หาดพัทยาพัง! รอบที่เท่าไหร่แล้ว?

ที่มา: https://web.facebook.com/STVPattaya เรื่องมันจบยาก…ฝนตกทุกครั้ง ชายหาดพัทยาพังทุกเที่ยว ชาวบ้านถามหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่ดีแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาน้ำท่วมขัง นอกจากจะเป็นปัญหาผูกขาดที่อยู่คู่กับเมืองพัทยามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าแก้ไขไม่เด็ดขาด เบ็ดเสร็จเสียที ทั้งที่ผ่านมาแม้ว่าเมืองพัทยาจะมีการตั้งงบประมาณและโครงการต่างๆเพื่อรองรับแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง หลายรอบ หลายยุคสมัย หลายสมัยการปกครอง หมดงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาท ทั้งโครงการแก้น้ำท่วมบนถนนสุขุมวิทซึ่งเป็นสายหลัก ตลาดนาเกลือ หนองใหญ่ ถนนเลียบทางรถไฟ เขาตาโล เขาน้อย ซอยบัวขาว ถนนพัทยาสาย 3 หรือแม้แต่ถนนพัทยาสายเลียบชายหาด และที่เด่นชัดที่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อการท่องเที่ยว คือการระบายน้ำฝนที่ปะปนกับน้ำเสียลงสู่ทะเล รวมและปริมาณน้ำที่หลาลงบนชายหาดพัทยา ที่กรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพในการทุ่มงบประมาณ 400 กว่าล้านบาทในการเสริมทรายในระยะ 50 เมตรจากแนวฟุตบาทเพื่อเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ด้วยพบว่ามีนัยยะของการกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่ทุกครั้งตามข้อตกลงก่อนดำเนินการที่เมืองพัทยาตบปากรับคำว่าจะจัดทำระบบดักน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำพัดทรายไหลลงสู่ทะเล แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีพายุฝนตกต่อเนื่องลงครั้งใด เมืองพัทยาก็ต้องประสบพบเจอกับปัญหาท่วมขังซ้ำซากแบบนี้ทุกครั้ง แม้จะตอบได้ว่าปัจจุบันมีการระบายน้ำที่รวดเร็วขึ้นก็ตาม โดทุกครั้งมัก จะมีเหตุผลที่วาเมืองพัทยาอยู่ในพื้นที่ต่ำที่ต้องรองรับมวลน้ำจากเทศบาลข้างเคียงที่มีพื้นที่สูงกว่าถึง 60 เมตร ในขณะที่ท่อระบายน้ำเดิมของเมืองพัทยาที่ใช้กันมาแต่อดีตรวมระยะทางนับพันกิโลเมตรนั้นมีขนาดความกว้างไม่เกิน 60-800 ม.ม.เท่านั้น ส่วนโครงการที่จัดทำไปก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำเพื่อให้มีการระบายน้ำที่รวดเร็วมากขึ้นและลดความเสียต่อทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด โดยขณะที่กำลังรอแผนแม่บทของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่รัฐบาลมอบหมายจะให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในงบประมาณนับหมื่นล้านบาท ซึ่งยังคงตอบไม่ได้ว่าจะดำเนินการเมื่อใด ปัจจุบันสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็การใช้งบประมาณในการนำกำลังคนและเครื่องจักรลงพื้นที่ชายหาดพัทยาเพื่อเกลี่ยทรายให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเกิดปัญหาน้ำหลากครั้งใด ก็จะมีภาพความเสียหายต่อชายหาดเกิดขึ้นเมื่อนั้น กรณีนี้มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของ […]

Beachlover

October 11, 2022

หาดพังรับฝนหนัก (อีกแล้ว)!

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog หาดพังเหมือนทุกครั้ง ชายหาดพัทยา เมื่อเช้านี้ (12 ก.ย.2565) เมืองพัทยา ไม่เคยแก้ไขปัญหา น้ำฝนปนน้ำเสียกัดเซาะทรายชายหาด วางท่อระบายน้ำไป 100 ล้านบาท เกิดประโยชน์หรือไม่ นี่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ อีก 160 ล้านบาท เริ่มตัดต้นไม้อีกแล้ว ยั่งยืนหรือย่อยยับ?

