พาชมโพรงใต้กำแพงกันคลื่น ณ หาดทุ่งประดู่

พาชมโพรงใต้กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ หาดทุ่งประดู่ ประจวบฯ ระยะทางประมาณ 100 เมตร ผลงาน อบต เมื่อสามปีที่แล้ว มูลค่างาน 5 ล้านบาท และลงงบซ่อมบำรุงไปอีก 2 ล้านบาท รวมเป็น 7 ล้านบาท ชาวบ้านแจ้งว่าหินด้านในใต้โพรงกำแพงนั้นหลุดออกมาด้านนอก เป็นอุปสรรคต่อการนำเรือเข้าจอดแล้วการเล่นน้ำของเด็กๆริมชายหาด บริเวณใกล้เคียงกันพบกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงโดยกรมเจ้าท่า ที่ยังสร้างไม่เสร็จตามแผนเนื่องจากผู้รับเหมาทิ้งงาน รวมถึงกำแพงกันคลื่นที่ชาวบ้านลงทุนสร้างเพื่อป้องกันพื้นที่ของตัวเอง โดยทาง Beach Lover จะนำข้อมูลมาเผยแพร่ในโอกาสต่อไป

Beachlover

August 28, 2020

อะไร! ยังไง? @ หาดชลาทัศน์

หาดสมิหลา-ชลาทัศน์ ชายหาดทรายขาวยาว 7.8 กิโลเมตร ใจกลางเมืองสงขลา มีความพยายามเพื่อป้องกันชายฝั่งอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2545 ทั้งกระสอบเล็กใหญ่ ยางรถยนต์ รอดักทราย กำแพงกันคลื่นแบบหิ้งทิ้ง กำแพงกันคลื่นแบบกระสอบทรายขนาดใหญ่ รวมถึงการเติมทรายชายหาดจำนวน 3 ครั้ง ตั้งแต่ปี 2555 เป็นต้นมา ซึ่งมีทั้งที่ประสบผลสำเร็จ มีทั้งที่ล้มเหลว มีทั้งที่นำเรื่องขึ้นสู่ชั้นศาลเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดี [https://beachlover.net/คดีสมิหลาชลาทัศน์/] และมีทั้งรอคอยการดำเนินการต่อของผู้รับเหมา ติดตามได้จากโพสเก่าๆในสถานการณ์ชายฝั่งทะเล [https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/กระสอบทราย-ชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/ความคืบหน้างานเติมทราย/ และ https://beachlover.net/รูปตัดชายหาด-ชลาทัศน์/ และ https://beachlover.net/ไร้เรือดูดทราย-แหลมสน/ รวมถึง VDO Clip https://www.youtube.com/watch?v=WSG2DrtvW6c และ https://www.youtube.com/watch?v=rhLpm1_kB2g ] Beach Lover ได้ติดตามสถานการณ์การกัดเซาะและการดำเนินงานของหน่วยงานที่รับผิดชอบบนชายหาดชลาทัศน์มาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดพบภาพรถแบคโฮบนโป๊ะจอดอยู่ริมชายหาด และซากของท่อเหล็กที่ต่อลงไปในทะเลและมีบางส่วนวางเป็นท่อนๆอยู่บนชายหาด ยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เป็นการดำเนินงานของหน่วยงานใด และเพื่อวัตถุประสงค์ใด หากมีข้อมูลเพิ่มเติม Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

Beachlover

August 25, 2020

ความคืบหน้างานสร้างกำแพงกันคลื่นหาดบ่ออิฐ-เกาะแต้ว

ชายฝั่งทะเลแถบบ้านบ่ออิฐ เกาะแต้ว เรื่อยมาทางทิศเหนือถึงเขารูปช้าง เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ แต่เดิมมีเพียงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นด้านทิศเหนือของปากน้ำเพื่อป้องกันการกัดเซาะเพียง 4 ตัว แต่เนื่องจากผลกระทบของโครงสร้างนั้นนำมาซึ่งผลกระทบชิ่งแบบเป็นโดมิโน่ของชายหาดส่วนถัดไป อีกทั้งหน่วยงานรับผิดชอบเลือกที่จะสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ จึงเกิดโครงสร้างทั้งเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย กำแพงกันคลื่นประชิดฝั่ง ต่อเนื่องยาวไปทางทิศเหนือจวบจนถึงปัจจุบัน มีเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 18  ตัว รอดักทราย 3 ตัว และกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนวยาวประมาณ 8.5 กิโลเมตร ริมถนนหมายเลข สข3004 และแน่นอนว่า ชายหาดด้านถัดไปของตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างตัวสุดท้าย ซึ่งสำหรับบริเวณนี้คือปลายกำแพงกันคลื่น ย่อมเกิดการกัดเซาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กรมเจ้าท่า ได้ดำเนินโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทาง 3,450 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท จะแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2564 โดยทาง Beach Lover ได้เคยนำเสนอไปเมื่อกลางปี 2562 ในช่วงที่โครงการเพิ่งริเริ่มก่อสร้าง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-เขารูปช้าง/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามความคืบหน้างานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นนี้อย่างต่อเนื่อง พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึง สิงหาคม 2563 ตามรูป […]

