ความคืบหน้างานก่อสร้างหาดขั้นบันได @ หาดชะอำใต้

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ หาดชะอำใต้ไปแล้วตามนี้ https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/ และ https://beachlover.net/กัดเซาะ-ชะอำ-เอาไงดี/ งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ณ ชายหาดชะอำปัจจุบันประกอบด้วย 3 ระยะ (1) งบประมาณปี 2562 ช่วง กม.0+780-2+228 ยาว 1.438 กิโลเมตร งบประมาณ 102.974 ล้านบาท (2) งบประมาณปี 2563 ช่วง กม.2+228 – 2+985 ยาว 1.219 กิโลเมตร งบประมาณ 74.963 ล้านบาท (3) งบประมาณปี 2564 ช่วง กม.0+000 – 0+318 ยาว 0.318 กิโลเมตร งบประมาณ 48.5 ล้านบาท รวมระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ตั้งแต่สามแยกที่เป็นลานเอนกประสงค์เรื่อยลงไปทางทิศใต้ของหาดชะอำใต้ โครงสร้างบริเวณนี้ออกแบบไว้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได […]

Beachlover

November 3, 2020

ด่วน! พบการขุดบ่อบนหาดม่วงงาม ?

Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของชายหาดม่วงงาม จ.สงขลา กรณีที่ชาวบ้านฟ้องร้องการดำเนินงานของภาครัฐจนนำเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จากโพสเก่าๆ (ใช้ Icon ค้นหา รูปแว่นขยายบนหน้าหลักของ Website ค้นหาคำว่า “ม่วงงาม”) ศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้ออกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวไปแล้วเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2563 [https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/] นับจนถึงวันนี้หน่วยงานที่รับผิดชอบก็ได้ยุติการดำเนินงานทั้งหมดและได้ทำการรื้อถอนเครื่องจักรหนักออกจากชายหาดจนหมด มาวันนี้พบว่า มีการขุดหลุมทรายบนชายหาดหน้าพื้นที่ที่ชาวบ้านเคยใช้เพื่อจัดกิจกรรม Save หาดม่วงงาม อย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดก่อนและระหว่างการฟ้องคดี ขนาดประมาณ 5X3 เมตร และลึกไม่เกิน 1 เมตร ดังรูป เท่าที่สังเกตพบว่าไม่ปรากฏป้ายประชาสัมพันธ์โครงการว่ามีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร และดำเนินการโดยหน่วยงานใด คาดเดาเอาเองว่าน่าจะเป็นหน่วยงานรัฐเพราะพื้นที่สาธารณะแบบนี้ไม่อนุญาตให้เอกชนดำเนินการลักษณะนี้ได้ แม้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก และอาจไม่ได้ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ประโยชน์บริเวณชายหาดมากนัก แต่การดำเนินการใดๆบนชายหาดซึ่งเป็นพื้นที่สาธารณะประโยชน์แบบนี้ จำเป็นต้องระบุถึงที่มา วัตถุประสงค์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ และงบประมาณให้ชัดเจน เพราะหน่วยงานรัฐกำลังใช้ภาษีของประชาชนเพื่อประชาชน คำถามสำคัญที่เจ้าของโครงการต้องตอบจากการขุดหลุมทรายบนชายหาดสาธารณะก็คือ ทำไปเพื่อวัตถุประสงค์ใด และสมควรแก่เหตุหรือไม่ หรือเป็นมาตรการที่เกินจำเป็น ซึ่งเป็นประเด็นเดียวกันกับที่เคยตั้งคำถามกับโครงการกำแพงกันคลื่นชายหาดม่วงงามที่เคยเกิดขึ้นที่นี้และได้ถูกศาลยับยั้งชั่วคราวไป เนื่องจากการขุดหลุมทรายลักษณะนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายหาด และถือเป็นการทำลายพื้นที่ชายหาดโดยตรง เจ้าของโครงการจำเป็นต้องขออนุญาตขุดทรายบนชายหาดต่อกรมเจ้าท่า ตาม พรบ การเดินเรือของกรมเจ้าท่า [https://beachlover.net/พระราชบัญญัติเจ้าท่า/] และขออนุญาตเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายฝั่งต่อกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งตาม พรบ ของกรม […]

