ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 5 มกราคม 2566 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดเสาเภา-ท่าศาลา (T6A149) โดยติดตั้งรั้วดักทรายขนานกับแนวชายฝั่งระยะทาง 600 เมตร จากการสำรวจพบว่าหลังแนวรั้วดักทรายมีตะกอนทรายสะสมตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ประมาณ 0.70 – 0.90 เมตร โดยรั้วดักทรายอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมมรสุมที่มีความรุนแรงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม เบื้องต้นสรุปได้ว่าการติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายสามารถช่วยฟื้นฟูตะกอนทรายชายหาดและลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งใด้ ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะสำรวจข้อมูลและติดตามผลสัมฤทธิ์ของการติดตั้งรั้วดักทราย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังสิ้นสุดฤดูมรสุม ต่อไป

Beachlover

January 6, 2023

ทช. ลงสำรวจพื้นที่ชายฝั่ง เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 ลงสำรวจพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่ที่มีการนำเสนอโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ 2566 ของหน่วยงานราชการ โดยจังหวัดเพชรบุรี มีโครงการเสริมทรายเพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระยะที่ 1 โดยกรมเจ้าท่า ส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโครงการที่เสนอในพื้นที่ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (2) โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะบริเวณอ่าวประจวบคีรีขันธ์ ถนนปิ่นอนุสรณ์ต่อเนื่องบริเวณกองบังคับการกองบิน 5 ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงบริเวณค่ายลูกเสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (3) โครงการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณร่องน้ำห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายในอดีต ภาพถ่ายปัจจุบัน ภาพบินโดรน […]

Beachlover

November 6, 2022

กรมทะเลฯ สำรวจความลึกท้องน้ำ ชายฝั่งภูเก็ต

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจความลึกท้องน้ำ พื้นที่ชายฝั่งจังหวัดภูเก็ต สู่การบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่ง และแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ วันที่ 29 ตุลาคม 2565 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดย ส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต เพื่อหาความลึกท้องน้ำโดยใช้เรือสำรวจอัตโนมัติ CHC Apache 3 ด้วยระบบเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม GNSS แบบ RTK ร่วมกับเครื่องหยั่งน้ำ Echo Sounder แบบความถี่เดียว โดยการสำรวจครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่สำรวจประมาณ 18,000 ตร.ม. แบ่งแนวสำรวจออกเป็น 20 แนว ผลการสำรวจพบว่า ความลึกเฉลี่ยของพื้นท้องทะเลใกล้ฝั่งหาดสุรินทร์ห่างจากแนวชายฝั่งออกไปประมาณ 200 เมตร มีความลึกระหว่าง -2.0 ถึง -7.8 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะนำผลการสำรวจไปจัดทำแผนที่ความลึกท้องน้ำในพื้นที่หาดดังกล่าวเพื่อใช้ประโยชน์ในการจัดการชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2022

รั้วไม้ เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ?

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของการปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา ไปในโพสก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ และ https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน-ภาคต่อ/) หลังจากการปักรั้วไม้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า กรมเจ้าท่าโดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา ได้แจ้งทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเจ้าของรั้วไม้ดักทรายว่าจะต้องขออนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำกับกรมเจ้าท่าก่อนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (ปี พ.ศ.2537) ซึ่งออกตามความในมาตรา 117 แห่ง พรบ.การเดินเรือน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456 โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่ารั้วไม้ดักทรายบริเวณนี้ เป็นการนำไม้มาปักบนทรายตามรูปแบบโดยไม่มีการหล่อซีเมนต์หรือวัสดุยึดติดแบบโครงสร้างถาวร ทำจากวัสดุธรรมชาติ มีระยะเวลาการใช้งาน 3-5 ปี และเป็นการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีลักษณะกีดขวางการสัญจรทางน้ำ และยังเป็นการดำเนินการงานตามภารกิจ ตาม พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 จึงไม่ต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า เมื่อสองหน่วยงาน จากสองกระทรวงมีความเห็นในข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า การปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา จำเป็นต้องขออนุญาตต่อกรมเจ้าท่าหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 ลงความเห็นตามเอกสารระบุวันที่ 17 ตุลาคม 2565 […]

Beachlover

October 24, 2022

พาสำรวจและทำความรู้จัก หาดราชรักษ์ ทะเลปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดราชรักษ์ ต.บ้านกลาง และ ต.บ้านน้ำบ่อ อ.ปะนาเระ จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดแฆแฆ มีพื้นที่ชายฝั่งทะเลเป็นหาดทราย ความยาวประมาณ ๒,๗๕๐ เมตร ซึ่งหาดราชรักษ์ มีลักษณะธรณีสัณฐานชายฝั่งแบบหาดก้นอ่าว (Pocket beach) โดยทั้งสองด้านของอ่าวเป็นหาดหิน/หัวหาด (Head Land) โดยด้านทิศเหนือและทิศใต้มีลักษณะเป็นหัวหาด/หาดหิน และมีคลองพรุแฆแฆอยู่บริเวณด้านทิศใต้ของหาด ผลการสำรวจชายฝั่งส่วนใหญ่สมดุล พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งระยะทางประมาณ ๗๔๐ เมตร ส่งผลกระทบทำให้เกิดการสูญเสียตะกอนทรายชายฝั่งและชายหาด ชายฝั่งมีความลาดชันเป็นหน้าผา ต้นสนล้มตายกีดขวางบนชายหาด อีกทั้งหาดราชรักษ์ ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียงของ จ.ปัตตานี