Beachlover

August 25, 2020

กำแพงกันอะไร ? ช่วงปลอดมรสุม

ภาพเมื่อ: สิงหาคม 2563 แหลมตาชีหรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าแหลมโพธิ์ ถือเป็นสัญลักษณ์หนึ่งที่สำคัญเมื่อกล่าวถึงชายหาดแห่งเมืองปัตตานี โดยสภาพทั่วไปแล้วแหลมตาชีจะงอกยาวขึ้นเรื่อยๆเนื่องจากตะกอนทรายเลียบชายฝั่งที่เคลื่อนตัวจากทิศใต้สู่ทิศเหนือ Beach Lover ได้ลงสำรวจชายหาดบริเวณแหลมตาชีช่วงกลางเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงปลอดมรสุม พบตะกอนทรายไหลมากองอยู่บริเวณชายทะเลแถบนี้จำนวนมาก พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งความยาวประมาณ 320 เมตร ที่เคยสร้างไว้เดิม (ไม่ทราบหน่วยงานเจ้าของงาน) เพื่อป้องกันชายฝั่งยามมรสุมนั้นหมดหน้าที่ลงเนื่องจากคลื่นไม่สามารถวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงได้ อย่างไรก็ตาม คาดเดาได้ว่าในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ คลื่นและน้ำทะเลน่าจะเข้ามาปะทะถนนที่ตัดประชิดชายหาดมากๆแห่งนี้จนชำรุดเสียหาย เนื่องจากพบร่องรอยการซ่อมแซมถนน สำหรับชายฝั่งทะเลประเทศไทยระยะทางสามพันกว่ากิโลเมตรนั้น มีถนนจำนวนมากที่ตัดประชิดเลียบชายหาด จำนวนไม่น้อยวางตัวอยู่บนสันทรายธรรมชาติริมชายหาด ยามปลอดมรสุมถนนเส้นนั้นก็คงอยู่รอดปลอดภัย แต่ยามมรสุมเข้าเมื่อใด ก็มักจะเรียกร้องหาโครงสร้างมาป้องกันถนน เป็นเรื่องน่าคิดว่า เราจะอนุญาตให้ถนนตัดเลียบประชิดชายฝั่งแบบนี้ แล้วเรียกร้องหาโครงสร้างทางวิศวกรรมอีกชั้นหนึ่งมาป้องกันถนนจากอิทธิพลของคลื่นลมยามมรสุม ซึ่งนั่นหมายถึงงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษา หรือเราควรสงวนพื้นที่บางส่วนริมชายฝั่งไว้ ให้คลื่นได้มีพื้นที่ “Exercise” ช่วงมรสุม โดยการถอยถนนออกมาอยู่ในระยะปลอดภัย

Beachlover

August 20, 2020

พาชมหาดขั้นบันไดแห่งใหม่ของเมืองเพชร!

