ชมการป้องกันชายฝั่งหมู่บ้านชาวประมง Kuta Beach, Lombok

Beach Lover ได้พาชมหาด Kuta, Lombok ไปแล้ว ติดตามได้จากโพสก่อนหน้า ครั้งนี้ขอพาชมชายหาดริมหมู่บ้านชาวประมง ทิศตะวันตกของหาด Kuta ซึ่งมีการใช้หน้าหาดเพื่อการจอดเรือประมงพื้นบ้าน และวางอุปกรณ์ที่ใช้เพื่อการประมงขนาดเล็ก บ้านเรือนของชาวประมงแถบนี้สร้างประชิดติดชายหาดมากๆ ยามน้ำขึ้นสูง ยามคลื่นลมแรง จึงอาจส่งผลให้น้ำทะเลซัดเข้าบ้านได้ ชาวประมงจึงหาทางป้องกันตนเองโดยการสร้างโครงสร้างป้องกันขนาดเล็กแบบชั่วคราวไว้หน้าบ้านใครบ้านมัน ในรูปแบบที่คล้ายๆกันคือกระสอบทรายและการปักไม้

Beachlover

August 27, 2024

กระสอบทราย เพื่องานชายฝั่ง

กระสอบทรายถูกนำมาใช้ในการป้องกันชายฝั่งในหลายรูปแบบ แต่ก็มีข้อจำกัดและผลกระทบที่ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน วิธีการใช้กระสอบทรายป้องกันชายฝั่ง: ข้อจำกัดและผลกระทบของการใช้กระสอบทราย: ข้อควรพิจารณาในการใช้กระสอบทราย: สรุป: กระสอบทรายสามารถเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์ในการป้องกันชายฝั่งในบางสถานการณ์ แต่ควรพิจารณาข้อจำกัดและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ และควรใช้ร่วมกับมาตรการอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการป้องกันชายฝั่งที่ยั่งยืน

Beachlover

June 14, 2024

งานวางกระสอบบนชายหาด ยะหริ่ง

Beach Lover ได้มีโอกาสเดินสำรวจชายหาดช่วงปลายเดือนตุลาคมต่อต้นเดือนพฤศจิกายน 2566 แถวๆตำแหน่งที่เคยเป็นแนวถนนเลียบชายหาดที่ตัดตรงยาวตั้งแต่ปานาเระถึงตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พบงานวางกระสอบทรายขนาดใหญ่ (Big bag) บนชายหาด ระยะทางประมาณ 100 เมตร ด้านหลังแนววางกระสอบเป็นรีสอร์ทและร้านอาหาร (ตากาดัม บีช รีสอร์ท) บ้านเรือนประปราย และที่ดินว่างที่ยังไม่มีการใช้ประโยชน์ เนื่องจากไม่ปรากฏป้ายโครงการ จึงไม่แน่ใจว่าเอกชนหรือหน่วยงานใดเป็นผู้ดำเนินการ จากการเดินสำรวจพบว่า มีการวางกระสอบขนาดใหญ่เป็นสามแนว โดยการขุดทรายบนชายหาดให้เป็นหลุมขนานกับแนวชายหาดเพื่อวางกระสอบ แล้วนำทรายที่ขุดจากหลุมนั้นมาใส่กระสอบอีกทีหนึ่งแล้ววางกลับลงไปตามแนวหลุมที่ขุด จากนั้นคาดเดาได้ว่าจะนำทรายบนชายหาดด้านหน้ามากลบกระสอบอีกชั้นหนึ่ง จากการตรวจสอบในเบื้องต้นบนว่า แนวที่วางกระสอบนั้นไม่พ้นระยะน้ำขึ้นน้ำลง หมายความว่ายามน้ำขึ้นคลื่นอาจซัดขึ้นมาถึงแนวกระสอบได้ น่าติดตามต่อไปว่า กระสอบนี้จะอยู่ไปได้นานขนาดไหน และจะส่งต่อผลกระทบไปยังชายหาดข้างเคียงหรือไม่ ดู VDO Clip เดินสำรวจเพิ่มเติมได้ที่ Youtube: https://youtu.be/PU8ZyU1i2ac?si=YA-P4GHDtIaYT-ag

