ต้นสนล้ม ณ หาดบางเกตุ

หาดบางเกตุ ตั้งอยู่หมู่ 7  บ้านบางเกตุ  อ.ชะอำ  จ.เพชรบุรี   หาดบางเกตุอยู่ในบริเวณริมชายหาดอ่าวไทย ซึ่งมีความสวยงามมีสวนสาธารณะไว้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว  โดยมีแนวทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ธรรมชาติในแง่การพักผ่อนอยู่กับธรรมชาติอย่างแท้จริง  ที่หาดบางเกตุมีทั้งโรงแรมหรือจะกลางเต็นท์ก็ได้ เป็นชายหาดที่มีความร่มรื่น เงียบสงบ และสะอาด ตลอดแนวชายหาดจะมีต้นไม้ขึ้นเรียงราย จึงเหมาะสำหรับครอบครัวและนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะมาเล่นน้ำและพักผ่อน (http://www.bangkao.go.th) Beach Lover ได้รับการรายงานว่าตลอดทั้งปี 2563 นี้ ชายหาดบางเกตุถูกกัดเซาะจนพื้นที่กางเต้นท์ของชุมชนค่อยๆหดหายไป จนชุมชนเริ่มแจ้งไปตามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งผ่านทาง Page เพื่อให้นักท่องเที่ยวทราบ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์พบว่า ต้นสนริมหาดล้มลง 2 ต้น พื้นที่สาธารณะที่ชุมชนดูแลอยู่และใช้เพื่อการกางเต้นท์สำหรับนักท่องเที่ยวที่มีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 100 เมตร ถูกกัดเซาะไปบ้าง และพบว่าชายหาดด้านหน้าต้นสนนั้นถูกตัดชันขึ้นและมีระดับลดต่ำลง จากการที่ทรายด้านหน้าชุมชนหายไปซึ่งส่งผลให้ชายหาดมีระดับลดต่ำลง จึงพบว่าน้ำทะเลได้รุกเข้าไปอยู่ในระยะประชิดรีสอร์ทริมทะเลแล้ว ชาวบ้านได้เล่าให้ฟังว่านี่ถือเป็นปีแรกที่ทรายหน้าชุมชนหายไปมากมายขนาดนี้ เมื่อเดินถัดไปทางทิศเหนือของชุมชนพบว่าชายหาดยังคงสภาพดี มีสันทรายกว้างในระยะพ้นระดับน้ำสูงสุดประมาณ 3-5 เมตร ก่อนถึงขอบเขตที่ดินเอกชน

Beachlover

December 15, 2020

ท่ออะไร ยังไง?!? @ หาดหว้าขาว บ่อนอก

หาดหว้าขาวอยู่ทางทิศใต้ของกุยบุรี เป็นหาดทรายยาวต่อเนื่องกว่า 20 กิโลเมตร ตั้งแต่ตำบลบ่อนอกเรื่อยไปจนถึงตำบลอ่าวน้อย อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ สภาพทั่วไปเป็นหาดทรายขาวยาวต่อเนื่อง มีป่าชายหาดปกคลุมเป็นส่วนใหญ่ มีบ้านส่วนตัว รีสอร์ท และชุมชนประปราย ส่วนมากเป็นพื้นที่เอกชนแปลงโล่งที่ยังไม่ได้พัฒนา เนื่องจากพื้นที่แถบนี้เข้าถึงริมทะเลได้ยากในหลายตำแหน่ง Beach Lover จึงได้ลงสำรวจภาคสนามโดยการถ่ายภาพมุมสูง พบการวางท่อซีเมนต์ต่อกันเป็นแนวยาว 8-9 ท่อต่อ 1 แนว โดยวางตั้งฉากกับชายฝั่งประหนึ่งเป็นรอดักทราย [ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับรอดักทราย https://beachlover.net/groin/ ] ณ หาดหว้าขาว บ่อนอก ในพิกัด UTM ประมาณ 590994E และ 1321031N ขณะนี้ยังไม่ทราบเจ้าของและสาเหตุการวาง หากท่อซีเมนต์นี้วางรุกล้ำลงไปในเขตทะเล จำเป็นต้องของอนุญาตกรมเจ้าท่าตาม พรบ.เดินเรือน่านน้ำไทย [https://beachlover.net/พระราชบัญญัติเจ้าท่า/] เนื่องจากถือเป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำตามกฎหมายของกรมเจ้าท่า แต่หากเป็นการวางในพื้นที่เอกชนอยู่ในเขตที่ดินของตนเองก็สามารถทำได้ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมทาง Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสต่อไป

