ปากคลองสำโรง [7 ต.ค.2562]

ปากคลองสำโรงปิดเป็นปัญหาที่ชุมชนเก้าเส้งไม่อยากให้เกิดขึ้น https://www.youtube.com/watch?v=ch9e8TJ2osM ในบางฤดูกาลของทุกปี ปากคลองสำโรง คลองเส้นที่เชื่อมทะเลสาบสงขลาและอ่าวไทย มีทางออก ณ ชุมชนเก้าเส้งจะมีตะกอนทรายไหลมาปิด จนทำให้ชาวบ้านไม่สามารถนำเรือเข้าออกได้ และน้ำในคลองไม่สามารถไหลถ่ายเทได้อย่างสะดวก ปัญหาลักษณะนี้เป็นปกติที่เกิดขึ้นบริเวณปากคลองริมทะเล เนื่องด้วยกระบวนการทางชายฝั่งร่วมกับการไหลของน้ำในคลองที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละฤดูกาล การแก้ไขปัญหาควรผ่านการคิดพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะพื้นที่ปากแม่น้ำ ปากคลองเป็นพื้นที่อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงมาก หากผลีผลามดำเนินมาตรการโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบ ความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจเกินเยียวยา อย่างที่พบเห็นทั่วไปบริเวณปากคลองที่ใช้การสร้างโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) เพื่อแก้ไขปัญหานี้ ทุกแห่งได้ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะในพื้นที่ถัดไปอย่างรุนแรง จนนำมาซึ่งโครงการป้องกันชายฝั่งแบบไม่มีที่สิ้นสุด หาดส่วนถัดจากชุมชนเก้าเส้งคือหาดชลาทัศน์ ที่กำลังใช้มาตการเติมทรายชายหาด เพิ่มความกว้างชายหาดมากกว่า 50 เมตร หากปากคลองสำโรงมีการสร้างโครงสร้างเพื่อแก้ไขปัญหาทรายปิดปากคลองเหมือนที่อื่นๆ คาดเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดอะไรกับหาดชลาทัศน์ที่ใช้งบประมาณกว่า 270 ล้านบาทในการเติมทรายอยู่ในขณะนี้

Beachlover

October 19, 2019

หาดพัทยา ชลบุรี [18 ต.ค.2562]

สืบเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ส่งผลให้ชายหาดพัทยาที่ผ่านการเติมทราย โดยกรมเจ้าท่าด้วยงบประมาณกว่า 429 ล้านบาท ที่แล้วเสร็จและส่งมอบไปเมื่อปลายเดือน ก.พ. เกิดการตัดเป็นร่องตามแนวทางระบายน้ำลงทะเล ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดฝนตกหนัก โดยพบว่าถนนเลียบชายหาดเกือบตลอดแนวเกิดน้ำท่วมขังและไหลผ่านร่องระบายน้ำลงชายหาดที่เกิดจากการลดระดับสันทางเดินเลียบหาด และไหลลงชายหาดโดยตรงประมาณสิบกว่าร่องตลอดแนว 2.8 กิโลเมตร ปัญหาระบบระบายน้ำที่ขาดประสิทธิภาพนี้ เมืองพัทยากำลังดำเนินการแก้ไขในระยะยาวโดยการปรับปรุงระบบระบายน้ำเดิม และพัฒนาระบบปั๊มน้ำลงทะเลโดยไม่ผ่านชายหาด ซึ่งคาดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ แต่กว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ไม่แน่ใจว่าทรายจำนวนกว่า 370,000 กว่าลูกบาศก์เมตร ตลอดแนว 2.8 กิโลเมตรนี้ จะอยู่ในสภาพใด  

Beachlover

October 18, 2019

ประเด็นชวนคิดจากงบประมาณแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของรัฐ [16 ต.ค. 2562]

จากแผนงบประมาณประจำปีของกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมืองในปีที่ผ่านมาและแผนงบประมาณผูกพันในปีนี้และปีถัดไป มีข้อน่าชวนคิดบางประเด็น บางโครงการเกิดขึ้นในพื้นที่ติดกัน ตามกรณีที่ยกมาในภาพคือหาดบริเวณชิงโค จ.สงขลา กรมเจ้าท่าได้ตั้งงบและดำเนินการก่อสร้างไปแล้วบางส่วนสำหรับโครงการป้องกันชายฝั่งแถบธรรมสถานหาดทรายแก้วและพื้นที่ใกล้เคียง โดยโครงการนี้มีโครงสร้างเขื่อนกันคลื่นท่าเทียบเรือ (Habour breakwater) ยื่นล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างยาวตามภาพ ซึ่งแน่นอนว่าจะส่งผลให้หาดตั้งแต่แถบโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทไปทางทิศเหนือซึ่งเกิดการกัดเซาะอย่างหนัก ในการนี้ หากดูจากงบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองพบว่าได้ตั้งงบประมาณส่วนนี้รอเพื่อแก้ไขปัญหานี้ไว้แล้วเช่นกัน โดยได้ดำเนินการไปบ้างแล้วบางส่วนสอดรับกับโครงการของกรมเจ้าท่า ทั้งสองหน่วยงานมีวิศวกรผู้มีความรู้ และทราบดีอยู่แล้วว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรหากก่อสร้างโครงการตามแผน โดยสังเกตได้จากแผนงบประมาณที่ได้ตั้งรอไว้เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะที่เกิดจากการสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะของอีกหน่วยงานหนึ่ง ดูจะเป็นคำพูดที่ย้อนแย้งแต่เป็นจริงก็คือ โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานหนึ่ง ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะกระทบชิ่งไปยังพื้นที่ถัดไป ทำให้อีกหน่วยงานหนึ่ง เข้ามาสร้างโครงสร้างป้องกันต่อเนื่องไป คำถามที่ตามมาคือ ต้องสร้างไปเรื่อยๆใช่หรือไม่ ? ประเทศเรามิได้ร่ำรวยพอที่จะสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไปเรื่อยๆตลอดแนวสามพันกว่ากิโลเมตร คำถามต่อมาคือ การแก้ไขปัญหาการกัดเซาะของหน่วยงานแรกนั้นๆไม่สัมฤทธิ์ผลใช่หรือไม่ ? ไม่บรรลุวัตถุประสงค์ใช่หรือไม่ ? จึงต้องเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะของอีกหน่วยงานหนึ่งในพื้นที่ถัดไป คำถามสุดท้าย หากเป็นจริงตามข้อ 1 และ 2 แปลว่าการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมานั้น หน่วยงานควรยอมรับได้แล้วว่าไม่บรรลุวัตถุประสงค์ในการป้องกัน เพราะป้องกันได้เพียงบางส่วนและส่งผลกระทบชิ่งไปยังพื้นที่ข้างเคียง จนต้องสร้างโครงสร้างป้องกันไปเรื่อยๆ ถึงเวลาแล้วหรือยังที่จะมานั่งคุยกันอย่างจริงจัง มิใช่การมีระดมสมองพูดกันแต่เรื่องเดิมๆในทัศนะการแก้ไขปัญหาแบบเดิมๆ ซึ่งเมื่อจบการถกเถียงทุกกรมกองก็กลับไปเดินหน้าแก้ปัญหาแบบเดิมๆต่อไป เราสูญเสียชายหาดที่สมบูรณ์ไปแล้วมากมาย แต่ยังคงมีอีกหลายแห่งที่ยังคงสภาพสวยงามอยู่ แม้เราจะช้ามากแล้ว แต่ไม่มีอะไรสายเกินไป ปักหมุดทางความคิดใหม่เพื่อการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งแบบใหม่กันเถอะ มิฉะนั้นชายหาดบางแห่งอาจกลายเป็นตำนานให้ลูกหลานเราได้พูดถึงผ่านเพียงคำบอกเล่าและภาพถ่ายเก่าๆ

Beachlover

October 16, 2019

หาดทรายผืนสุดท้ายของชายหาดหัวหิน จ.สตูล [6 ต.ค. 2562]