Beachlover

December 29, 2023

เตรียมความพร้อมรับมรสุม หาดม่วงงาม สงขลา

หาดม่วงงาม หมู่ 3 อ.สิงหนคร จ.สงขลา มักได้รับผลกระทบจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเป็นประจำทุกปี ส่งผลให้เทศบาลและชาวบ้านต้องเตรียมพร้อมรับมือโดยการใช้กระสอบขนาดเล็ก บรรจุทรายบนชายหาดวางป้องกันหลายชั้นเพื่อป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะ รอติดตามกันไปอย่างใจเย็นว่า โครงสร้างป้องกันแบบชั่วคราว จะช่วยบรรเทาผลกระทบจากมรุสมในฤดูกาลนี้ได้หรือไม่อย่างไร ภาพเมื่อ พฤศจิกายน 2566

Beachlover

December 23, 2023

กำแพงกระสอบป้องกันแบบชั่วคราว ณ หาดม่วงงาม

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover  เคยพาชมพื้นที่นี้ไปแล้วช่วงก่อนมรสุม ในเวลานั้นพบว่าชุมชนได้เตรียมความพร้อมรับมือกับคลื่นใหญ่ลมแรงในช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นมรสุมประจำถิ่นของทุกปีโดยใช้กระสอบทรายขนาดเล็ก ติดตามอ่านได้จากโพส https://beachlover.net/หาดม่วงงาม-เตรียมรับมรสุมแล้ว/ Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่นี้อีกครั้งในวันที่ 14 มีนาคม 2566 พบว่ากระสอบทรายที่วางไว้เดิมเมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนปีก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือมรสุม ส่วนมากยังอยู่ในตำแหน่งเดิม และยังคงมีสภาพดี ในขณะที่บางส่วนกระจัดกระจายอยู่บนชายหาดโดยถูกทรายกลบไปบ้างแล้ว นอกจากนั้นยังพบเสาไม้โผล่ขึ้นมาริมชายหาดบางส่วน ไม่แน่ใจว่าสร้างไว้เมื่อใด และพบเศษท่อนไม้ซากไม้บนชายหาดที่เกิดขึ้นคลื่นซัดขึ้นมากองในช่วงมรสุม  เมื่อสำรวจทางทิศใต้ของหมู่ 3 ไม่พบโครงสร้างกระสอบหรือเสาไม้ และไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง พบเพียงผ้าพลาสติกที่ชาวบ้านขึงไว้เพื่อกันทรายและลมพัดเข้าบ้านซึ่งมักพบเห็นเป็นปกติในช่วงมรสุมสำหรับบ้านเรือนที่อยู่ประชิดชายหาด (VDO clip: https://www.youtube.com/watch?v=gYdX-rjOBig) ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า จากเวลานี้ไปน่าจะไม่มีคลื่นและน้ำใหญ่ระดับที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงอีกแล้ว น่าจะหมดช่วงมรสุมแล้ว ที่ผ่านมาสังเกตว่าช่วงฤดูมรสุมที่ผ่านมาค่อนข้างมาล่าช้าและยาวนานกว่าปีก่อน ไม่แน่ใจว่าเกิดจากสาเหตุใด

