พาเดินอยู่ในวังวน ที่จุดชมวิวชายฝั่ง

ที่มา: https://www.facebook.com/artofth De Panne เป็นเมืองหนึ่งในประเทศเบลเยี่ยม ที่มีธรรมชาติสวยงาม โดยเฉพาะชายหาดยาวและทุ่งหญ้าที่มาบรรจบกัน บริเวณชายหาดนี้จึงเหมาะมากในการสร้างแลนด์มาร์คสำคัญ Westerpunt คือจุดชมวิวที่ออกแบบโดย Studio Moto ตั้งอยู่ในจุดที่เชื่อมกับเมือง Dunkirk ของฝรั่งเศส ด้วยคอนเซปต์ที่ว่า ‘การเดินทางคือจุดหมาย’ หรืออาจเรียกได้ว่า ‘ไม่ว่าจุดหมายจะเป็นอะไร อย่าลืมมองเห็นคุณค่าของเรื่องราวระหว่างการเดินทาง’ โดยปกติแล้ว การเดินชมวิวริมหาดจะเป็นเส้นตรงยาว แต่ในคราวนี้เส้นทางนั้นถูกม้วน โดยเอาเส้นบันไดตรงมาหักมุม 108 องศา บรรจบกันกลายเป็นลูป และมีชานพักอยู่ที่ทุกมุม เมื่อเดินวนขึ้นลงไปเรื่อยๆ มุมมองทิวทัศน์ก็จะต่างออกไป ด้วยรูปทรงนี้ ทำให้ถึงแม้น้ำทะเลจะระดับสูงขึ้น ก็ยังสามารถเดินขึ้นไปได้อยู่เสมอ ผลงานนี้สร้างจากคอนกรีตที่ทนทานต่อทุกสภาพอากาศ ไม่ต้องการการดูแลยุ่งยาก และสามารถตั้งอยู่ได้ด้วยตัวมันเอง ตัวบันไดยังทำหน้าที่เป็นเหมือนเสารับแรงอีกด้วย เรียกว่าทั้งหมด ทั้งรูปทรง โครงสร้าง และการใช้งาน กลายเป็นเรื่องเดียวกัน สีของคอนกรีตกลืนไปกับหาดทราย และด้วยลวดลายของแผ่นไม้แม่แบบคอนกรีต ก็ยังช่วยทำให้ผลงานดูมีรายละเอียดเป้นธรรมชาติ กลืนไปริ้วทราย ต้นหญ้าและเส้นขอบฟ้าอีกด้วย ราวกับสิ่งนี้ผุดขึ้นมาเองเลยทีเดียว

Beachlover

July 19, 2024

ลงมือแล้ว!! กำแพงกันคลื่นหาด Katoku

ที่มา: https://www.facebook.com/katokuhama Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาด Kotoku บนเกาะ Amami เกาะเล็กๆทางตอนใต้ของประเทศญี่ปุ่นไปแล้วตอนหนึ่ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/katoku-sw/ เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีการกลับมาดำเนินการก่อสร้างที่ Katoku โดยไม่มีการแจ้งให้ทราบล่วงหน้า โดยเจ้าหน้าที่จังหวัดและพนักงานจากบริษัท Marufuku ได้เข้ามาเคลียร์พื้นที่และประกาศว่าจะวางแท่งคอนกรีตบนชายหาดและดำเนินการให้เร็วที่สุด เนื่องจากผู้จัดการและผู้ช่วยผู้จัดการเพิ่งย้ายมาประจำการในเดือนเมษายน ชาวบ้านในพื้นที่จึงจำเป็นต้องเริ่มอธิบายเหตุการณ์และข้อกังวลที่เกิดขึ้นทั้งหมดใหม่ นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่จังหวัดยังข่มขู่ชาวบ้านที่ยื่นคำร้องขอตรวจสอบโครงการ โดยอ้างว่าจะดำเนินคดีหากเข้ามาขัดขวางการก่อสร้าง ซึ่งอาจเป็นการกระทำตามคำสั่งของผู้ว่า Shiota และถือเป็นการเลือกปฏิบัติและการคุกคามทางกฎหมายที่ไม่สนใจความคิดเห็นของชาวบ้านที่เพิ่งยื่นคำร้อง ถึงแม้จะมีเหตุการณ์ดังกล่าว ชาวบ้านยังคงพยายามสื่อสารกับเจ้าหน้าที่จังหวัด ถึงแม้ว่าภารกิจของเจ้าหน้าที่คือการดำเนินโครงการที่เป็นปัญหาตลอดหลายปีที่ผ่านมา แต่ชาวบ้านเชื่อว่าการสื่อสารและแสดงความคิดเห็นเป็นสิ่งสำคัญ ทำไมพวกเขาถึงรัก Katoku  ทำไมพวกเขาจึงอยากจะรักษาไว้ให้เหมือนเดิมหรือดีกว่าเดิมเพื่อลูกหลาน WWF ได้กล่าวในการประชุมที่ Amami Oshima ว่า “ระบบที่ช่วยให้เรามีชีวิตอยู่ได้นั้นขึ้นอยู่กับความหลากหลายทางชีวภาพ” ดังนั้นจึงจำเป็นต้องรักษาสิ่งที่เหลืออยู่ Katoku เป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความหลากหลายทางชีวภาพที่หายาก เนื่องจากแทบไม่เหลือพื้นที่แบบนี้ในหมู่เกาะ Ryukyu แล้ว ส่วนที่หลงเหลืออยู่ก็กำลังจะถูกทำลาย ตามข่าวนี้ ชาวบ้านได้ขอตั้งคำถามถึงแนวทางของเจ้าหน้าที่จังหวัด Kagoshima ที่เพิกเฉยและข่มขู่ผู้ที่พยายามปกป้องธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพบนเกาะแห่งนี้ ซึ่งไม่ใช่วิธีการจัดการแหล่งมรดกโลกทางธรรมชาติของ UNESCO ที่ถูกต้อง […]