หาดทรายขาวทอดยาวกว่า 1 กิโลเมตรแห่งนี้ คือหาดธรรมชาติส่วนสุดท้ายของชายหาดที่ชาวบ้านแถบนี้เรียกกันว่า “หาดหัวหิน” ซึ่งเป็นชายหาดส่วนถัดจากหาดบางศิลา อ.ละงู จ.สตูล มีเกาะลิดี อยู่ด้านนอกคอยกำบังคลื่นลม หาดแถบนี้จึงไม่มีปัญหากัดเซาะชายฝั่งเท่าใดนัก ต้นสนริมชายหาด และสันทรายที่ถูกปกคลุมด้วยผักบุ้งทะเลยังคงความสมบูรณ์อยู่มาก ปลายสุดของชายหาดด้านทิศใต้ติดกับปากน้ำสายเล็กๆที่ลัดเลาะเข้าไปในป่าชายเลน มีเรือประมงขนาดเล็กเข้าออกเป็นประจำ แม้จะมีสันทรายอยู่บริเวณปากร่องน้ำบ้างในบางฤดูกาลแต่ชาวบ้านยังสามารถสัญจรเข้าออกได้อย่างสะดวก หาดด้านทิศเหนือของหัวหินคือหาดบางศิลาที่ปัจจุบันนี้ไม่มีชายหาดธรรมชาติหลงเหลืออยู่แล้ว เนื่องจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นยาวตลอดแนว สามารถตามชมสภาพของหาดบางศิลาได้จากหัวข้อสถานการณ์ชายฝั่ง

Beachlover

October 14, 2019

ฝนตกหนักที่พัทยาทำหาดพัง! [14ต.ค.2562]

สืบเนื่องจากฝนที่ตกลงมาอย่างหนักเมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ส่งผลให้ชายหาดพัทยาที่ผ่านการเติมทราย โดยกรมเจ้าท่าด้วยงบประมาณกว่า 429 ล้านบาท ที่แล้วเสร็จและส่งมอบไปเมื่อปลายเดือน ก.พ. เกิดการตัดเป็นร่องตามแนวทางระบายน้ำลงทะเล ปัญหานี้ไม่ได้เกิดขึ้นครั้งแรก แต่เกิดขึ้นทุกครั้งที่เกิดฝนตกหนัก โดยพบว่าถนนเลียบชายหาดเกือบตลอดแนวเกิดน้ำท่วมขังและไหลผ่านร่องระบายน้ำลงชายหาดที่เกิดจากการลดระดับสันทางเดินเลียบหาด และไหลลงชายหาดโดยตรงประมาณสิบกว่าร่องตลอดแนว 2.8 กิโลเมตร ปัญหาระบบระบายน้ำที่ขาดประสิทธิภาพนี้ เมืองพัทยากำลังดำเนินการแก้ไขในระยะยาวโดยการปรับปรุงระบบระบายน้ำเดิม และพัฒนาระบบปั๊มน้ำลงทะเลโดยไม่ผ่านชายหาด ซึ่งคาดว่าน่าจะแก้ไขปัญหาในระยะยาวได้ แต่กว่าโครงการจะแล้วเสร็จ ไม่แน่ใจว่าทรายจำนวนกว่า 370,000 กว่าลูกบาศก์เมตร ตลอดแนว 2.8 กิโลเมตรนี้ จะอยู่ในสภาพใด    

Beachlover

October 14, 2019

บิ๊กแบ็คกันคลื่นทับสะแกปนเปื้อนสารก่อมะเร็งจากจีน นักวิชาการเตือนเร่งแก้ไขด่วน [10 ต.ค.62]