Beachlover

September 12, 2022

กำแพงล้อมหาด! @ บางละมุง

Beach Lover เคยพาไปชมชายหาดแถบนี้มาแล้วจากโพส https://beachlover.net/หาดบางละมุง-กำลังจะมีกำแพง/ จะพบว่าหาดบางละมุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศใต้เต็มไปด้วยกำแพงริมทะเลที่สร้างโดยเอกชนจนเกือบหมดแล้ว ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะพบกำแพงแบบตั้งตรง (แนวดิ่ง) เป็นส่วนใหญ่ พบว่าตลอดแนวกว่า 2 กิโลเมตร ที่ริมทะเลพบเห็นได้แต่กำแพงนั้น มีชายหาดธรรมชาติยาวประมาณ 90 เมตร ที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันใดๆ แทรกตัวอยู่ระหว่างกำแพงตามภาพ และจากการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายย้อนหลังกลับไปในอดีต (ถึงปี ค.ศ.2003) ก็พบว่า พื้นที่นี้ไม่เคยมีการสร้างโครงสร้างป้องกันใดๆริมชายฝั่งทะเลเลย พบว่าแนวนอกสุดของโครงสร้างถาวรซึ่งก็คือทางเดินอยู่พ้นจากระดับน้ำสูงสุด (ตามภาพปัจจุบัน) ขึ้นไปประมาณ 30 เมตร ด้วยเหตุที่มีระยะถอยร่นขึ้นไปบนฝั่งค่อนข้างเพียงพอ จึงไม่พบร่องรอยความเสียหายจากคลื่นเหมือนพื้นที่อื่นๆที่อยู่บริเวณข้างเคียง

Beachlover

September 12, 2022

ดงตาล กับ ชายหาดที่หายไป

Beach Lover เคยพาสำรวจอ่าวดงตาลเมื่อสองปีก่อนไปแล้วจากโพส https://beachlover.net/อ่าวดงตาล-ถูกขลิบ/ และ https://beachlover.net/รื้อกำแพง-อ่าวดงตาล/ โดยในเวลานั้นพื้นที่หาดดงตาลทางทิศตะวันออกติดกับหัวเขายังคงเป็นหาดทรายธรรมชาติ และถูกเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แบบจำกัดเวลา วันนี้ Beach Lover ได้สำรวจพื้นที่นี้อีกครั้ง แต่ครั้งนี้พบว่าพื้นที่หาดทรายที่เคยนำเสนอไปในโพสก่อนหน้านี้ถูกปิดพื้นที่เพื่องานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พื้นที่นี้กำลังก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได พร้อมงานปรับภูมิทัศน์ ระยะทาง 808 เมตร ด้วยงบประมาณ 134.9 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปี จากการเดินสำรวจพบว่า มีการนำผ้าตาข่ายมาขึงเพื่อปิดพื้นที่ก่อสร้างเกือบตลอดทั้งแนว ตั้งแต่แนวกำแพงหินเรียงตัวเดิมถัดเรื่อยไปทางทิศตะวันออกของหาดทางฝั่งหัวเขาระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร และพบว่ามีการตอกเข็มจนครบระยะทางก่อสร้างแล้ว จากภาพพบว่า เสาเข็มต้นนอกสุดนั้นยื่นล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก และเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลท่วมถึง หมายความว่ากำแพงนี้ทับลงไปบนพื้นที่ชายหาดอย่างแน่นอน เมื่อกำแพงนี้แล้วเสร็จ ชายหาดบางส่วนจะหายไปอย่างน้อยก็เท่ากับความกว้างของกำแพงนี้ ยังไม่รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้านหน้ากำแพงที่อาจส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไปชายหาดจะหดหายไปเพิ่มขึ้นอีก จากการเดินสำรวจ ยังพบว่าบริเวณจุดเริ่มต้นโครงการได้เห็นการขึ้นรูปของแนวขั้นบันไดบ้างแล้ว เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อ่าวดงตาลระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตรนี้ จะถูกขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนว เมื่อนั้น “อ่าวดงตาล” ชายหาดเลื่องชื่อสำหรับกีฬาทางน้ำคงเหลือเพียงตำนาน