Beachlover

July 7, 2024

น้ำทะเลเป็นสีดำหาดหอยขาว แหลมงอบ จังหวัดตราด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเล ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังได้รับแจ้งพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณหาดหอยขาว ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด วันที่ 2 กรกฎาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1 (ระยอง) โดยได้รับการร้องเรียนจากคุณณัชมน เตชอำพร ผ่านทางเว็บไซต์กรมฯ พบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณหาดหอยขาว ตำบลบางปิด อำเภอแหลมงอบ จังหวัดตราด เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 โดยเจ้าหน้าที่ทำการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการในพื้นที่ ทราบว่าพบตะกอนสีดำในช่วงนี้ทุกปี และทำการสำรวจเบื้องต้น 2 สถานี (HK1-2) พบว่าสภาพน้ำทะเลมีตะกอนสีดำ ไม่มีกลิ่น และพบเศษวัสดุสีดำเกยตลอดแนวหาด มีลักษณะคล้ายตะกอนของเศษอินทรีย์สารจากกิ่งไม้ใบไม้ที่เน่าและย่อยสลาย เมื่อมีคลื่นลมแรงจะกวนตะกอนด้านล่างขึ้นมาทำให้น้ำทะเลบริเวณชายฝั่งและชายหาดมีตะกอนสีดำ ทั้งนี้ไม่ใช่คราบน้ำมัน จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.08-8.15 อุณหภูมิ 29.0-31.1 องศาเซลเซียส ความเค็ม 21.2-21.3 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.15-6.12 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 1 […]