Beachlover

October 30, 2020

คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาส

ริมชายฝั่งบริเวณนี้ถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 18 ไร่ หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตรบนคาบสมุทรตากใบ โดยกรมชลประทาน ชัยชนะจากการต่อสู้โดยลำพังของผู้หญิงคนนึงมาตลอดเกือบ 20 ปี ด้วยความเชื่ออย่างสุดใจว่า “ความจริงจะชนะทุกสิ่งแม้แต่ผู้ถืออำนาจรัฐ” จะถูกส่งต่อเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนัก (อยาก) สู้ ทุกคน โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโกลก เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรแห่งมาเลเซียที่ตกลงความร่วมมือกันเมื่อ กุมภาพันธ์ 2522 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ส่งคณะที่ปรึกษาคือ บริษัท Snowy Mountain Engineering Corporation Limited (SMEC, https://www.smec.com/en_au) และ Mc Gowan International Pty Ltd. (MGI) มาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการในช่วงกันยายน 2526-กันยายน 2528 โดยองค์ประกอบของโครงการนั้นมีหลายส่วน มีระยะเวลาก่อสร้างตามแผนในปีงบประมาณ 2538-2548 แต่ส่วนที่สำคัญอันเป็นเหตุแห่งคดีนี้คือ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำโกลก (Jetty, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Jetty.pdf) และ รอดักทราย (Groin, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Groin.pdf) เรื่อยมาทางทิศเหนือตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตร บนคาบสมุทรตากใบ เหตุแห่งการสร้างรอดักทรายตลอดแนวกว่า […]

Beachlover

October 30, 2020

กำแพงกันคลื่น หาดพระแอะ เกาะลันตาใหญ่

สวนสาธารณะหาดพระแอะ ตั้งอยู่ในหมู่ 3 บ้านโล๊ะบาหรา ต.ศาลาด่าน อ.เกาะลันตา จ.กระบี่ ที่ผ่านมาได้มีรายงานผ่านสื่อเพียงข่าวเดียวในปี 2557 ว่าหาดพระแอะถูกกัดเซาะจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ตามข่าว https://www.thairath.co.th/content/436650 Beach Lover ลงพื้นที่ชายหาดพระแอะพบว่ามีการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตามคำร้องขอจาก อบต.ศาลาด่าน เมื่อกันยายน 2558 โดยมีการลงนามสัญญาจ้างเมื่อ มีนาคม 2561 โครงการป้องกันชายฝั่งบริเวณนี้เป็นรูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดระยะทาง 260 เมตร และมีบางส่วนเลี้ยวเข้าไปในคลองพระแอะอีก 100 เมตร เป็นรูปแบบเขื่อนหินใหญ่เรียงเพื่อป้องกันตลิ่งริมคลอง โดยรูปแบบของกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดนี้ คล้ายกับหลายๆแห่งที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการผ่านมาแล้วและที่ยังดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เช่น https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ณ-แหลมงู-เกาะลันตาน้อย/ และ https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/ และ https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/ จากการสำรวจภาคสนามพบว่ากำแพงกันคลื่นที่สร้างโดย ห้างหุ้นส่วนจำกัดเฉลิมการก่อสร้าง เมื่อปี 2563 ด้วยงบประมาณ 45.756 ล้านบาท ยังอยู่ในสภาพดี โดยพบว่ามีทรายด้านหน้าหาดถูกหอบขึ้นมาถึงบันไดขั้นที่สี่จากด้านบน แต่พบความเสียหายของทางลาดลงทะเลบางส่วน