Beachlover

September 9, 2022

ส่องงานเติมทรายชายหาดจอมเทียนกันอีกรอบ

ที่ผ่านมา Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดจอมเทียนทั้งก่อนและหลังการเติมทรายมาแล้วหลายรอบ เช่น https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/ รวมถึงสืบค้นได้จาก Icon search คำว่า “จอมเทียน” มาวันที่งานเติมทรายยังคงเดินหน้า บนชายหาดจอมเทียนส่วนที่อยู่ในความรับผิดชอบของเมืองพัทยา (ทิศตะวันตกเฉียงเหนือของหาด) Beach Lover ขอพาชมการเติมทรายชายหาดจอมเทียนมุมสูงกันอีกครั้ง จากภาพจะพบว่า งานเติมทรายของกรมเจ้าท่าคืบหน้าไปพอสมควรเมื่อเปรียบเทียบกับการลงสำรวจพื้นที่เดียวกันเมื่อ 3 เดือนที่ผ่านมา (ค้นหาจากโพสเก่าๆ) โดยสามารถเห็นความแตกต่างของความกว้างชายหาดส่วนที่เติมและยังไม่เติมทรายได้อย่างชัดเจน กรมเจ้าท่าได้ทำการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้าใช้ประโยชน์ในส่วนที่แล้วเสร็จ และปิดพื้นที่เพื่องานก่อสร้างทีละ Step โดยครั้งนี้ไม่พบเรือดูดทราย และเรือพ่นทราย ที่เคยมาจอดอยู่นอกชายฝั่งเหมือนทุกครั้ง ไม่แน่ใจว่าด้วยสาเหตุใด พบเพียงเครื่องจักรกำลังทำงานบนชายหาดเท่านั้น จากการเดินสำรวจพบประชาชนเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เติมทรายแล้วเสร็จตามปกติแล้ว แม้ยามพระอาทิตย์ลับขอบฟ้ายามค่ำคืนก็ยังมีการใช้พื้นที่เพื่อนั่งกินดื่ม รับลม เพื่อพักผ่อนหย่อนใจ Beach Lover จะพยายามลงสำรวจพื้นที่นี้ให้บ่อยครั้ง เพื่อนำข้อมูลมาเล่าสู่กันฟังถึงโครงการเติมทรายชายหาดที่ยาวและใช้งบประมาณสูงที่สุดในประเทศไทย …. โปรดติดตาม

Beachlover

September 6, 2022

Elastocoast หาดกระทิงลาย ยังสบายดี ?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอข้อมูลเชิงวิชาการที่เกี่ยวข้องกับ Elastocoast ไปแล้ว ติดตามได้จาก https://beachlover.net/elastocoast-คืออะไร/ นอกจากนั้นยังได้พาสำรวจชายฝั่งที่ใช้ Elastocoast เพื่องานป้องกันชายฝั่งในพื้นที่ชะอำ (https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/) และท่าบอน จ. สงขลา ไปแล้ว ในครั้งนี้ของพาชมงานป้องกันชายฝั่งที่ใช้ Elastocoast แถบฝั่งตะวันออกกันบ้าง Beach Lover ได้เคยพาชมภาพมุมสูงของพื้นที่สวนสาธารณะหาดกระทิงลายไปเมื่อสองปีก่อนตามโพส https://beachlover.net/สวนสาธารณะหาดกระทิงลาย/ มาวันนี้ของพาสำรวจสภาพของ Elastocoast ณ ตำแหน่งเดิมในมุมสูงกันอีกครั้ง ถึงปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าดำเนินการโดยหน่วยงานใด จะพบว่าภาพในมุมใกล้เคียงกัน ณ ตำแหน่งเดิมของโครงสร้างในเดือนมีนาคม 2563 สภาพของ Elastocoast ยังอยู่ดี แต่ภาพของเดือนสิงหาคม 2565 พบว่า มีบางตำแหน่งหลุดล่อนเสียหาย โดยมีสภาพความเสียหายคล้ายกับที่เกิดขึ้นบริเวณหาดชะอำตามโพส https://beachlover.net/พาชมโครงสร้าง-elastocoast-ชะอำ/ สำหรับการใช้ Elastocoast เพื่องานป้องกันชายฝั่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดนักว่านำเข้ามาใช้เมื่อไหร่ และพื้นที่ใดเป็นที่แรกๆ จากข้อมูลกรมเจ้าท่าพบว่ามีการดำเนินการไปเมื่อ 6 ปีก่อน ณ หาดปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ และจากการสำรวจภาคสนามโดย Beach Lover พบ […]

Beachlover

August 25, 2022

หาดบางละมุง กำลังจะมีกำแพง ?!?