Beachlover

July 3, 2024

ฝนถล่มเกาะภูเก็ต ส่งผลต่อชายหาดอย่างไร

ฺBeach Lover ชวนมองสถานการณ์ฝนถล่มเกาะภูเก็ตในช่วงวันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 ตามข่าวบางส่วนดังนี้ น้ำท่วมภูเก็ตเสียหายหนักทั้ง 3 อำเภอ: น้ำท่วมขังถนนหลายสาย รถเล็กสัญจรลำบาก บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย มีการอพยพประชาชนในบางพื้นที่ (มติชนออนไลน์, https://www.matichon.co.th/region/news_4656712) น้ำท่วมภูเก็ตอ่วม ทำเครื่องบินลงจอดไม่ได้ รวม 14 เที่ยวบิน จนท.เร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือ: น้ำท่วมขังบริเวณทางวิ่งของสนามบินนานาชาติภูเก็ต ทำให้ต้องยกเลิกและเปลี่ยนเส้นทางเที่ยวบินหลายเที่ยว (มติชนออนไลน์,https://www.matichon.co.th/region/news_4655815) “น้ำท่วม” ภูเก็ตทำเครื่องบินลงจอดไม่ได้ 14 เที่ยวบิน: สนามบินภูเก็ตต้องปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวนมาก (ฐานเศรษฐกิจ, https://www.thansettakij.com/business/tourism/600512) Beach Lover ขอชวนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของฝนตกหนักและน้ำท่วมบนแผ่นดิน กับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งบรเวณท้ายน้ำดังนี้ ฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ (Upstream) เช่น บนภูเขา ในแผ่นดิน สามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงชายหาดในพื้นที่ท้ายน้ำ(Downstream) เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันดังนี้ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นทันทีที่น้ำจำนวนนี้ไหลบ่าล้นพื้นที่ชายฝั่ง นั่นคือทรายบนชายหาดอาจถูกน้ำฝนเซาะเป็นร่องตามทางน้ำและไหลออกไปนอกจากฝั่งอย่างรวดเร็วความความแรงของน้ำและแรงโน้มถ่วงของโลก ดังที่เกิดขึ้นแล้วหลายครั้งที่ชายหาดพัทยาตามโพส https://beachlover.net/อีกแล้ว-ฝนถล่มหาดพัทยา/ และ https://beachlover.net/ฝนตกหนักที่พัทยาทำหาดพ/ และ https://beachlover.net/หาดพังรับฝนหนัก-อีกแล้ว/ และโพสเก่าๆในเวบนี้ ค้นหาได้จาก search icon มุมขวาบนของเวบ เมื่อผ่านช่วงเวลาฝนตกหนักและตะกอนบนแผ่นดินไหลลงทะเลเป็นจำนวนมากไประยะหนึ่ง ในบางพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องดังต่อไปนี้ […]

Beachlover

July 1, 2024

พบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม หลังได้รับแจ้งเหตุพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี วันที่ 16 มิถุนายน 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ลงพื้นที่ตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการประสานงานสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 2 (ชลบุรี) กรณีแจ้งเหตุพบน้ำทะเลเป็นสีดำบริเวณแหลมบาลีฮาย เมืองพัทยา อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2567 จาการสอบถามเจ้าหน้าที่เทศบาลพัทยาเพิ่มเติม ทราบว่าท่อส่งน้ำเสียด้วยแรงดันสถานีสูบน้ำเสียพัทยารั่ว และได้ดำเนินการซ่อมแซมเรียบร้อยแล้ว โดยเจ้าหน้าที่ได้สำรวจเบื้องต้น 3 สถานี ได้แก่ ประภาคาร ท่าเรือแหลมบาลีฮาย และหาดพัทยา โดยสถานีประภาคารสภาพน้ำทะเลกลับคืนสู่สภาพปกติ ไม่มีกลิ่นเหม็น ไม่พบสัตว์น้ำตาย ส่วนแหลมบาลีฮาย และหาดพัทยา สภาพน้ำทะเลเป็นปกติ ไม่มีกลิ่นเหม็น จากนั้นทำการตรวจวัดคุณภาพน้ำเบื้องต้น พร้อมทั้งเก็บตัวอย่างน้ำทะเล โดยมีค่าความเป็นกรดและด่าง 7.86-8.00 อุณหภูมิ 31.7-32.7 องศาเซลเซียส ความเค็ม 30.8-31.2 ส่วนในพันส่วน และปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ 5.20-5.80 […]

Beachlover

June 18, 2024

สำรวจการเปลี่ยนแปลงชายหาด อุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล

ที่มา: https://www.facebook.com/mnpoc.trang3 วันที่ 24 – 31 พฤษภาคม 2567 ศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 3 จังหวัดตรัง ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติตะรุเตา สำรวจติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด บริเวณอุทยานแห่งชาติตะรุเตา จังหวัดสตูล จำนวน 2 สถานี ได้แก่ หาดแหลมสน เกาะอาดัง จำนวน 17 แนวสำรวจ และหาดทรายขาว เกาะราวี จำนวน 6 แนวสำรวจ เบื้องต้นพบว่า บริเวณหาดแหลมสน เกาะอาดัง สภาพชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะคงสภาพ พบชายฝั่งถูกกัดเซาะบริเวณฝั่งทิศตะวันตกของแหลมสน เนื่องจากเป็นบริเวณที่ได้รับอิทธิพลจากคลื่นลมมากกว่าบริเวณอื่น ๆ บริเวณหาดทรายขาว เกาะราวี สภาพชายฝั่งส่วนใหญ่มีลักษณะถูกกัดเซาะ โดยเฉพาะบริเวณด้านทิศตะวันออกของหาด พบชายฝั่งคงสภาพบางส่วน บริเวณทิศใต้ของหาดทรายขาว โดยจะนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์เชิงลึกต่อไป