Beachlover

December 13, 2020

ตามคาด! ภาพล่าสุดของกำแพงกันคลื่นปากน้ำปราณ

Beach Lover ได้เคยนำเสนอสภาพความเสียหายของกำแพงกันคลื่นปากน้ำปราณไปเมื่อ มิถุนายน 2563 ตาม Link https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/ ณ ในเวลานั้นพบว่าลานเอนกประสงค์ที่ปูด้วยอิฐตัวหนอนด้านหลังกำแพงกันคลื่นนั้นเสียหายเพียงบางส่วน โดยกำแพงกันคลื่นแนวดิ่งนั้นเริ่มเอียงลงทะเลแล้ว ในเดือนธันวาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ Beach Lover ได้ลงสำรวจความเสียหายของกำแพงกันคลื่นนี้อีกครั้ง พบว่ากำแพงกันคลื่นที่เคยเอียงลงทะเล บัดนี้ได้ล้มลงทั้งแผงและหมดหน้าที่ของความเป็นกำแพงกันคลื่นไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และพบว่าลานเอนกประสงค์ด้านหลังกำแพงก็ไหลลงทะเลด้วยเช่นกัน ส่วนที่ถัดจากกำแพงที่พังลงนั้น เดิมทีมีความเสียหายเกิดขึ้นอยู่แล้ว และหน่วยงานที่รับผิดชอบได้นำ Big bag ใส่ทรายมาวางเพื่อป้องกันความเสียหายด้านหลังกำแพง จากการสำรวจสภาพในครั้งนี้พบความเสียหายเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะพื้นที่ด้านหลังกำแพงและ Big bag นอกจากนี้ยังพบว่า สะพานปลาที่มีสภาพพังเสียหายบัดนี้โครงสร้างหลักได้พังลงทะเลเกือบหมดแล้ว และจากคำบอกเล่าของผู้เกี่ยวข้องพบว่าซากที่พังของสะพานและหล่นลงทะเลนั้น วางตัวประหนึ่งเป็นรอดักทรายเนื่องจากวางตัวตั้งฉากกับการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่งซึ่งมีทิศเคลื่อนที่จากใต้ขึ้นเหนือ โดยพบการกัดเซาะในพื้นที่ด้านทิศเหนือของซากสะพานปลา ซึ่งเดิมเคยมีอาคารร้านค้าตั้งอยู่ริมทะเล แล้วถูกรื้อถอนไป แต่ยังคงพบซากปรักหักพังของโครงสร้างคอนกรีตบางอย่างหลงเหลือทิ้งไว้บนชายหาด ล่าสุด กรมโยธาธิการและผังเมืองมีแผนใช้งบประมาณเพื่อฟื้นฟูบูรณะกำแพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมปรับภูมิทัศน์ความยาว 930 เมตร มูลค่างานรวม 147.963 ล้านบาท (อ้างอิงข้อมูลจากสำนักงบประมาณ, 2563) ปัจจุบันยังมิได้ลงมือก่อสร้าง โดยพบว่ามีเครือข่ายประชาชนแถบปากน้ำปราณได้ร้องเรียนให้ปรับรูปแบบและปรับเปลี่ยนแนวของโครงสร้างที่กรมโยธาวางแผนไว้ว่าจะยาวต่อเนื่องจากสามแยกถึงศาลสมเด็จพ่อกรมหลวงชุมพรฯ นอกจากนี้พื้นที่ส่วนหนึ่งของโครงการทางด้านทิศเหนือของซากสะพานปลายังมีคดีความฟ้องร้องเรื่องการรุกพื้นที่สาธารณะเพื่อใช้ประโยชน์ส่วนตัว โดยยังอยู่ระหว่างการดำเนินการ ซึ่งนี่อาจเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้โครงการนี้ยังมิได้ลงมือก่อสร้าง หากมีความคืบหน้าประการใด Beach Lover […]

Beachlover

December 9, 2020

ความคืบหน้า งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่น ณ หาดสวนสน ระยอง

