ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มกราคม 2562

Click ที่ Link ด้านล่างเพื่อนำไปสู่เอกสารฉบับเต็มภาษาไทย ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มกราคม 2562  

Beachlover

July 27, 2019

การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Click ที่ชื่อบทความเพื่อนำไปสู่บทความฉบับเต็ม ภาษาไทย การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Beachlover

July 26, 2019

การขึ้นลงของระดับน้ำทะเลแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน

การขึ้นลงของน้ำทะเลนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนที่และแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โดยแต่ละสถานที่บนโลกที่มีตำแหน่งแตกต่างกันจะเกิดการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งรูปแบบ พิสัยและเวลา แม้ในประเทศไทยเอง การขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละชายหาดก็แตกต่างกัน ในขณะที่ชายหาดหนึ่งน้ำกำลังขึ้น อีกชายหาดหนึ่งน้ำทะเลอาจกำลังลง บางพื้นที่เกิดน้ำขึ้นลงสองครั้งต่อวันหรือเรียกว่าน้ำคู่ ในขณะที่อีกพื้นที่หนึ่งเกิดเพียงหนึ่งครั้งต่อวันซึ่งเรียกว่าน้ำเดี่ยว หรืออาจเกิดการขึ้นลงของน้ำสองครั้งต่อวันแต่มีค่าการขึ้นลงแต่ละครั้งไม่เท่ากันที่เรียกว่าน้ำผสม นอกจากนั้นพิสัยการขึ้นลงของน้ำ หรือความแตกต่างกันระหว่างน้ำขึ้นและลงก็ยังต่างกันไปตามแต่ละที่ด้วย ลักษณะการขึ้นลงของน้ำ ณ สถานีวัดระดับน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ที่มา:  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2557)

Beachlover

July 25, 2019

ลอนทรายที่เห็นบนชายหาดคือผลผลิตจากคลื่น

ลอนทรายบนชายหาดปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นยามน้ำลง ร่องรอยที่ทิ้งไว้นี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของคลื่นเข้าสู่ชายหาด ด้วยลักษณะของคลื่นน้ำที่เป็นลอน จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของทรายในลักษณะที่ล้อกันไปตามรูปแบบของคลื่นน้ำ เราสามารถพบเห็นลักษณะนี้ใต้ผิวน้ำในบริเวณน้ำตื้นได้เช่นกัน

Beachlover

July 25, 2019

โครงการกำแพงกันคลื่น เขารูปช้าง จ.สงขลา [24 ก.ค.2562]

ชายฝั่งทะเลแถบบ้านบ่ออิฐ เกาะแต้ว เรื่อยมาทางทิศเหนือถึงเขารูปช้าง เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำนาทับ แต่เดิมมีเพียงโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นด้านทิศเหนือของปากน้ำเพื่อป้องกันการกัดเซาะเพียง 4 ตัว แต่เนื่องจากผลกระทบของโครงสร้างนั้นนำมาซึ่งผลกระทบชิ่งแบบเป็นโดมิโน่ของชายหาดส่วนถัดไป อีกทั้งหน่วยงานรับผิดชอบเลือกที่จะสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งต่อไปเรื่อยๆ จึงเกิดโครงสร้างทั้งเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย กำแพงกันคลื่นประชิดฝั่ง ต่อเนื่องยาวไปทางทิศเหนือจวบจนถึงปัจจุบัน มีเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่งรวมทั้งสิ้น 18  ตัว รอดักทราย 2 ตัว และกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนวยาวประมาณ 8.5 กิโลเมตร และแน่นอนว่า ชายหาดด้านถัดไปของตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างตัวสุดท้าย ซึ่งสำหรับบริเวณนี้คือปลายกำแพงกันคลื่น ย่อมเกิดการกัดเซาะอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ล่าสุด กรมเจ้าท่า ติดป้ายประกาศโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นบริเวณนี้พร้อมโครงสร้างประกอบอื่นๆเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ระยะทางประมาณ 3,400 เมตร งบประมาณ 219,935,000 บาท                 ข่าวว่าทางกรมเจ้าท่าได้จัดการประชาสัมพันธ์โครงการไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว พร้อมดำเนินงานทันที โครงการนี้จะมีรายละเอียดอย่างไร เราจะนำมาเล่าให้ฟังเรื่อยๆเมื่อได้ข้อมูล …ร่วมติดตามกันไปอย่างใจเย็น…