Beachlover

June 7, 2024

สำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ห้วงน้ำขาว จังหวัดตราด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 27 เมษายน 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนอนุรักษ์และฟื้นฟูพื้นที่ชายฝั่ง ลงพื้นที่ตำบลห้วงน้ำขาว อำเภอเมือง จังหวัดตราด ซึ่งอยู่ในระบบหาดบ้านแหลมศอก (T1D009) เพื่อสำรวจการเปลี่ยนแปลงเส้นแนวชายฝั่งหลังการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น โดยสำรวจพื้นที่ดังกล่าว ด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ครอบคลุมระยะทางไม้ไผ่ประมาณ 3,200 เมตร พื้นที่ประมาณ 180 ไร่ ผลจากการสำรวจเบื้องต้นพบว่า บริเวณหลังแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่น มีพรรณไม้ป่าชายเลน ได้แก่ ต้นโกงกาง และแสมทะเล ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะนำข้อมูลดังกล่าว มาวิเคราะห์ผลการเปลี่ยนแปลงหลังดำเนินโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น ต่อไป

Beachlover

April 29, 2024

ศาลปกครองยกฟ้อง คดีคัดค้านการสร้างกำแพงชายหาด Katoku เกาะ Amami จ.Kagoshima ประเทศญี่ปุ่น

อ่านข่าวฉบับภาษาญี่ปุ่นได้จาก: https://www3.nhk.or.jp/lnews/kagoshima/20240424/5050026677.html ภาพประกอบโดย: Beach Lover เมื่อ พ.ย.2566 วันที่ 24 เมษายน 2567 ศาลอุทธรณ์ได้ยกฟ้องกรณีที่ชาวบ้าน 10 คน ยื่นเรื่องฟ้องหน่วยงานของรัฐให้ยุติการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ป้องกันชายหาด Katoku ที่ใช้งบประมาณกว่า 340 ล้านเยน โดยระบุว่าจะเป็นการทำลายทรัพยากรชายหาดที่มีคุณค่า เนื่องจากหาดนี้อยู่ติดกับเขตที่ถูก Unesco ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ทั้งนี้ในอดีต ศาลชั้นต้นได้ยกฟ้องกรณีนี้ไปแล้ว 1 รอบ แต่ชาวบ้านได้รวมตัวกันยื่นอุทธรณ์พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อปกป้องชายหาดแห่งนี้หลายครั้ง รวมถึงสำรวจข้อมูล beach profile นำส่งต่อศาลเพื่อแสดงให้เห็นว่าชายหาดแห่งนี้ไม่มีความจำเป็นต้องสร้างกำแพงกันคลื่น เนื่องจากไม่มีการกัดเซาะอย่างรุนแรง การกัดเซาะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวจากพายุรุนแรงเมื่อ 10 ปีก่อน และไม่เกิดเหตุการณ์นั้นขึ้นอีกเลย จากเสียงคัดค้านจากผู้คนที่ต้องการปกป้องธรรมชาติ ทางจังหวัดจึงลดขนาดของเขื่อนลงจาก 530 เมตร เหลือเพียง 180 เมตร เมื่อ 6 ปีก่อน และเมื่อสองปีก่อน มีการนำรถขุด เครื่องจักรหนัก และวัสดุก่อสร้างมาวางไว้ที่ชายฝั่ง แต่ไม่สามารถดำเนินการได้เนื่องจากชาวบ้านต่อต้านจนถึงปัจจุบัน ในคำตัดสินของศาลชั้นสองเมื่อวันที่ 24 […]

Beachlover

April 25, 2024

สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ร่วมกับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ลงพื้นที่สำรวจหาค่าระดับความลึกท้องน้ำบริเวณพื้นที่แหล่งหญ้าทะเล เกาะลิบง จังหวัดตรัง โดยเรือสำรวจหยั่งน้ำอัตโนมัติ โดยมีเป้าหมายในการสำรวจ 12 แนว จากทั้งหมด 28 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวประมาณ 300 เมตร ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง จะส่งมอบข้อมูลที่ได้จากการสำรวจในครั้งนี้ให้คณะทำงานขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาการเสื่อมโทรมของแหล่งหญ้าทะเลในบริเวณจังหวัดตรังและจังหวัดกระบี่ เพื่อไปใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุการเสื่อมโทรมของแนวหญ้าทะเลในพื้นที่ต่อไป

Beachlover

March 13, 2024

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024
1 2 33