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของชายหาดสวนสน จ.ระยอง ไปบ้างแล้ว ทั้งงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได [https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/] ความเสียหายของพื้นที่ด้านบนของกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงที่มีอยู่เดิม [https://beachlover.net/ปรักหักพัง-หาดสวนสน/] ครั้งนี้ Beach Lover ได้ลงสำรวจพื้นที่อีกครั้งเมื่อปลายเดือน พ.ย.2563 พบว่า กำแพงกันคลื่นนี้อาจจะไม่เสร็จตามแผนที่วางไว้ในอีกไม่ถึงเดือนคือ เดือนธันวาคม 2563 พบว่าพื้นที่ทางทิศตะวันตกของแนวกำแพง โครงสร้างหลักคือขั้นบันไดนั้นสร้างเกือบเสร็จแล้ว ยังคงเหลือโครงสร้างด้านบนสุดตรงสันกำแพงและการปรับภูมิทัศน์ ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันออกของแนวกำแพงพบเพียงงานขึ้นโครงเหล็กและหล่อโครงสร้างหลักทิ้งไว้เท่านั้น สภาพโดยรวมมีคนงานทำงานอยู่ไม่มาก กำแพงกันคลื่นที่ปรากฏ ณ หาดสวนสนนี้ นับว่าเป็นอีกหนึ่งโครงการป้องกันตลิ่งริมทะเล โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองที่ใช้รูปแบบกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได้เหมือนกับในอีกหลายๆพื้นที่ ที่ดำเนินการก่อสร้างเสร็จแล้ว และกำลังสร้างอยู่ รวมถึงที่กำลังเปิดรับฟังความคิดเห็นไปบ้างแล้ว ก็ออกมาเป็นรูปแบบเดียวกันนี้ โดยทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้เคยชี้แจงเหตุผลในที่ประชุมหลายๆเวทีไว้ว่า “รูปแบบนี้มีประสิทธิภาพในการป้องกันชายฝั่งได้ดี หยุดการขยับของตลิ่ง ทำให้ชายฝั่งมีเสถียรภาพ สามารถลดความรุนแรงของคลื่นและลดการสะท้อนของคลื่นได้ ทำให้ลดปัญหาการคุ้ยทราย ลดการพัดพาทรายด้านหน้าหาดได้ในระดับหนึ่ง โครงสร้างได้ออกแบบให้มีความลาดชันเพียงพอต่อการให้ทรายไต่ขึ้นมาสะสมบริเวณหน้าโครงสร้างได้ นอกจากนั้น ระดับโครงสร้างถูกออกแบบให้มีความสูงเพียงพอในการป้องกันคลื่นซัดกระเซ็นข้ามสันคลื่นในฤดูมรสุมได้” หลังงานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จะลงสำรวจอีกครั้งและกลับมานำเสนอในโอกาสต่อไป

Beachlover

November 27, 2020

การเปิด-ปิด ของสันทรายปากคลองสำโรง

คลองสำโรงเป็นคลองที่เชื่อมระหว่างทะเลในเขตเทศบาลนครสงขลากับเทศบาลเมืองเขารูปช้าง ระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร เป็นเส้นทางสัญจรมาตั้งแต่สมัยโบราณกาลแล้ว และเชื่อมระหว่างทะเลอ่าวไทยกับทะเลสาบสงขลา ทำให้ซึ่งคลองสำโรงนี้มีความเป็นมายาวนานคู่กับประวัติศาสตร์เมืองสงขลา ซึ่งเดิมได้ใช้เส้นคลองสายนี้เป็นเส้นทางการค้าขายหรือการเข้ามาของเรือสำเภา เมื่อชุมชนมีมากขึ้น เส้นทางแห่งนี้ก็เริ่มมีปัญหาในเขตชุมชนหนาแน่นขึ้น ประกอบกับระบบระบายน้ำเสียที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียและส่งกลิ่นเหม็นในคลอง อีกปัญหาหนึ่งที่เกี่ยวเนื่องกันคือ ปากคลองสำโรงฝั่งทะเลอ่าวไทยมักถูกปิดตามธรรมชาติ จากการพัดพาของทรายมาปิดปากคลองในบางฤดูกาล ยิ่งส่งผลให้น้ำในคลองไหลถ่ายเทไม่สะดวก ชาวบ้านในชุมชนเก้าเส้งผู้ใช้ประโยชน์จากคลองได้ร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายวาระโอกาส เช่น https://siamrath.co.th/n/161620 และ https://beachlover.net/ชุมชนเก้าแสนเดือดร้อน-ทช-สงขลาเร่งช่วยแก้ปัญหา/ Beach Lover เองก็เคยนำเสนอเรื่องราวนี้ไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/ปากคลองสำโรง-7-ต-ค-2562/ จากการตรวจสอบเบื้องต้นโดยใช้ภาพถ่ายดาวเทียม Google Earth ทั้งหมด 28 ช่วงเวลาตั้งแต่ ธันวาคม 2014 ถึง กรกฎาคม 2020 พบว่า ปากคลองสำโรงถูกปิด 18 ครั้ง และเปิด 10 ครั้ง ตลอดระยะเวลาเท่าที่มีข้อมูลกว่า 6 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเกิดขึ้นทั้งจากธรรมชาติที่กระบวนการชายฝั่งทะเลพัดพาเอาทรายมาทับถมที่ปากคลอง และเกิดจากการเปิดปากร่องน้ำโดยหน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อบรรเทาปัญหาให้ชาวบ้านในชุมชน Beach Lover ได้ลงสำรวจปากคลองสำโรงเมื่อวันที่ 18 พ.ย.2563 พบว่าปากคลองสำโรงได้ถูกเปิดออก โดยพบกองทรายขนาดใหญ่อยู่ริมชายหาดหน้าชุมชนเก้าเส้ง […]