Beachlover

April 23, 2023

หาดม่วงงาม เตรียมรับมรสุมแล้ว

ชายหาดม่วงงาม หมู่ 3 ตำบลม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีประชากรกว่า 3,000 คน มีที่อยู่อาศัยตั้งเรียงรายประชิดชายฝั่งตลอดทั้งแนว ส่งผลให้ยามฤดูมรสุม พื้นที่ริมทะเลแถบนี้มักได้รับผลกระทบรุนแรงกว่าชายหาดหมู่อื่นๆของม่วงงาม Beach Lover ได้ลงพื้นที่สำรวจในวันที่ 2 พ.ย.2565 พบมีการวางกระสอบทรายขนาดเล็กเพื่อรับมือแล้วในบางตำแหน่ง แม้ว่าจะเป็นเพียงช่วงต้นมรสุมที่ยังไม่ส่งผลรุนแรงก็ตาม ฤดูมรสุมที่ชายหาดแถบนี้ได้รับผลกระทบคือมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยทั่วไปจะเริ่มต้นประมาณกลางเดือนตุลาคมของทุกปี เรื่อยไปถึงปลายเดือนกุมภาพันธ์ หรือในบางปีอาจยาวนานกว่านั้น ลมทะเลจะแรงและพัดยาวนานกว่าฤดูอื่น ส่งผลให้คลื่นมีความสูงมากขึ้น ยิ่งรวมกับระดับน้ำทะเลในช่วงมรสุมที่จะยกตัวสูงขึ้นกว่าช่วงเวลาอื่นๆด้วยแล้ว ยิ่งทำให้คลื่นยกตัวเข้าปะทะบ้านเรือนริมชายฝั่งและส่งผลเสียหายกว่าฤดูกาลปกติ เทศบาลเมืองม่วงงามได้ดำเนินการป้องกันชายฝั่งแถบนี้ โดยแจกถุงกระสอบขนาดเล็กให้ชาวบ้านได้นำทรายใส่กระสอบมาวางด้านหน้าชายหาดเพื่อป้องกันในยามมรสุม โดยดำเนินการแบบชั่วคราวเฉพาะยามจำเป็น อย่างไรก็ตามชาวบ้านเล่าให้ Beach Lover ฟังว่า ทรายที่นำมาใส่กระสอบก็คือทรายที่อยู่บนหาดบริเวณเดียวกันนี้เอง รวมถึงไม่ได้รื้อถอนกระสอบที่เคยวางไว้ในฤดูมรสุมก่อนหน้านี้ออกไปแต่อย่างใด เนื่องจากกระสอบถูกทรายกลบไปแล้วบ้าง ฉีกขาดไปแล้วบ้าง ไม่ก็หลุดออกไปจากที่ตั้งลงทะเลไปบ้าง ด้วยวิถีชีวิตของประชาชนบริเวณนี้กว่า 80% เกี่ยวข้องกับการประมง จำเป็นต้องมีพื้นที่หน้าชายหาดเพื่อการจอดเรือ หากพื้นที่ชายหาดด้านหน้าหดหายไป หรือถูกแทนที่ด้วยกำแพงหิน กำแพงคอนกรีต จะยิ่งส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน จากการที่ Beach Lover ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามหมู่ 3 มาในระดับหนึ่ง พบว่าการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่นี้เป็นแบบ “กัดเซาะชั่วคราว” หรือการเสียสมดุลของชายหาดแบบชั่วคราว […]

Beachlover

November 6, 2022

ระเนระนาด @ Nusa Dua, Bali

Beach Lover เดินเท้าสำรวจชายหาด Nusa Dua ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของเกาะบาหลีมาหลายตอนแล้ว ติดตามได้จากโพสก่อนหน้านี้ โดยทั้งแนวชายหาดที่สามารถเดินเท้าต่อเนื่องถึงกันนั้น พบเพียง 1 หาดที่มีสภาพระเนระนาดตามที่เห็นดังรูป จากซากที่พบเห็น คาดเดาสภาพเดิมได้ว่า พื้นที่ด้านบนถูกทำเป็นทางเดินคอนกรีตสาธารณะ มีท่อระบายน้ำอยู่ฝั่งประชิดทะเล และถัดจากท่อระบายน้ำเป็นการวางถุงกระสอบทรายขนาดใหญ่เพื่อป้องกันชายฝั่ง โดยมีระดับสูงขึ้นมากกว่าชายหาดเดิมประมาณ 2 เมตร ไม่ทราบสาเหตุ และ Timeline ของเหตุการณ์ว่าเกิดขึ้นเมื่อใด แต่ดูจากสภาพที่เห็นแล้วค่อนข้างรุนแรงทีเดียว ปัจจุบัน (กันยายน 2565) มีการนำเชือกมากั้นพื้นที่ แต่ยังพบเห็นว่าประชาชนเข้ามาใช้พื้นที่ได้อย่างปกติ

