สดๆร้อนๆ ! เปิด (ร่าง) งบประมาณแผ่นดินปี 2564 เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งใน 3 กรม

สดๆร้อนๆ !!! (ร่าง) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ประจำปีงบประมาณ 2564 ใน 3 กรม จาก 3 กระทรวง รวม 1,735,484,800 บาท มีหลายประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกต โดยเฉพาะงานป้องกันชายฝั่งในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 12 โครงการ พบว่าหลายพื้นที่ก่อสร้างไม่มีบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ต้องป้องกัน โดยโครงการถูกบรรจุไว้ในแผนบูรณาการโครงการมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้ (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8 และ ขาวคาดแดงเล่มที่ 18-1) บางโครงการแม้สร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ถูกตั้งงบประมาณกระจายไปในหลายโครงการ เช่น โครงการป้องกันชายฝั่งปากแตระ ระโนด จ.สงขลา จำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่หมู่ 3, 4 และ 5 ที่ตั้งงบประมาณไว้ใน โครงการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และโครงการป้องกันการสูญเสียดินแดน (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8) ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ทั้ง 80 โครงการในปี 2564 […]

Beachlover

July 1, 2020

กำแพงกันคลื่น 4 โครงการ ณ หาดปากแตระ อ.ระโนด [29 มิ.ย.2563]

ชายหาดบริเวณนี้ มีชุมชนตั้งอยู่ค่อนข้างประชิดชายฝั่งทะเล ยังไม่มีโอกาสที่จะวิเคราะห์ว่าชายหาดกัดเซาะ “ชั่วคราวหรือชั่วโคตร” แต่พื้นที่หมู่ 3,4 และ 5 ของปากแตระ อ.ระโนด จ.สงขลา นี้เป็นพื้นที่ที่มีงานก่อสร้างโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งพร้อมปรับภูมิทัศน์จำนวน 4 โครงการ ต่อเนื่องมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2561-2565 รวมความยาวตามแนวชายฝั่ง 2.7085 กิโลเมตร งบประมาณรวมทั้งสิ้น 386.08 ล้านบาท เฉลี่ยแล้วกำแพงกันคลื่นแบบที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังก่อสร้างอยู่ และจะแล้วเสร็จในปีงบประมาณ 2565 นี้ มีราคากิโลเมตรละ 142.54 ล้านบาท !!! ปีถัดๆไปอาจได้เห็นงบประมาณแผ่นดินที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ถัดๆไปทางทิศเหนือของปากแตระ เหตุเพราะเมื่อสิ้นสุดปลายกำแพงกันคลื่น ชายหาดส่วนถัดไปอาจประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอันเนื่องมาจากกำแพงกันคลื่นทั้ง 4 โครงการนี้เพิ่มมากขึ้น และเนื่องจากการสร้างกำแพงกันคลื่นประชิดชายฝั่งลักษณะนี้ดำเนินการได้ง่าย เพราะไม่ต้องทำการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ส่งผลให้เราอาจเห็นการระบาดของกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนวชายฝั่ง ไม่เฉพาะที่นี่ … แต่อาจเป็นชายหาดที่ไหนสักแห่งที่เราคุ้นเคยก็เป็นได้ คำถามตัวโตๆ … จะไปต่อหรือพอแค่นี้

Beachlover

July 1, 2020

ชายหาดกัดเซาะแบบไหน “ชั่วคราว”หรือ”ชั่วโคตร”[4 มิ.ย.2563]