ที่มา: https://greennews.agency/?p=19632 นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชี้ ถุงบิ๊กแบ็คที่นำมาวางป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่หาดทุ่งประดู่ อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เป็นถุงบรรจุผงคาร์บอนด์แบล็คใช้แล้วจากประเทศจีน ถือเป็นกากอุตสาหกรรมอันตราย และเป็นสารก่อมะเร็ง ย้ำต้องนำส่งไปกำจัดอย่างเหมาะสมในโรงงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานเท่านั้น ด้านรองพ่อเมืองประจวบฯเผยจะเปลี่ยนบิ๊กแบ็คกันคลื่นใหม่ทั้งหมด จากกรณีเจ้าหน้าที่ปกครองส่วนท้องถิ่นและกรมเจ้าท่าได้นำถุงบิ๊คแบ็คไนลอนสีดำซึ่งเคยใช้บรรจุผงคาร์บอนด์แบล็คใช้แล้วจำนวน 1,000 ถุง เพื่อป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งบริเวณชายหาดความยาว 800 เมตร ในพื้นที่หมู่ 2 บ้านทุ่งประดู่ ต.ทับสะแก ต่อมาพบว่ามีถุงบิ๊กแบ็คบางถุงถูกคลื่นซัดจนแตก ทำให้มีทรายปนผงคาร์บอนด์แบล็ครั่วไหลออกมาปนเปื้อนบนชายหาดและน้ำทะเลจำนวนมาก สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมว่า กรณีสารเคมีจากถุงบิ๊คแบ็ครั่วไหลปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยิ่ง เพราะว่าผงคาร์บอนแบล็คใช้แล้วจัดเป็นกากของเสียอุตสาหกรรมอันตราย มีรหัส061303 HA และเป็นสารก่อมะเร็งกลุ่ม 2B ขององค์การอนามัยโลกคืออาจจะก่อมะเร็งในมนุษย์ “ดังนั้นกากของผงคาร์บอนด์แบล็ครวมทั้งภาชนะที่บรรจุจึงควรต้องนำไปกำจัดในโรงงานที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานเท่านั้น ตามที่ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องการกําจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วพ.ศ.2548 กำหนด ไม่ควรนำถุงมาใช้ใส่ทรายกันคลื่นจนแตกมีผงคาร์บอนด์แบล็ครั่วออกมาปนเปื้อนสิ่งแวดล้อมดังกล่าว” สนธิ กล่าว “การนำถุงบิ๊คแบ็คบรรจุกากอุตสาหกรรมอันตรายมาใช้ถือว่าผิดกฎหมายของกระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องรีบ Clean up โดยด่วน” สนธิอธิบายเพิ่มเติมว่า ผงคาร์บอนด์แบล็คเป็นผลผลิตจากการกลั่นน้ำมันชนิดหนัก ใช้เป็นส่วนผสมของยางรถยนต์ เมื่อนำไปผสมกับยางรถยนต์จะให้คุณสมบัติที่ทนต่อแรงเสียดทานและมีความยืดหยุ่นสูง จากการรายงานของสำนักข่าวกรมประชาสัมพันธ์ […]

Beachlover

October 11, 2019

พบถุงดำพลาสติคบิ๊กแบ๊คบรรจุสารเคมีวางกันคลื่นชายหาดทับสะแก [10 ต.ค.62]

ที่มา: https://siamrath.co.th จากรณีฝ่ายปกครองอำเภอทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่า เจ้าหน้าที่องค์กรปกครองท้องถิ่น ( อปท.) นำเครื่องจักรกลหนักวางถุงบิ๊กแบ๊ก 1,000 ชุด ผลิตจากพลาสติคสีดำ บริเวณชายหาดความยาว 800 เมตร ที่หมู่ 2 บ้านทุ่งประดู่ ต.ทับสะแก ต่อมาพบว่าถุงบิ๊กแบ๊คบางส่วนได้รับความเสียหายจากคลื่นทะเล ชาวบ้านพบคราบฝุ่นสีดำบริเวณชายหาดและพบว่าถุงบิ๊กแบ๊กดังกล่าวเคยใช้บรรจุสารเคมีในการขนส่ง สำหรับการวางบิ๊กแบ๊กตามแนวชายหาด เนื่องจากผู้รับเหมาทิ้งงานตั้งแต่เดือนธันวาคม 2561 ทำให้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นที่หาดทุ่งประดู่ความยาว 1,175 เมตรงบประมาณ 60 ล้านบาท ก่อสร้างได้เพียง 400 เมตร หลังจากทำสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2560 นายพัลลภ สิงหเสนี ผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เปิดเผยว่า ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าในพื้นที่รายงานข้อเท็จจริงชี้แจงที่มาของถุงบิ๊กแบ๊ค ซึ่งอ้างว่ามีการบริจาคจากผู้รับเหมาสร้างเขื่อนกันคลื่นรายใหม่ แต่ยังไม่ได้ลงนามในสัญญาจ้างกับกรมเจ้าท่า ซึ่งนำมาใช้บรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นการชั่วคราวก่อนถึงหน้ามรสุม สำหรับถุงบิ๊กแบ๊กดังกล่าวได้รับรายงานจากเจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อมว่าเป็นถุงบรรจุแบล๊กคาร์บอนที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์ การทำสี ส่วนถุงที่เหลือใช้จากโรงงานก็นำมาจำหน่ายเป็นถุงบิ๊กแบ๊คให้หลายหน่วยงาน เบื้องต้นพบว่าซื้อมาจากสระบุรี ทั้งที่โดยหลักการหน่วยงานด้านอุตสาหกรรมจะต้องดูแลถุงบรรจุสารเคมีที่ใช้แล้ว โดยดำเนินการตามกฎหมายไม่ควรปล่อยให้นำออกมาจำหน่าย “ สำหรับในพื้นที่ได้เตือนประชาชนอย่าสัมผัสกับฝุ่นสีดำเนื่องจากจะทำให้มีอาการคัน ล่าสุดเจ้าหน้าที่สำนักงานสิ่งแวดล้อมจังหวัด ได้แจ้งเก็บตัวอย่างฝุ่นสีดำบนชายหาดนำไปวิเคราะห์ร่วมกับสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาค 7 […]