Beachlover

September 30, 2022

พาดูหาดกระสอบ ณ Miyazaki ประเทศญี่ปุ่น

Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจชายหาดของจังหวัด Miyazaki บนเกาะคิวชู ทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่น ในหลายพื้นที่ ครั้งนี้นี้ขอพาชมหาดกระสอบทราย ที่ไม่มีสภาพของกระสอบทรายปรากฎให้เห็นเลยแม้แต่น้อย เนินทรายกว้างที่เห็นในภาพแบบนี้คือหาดธรรมชาติ ที่แท้จริงแล้วด้านล่างเป็นกระสอบทรายขนาดใหญ่ ยาว 20 เมตร กว้าง 4.3 เมตร และสูง 1.5 เมตร จำนวน 3 ท่อนวางซ้อนกันเป็น 2 ชั้น เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ที่ทางญี่ปุ่นใช้มาตราการแบบนี้ ในบริเวณนี้เหตุเพราะอยากให้สภาพธรรมชาติของชายหาดยังคงดำรงอยู่ นอกจากนั้นพื้นที่ชายหาดด้านในก็ยังคงให้เป็นสภาพของป่าชายหาดที่สมบูรณ์เพื่อเป็นปราการธรรมชาติป้องกันคลื่นลมและการกัดเซาะชายฝั่งอีกชั้นหนึ่งด้วย น่าสนใจว่า มาตราแบบเดียวกันนี้ที่ทางเทคนิคแล้วไม่ได้ยากเย็นอะไร กลับไม่เคยเกิดขึ้นในประเทศไทยเลย ตามจริงแล้วเราไม่จำเป็นต้องเลือกระหว่างการสูญเสียชายหาดทางธรรมชาติไปกับการอยู่รอดของมนุษย์ ทั้งคู่อยู่ร่วมกันได้ด้วยมาตรการที่เหมาะสม แต่รัฐไทยกลับไม่เคยหยิบยื่นทางเลือกนี้ขึ้นมาเป็นหนึ่งในทางรอด เพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของไทยเลยแม้แต่น้อย

Beachlover

June 15, 2022

แก้แบบ แก้โครงสร้างกันอีกรอบ @ The Regent Cha-Am

ในปี 2558 กรมเจ้าท่าได้จ้างเหมาก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณอุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร จ.เพชรบุรี โดยมีการถมทรายชายหาดกว้าง 50 เมตร โดยฝังถุงทรายไว้ที่ระยะห่างฝั่งประมาณ 25 เมตร ตามรูปแบบที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้ออกแบบไว้เมื่อตุลาคม 2556 และส่งมอบให้กรมเจ้าท่าไปดำเนินการต่อ โดยการก่อสร้างแล้วเสร็จไปเมื่อ พ.ย.2560 ปรากฏว่าหลังก่อสร้างแล้วเสร็จไปเพียง 1 ปี ทรายที่เสริมไว้ถูกพัดพาหายไปอย่างรวดเร็วจนถึงแนวถุงทรายที่เคยมีทรายปกคลุมอยู่ ถุงทรายเริ่มเกิดความเสียหายและก่อให้เกิดทัศนียภาพไม่สวยงาม โรงแรมรีเจ้นท์ชะอำบีชรีสอร์ท ได้รับผลกระทบจากการดำเนินงานนี้โดยตรง พบว่าเกิดอันตรายต่อผู้มาพักที่โรงแรมตลอดจนผู้ใช้ชายหาดอื่นๆ แขกมาเข้าพักลดน้อยลงเพราะชายหาดหน้าโรงแรมไม่สวยงาม ลงเล่นน้ำไม่ได้ จึงมีหนังสือถึงกรมเจ้าท่าขอให้พิจารณาตามข้อเสนอ 3 ข้อ ดังต่อไปนี้ (1) ทำการรื้อถุงทรายหน้าโรงแรมออกทั้งหมด (2) ทำการย้ายหัวหาดตามแบบแก้ไขของกรมเจ้าท่าในส่วนของทิศเหนือขยับขึ้นมาจนสุดแนวรั้วของโรงแรมรีเจ้นท์ ชาเล่ต์ และ (3) โรงแรมทราบดีถึงผลกระทบที่อาจตามมาจากข้อเสนอนี้ตามข้อ 1 และ 2 และยอมรับในการที่น้ำทะเลจะรุกเข้ามาถึงแนวกำแพงหรือแนวเขตที่ดินของกำแพงได้ กรมเจ้าท่าได้พิจารณาแล้วจึงทำการออกแบบเพื่อปรับปรุงแก้ไข ด้วยการรื้อถุงทรายแนวกันชนเดิมหน้าโรงแรมออกทั้งหมด แล้วนำมาเรียงเป็นแนวกันชนบริเวณชายฝั่งริมรั้วโรงแรม ด้านทิศเหนือและทิศใต้ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้หารือกับโรงแรมแล้วว่าเหมาะสม และได้สร้างหัวหาด (Headland) สองตำแหน่งห่างกันประมาณ 800 เมตร โดยหัวหาดนี้สร้างโดยใช้ถุงทรายวาง ส่วนที่ประชิดชายน้ำสร้างเป็นบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวด้านบนเททับด้วยโพลี่ยูรีเทนเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการรับแรงดึง พร้อมการถมทรายด้านบน […]

Beachlover

September 4, 2020