ในวันธรรมดาที่อากาศดีมากๆไม่ร้อน และไม่มีฝน จากการเดินเท้าสำรวจตั้งแต่หาดพัทยาเหนือ (วงเวียนปลาโลมา) ลงไปถึงพัทยากลาง (Central) พบผู้ใช้ชายหาดที่ส่วนมากมากันเป็นกลุ่ม นำเสื่อมาปู นำอาหารเครื่องดื่มมารับประทานกันบนหาดทราย มีการนำเก้าอี้สนามและโต๊ะแบบพับได้มาวางบนชายหาด บ้างก็มานั่งเล่นดูตะวันตกดิน มีการลงเล่นน้ำค่อนข้างน้อย อาจเป็นเพราะเมื่อพระอาทิตย์ลาขอบฟ้า ฟ้าก็เริ่มมืดและดูจะไม่ค่อยปลอดภัยหากลงเล่นน้ำทะเล พ่อค้าแม่ค้า นำอาหารเครื่องดื่มเดินตระเวนขายไปตามจุดที่มีนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะที่เป็นกลุ่มใหญ่ๆ หวังว่าจะมีอะไรขาดเหลือให้พอได้ขายของที่แบกมาทั้งวันได้บ้าง เท่าที่สังเกตด้วยสายตาพอประมาณได้ว่า ชายหาดพัทยายามนี้น่าจะมีความกว้างประมาณ 60-70 เมตรเลยทีเดียว จากข้อมูลที่กรมเจ้าท่าเคยระบุไว้ในช่วงเริ่มต้นโครงการว่าจะเติมทรายให้หาดมีความกว้างประมาณ 35 เมตร แล้วตัด Slope ลาดลงทะเล แต่เอาเข้าจริงๆหลังโครงการแล้วเสร็จพบว่ามีการเติมทรายมากกว่าที่ระบุไว้ในตอนต้นมาก จากการสำรวจไม่พบระดับของชายหาดที่แตกต่างกันตามที่กรมเจ้าท่าได้ทำการตัด slope เดิมไว้เป็นสองระดับ (ดูจากรูปด้านบน) โดยพบว่าชายหาดกลืนกันเป็น slope เดียวกันหมดแล้ว เมืองพัทยาได้เปิดไฟส่องสว่างกำลังค่อนข้างแรงริมชายหาดอย่างเพียงพอในระดับที่สามารถเห็นหาดทราย เห็นน้ำทะเล ได้อย่างชัดเจนตลอดทั้งชายหาด จนทำให้ผู้มาเยี่ยมเยือนนั่งกันอยู่บนชายหาดได้จนถึงค่ำมืดดึกดื่นได้เลย […]

Beachlover

June 8, 2024

ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

March 7, 2024
1 2 6