“ชายหาดถูกกัดเซาะหรือไม่” เป็นประเด็นถกเถียงหลัก ของความขัดแย้งในโครงการป้องกันชายฝั่งหาดม่วงงาม และคำตอบจากคำถามนี้ จะนำไปสู่การเลือก “ใช้” หรือ “ไม่ใช้” มาตรการเพื่อป้องกันชายฝั่ง Beach lover อยากชวนไปดูภาพการเปลี่ยนแปลงชายหาดในสองลักษณะของ จ.สงขลา เพื่อชวนคิดต่อ ภาพแรกเป็นการกัดเซาะด้านหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท (รายละเอียดติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดหน้าโรงแรมหาดแก้ว/ ) และ ภาพที่สอง คือการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม (รายละเอียดติดตามได้จาก https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/ ) ภาพแรกแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2556-2558 ของชายหาดหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท แต่ในปี 2560 เริ่มสังเกตเห็นการกัดเซาะอย่างชัดเจนอันเนื่องมาจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ (ด้านขวาของภาพ) ลักษณะเช่นนี้จะเป็นการกัดเซาะแบบถาวร หรือการกัดเซาะที่อาจเรียกง่ายๆว่า “การกัดเซาะแบบชั่วโคตร” โดยที่ชายหาดจะไม่สามารถกลับคืนสมดุลเดิมได้อีกต่อไป จนท้ายสุดก็ไม่สามารถสู้กับการกัดเซาะได้จนต้องสร้างกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่เพื่อป้องกันพื้นที่ตามที่ปรากฏให้เห็นในภาพปี 2562 ภาพที่สอง แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายหาดม่วงงามเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2556-2562 และไม่ปรากฏให้เห็นการกัดเซาะเข้ามาถึงด้านในถนนอย่างชัดเจนเลย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าไม่มีภาพที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงที่หาดถูกกัดเซาะ แต่จากการวิเคราะห์โดยในภาพถ่ายดาวเทียมตามที่แสดงรายละเอียดไว้ใน https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/ นั้น พบว่าชายหาดม่วงงามหมู่ที่ 7 เกิดการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเท่านั้น มีการกัดเซาะทับถมสลับกันไปในปริมาณเพียงเล็กน้อย สุทธิแล้วตั้งแต่ปี 2556-2562 พบการทับถมของชายหาดประมาณ 1.9 เมตร ต่อปี […]

Beachlover

June 4, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 5/5: ประเด็นชวนคิด -ต่อ)

ความเสียหายที่เกิดจากการสร้าง ไม่ได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จากรูปที่ 8 (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/) ยามน้ำลดลงถึงระดับน้ำลงเฉลี่ยช่วงน้ำเกิด (ระดับ -0.49 ม.รทก) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำมีพิสัยการขึ้นลงที่แตกต่างกันมากที่สุด เกิดในช่วงพระจันทร์เต็มดวงทั้งข้างขึ้นและข้างแรม พบว่าฐานของโครงสร้างกำแพงนี้จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลตลอดเวลา (เสาเข็มต้นที่อยู่ฝั่งทะเลและแนวถุงทราย) เมื่อน้ำขึ้นจะมีบางส่วนของกำแพงที่อยู่ใต้น้ำเพิ่มเติม และเมื่อโครงสร้างอยู่ในแนวที่น้ำท่วมถึงคลื่นจะวิ่งเข้ามาถึง นั่นหมายถึงโครงสร้างนั้นกำลังรบกวนสมดุลของกระบวนการชายฝั่งทะเล แม้ตามแบบจะปรากฏชัดว่าจะมีการถมทรายกลับทับจนถึงบันไดขั้นที่สาม (จากด้านบน) แต่เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะทรายที่ถูกถมทับไปบนกำแพงขั้นบันได คลื่นจะค่อยๆชักเอาทรายด้านบนและด้านหน้าบันไดออกไป และเมื่อทรายด้านบนที่ถมทับถูกชักออกไปทั้งหมด คลื่นจะสามารถวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงโดยตรงและจะส่งผลให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง ยิ่งเหนี่ยวนำให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงออกนอกชายฝั่ง และชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปอย่างถาวร แสดงผลกระทบของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นดังรูปที่ 11 นอกจากนั้นกำแพงจะยิ่งส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงเกิดการกัดเซาะได้เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ แสดงดังรูปที่ 12 หากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบดังรูปที่ 13 ซึ่งจะยิ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น งานป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น โดยมากเป็นการดำเนินงานเฉพาะพื้นที่ ทั้งที่จริงแล้วชายฝั่งทะเลเป็นเขตติดต่อที่ยาวต่อเนื่องกัน การดำเนินการในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่ออีกพื้นที่หนึ่งบริเวณใกล้เคียง พบว่าปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยส่วนใหญ่ต้นเหตุแห่งปัญหามาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะ แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเสียเอง (https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314) ประเทศที่มีดินแดนติดชายฝั่งหลายประเทศ โดยเรียนรู้จากบทเรียนเดิมที่เคยเกิดขึ้นว่า มาตรการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่นับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่ายิ่งสร้างโครงสร้างป้องกันยิ่งจะส่งผลให้ต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เพราะชายหาดที่ไม่ถูกป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นโดมิโน่ (Domino effect) แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการ จากการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่โดยใช้โครงสร้างป้องกัน มาเป็นใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้น หลายหน่วยงานได้ดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่  […]

Beachlover

May 21, 2020

คนหาดม่วงงามยื่นศาลปกครองสั่งยุติ และรื้อถอนกำแพงกันคลื่น [14 พ.ค.2563]