Beachlover

November 24, 2020

บางขุนเทียน ทะเลกรุงเทพ

“ทะเลกรุงเทพ” ของจริงอยู่ที่นี่ ไม่ใช่ “สวนสยาม” อย่างที่ใครเค้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด! กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตบางขุนเทียน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ชายฝั่งทะเลถูกกัดกินลึกเข้าไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร กรุงเทพมหานครพยายามต่อสู้กับธรรมชาติโดยการปักเสาไฟฟ้า ปลูกป่าชายเลน ปักไม้ไผ่มาอย่างต่อเนื่อง แม้กิจกรรมหลักจะไม่ได้ใช้งบประมาณประจำปีของกรุงเทพฯ แต่ก็เป็นงบประมาณที่มหาศาลมากจากภาคเอกชนผ่านทางมูลนิธิเพื่อปลูกป่าชายเลน ล่าสุดได้วางแผนใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Breakwater) ท่าเรือ ทางเดินธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงการทั้งหมดนั้นผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนงบก้อนนี้ถูกตีตกไปในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 แต่กรุงเทพมหานครยังคงไม่ลดละความพยายาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการของบประมาณปี 2565 เพื่อการดำเนินโครงการนี้ งบประมาณที่ใช้กว่า 1,400 ล้านบาท นั้น เท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของ 2 กรมรวมกันคือกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ครั้งนี้จะใช้เพื่อป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานครระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร ?!?!?

Beachlover

November 22, 2020

กำแพงกันคลื่นหน้าหาดแก้วยามมรสุม

โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของทางเข้าทะเลสาบสงขลาและท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ในอดีตเคยมีหาดทรายกว้างด้านหน้าโรงแรม บางฤดูกาลก็เกิดชายหาดสองชั้น คือด้านในเป็นแอ่งน้ำและมีสันทรายด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ชายฝั่งแถบหาดแก้วรีสอร์ทไปหลายครั้งแล้ว ติดตามบางส่วนได้จาก https://beachlover.net/หาดหน้าโรงแรมหาดแก้ว/. ครั้งนี้ Beach Lover ได้มีโอกาสติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาดด้านหน้าโรงแรมอีกครั้ง ในช่วงเริ่มต้นฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือพอดี พบหาดทรายด้านหน้ารีสอร์ท ซึ่งอยู่ด้านหลังกำแพงกันคลื่นบัดนี้เป็นทรายค่อนข้างหยาบผสมกับทรายก่อสร้างและพบเศษวัสดุขนาดเล็กที่หลงเหลือจากงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นด้านหน้าปะปน นอกจากนี้ยังไม่พบชายหาดด้านหน้ากำแพงกันคลื่น เนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นจะทำให้ชายหาดด้านหน้ากำแพงค่อยๆหดหายไป [อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/] แม้ช่วงเวลาที่ลงสำรวจนั้นเป็นช่วงที่น้ำเพิ่งลงต่ำสุดไปไม่นาน แต่มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือก็ส่งผลให้ระดับน้ำยกตัวสูงขึ้นกว่าปกติ และยังส่งผลให้คลื่นสูงและมีกำลังแรงกว่าปกติด้วย พบว่าคลื่นกระโจนข้ามสันกำแพงกันคลื่นในทุกตำแหน่งตลอดแนวชายฝั่งหน้าโรงแรม และเข้าท่วมขังในพื้นที่หาดทรายด้านหลังกำแพงจนเกิดเป็นแอ่ง แม้หน่วยงานผู้รับผิดชอบจะออกแบบระบบระบายน้ำด้านหลังกำแพงไว้แล้ว แต่ไม่สามารถระบายน้ำทะเลที่กระโจนข้ามสันโครงสร้างมาด้านหลังกำแพงได้ทัน หาดแก้วยามนี้ … ไม่หลงเหลือความสวยงามตามธรรมชาติอย่างที่เคยมีมาในอดีต สิ้นชื่อหาดแก้ว หาดที่เม็ดทรายสวยงามดั่งแก้วเป็นการถาวร

Beachlover

November 19, 2020

กำแพงกันคลื่นราคา 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร!