Beachlover

July 24, 2019

น้ำจากโครงการก่อสร้างไหลลงชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา [22 ก.ค.2562]

ที่มา: https://www.facebook.com/Beach-for-life 22 กรกฎาคม 2562 อาสาสมัครติดตามชายหาดสมิหลารายงานว่า ท่อระบายน้ำฝนหลังสวนสาธารณะเมืองสงขลา ที่ไหลผ่านหาดสมิหลา มีน้ำดินลูกรังสีเเดงไหลออกมาจากโครงการก่อสร้างสวนสาธารณะเมืองสงขลา ที่กำลังดำเนินการก่อสร้าง ทำให้ชายหาดสมิหลาบริเวณหลังสนามกีฬาติณสูลานนท์ มีดินลูกลังปะปนชายหาดเเละน้ำทะเลเป็นสีเเดง ตลอดเเนวชายหาด

Beachlover

July 22, 2019

หาดนราทัศน์ จ.นราธิวาส [21 ก.ค.2562]

หาดนราทัศน์ ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง จ.นราธิวาส ห่างจากใจกลางเมืองเพียง 1 กิโลเมตรกว่าๆเท่านั้น เป็นชายหาดที่มีชื่อเสียงที่สุดในจังหวัด โค้งหาดยาวต่อเนื่องประมาณ 5 กิโลเมตร จรดกับปากแม่น้ำบางนราทางทิศใต้ เป็นหาดทรายขาว  ร่มรื่นด้วยทิวสนมากมาย เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของชาวเมืองนราธิวาสและนักท่องเที่ยวละแวกใกล้เคียง สถานการณ์ในวันที่สำรวจพื้นที่ (20 ก.ค. 2562) พบว่ามีการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น (seawall) เพิ่มเติมในทิศเหนือของหาด ซึ่งเป็นบริเวณที่พบเกิดการกัดเซาะอันเนื่องมาจากผลกระทบจากโครงสร้างเขื่อนกันคลื่น (breakwater) ด้านหน้าชายหาด เมื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพื้นที่บริเวณนี้จากภาพถ่ายดาวเทียม Google earth พบว่าชายหาดหาดสั้นลงจากเมื่อ 11 ปีก่อนประมาณ 140 เมตร สังเกตได้จากภาพถ่ายดาวเทียมในปี 2551 ตำแหน่งอ้างอิงอยู่ห่างจากเส้นอ้างอิงหรือแนวชายฝั่งในปี 2551 ประมาณ 190 เมตร ต่อมาในปี 2557 พบว่าระยะนี้หดสั้นลงเหลือ 90 เมตร และลดลงเหลือเพียง 50 เมตรในเดือนมีนาคม ปี 2562

Beachlover

July 22, 2019

ชายหาดเกาะยาว ตากใบ นราธิวาส [20 ก.ค.2562]