พาไปชมโครงการที่กำลังก่อสร้างโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พื้นที่ชายหาดชะอำใต้ ระยะทาง 1.438 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 102.924 ล้านบาท เริ่มดำเนินการในปี 2562 ต่อเนื่องถึงปี 2564 ทั้งนี้กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ตั้งงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชายหาดชะอำ ระยะที่ 3 ต่อจากเฟสนี้ที่กำลังจะแล้วเสร็จไปอีก 647 เมตร รวมงบประมาณทั้งสิ้น 48.5 ล้านบาท โดยผูกพันตั้งแต่ปี 2564-2566 นอกจากนี้ยังพบว่าร่างงบประมาณปี 2564 ของ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม (ขาวคาดแดง) ได้ตั้งงบประมาณเพื่อศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชายหาดชะอำ ไว้ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 18 ล้านบาท โดยผูกพันตั้งแต่ปี 2564-2565 บนพื้นที่ชายหาดชะอำเช่นเดียวกัน ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กัดเซาะ-ชะอำ-เอาไงดี/ สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตคือ โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเหมือนกันจากคนละหน่วยงาน บนพื้นที่เดียวกันนี้ ได้มีการปรึกษาหารือ หรือที่เรียกเป็นคำพูดที่สวยหรูเข้ากับยุคสมัยว่า “บูรณาการ” กันหรือไม่ ในขณะที่หน่วยงานหนึ่งกำลังก่อสร้างกำแพง จะมีผลต่องานศึกษาเพื่อสำรวจออกแบบการเติมทรายของอีกหน่วยงานหรือไม่

Beachlover

August 17, 2020

ถนนเลียบทะเลปานาเระ หายไปไหน?!?

[ภาพเมื่อ 9 ส.ค.2563] ใครผ่านไปผ่านมาแถบปานาเระ จ.ปัตตานี จะพบถนนเลียบทะเลที่ขาดลงในระยะประมาณ 1.3 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำปานาเระ ที่มีโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) และเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง 4 ตัว (ปัจจุบันหลงเหลือเพียง 1 ตัว) ทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ตามจริงแล้วหากถนนไม่ขาดลง เราสามารถใช้เส้นทางนี้วิ่งจากปากน้ำปานาเระไปถึงแหลมตาชีได้เลย Beach Lover ได้เคยลงพื้นที่สำรวจบริเวณนี้แล้วเมื่อสองปีก่อน จนถึงวันนี้พบว่ายังไม่มีการซ่อมแซม หรือสร้างถนนเส้นนี้ใหม่แต่อย่างใด หากสังเกตการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งบริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google earth พบว่า ตำแหน่งที่ถนนเส้นนี้ประชิดชายหาดมากที่สุด ก็ยังห่างจากแนวระดับน้ำประมาณ 70 เมตร (สังเกตจากภาพ ก.พ.2005) โดยเริ่มพบการกัดเซาะของถนนนี้อย่างชัดเจนจากภาพถ่ายเดือน ม.ค.ปี 2011 ซึ่งอาจเกิดการกัดเซาะก่อนหน้านั้นแต่ไม่ปรากฏหลักฐานจากภาพถ่ายเพราะไม่มีภาพถ่ายในช่วงระหว่าง 2005-2011 คาดว่าการกัดเซาะถนนเส้นนี้เกิดจากผลกระทบของโครงสร้าง Jetty และเขื่อนกันคลื่นทางทิศตะวันตกของปากร่องน้ำ ที่ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ถัดๆไปทางทิศตะวันตก ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2011 (ภาพ ส.ค.2011) พบการไหลของทรายจากฝั่งตะวันออกมาปิดปากร่องน้ำปานาเระแม้จะมีโครงสร้างป้องกันอย่าง Jetty แล้วก็ตาม และไหลล้นข้ามร่องน้ำมาตามธรรมชาติจวบจนถึงปัจจุบัน เป็นอุปสรรคต่อการเดินเรือเข้าออก แม้หน่วยงานที่รับผิดชอบจะขุดลอกอย่างไร ก็ไม่เท่าทันกับสถานการณ์ทรายที่ล้นมาปิดปากร่องน้ำ […]