จ.สมุทรปราการตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดโคลนมีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 44 กิโลเมตร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เผชิญปัญหาการกัดเซาะเรื่อยมา ในส่วนของเทศบาลตำบลบางปูนั้นมีความยาวชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วย ต.ท้ายบ้าน ต.บางปูใหม่ และ ต.บางปู โดยเกือบทั้งหมดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยการก่อสร้างเขื่อนหินเรียงริมชายฝั่งความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร ภาพด้านล่างฝั่งซ้าย เป็นภาพเมื่อปี 2551 เทศบาลตำบลบางปูได้ดำเนินการปรับปรุงเสริมแนวเขื่อนเรียงหินเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณท้านซอยบางเมฆขาว-บริเวณคลองตำหรุ ส่วนภาพฝั่งขวา คือ สภาพหลังการปรับปรุงเขื่อนเรียงหินเดิมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการเพิ่ม side slope และขยายความกว้างของสันเขื่อน ทำการปูยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตบนแนวสันเขื่อน เพื่อใช้ประโยชน์ในการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน อีกทั้งยังมีการสร้างกำแพงเพื่อเสริมความสูงของเขื่อนเพื่อป้องกันการซัดของคลื่นที่รุนแรงในช่วงมรสุม (ที่มา: เทศบาลตำบลบางปู) ลักษณะของโครงสร้างแบบนี้ หากสร้างในคราวเดียวกัน ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประเมินไว้ว่าใช้งบประมาณ 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งทะเลที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่ Beach Lover เคยสำรวจข้อมูลมีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Beachlover

November 12, 2020

หาดชลาทัศน์กัดเซาะตามข่าว จริงหรือ?!?

จากข่าวการกัดเซาะชายหาดชลาทัศน์ที่สื่อท้องถิ่นนำเสนอภาพไปเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2563 และ Beach Lover ได้นำมาแชร์ต่อไว้ใน https://beachlover.net/คลื่นทะเลแรงกัดเซาะ-หาดชลาทัศน์-พัง/ นั้น พบประเด็นที่อยากนำเสนอเพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมตามนี้ บริเวณที่เห็นตามภาพข่าวนั้นคือพื้นที่ทางทิศใต้ของชายหาดชลาทัศน์ ที่ทางกรมเจ้าท่าได้เคยทำการเติมทรายชายหาดค้างไว้ ยังไม่แล้วเสร็จจวบจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ทรายใต้ทะเลนอกฝั่งแถบแหลมสนอ่อนลำเลียงผ่านท่อเหล็กยาวประมาณ 4 กิโลเมตรกว่ามาเติมให้ชายหาดบริเวณนี้ โดยทาง Beach Lover และเครือข่ายได้ติดตามการทำงานของกรมเจ้าท่า ณ ชายหาดชลาทัศน์มาอย่างยาวนาน อ่านเพิ่มเติมถึงเรื่องราวนี้ได้จาก https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์-ยามนี้-ยังสบายดีอยู่ไหม/ จากบทความที่ได้โพสไว้เมื่อปลายเดือนสิงหาคม 2563 [https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์-ยามนี้-ยังสบายดีอยู่ไหม/] แม้จะเป็นช่วงปลอดมรสุม แต่พบว่าชายหาดมีสภาพเหมือนที่ลงข่าวตามสื่อเมื่อวันที่ 10 พ.ย.2563 หากสาเหตุหลักเกิดการคลื่นลมแรงช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ภาพเมื่อเดือนสิงหาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงปลอดมรุสมคงจะไม่เกิดเหตุการณ์แบบเดียวกันนี้ การกัดเซาะแบบที่เราเห็นตามภาพนี้เกิดทรายที่นำมาเติมลงบนชายหาดนั้นมิได้ถูกปรับแต่งความลาดชันด้านหน้าหาดให้ลาดเอียงเหมาะกับการใช้ประโยชน์พื้นที่ ประกอบกับวัสดุที่นำมาเติมนั้นมีขนาดคละที่ไม่ถูกต้องตามหลัก [อ่านบทความวิชาการเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/การเติมทรายชายหาด/] จึงเกิดการแยกชั้นของวัสดุอย่างชัดเจนและเกิดการตัดเป็นหน้าผาชัน ส่วนการกัดเซาะที่มีลักษณะคล้ายทางระบายน้ำจากบนชายหาดลงสู่ทะเลนั้น เกิดจากน้ำที่ไหลลงจากบนฝั่งทั้งน้ำฝนและน้ำส่วนเกินจากทางระบายน้ำริมถนนไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ เมื่อมีความแรงก็ไหลบ่ากัดเซาะเอาส่วนของทรายที่เติมอยู่ด้านบนซึ่งเป็นส่วนของตะกอนขนาดเล็กและเบา ซึ่งตามปกติจะถูกพัดพาและกัดเซาะง่ายอยู่แล้ว ไหลตามน้ำออกไปด้านนอกฝั่ง จึงเห็นเป็นลักษณะคล้ายช่องเปิดเลี้ยวไปมาบนชายหาด การเติมทรายชายหาดนั้นแม้จะเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบด้านลบน้อยต่อพื้นที่ที่ต้องการป้องกันและพื้นที่ข้างเคียงก็จริง [https://beachlover.net/เติมทรายชายหาด/] แต่มาตรการนี้มิใช่จะปฏิบัติได้ง่ายนัก ต้องคำนึงถึงแหล่งทราย วิธีการลำเลียง วิธีการเติม บดอัด และอื่นๆอีกมากมาย [บทความวิชาการ […]