ที่มา: https://prachatai.com/journal/2020/05/87657?ref=internal_relate และ ภาพจาก https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL คนหาดม่วงงาม ยื่นศาลปกครองพิจารณา สั่งกรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า ยุติโครงการ และรื้อถอน เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล ชี้โครงการขาดการมีส่วนร่วม ไม่มีการทำ EIA ทั้งที่โครงอาจส่งผลกระทบต่อชายฝั่ง และการดำเนินโครงการไม่ได้ขออนุญาติก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ และขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสภาพที่ดิน 14 พ.ค. 2563 ประชาชนใน ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ที่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายหาดม่วงงาม ได้ยื่นศาลปกครองพิจารณาคดีกับ กรมโยธาธิการและผังเมือง และกรมเจ้าท่า โดยมีผู้ฟ้องคือ เปรมชนัน บำรุงวงค์ , พิสัน แก้วมณี , จรรยาพร บูรณะ , วีระพงศ์ เด็นมุหมัด , วิโรจน์ สนตอน ผู้ฟ้องที่ 1-5 ตามลำดับ โดยมีผู้สนับสนุนการฟ้องคดีรวมทั้งสิ้น 541 คน รายละเอียดในคำฟ้องระบุว่า สืบเนื่องจาก กรมโยธาธิการได้ดำเนินการโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมชายฝั่งทะเล พร้อมปรับปรุงภูมิทัศน์พื้นที่ชายฝั่ง หมู่ที่ […]

Beachlover

May 20, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 4/5: ประเด็นชวนคิด 1)

การใช้มาตรการที่เกินจำเป็น จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหาดม่วงงามทั้งภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลวิเคราะห์เชิงปริมาณ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/) ข้อมูลจากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และภาพถ่ายจากการออกภาคสนาม (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/) พบข้อมูลที่สอดคล้องตรงกันทั้งหมดว่าชายหาดม่วงงามนั้นไม่เกิดการกัดเซาะที่รุนแรงขนาดที่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งขนาดใหญ่ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/) การดำเนินโครงการนี้จึงขัดต่อหลักความจำเป็น รวมถึงมาตรการที่เลือกใช้นั้นพบว่าไม่ได้สมดุลกับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรัฐต้องการแก้ไข หากศึกษาแนวโน้มการกัดเซาะของหาดม่วงงามจากข้อมูลอดีต มีความน่าจะเป็นต่ำที่ชายหาดจะเกิดการกัดเซาะลึกเข้ามาจนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง แม้กระทั่งพายุใหญ่อย่างปาบึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2562 ก็ยังไม่ส่งผลให้หาดม่วงงามกัดเซาะอย่างมีนัยสำคัญ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/) ” รัฐไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มั่นคงถาวร เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวอย่างไม่รุนแรง ไม่มีเหตุผลอย่างเพียงพอที่ต้องสร้างโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ทับลงบนชายหาดที่ยังสมบูรณ์ รัฐควรเลือกใช้แนวทางเลือกที่ได้สมดุลกับการกัดเซาะที่ต้องการป้องกัน”  สำหรับหาดม่วงงามที่เกิดการกัดเซาะเพียงเล็กน้อยและเกิดเพียงชั่วคราว ก็ควรเลือกใช้มาตรการที่สอดคล้องเหมาะสมกับผลกระทบ เป็นต้นว่าโครงสร้างชั่วคราว ที่สามารถป้องกันการกัดเซาะระดับไม่รุนแรงและเกิดขึ้นแบบชั่วครั้งชั่วคราวได้ดี ดังที่ท้องถิ่นได้ดำเนินการแล้ว ในอดีต เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วการกัดเซาะจะเกิดเพียงชั่วคราวตามฤดูกาล เว้นเสียแต่จะมีการแทรกแซงสมดุลของธรรมชาติชายฝั่งทะเลโดยกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การสร้างโครงสร้างล้ำลงไปกีดขวางการเคลื่อนที่ของของตะกอน โดยพบว่าบริเวณชายหาดที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดการกัดเซาะน้อยกว่า บริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับโครงสร้าง อันเนื่องจากอิทธิพลของโครงสร้างชายฝั่งกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทราย “แม้ว่าต่อไปในภายภาคหน้า ธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งทะเลจนส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะเข้ามาจนถึงโครงสร้างพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน เมื่อถึงยามจำเป็นจึงค่อยพิจารณาป้องกันแก้ไขเฉพาะรายพื้นที่ ด้วยมาตรการที่สมดุลกับความเสียหายที่เกิดขึ้น” จากรายการการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองพบว่ามาตรการที่เสนอให้ประชาชนได้ลงความเห็นล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการถาวรและเกินจำเป็นใช้งบประมาณมากโดยทุกมาตรการไม่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการที่รัฐศึกษารวบรวมมาให้ประชาชนลงความเห็น และมาตรการที่ถูกเลือกให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ไม่ใช่มาตรการที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ยังมีมาตรการอื่นๆที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ คือการป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวในช่วงฤดูกาลมรสุมช่วงสั้นๆหรือช่วงใดช่วงหนึ่งโดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณเท่ากับโครงการที่รัฐกำลังดำเนินการ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งลักษณะเช่นนี้จึงขัดต่อหลักความจำเป็น โปรดติดตามตอนที่ 5/5: ประเด็นชวนคิด(ต่อ) ได้ ผ่าน […]