Beachlover

August 12, 2020

ใครรุก ใครล้ำ @ เทพา จ.สงขลา

หากใครได้เห็นภาพด้านล่างนี้อาจจะรู้สึกว่ารีสอร์ทริมหาดเทพานี้กำลังรุกล้ำพื้นที่ชายหาด แต่ความเป็นจริงก็คือ ชายฝั่งเทพา จ.สงขลา เกิดการกัดเซาะมาอย่างต่อเนื่องหลังจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำเทพา พร้อมเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งอีก 5 ตัว ส่งผลกระทบหนักกับชายหาดด้านทิศเหนือของปากน้ำ เมื่อสังเกตการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งบริเวณนี้จาก Google Earth ใน 5 ช่วงเวลา พบว่าเริ่มเห็นการดำเนินการในพื้นที่ด้านหน้าทะเลของรีสอร์ทโดยการถมดิน ไม่แน่ใจว่าเป็นไปเพื่อป้องกันพื้นที่ตนเองช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ในปลายปี 2015 หรือเพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้ประโยชน์ด้านหน้าชายหาด สังเกตจากวงกลมสีแดงในแต่ละภาพ แสดงตำแหน่งของรีสอร์ท จากภาพมุมสูงที่ถ่ายในช่วง ก.ค.2563 พบกำแพงแสดงขอบเขตพื้นที่สิ้นสุดในแนวเดียวกันกับขอบฝั่งของพื้นที่ผืนถัดไปจากรีสอร์ท ซึ่งอาจจะหมายถึงตำแหน่งของขอบเขตที่ดินด้านหน้าทะเลซึ่งไม่ได้ยื่นล้ำลงไปในทะเลมากเท่ากับพื้นที่ดินถมด้านหน้ารีสอร์ท ” ใครรุกใครล้ำใครกันแน่” เรื่องราวนี้สามารถพิสูจน์กันได้ด้วยหมุดหลักเขตที่ดิน หมุดควบคุมทางน้ำของกรมเจ้าท่า ซึ่งตามปกติแล้ว มักหาไม่ค่อยเจอในพื้นที่แบบนี้ …..

Beachlover

August 8, 2020

ป้องกันการกัดเซาะหาดชะอำ เอาแบบไหน ยังไงดี ?!?

หาดชะอำ แหล่งท่องเที่ยวเลื่องชื่อของ จ.เพชรบุรี ด้วยทำเลที่ห่างจากกรุงเทพฯไม่ไกลมาก และค่าใช้จ่ายในการท่องเที่ยวที่มีให้เลือกหลากหลาย ตามความสบายของเงินในกระเป๋าของแต่ละคน มีที่พักตั้งแต่หลักร้อยถึงหลักหลายพันบาท อาหารการกินริมทางจนถึงภัตรคารริมทะเล รวมถึงการคมนาคมสาธารณะที่ค่อนข้างสะดวก จากร่างงบประมาณปี 2564 ของ กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม (ขาวคาดแดง) พบว่า กรมเจ้าท่าได้ตั้งงบประมาณเพื่อศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะเพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวชายหาดชะอำ ไว้ด้วยงบประมาณทั้งสิ้น 18 ล้านบาท โดยผูกพันตั้งแต่ปี 2564-2565 ในปีงบประมาณเดียวกันนี้ กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ตั้งงบประมาณเพื่อฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชายหาดชะอำ ระยะที่ 3 ต่อไปอีก 647 เมตร รวมงบประมาณทั้งสิ้น 48.5 ล้านบาท โดยผูกพันตั้งแต่ปี 2564-2566 จากเอกสารร่างงบประมาณ ยังไม่พบรายละเอียดของพื้นที่ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นของกรมโยธาธิการและผังเมือง รวมถึงพื้นที่ศึกษาเพื่อวางแผนสำรวจออกแบบการเติมทรายของกรมเจ้าท่า แต่ทั้งสองหน่วยงานได้ระบุตรงกันว่าเป็นพื้นที่ชายหาดชะอำ โดยชายหาดชะอำที่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งอยู่บ้างในขณะนี้คือแถบชะอำใต้ ริมถนนสาธารณะเลียบชายหาด ซึ่งกรมโยธาฯกำลังดำเนินการบางส่วนอยู่ในขณะนี้ โดยบางส่วนมีกำแพงกันคลื่นประชิดชายฝั่งอยู่แล้ว ทั้งหินทิ้ง และกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง และในบางพื้นที่ยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะอย่างรุนแรง สิ่งที่ควรตั้งข้อสังเกตคือ โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งเหมือนกันจากคนละหน่วยงาน บนพื้นที่เดียวกันนี้ ได้มีการปรึกษาหารือ หรือที่เรียกเป็นคำพูดที่สวยหรูเข้ากับยุคสมัยว่า “บูรณาการ” กันหรือไม่ ในขณะที่หน่วยงานหนึ่งกำลังก่อสร้างกำแพง จะมีผลต่องานศึกษาเพื่อสำรวจออกแบบการเติมทรายของอีกหน่วยงานหรือไม่ […]