Beachlover

August 25, 2022

สำรวจสถานภาพ แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล จ.ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง ร่วมกับการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อบันทึกภาพมุมสูงโดยรอบพื้นที่แนวชายฝั่งหาดรูสะมิแล ต.รูสะมิแล อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดโคลน พื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งรูปแบบเขื่อนหินทิ้ง และเขื่อนกำแพงกันทรายและคลื่นปากร่องแม่น้ำปัตตานี พบการชำรุดเล็กน้อยของโครงสร้างดังกล่าวทั้ง ๒ ประเภท และด้านหลังแนวโครงสร้างเป็นลานอเนกประสงค์สาธารณะ สำหรับการท่องเที่ยวชายหาดและพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่

Beachlover

August 17, 2022

สำรวจชนิดพันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูชายหาดพังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ระบบหาดบางสัก (T7D192) ระบบหาดคึกคัก (T7D195) ระบบหาดหาดท้ายเหมือง (T7E201) จ.พังงา เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์พืชชายหาดที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาด โดยการพิจารณาจากคุณสมบัติในการยึดเกาะเม็ดทราย การทนต่อสภาพแวดล้อม การกระจายตัวบริเวณชายหาด การทนต่อแรงลมทะเล การทนต่อความเค็มของน้ำทะเล ผลการสำรวจพบพืชชายหาดที่กระจายตัวตั้งแต่แนวชายฝั่งลึกเข้าไป ๓๐ เมตร ได้แก่ ผักบุ้งทะเล ถั่วผีทะเล ถั่วคล้าทะเล หญ้าไหวทาม เบญจมาศน้ำเค็ม เข็มเลื้อย เตยทะเล รักทะเล จิกทะเล เป็นต้น ส่วนพืชชายหาดที่คาดว่ามีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาดมี ๔ ชนิด ได้แก่ ผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) หญ้าไหวทาม (Ischaemum muticum) ถั่วผีทะเล (Vigna marina) ถั่วคล้าทะเล (Canavalia maritima)

Beachlover

August 11, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]

Beachlover

August 10, 2022

กำแพงไม้ ท่าศาลา นครฯ

BeachLover ขอพาชมชายหาดทางทิศเหนือของปากคลองกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำไม้มาปักไว้เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเสร็จไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สภาพพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นชายหาดกว้างยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปากคลองกลายจนถึงปากดวด จนเมื่อเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองกลายแล้วเสร็จก็ส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ทำการนำไม้มาปักโดยใช้ชื่อเรียกว่า “รั้วดักทราย” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยโครงการนี้เป็นการปักไม้เป็นระยะทางตามแนวชายฝั่งยาวประมาณ 500 เมตร แต่ในป้ายประชาสัมพันธ์นั้นกลับระบุระยะทางเป็น 3,000 เมตร  ดำเนินการโดยบริษัทวิสุทธิคอนซัลแตนท์จำกัด ด้วยงบประมาณ 2.89 ล้านบาท จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ารั้วไม้นี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี ตลอดระยะทางตามแนวชายฝั่งทั้งโครงการนั้นไม่มีช่องว่างเปิดให้เดินลงชายหาดได้เลย หากต้องการเดินจากฝั่งลงไปที่ชายทะเลจำเป็นต้องขึ้นลงโดยผ่านร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมหาด หรือไม่ก็เดินเข้าได้เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดโครงการปักไม้เท่านั้น หากจำปีนข้ามก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะไม้ที่ปักนั้นแน่นและสูงพอสมควร สำหรับงานติดตั้งรั้วไม้ในพื้นที่นี้ มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้ ระยะทางปักไม้ตามที่ปรากฏจริงนั้นไม่เท่ากับระยะทางที่ระบุไว้ในป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น จนอาจเรียกโครงสร้างนี้ได้ว่าเป็นกำแพงไม้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกับพื้นที่ถัดไปหรือไม่ อย่างไร ไม่มีช่องเปิดเพื่อลงชายหาดเลยตลอดแนวโครงการ การปักลักษณะนี้ เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกพิสูจน์แล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลดี หรือไม่ อย่างไร น่าติดตามต่อไปว่า งานปักรั้วไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้น มีประสิทธิภาพตามที่คาดไว้หรือไม่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างไร

Beachlover

August 6, 2022

ติดตามชายฝั่งหาดโคลน หลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นบ้านแหลม

ที่มา: https://www.facebook.com วันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ดำเนินโครงการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลน จ.เพชรบุรี บริเวณ ต.บางแก้ว อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ที่ดำเนินการในปี ๒๕๖๔ ระยะทางไม้ไผ่ประมาณ ๑,๗๕๐ เมตร เป็นการติดตามพื้นที่ป่าชายเลนบริเวณพื้นที่ปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น ในพื้นที่หาดโคลน โดยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ผลการสำรวจพบว่ามีกล้าไม้ ได้แก่ แสมทะเล เริ่มขึ้นบริเวณหลังแนวไม้ไผ่จำนวนมาก ทั้งนี้ จะนำข้อมูลดังกล่าวจัดทำเป็นแผนที่เปรียบเทียบการเพิ่มขึ้น-ลดลง ของป่าชายเลน เพื่อประเมินการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ป่าชายเลนหลังดำเนินโครงการฯ ต่อไป

Beachlover

June 30, 2022
1 2 15