Beachlover

May 20, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 3/5: ประวัติการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม)

Beach Lover ได้นำเสนอสภาพทั่วไปและลักษณะโครงการป้องกันชายฝั่งที่กำลังก่อสร้างบนชายหาดม่วงงามไปแล้วสองตอน ติดตามย้อนหลังได้จาก Link ด้านล่าง ความเดิมตอนที่ 1/5:https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/ ความเดิมตอนที่ 2/5:https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/ จากประวัติการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามตั้งแต่ปี ค.ศ.2013-2019 (พ.ศ.2556-2562) โดยแปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พร้อมปรับความถูกต้องเชิงพิกัดภูมิศาสตร์แล้ว โดยอ้างอิงแนวชายฝั่งจากแนวพืชขึ้นถาวรสูงสุด (Permanent vegetation line) ซึ่งเป็นตำแหน่งของแนวชายฝั่งตามนิยามที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งใช้อยู่ในปัจจุบัน (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561) พบว่า สภาพทั่วไปของชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงปี แสดงดังรูปที่ 9 จากภาพถ่ายดาวเทียมปรากฏชัดว่าชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ พื้นที่ชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย พบว่าแนวระดับน้ำทะเลไม่กินลึกเข้ามาถึงแนวถนนเลยแม้แต่ช่วงเวลาเดียว อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามฤดูกาล โดยช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ประมาณ ตุลาคม ถึง กุมภาพันธ์) ของทุกปี ชายหาดภาคใต้ตอนล่างมักเกิดคลื่นใหญ่ลมแรงและอาจพบเห็นการกัดเซาะได้ในช่วงเวลานี้ หลังจากนั้นในช่วงปลอดมรสุมในเดือนมิถุนายนไปจนถึงกันยายน คลื่นแถบนี้จะมีขนาดเล็ก และอาจพบสันดอนทรายใต้น้ำในช่วงเวลานี้ (รูปที่ 9  A D F และ G) ซึ่งถือว่าเป็นปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันคลื่นเข้าปะทะชายฝั่งทะเลโดยตรง เมื่อนำแนวชายฝั่งของแต่ละชุดข้อมูลมาซ้อนทับกันเพื่อวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่าชายหาดม่วงงามในหมู่ 7 ระยะทางตามแนวชายฝั่ง 630 […]

Beachlover

May 19, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม ตอนที่ 2/5: ลักษณะของโครงการ

ความเดิมจากตอนที่ 1 ติดตามได้จาก : https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/ ในปี พ.ศ. 2559 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ริเร่ิมดำเนินโครงการเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งบริเวณชายหาดม่วงงาม ความยาวตลอดชายฝั่งในระยะแรก (เฟส 1) 630 เมตร ด้วยงบประมาณ 87.034 ล้านบาท บริเวณพื้นที่หมู่ 7 ต.ม่วงงาม มีขอบเขตโครงการตั้งแต่ทิศใต้ของขอบเขตสนามกีฬาเรื่อยลงทางทางใต้สิ้นสุดที่สามแยกบริเวณเทศบาลตำบลม่วงงาม แสดงขอบเขตพื้นที่โครงการดังรูปที่ 6 โดยมีรูปแบบของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งดังรูปที่ 7 โดยที่รูปแบบของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเป็นกำแพงกันคลื่นคอนกรีตแบบขั้นบันได แสดงรูปตัดของโครงสร้างที่จะก่อสร้างตามแผนดังรูปที่ 8 โปรดติดตามตอนที่ 3/5: ประวัติการกัดเซาะชายหาดม่วงงามได้ ผ่าน www.beachlover.net

Beachlover

May 18, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 1/5: สภาพทั่วไปของชายหาดม่วงงาม)