Beachlover

October 21, 2020

กำแพงกันคลื่น ณ แหลมงู เกาะลันตาน้อย

ฝั่งตะวันออกของเกาะลันตาน้อย ในเขตหมู่ 3 เป็นที่ตั้งของแหลมงู ซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมขนาดเล็กยื่นลงไปในทะเล มีถนนหมายเลข กบ.5035 ตัดเลาะริมชายฝั่ง ฝั่งหนึ่งของพื้นที่มีบ้านชาวประมง 4-5 หลังคาเรือน ปลูกสร้างอยู่ในทะเล สภาพพื้นที่โดยรวมรอบๆเป็นหาดทรายปนโคลนและป่าชายเลน การใช้ประโยชน์บริเวณชายฝั่งส่วนใหญ่เป็น การใช้ประโยชน์สําหรับจอดเรือประมง การนําผลผลิตสัตว์น้ําที่จับได้ขึ้นฝั่ง และการชักลากเรือขึ้นจอดบนหาดเพื่อซ่อมแซมเป็นคร้ังคราว ส่วนการใช้ประโยชน์ด้านในชายฝั่งซึ่งอยู่ถัดจากแนวถนนสาย กบ.5035 พบว่า เป็น พื้นที่ป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติป่าหลังสอดและป่าควนบากันเกาะ (เอกสารสรุปโครงการฯโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง) ด้วย Beach Lover ไม่ได้ติดตามการกัดเซาะชายฝั่งทั้งเกาะลันตาใหญ่และลันตาน้อยเท่าใดนัก จึงได้ลองค้นข้อมูลภาพและข่าวจากสื่อเพื่อให้ทราบถึงข้อมูลการกัดเซาะบริเวณนี้จนเป็นเหตุจำเป็นต้องสร้างโครงสร้างนี้ พบว่าไม่ปรากฏทั้งภาพและข้อมูลใดๆที่ระบุว่าแหลมงูถูกกัดเซาะตั้งแต่อดีตจนถึงก่อนการเริ่มลงนามในสัญญาจ้างในปี 2560 พบเพียง VDO clip เพื่อโปรโมทโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองเท่านั้น (https://www.youtube.com/watch?v=T1sTkptM6GE) Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่แหลมงูพบว่า โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนี้มีสองลักษณะ ได้แก่กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได และแบบหินเรียง เหมือนกับอีกหลายโครงการที่กรมโยธาธิการและผังเมืองดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน รวมระยะทางประมาณ 300 เมตร ด้วยงบประมาณ 41.238 ล้านบาท ดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท เอสซีจี 1995 จำกัด ซึ่งถือเป็นบริษัทที่ชนะการประกวดราคาและได้ก่อสร้างโครงการป้องกันชายฝั่งมากเป็นอันดับที่สองเมื่อคิดจากงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเลตั้งแต่ปี 2558-2562 (https://beachlover.net/เปิด-5-รายชื่อบริษัท-งานป้องกันชายฝั่ง/) […]

Beachlover

October 20, 2020

กำแพงกันคลื่น… ไปต่อหรือพอแค่นี้?

กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได เป็นทางเลือกเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเลในยุคปัจจุบัน ที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองระบุว่าเป็นแนวทางเลือกที่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการป้องกันชายฝั่งในหลายๆพื้นที่เห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เช่น หาดมหาราช [https://beachlover.net/covid19-หาดมหาราช/] หาดม่วงงาม [https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/] จ.สงขลา หาดชะอำ จ.เพชรบุรี [https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/] ปากน้ำปราณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ [https://beachlover.net/ไทยริเวียร่า-ประจวบ/] เป็นต้น โดยทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ระบุว่า โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบตามหลักวิชานี้สามารถป้องกันชายฝั่งได้ดี สมควรดำเนินการต่ออีกในหลายพื้นที่ที่ยังรอคอยการแก้ไข เช่น หาดสวนสน จ.ระยอง และ ปากน้ำแขมหนู จ.จันทบุรี ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีก็คือ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นไม่ว่าจะเป็นแบบแนวดิ่ง ลาดเอียง หรือแบบขั้นบันไดที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังดำเนินการนั้น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทำหน้าที่ตรึงแนวชายฝั่งให้อยู่กับที่  ทําให้พื้นที่ด้านหลังกําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ โดยจะออกแบบไปเป็นรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่  การยอมรับของประชาชน และงบประมาณ เนื่องจากกำแพงกันคลื่นวางตัวขนานกับชายฝั่งจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง โดยที่คลื่นจะมีความรุนแรงขึ้นด้านหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ส่งผลให้ระดับสันชายหาดลดต่ำลงระดับน้ำด้านหน้ากำแพงกันคลื่นลึกขึ้นจนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปในที่สุด ส่งผลเสียต่อทรัพยากรและทัศนียภาพริมทะเล การที่ทรายด้านหน้ากำแพงหายไปยังทำให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานของกำแพง ส่งผลต่อเสถียรภาพของกำแพงกันคลื่นด้วย การเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อเข้ากระทบกำลังจะส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) เกิดการกัดเซาะได้เช่นกันดังนั้นหากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบ โดย Beach Lover ได้เคยนำเสนอผลกระทบที่ว่านี้ผ่าน https://beachlover.net/seawall/ […]