Beachlover

July 14, 2020

หาดม่วงงามหลังศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว…ยังสบายดี

วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหลังชาวบ้านม่วงงาม จ.สงขลา ได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดม่วงงาม ที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2563 รายละเอียดของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจำนวน 25 หน้า สามารถติดตามได้จาก Website นี้ ในหมวดหมู่ “คดีชายหาด” Beach Lover ได้นำเสนอข้อเท็จจริง สถานภาพการกัดเซาะของชายหาดม่วงงาม รวมถึงลักษณะของโครงการตลอดจนข้อสังเกตในบางประเด็นไปแล้วจำนวน 5 โพส สามารถติดตามย้อนหลังได้ใน Website นี้ หมวดหมู่ “สถานการณ์ชายฝั่งทะเล” นอกจากนี้ ฺBeachlover ยังได้เผยแพร่คลิปการเดินสำรวจริมถนนในวันที่ 8 มิ.ย.2563 ของหมู่ที่ 7 ที่ถูกอ้างว่าเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนจำเป็นต้องมีโครงการกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยาวเกือบ 700 เมตรในเฟสที่ 1 ผ่านทาง https://www.youtube.com/watch?v=eBsizPSlqh0&t=371s ซึ่งจากคลิปที่ยาวเกือบ 9 นาที ยังไม่พบร่องรอยถนนที่โดนกัดเซาะอย่างรุนแรงตามคำกล่าวอ้าง ศาลปกครองสงขลารับฟ้องคดีนี้ไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายน และสั่งคุ้มครองชั่วคราวในอีก 2 สัปดาห์ถัดมา กระบวนการสอบสวนคดียังไม่เกิดขึ้น ข้อพิพาทนี้จะจบลงอย่างไรยังไม่แน่ใจ ใครแพ้ใครชนะ […]

Beachlover

July 4, 2020

ใครรุกใครล้ำใคร @ หว้าโทน ประจวบคีรีขันธ์

ชายหาดแถบนี้ค่อนข้างสงบเงียบ เป็นรอยต่อระหว่างชายหาดคลองวาฬทางทิศเหนือ ยาวต่อเนื่องมาถึงชายหาดหว้ากอ มีลักษณะเป็นพื้นที่กรรมสิทธิ์ริมชายหาด ด้วยความที่ชายหาดยังสมบูรณ์มากๆ เป็นหาดทรายขาวยาวต่อเนื่อง พื้นที่บริเวณนี้มีการสร้างบ้านหลังใหญ่ๆให้เห็นประปราย แต่ยังไม่พบเห็นโรงแรมที่พักในแถบนี้ อาจเนื่องมาจากลักษณะของพื้นที่มีความลึกค่อนข้างน้อย จึงไม่เหมาะสมกับการปลูกสร้างโรงแรม จากภาพพบความเสียหายของโครงสร้างลานปูนและกำแพงกันที่ดินที่ (ดูเหมือนว่า) ยื่นล้ำลงไปในชายหาดมากจนเกินไป ซึ่งสังเกตได้จากแนวชายหาดทางทิศเหนือและใต้ของลานปูนที่พังเสียหายนี้ ไม่ได้อยู่ล้ำลงไปมากเหมือนแนวของลานปูนและกำแพง ตามจริงแล้วแนวที่ดินที่เอกชนครอบครองได้อย่างปลอดภัยควรอยู่หลังแนวขอบฝั่ง (แนวพืชพรรณสีเขียวๆในภาพแรก) โดยไม่มีส่วนใดส่วนหนึ่งยื่นล้ำลงไปบนชายหาด ปัญหาลักษณะคล้ายๆกันนี้เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เหตุเพราะยามคลื่นลมสงบดี เรามักเห็นชายหาดกว้างมากจนอาจ “เผลอ” สร้างสิ่งล่วงล้ำชายหาดเพื่อเพิ่มพื้นที่การใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่ากับมูลค่าที่ดินริมทะเลที่สูงลิ่ว โดยลืมคิดไปว่า ยามมรสุมที่คลื่นลมแรง พร้อมระดับน้ำที่ยกตัวสูงขึ้น ทะเลจะทวงคืนพื้นที่เดิมของเขา และเมื่อนั้นภาพความเสียหายลักษณะนี้ก็จะเกิดเป็นภาพวนซ้ำเรื่อยไป แล้วแบบนี้ เราจะโทษคลื่นลมได้หรือไม่ … น่าคิด (ภาพเมื่อ 12 มิ.ย.2563)

Beachlover

July 2, 2020
1 25 26 27 29