หาดม่วงงาม ตั้งอยู่ใน ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีสภาพทั่วไปเป็นหาดทรายขาว ยาวต่อเนื่องในแนวเหนือใต้ ทางทิศใต้ของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นที่ตั้งของชุมชนริมหาดม่วงงาม ส่วนมากเป็นชุมชนประมง ใช้พื้นที่ชายหาดด้านหน้าชุมชนเป็นพื้นที่จอดเรือวางอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพประมง ส่วนด้านทิศเหนือของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน เป็นชายหาดท่องเที่ยวมีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว  ไม่มีชุมชนตั้งประชิดชายหาดเหมือนทางตอนใต้ มีการปรับภูมิทัศน์โดยการทำลานคอนกรีตและปรับพื้นที่บางส่วนโดยการปูอิฐบล็อคเพื่อความสะดวกในการใช้พื้นที่ แสดงสภาพทั่วไปของชายหาดในหมู่ที่ 7 ระยะทาง 630 เมตร ดังรูปที่  1 จากรูปที่ 1 ที่ถ่ายโดย Google ในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ริเริ่มโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงามโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในเฟสที่ 1 ยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะล้ำเข้ามาจนถึงโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐดังที่ถูกระบุไว้ในเอกสารสรุปความเป็นมาและความคืบหน้าของโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อย่างไรก็ตาม การกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับชายหาดทั่วโลกแต่จะมีสาเหตุและผล กระทบแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ หาดม่วงงามประสบปัญหาการกัดเซาะเช่นเดียวกันกับชายฝั่งอื่นๆทั่วประเทศ นั่นคือการกัดเซาะในฤดูมรสุมส่งผลให้ชายหาดหดหายไป คลื่นกระเซ็นขึ้นมาบนถนนบ้างในบางฤดูกาล และยามหมดมรสุมชายหาดก็กลับมากว้างเหมือนเดิมตามสมดุลชายฝั่งที่แสดงดังรูปที่ 2 โดยรูปที่ 3  แสดงภาพบางส่วนในอดีตของชายหาดม่วงงามหลังผ่านพ้นพายุปาบึก ที่เข้าปะทะชายหาดภาคใต้ตอนล่างเมื่อต้นเดือนมกราคม 2562 ซึ่งส่งผลถึงชายหาด จ.สงขลาทั้งหมดเช่นกัน พบว่าแม้จะประสบกับคลื่นพายุขนาดใหญ่ แต่ชายหาดม่วงงามก็สามารถฟื้นกลับคืนสมดุลได้เองตามธรรมชาติ บางตำแหน่งของชายหาดม่วงงามพบการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวโดยหน่วยงานส่วนท้องถิ่นบ้างในช่วงมรสุมอย่างการปักไม้ชะลอคลื่น ซึ่งมิได้กีดขวางการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดมากนักและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเหมือนโครงสร้างถาวรแสดงดังรูปที่ 4 ทีม […]

Beachlover

May 17, 2020

เกิดอะไรขึ้นกับหาดมหาราช ช่วงโควิด19? [15 พ.ค.2563]

ทีม Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของชายหาดมหาราชมาอย่างเป็นระยะๆแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 จำนวน 6 เรื่อง ติดตามย้อนหลังได้จาก โพสเก่าๆของสถานการณ์ชายฝั่งทะเล https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพง-หาดมหา/ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-มหาราช/ https://beachlover.net/google-earth-หาดมหาราช-สงขลา/ https://beachlover.net/ตอกเข็มแล้ว-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/ใกล้แล้ว-หาดมหาราช/ ณ ช่วงเวลาที่ชายหาดท่องเที่ยวหลายแห่งปิดไม่ให้เข้าใช้พื้นที่ แต่ชายหาดส่วนใหญ่ประชาชนยังสามารถเข้าถึงได้ปกติ แต่ ณ ช่วงเวลานี้ ชายหาดมหาราชที่ชาวสงขลาเคยเข้าถึงได้อย่างปกติ กำลังมีงานโครงสร้างขนาดใหญ่ก่อสร้างทับลงไปบนพื้นที่ชายหาด และดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมาหลายเดือนอย่างเร่งรีบ ภาพปัจจุบัน (ไม่ทราบแหล่งที่มาของภาพ) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ชายหาดที่สมบูรณ์ไร้ร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่ง กำลังถูกแทนที่ด้วยโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได แบบที่เคยเกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของชายหาดในประเทศไทย การระบาดของกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่รัฐได้ถอดถอนรายชื่อกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม้ไร้ซึ่งความจำเป็น เราก็จะ “ขลิบ” ชายหาดมหาราช ด้วยกำแพงกันคลื่น ในมูลค่า 151.72 ล้านบาทต่อกิโลเมตร กันจริงใช่ไหม ?!?!?

Beachlover

May 15, 2020
1 26 27 28 29