เกาะยาว ไม่ใช่เกาะ แต่เป็นสันทรายชายหาดที่ทอดยาวต่อเนื่องจากปากแม่น้ำโกลกเรื่อยไปทางทิศเหนือ ยาวประมาณ 9.8 กิโลเมตร ตั้งอยู่หมู่ที่ 8 บ้านเกาะยาว ตำบลเจ๊ะเห ฝั่งหนึ่งติดกับทะเลอ่าวไทย และอีกด้านหนึ่งติดกับแม่น้ำตากใบ การเข้าถึงพื้นที่นี้จำเป็นต้องใช้รถที่สมบุกสมบันพอสมควรเพราะไม่มีถนน ต้องขับไปบนสันทรายที่ชาวบ้านใช้เป็นถนนเพื่อเข้าหมู่บ้าน หรือจอดรถอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำแล้วเดินเท้าข้ามฝั่งไปยังหมู่บ้าน พื้นที่แถบนี้มีโครงสร้างรอดักทราย 19 ตัวยาวตลอดแนวตั้งแต่ตอนเหนือของปากแม่น้ำโกลกบรรจบปากคลองตัน เพื่อบรรเทาการกัดเซาะมานานมากกว่า 30 ปี อาจเรียกได้ว่าชายหาดแถบนี้ค่อนข้างเสถียรมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก ณ ช่วงที่ลงพื้นที่สำรวจ [20 ก.ค.2562] พบเห็นการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งบริเวณชายหาด (ไม่ทราบความยาวของกำแพงแน่ชัด)  สร้างเสร็จเมื่อปี 2561 เป็นที่น่าแปลกใจว่าทั้งที่ชายทะเลอยู่ห่างจากพื้นที่ชุมชนมากถึง 140 เมตร และไม่พบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเลย นอกจากนั้นแถบนี้ยังเป็นชายหาดขาวที่ยังคงความสมบูรณ์สวยงามด้วยสันทราย ป่าชายหาด ต้นมะพร้าว  เหตุใดจึงเกิดโครงสร้างลักษณะนี้ขึ้นที่นี่    

Beachlover

July 22, 2019

จุดเริ่มต้นของกระบวนการทางชายฝั่งทะเลคืออากาศ

ลมก่อให้เกิดคลื่น ซึ่งเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนที่ของลมและผิวน้ำทะเล ส่งผลให้ผิวหน้าน้ำทะเลเกิดการปั่นป่วนและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ จากผิวน้ำทะเลราบเรียบเกิดการกระเพื่อมจนเกิดเป็นคลื่นในที่สุด น้ำทะเลจะส่งต่อพลังงานจากกระบวนการนี้ทำให้คลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง  ก่อให้เกิดกระแสน้ำที่ทำให้ตะกอนเคลื่อนที่ โดยขนาดของคลื่นขึ้นอยู่กับ ความเร็วลม ระยะเวลาที่ลมพัดบนผิวน้ำทะเล และ ขนาดของพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมนี้ื  

Beachlover

July 16, 2019

ชายหาดประเทศไทยมีความยาวรวมทั้งสิ้น 3,151 กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ 23 จังหวัด

ในประเทศไทยมีชายฝั่งทะเลยาว 3,151.13 กิโลเมตร  ครอบคลุม 320 ตำบล ใน 23 จังหวัด ประกอบด้วยฝั่งทะเลด้านอ่าวไทย  17 จังหวัดตั้งแต่จังหวัดตราดเรื่อยลงไปทางตอนใต้จนถึงชายแดนไทย-มาเลเซียที่ปากแม่น้ำโกลก จังหวัดนราธิวาส ความยาว  2,039.78 กิโลเมตร ส่วนฝั่งทะเลอันดามัน 6 จังหวัด เริ่มตั้งแต่จังหวัดระนองถึงจังหวัดสตูล ความยาว  1,111.35 กิโลเมตร (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561) ลักษณะเชิงกายภาพของทั้งสองฝั่งนี้แตกต่างกันอย่างชัดเจน กล่าวคือชายฝั่งทะเลด้านอ่าวไทยมีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยกตัว ส่วนมากเป็นหาดทรายที่เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนเป็นระยะเวลายาวนาน เป็นชายหาดที่ค่อนข้างยาวต่อเนื่องกัน มีแม่น้ำที่ลงทะเลฝั่งอ่าวไทยหลายสาย มีเกาะแก่งและภูเขาหินน้อยมากเมื่อเทียบกับฝั่งอันดามัน ซึ่งมีลักษณะเป็นชายฝั่งทะเลแบบยุบตัว มีชายหาดแบบกระเปาะคือเป็นชายหาดสั้นๆแทรกอยู่ระหว่างเกาะแก่งและโขดหิน (สมปรารถนา และคณะ, 2554)  

Beachlover

July 15, 2019
1 86 87 88 91