หาดบางละมุง เป็นพื้นที่ชายหาดส่วนถัดไปทางทิศใต้ของท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง มีการใช้ประโยชน์ที่ดินทั้งเป็นที่อยู่อาศัย โรงแรม ร้านอาหาร และชุมชนประมง หาดทรายบริเวณนี้มีความยาวต่อเนื่องเป็นทรงโค้งด้วยระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 10 กิโลเมตร จากท่าเทียบเรือแหลมฉบังถึงสะพานปลานาเกลือ พื้นที่แถบกลางอ่าวระยะทาง 2.3 กิโลเมตร ประสบปัญหาคลื่นกัดเซาะชายฝั่งจนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเข้ามาแก้ไขปัญหา และนำมาซึ่งมาตรการต่างๆที่ได้นำมาเสนอประชาชนในพื้นที่ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับทราบและร่วมกันแสดงความคิดเห็น หน่วยงานที่เข้ามาดำเนินการคือกรมโยธาธิการและผังเมือง ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นรวม 3 ครั้ง โดยครั้งล่าสุดจัดไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2565 โดยได้นำรูปแบบที่คาดว่าจะเกิดผลดีต่อชายหาดบริเวณนี้มานำเสนอต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยโครงการในพื้นที่นี้อันที่จริงแล้วเป็นหนึ่งใน “โครงการศึกษาเพื่อกําหนดแนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะที่ 2” มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบรายละเอียดของพื้นที่ที่ได้รับการคัดเลือกอย่างน้อย 4 พื้นที่ โดยพื้นที่ชายหาดที่นี้คือหนึ่งใน 4 ของพื้นที่ที่หน่วยงานจะนำไปออกแบบรายละเอียดเพื่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไป โดยรูปแบบที่นำมาเสนอเพื่อให้แสดงความคิดเห็นครั้งล่าสุดในเดือนสิงหาคมคือการสร้าง “กำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงและการเติมทราย” Beach Lover ได้ทำการสำรวจภาพมุมสูงภายในพื้นที่โครงการตลอดแนวชายฝั่งประมาณ 2.3 กิโลเมตร ในวันที่ 18 สิงหาคม 2565 พบว่ามีโครงสร้างริมชายหาดเสียหายจากคลื่นมรสุม มีกำแพงกันคลื่นของเอกชนที่ส่วนมากยังคงมีสภาพดี มีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเอกชน และยังคงมีพื้นที่บางส่วนที่ยังไม่มีโครงสร้างป้องกัน ดังรูป จากการสอบถามชาวประมงได้ความว่า พื้นที่แถบนี้จะประสบกับปัญหาน้ำทะเลยกตัวสูงและคลื่นลมแรงจนส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายหาดเฉพาะช่วงมิถุนายนถึงสิงหาคมของทุกปีเท่านั้น และไม่ได้เกิดขึ้นทุกวัน อย่างเช่นในวันที่ […]

Beachlover

August 24, 2022

ผุด Wongamat Beach Village ไลฟ์สไตล์มอลล์ริมชายหาด

ที่มา: https://www.facebook.com/realist.co.th Wongamat Beach Village ไลฟ์สไตล์มอลล์แห่งใหม่ริมหาดวงศ์อมาตย์เตรียมเปิดเฟสแรก ธันวา 65 หาดวงศ์อมาตย์เป็น 1 ในหาดที่มีชื่อเสียงของพัทยา โดยเป็นทำเลที่เป็นศูนย์รวมของโครงการระดับ Super Luxury ราคาของโครงการคอนโดพุ่งสูงไปเกือบ 180,000 บ./ตร.ม. ทำให้ในพื้นที่มีการพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว มีโครงการใหม่ๆเกิดขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไลต์การใช้ชีวิตของคนที่เข้ามาในพื้นที่. หนึ่งในโครงการใหม่ที่เกิดขึ้นในทำเลนี้คือ Wongamat Beach Village ที่เป็นโครงการภายในการพัฒนาของ กลุ่มเซ็นทรัล ที่เป็นไลฟ์สไตล์ มอลล์ ริมทะเลที่มาในแนวคิดที่ไม่เหมือนใคร ด้วยพื้นที่กว่า 13 ไร่ หน้ากว้างติดหาด 90 ม. มูลค่าโครงการในเฟสแรกกว่า 3000 ลบ. เน้นเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติคุณภาพกำลังซื้อสูง โดยร้านค้าและร้านอาหารชั้นนำ มีการคาดการณ์ว่าจะมีผู้คนมาใช้บริการ 1 ล้านคนต่อปี สร้าง New Destination ในฐานะไฮไลต์ของเขตพัฒนาพิเศษย่านตะวันออก (EEC) โครงการเป็นอาคารชั้นเดียวให้บรรยากาศริมทะเล เดินช็อปปิ้งบนชายหาด และบรรยากาศธรรมชาติ ด้วยพื้นที่สีเขียว 75% ของโครงการ Wongamat Beach […]

Beachlover

June 1, 2022

ประชุมรับฟังความคิดเห็น หาดกระทิงลาย [19 พ.ค.2565]

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง วัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือ (1) เพื่อศึกษาและจัดทําแผนหลักแนวทางและมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้ ระบบกลุ่มหาดอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้เป็นกรอบ แนวทางในการดําเนินมาตรการป้องกันแก้ไขปัญหาในเชิงพื้นที่ให้กับชายฝั่งที่ประสบปัญหา การกัดเซาะอย่างบูรณาการและเกิดผลสัมฤทธิ์อย่างแท้จริง (2) เพื่อออกแบบรายละเอียด (Detail design) ตามมาตรการการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ ศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกให้ดําเนินการแก้ไขปัญหาก่อนจํานวนอย่างน้อย 4 พื้นที่

Beachlover

May 16, 2022
1 2 3 5