Beachlover

November 11, 2020

ถึงคิวเกาะลิบง กับ หาดกำแพง ?!?

ลิบง เป็นชื่อของเกาะซึ่งตั้งอยู่ในน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ห่างจากฝั่งบ้านเจ้าไหมไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเกาะใด ๆ ที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดนี้ เกาะลิบงที่มีฐานะเป็นตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร (https://th.wikipedia.org/wiki/เกาะลิบง) เกาะลิบงเมื่อปีก่อนเริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นแหล่งพักรักษาตัวของพยูนมาเรียม อันที่จริงแล้วเกาะลิบงมีชื่อเสียงเรื่องพยูนมาเนิ่นนานแล้วด้วยเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพยูน จึงเป็นพื้นที่แหล่งหากินของพยูนมาแต่ครั้งอดีต ปัจจุบันประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ Beach Lover ได้สำรวจความสมบูรณ์ของทรัพยากรบนเกาะลิบงและพื้นที่ชายหาดรอบๆเกาะ พบทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันหลากหลาย บางโซนของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวสวย บางโซนเป็นหาดโคลนบนทราย บางโซนเป็นท้องทุ่งหญ้าทะเล บางโซนเป็นโขดหินรูปร่างแปลกตา งานสำรวจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่ได้มีโอกาสหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง จนถึงวันนี้ วันที่บางส่วนของชายหาดบนเกาะลิบงกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง รอบๆเกาะไร้ร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งยกเว้นเพียงพื้นที่เดียวคือพื้นที่หมู่ 5 บ้านหลังเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นทะเลเปิด เป็นพื้นที่ของชุมชนประมงที่ตั้งอยู่ด้านหลังเกาะกวาง ช่วงที่ Beach Lover ลงสำรวจพื้นที่เป็นช่วงปลอดมรสุม คลื่นลมสงบยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะใดๆ แต่พบซากปรักหักพังของเศษวัสดุมากมายรวมถึงเศษซากแห่งความพยายามป้องกันพื้นที่ชายฝั่งนี้ให้รอดพ้นจากการกัดเซาะในอดีต ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า หาดแถบนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด Tsunami เมื่อปี 2547 หลังจากนั้นทางท้องถิ่นก็ได้ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นและถนนเลียบหาดแบบไม่ได้มาตรฐานนัก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพเชิงกายภาพครั้งใหญ่ของหาดในหมู่ที่ 5 นี้ โดยระยะต่อมาโครงสร้างเกือบทั้งหมดได้พังทลายลงและส่งผลกระทบให้หาดกัดเซาะไปเรื่อยๆจวบจนถึงปัจจุบัน ทางท้องถิ่นได้ประสานไปหลายหน่วยงานรวมถึงนักวิชาการหลายสำนัก […]

Beachlover

November 3, 2020
1 15 16 17 30