Beachlover

October 18, 2020

คลองจาก อ่าวนาง กำลังสร้างอะไรกัน?

คลองจาก อ่าวนาง ได้กลายเป็นข่าวดังเมืองต้นปีกลายว่ามีการลักลอบปล่อยน้ำเสียลงทะเลบริเวณหัวหาดทิศใต้ของอ่าวนาง ชายหาดเลื่องชื่อแห่งกระบี่ ติดตามข่าวบางส่วนได้จาก https://www.dmcr.go.th/detailAll/30817/nws/22 และ https://www.thaipost.net/main/detail/32608 มาวันนี้ Beach Lover ได้ลงพื้นที่อ่าวนางพบว่ามีงานก่อสร้างบริเวณปากคลองแห่งนี้ คล้ายเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) และพบว่าน้ำทะเลในพื้นที่ก่อสร้างเปลี่ยนเป็นสีของตะกอนดินทรายที่นำมาใช้เพื่องานก่อสร้างนี้ เป็นที่น่าแปลกใจถึงที่มาของโครงการนี้ เนื่องจากคลองนี้ไม่มีการเข้าออกของเรือเลย ซึ่งอาจผิดวัตถุประสงค์ของการสร้าง Jetty และอาจส่งผลกระทบให้กับพื้นที่ชายหาดข้างเคียงได้ อย่างไรก็ตาม Beach Lover ยังไม่ทราบต้นสายปลายเหตุของงานก่อสร้าง รวมถึงรายละเอียดของแบบก่อสร้าง หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป

Beachlover

October 8, 2020

ท้ายเหมือง…เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน

[ภาพเมื่อ 30 กันยายน 2563] หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด เพื่อป้องกันศาลาและถนนเลียบทะเลของวัด ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ จนเกือบกระทบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด ระหว่างการก่อสร้าง วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทางทิศเหนือถัดจากกำแพงไปไม่ไกล ไปประมาณ 200 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.2561 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เจ้าอาวาสวัดท่าไทร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นห่วงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหลุมไข่เต่ามะเฟือง จึงได้มอบหมายให้ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.) ใช้อำนาจอำนาจตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/พรบ-กรม-ทช/) สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไปก่อน จากนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำโครงการปักเสาไม้เพื่อป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ (Downdrift) ด้านทิศเหนือของกำแพงหิน ระยะทาง 594 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 495,000 บาท […]

Beachlover

October 5, 2020

หาดดวงตะวัน ยังสบายดีไหม

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดดวงตะวันไปบ้างแล้วตามโพสเดิม https://beachlover.net/หาดดวงตะวัน-จะมีกำแพง/ กลับมาหาดดวงตะวันอีกรอบในครั้งนี้ Beach Lover ได้ทำการสำรวจภาพมุมสูงเพื่อให้เห็นโครงสร้าง และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับถนนเลียบทะเลได้ชัดเจนมากกว่าเดิม โดยพบว่าชายหาดทิศตะวันออกส่วนที่อยู่ถัดจากกองหินที่มีความยาวประมาณ 32 เมตรนี้ เกิดการกัดเซาะอย่างชัดเจนและแตกต่างจากหาดฝั่งตะวันตกของกองหินนี้มาก พบว่ากระสอบทรายทางฝั่งตะวันตกของกองหิน ที่คาดว่าเคยวางเพื่อป้องกันชายฝั่งก่อนที่จะมีกองหินถูกทรายกลบทับจนบางตำแหน่งเกือบไม่เห็นร่องรอย ซึ่งแตกต่างจากฝั่งตะวันออกของกองหินเป็นอย่างมาก ที่เกิดการกัดเซาะจนถึงถนนเลียบทะเลเป็นระยะทางเกือบ 1 กิโลเมตร หากมีรายละเอียดเกี่ยวกับการดำเนินงานป้องกันการกัดเซาะของชายหาดดวงตะวัน Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป

Beachlover

October 1, 2020

หาดสุชาดา-แสงจันทร์-ปากน้ำระยอง … ทุกโครงสร้างชายฝั่ง พบได้ที่นี่

หลังจากการเกิดขึ้นของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด พร้อมงานก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกมาบตาพุด ชายหาดฝั่งตะวันออกของท่าเทียบเรือก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป… การก่อสร้างท่าเทียบเรือน้ำลึกขนาดใหญ่ ถือเป็นโครงสร้างทางวิศวกรรมชายฝั่งทะเล ที่เป็นผลมาจากการพัฒนาด้านเศรษฐกิจการคมนาคมและการค้า เพื่อให้เกิดการขยาย ตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยจะกระจายตัวไปในพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการพัฒนา เช่น ท่าเรือน้ำลึกสงขลา แหลมฉบัง และมาบตาพุด  ท่าเรือมาบตาพุดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลตะวันออก เป็นท่าเรือที่ใช้เวลาศึกษาและก่อสร้างน้อยมาก กล่าวคือ ในปี 2525 ทำการศึกษาความเป็นไปได้ในการก่อสร้าง ในปี 2528 ทำการออกแบบด้านวิศวกรรม  ในปี 2532 เริ่มการก่อสร้างท่าเรือซึ่งแล้วเสร็จในเดือนกุมภาพันธ์ 2535 และมีเรือเข้าเทียบท่าลำแรกเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2535 (http://www.cuti.chula.ac.th/triresearch/mabtaput/mabtaput.html) ด้วยลักษณะทางสมุทรศาสตร์และสัณฐานชายฝั่ง ทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนที่ขนานกับชายฝั่งทะเล (longshore sediment transport) ในบริเวณมาบตาพุดนี้ จะมีการเคลื่อนที่สุทธิจากทิศตะวันตกไปทางทิศตะวันออกของท่าเทียบเรือ ตามทฤษฎีแล้ว เมื่อมีการก่อสร้างโครงสร้างชายฝั่งทะเล จะส่งผลให้กระแสน้ำชายฝั่ง (longshore current) มีทิศทางเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม คลื่นเมื่อเคลื่อนที่ปะทะโครงสร้างจะเกิดปรากฏการณ์คลื่นหักเห  (refraction) เลี้ยวเบน (diffraction) และสะท้อน (reflection)  ส่งผลให้ชายฝั่งทางด้านท้ายน้ำ หรือส่วนถัดไปจากโครงสร้าง เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรง คาดเดาได้ไม่ยากว่า หากมีสิ่งก่อสร้างอย่างการถมทะเลและท่าเทียบเรือน้ำลึกมาบตาพุดยื่นลงไปในทะเลด้วยระยะทาง 3.5 กิโลเมตรนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับชายหาดทิศตะวันออกของท่าเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่ตั้งของชายหาดสุชาดาและหาดแสงจันทร์ เรื่อยยาวจากปากคลองตากวนจนถึงปากน้ำระยองระยะทางประมาณ 10.5 กิโลเมตร หลังการเกิดขึ้นของท่าเรือน้ำลึกมาบตาพุด ชายหาดแถบนี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง จนเป็นเหตุให้หน่วยงานที่รับผิดชอบจำเป็นต้องดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมหลากหลายรูปแบบ อันประกอบด้วย […]

Beachlover

October 1, 2020
1 16 17 18 30