Beachlover

October 9, 2019

อุปกรณ์ทำความสะอาดท้องทะเลที่สามารถเก็บพลาสติกได้ประสบความสำเร็จเป็นครั้งแรก [3 ต.ค.2562]

ที่มา: https://www.theguardian.com  and http://coastalcare.org อุปกรณ์ลอยน้ำขนาดใหญ่ถูกออกแบบโดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเยอรมันเพื่อกำจัดเกาะขยะในมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าประเทศฝรั่งเศสถึงสามเท่า อุปกรณ์นี้สามารถดักจับขยะได้เป็นครั้งแรก Boyan Slat ผู้ริเริ่มโครงการกำจัดขยะในมหาสมุทรนี้ ได้กล่าวว่าทุ่นลอยดักจับขยะความยาว 600 เมตร ได้ดักจับและยึดขยะไว้ได้จากแพขยะใหญ่แปซิฟิก Slat กล่าวว่า ระบบทำความสะอาดมหาสมุทรนี้สามารถดักจับขยะได้ถึง 1 ตันของไมโครพลาสติก แต่ละปีมีอุปกรณ์จับสัตว์น้ำที่ถูกทิ้งในทะเลประมาณ 600000 – 800000 ตัน และยังมีขยะที่ถูกซัดขึ้นไปบนชายฝั่งกว่า 8 ตัน กระแสน้ำในมหาสมุทรทำให้เกิดการรวมกันของขยะในมหาสมุทรเข้าด้วยกัน และกระแสน้ำวนที่ไม่เป็นระเบียบพวกนี้ทำให้เกิดการสะสมของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ที่สุด ระบบทำความสะอาดนี้ไม่ได้ถูกออกแบบแค่เพียงเก็บตาข่ายจับปลาที่ถูกทิ้งหรือแค่ขยะพลาสติกขนาดใหญ่เพียงเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงไมโครพลาสติกด้วย ทุ่นลอยที่กีดขวางขยะพลาสติกอยู่บนผิวน้ำของมหาสมุทรที่มีความลึก 3 เมตร โดยมีเป้าหมายเพื่อจะดักจับขยะพลาสติก 1.8 ตันโดยไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตใต้น้ำ อุปกรณ์นี้เชื่อมต่อกับดาวเทียมและเซ็นเซอร์จึงสามารถรู้ตำแหน่งของขยะได้ เพื่อที่จะให้เรือมาเก็บขยะทุกๆ2-3เดือน Slat ได้บอกถึงปัญหาที่เขากำลังพยายามแก้คือค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้ไปกับเรือลากอวนที่ทำการไปเก็บขยะ เขายังบอกอีกว่า ตอนนี้เรากำลังเก็บขยะพลาสติก หลังจากที่มีการเริ่มต้นโครงการนี้มากว่า 7 ปี ระบบนี้ใช้พลังธรรมชาติของมหาสมุทรในการดักจับขยะพลาสติก ขยะพลาสติกที่ถูกสะสมในระยะเวลาหนึ่งจะถูกเก็บขึ้นฝั่งเพื่อนำมารีไซเคิล นอกจากนี้ จะมีการขยายอุปกรณ์นี้ รวมไปถึงพัฒนาด้านความทนทาน เพื่อให้ใช้ได้นานขึ้น ในช่วงการทดลองสี่เดือนก่อน ไม่มีพลาสติกที่ถูกดักจับเลย หลังจากนั้น มีการเปลี่ยนการออกแบบโดยให้มีการยึดติดมากยิ่งขึ้น เพื่อชะลอความเร็วในการเคลื่อนที่ของอุปกรณ์ เพื่อให้ขยะพลาสติกสามารถเข้ามาในระบบได้ การทดลองครั้งล่าสุดเริ่มต้นในเดือนมิถุนายน ระบบถูกติดตั้งในทะเลที่แวนคูเวอร์ โครงการนี้เริ่มต้นตั้งแต่ปี 2013 และผ่านการออกแบบปรับปรุงทดสอบมาหลายครั้ง […]

Beachlover

October 5, 2019

ชายหาดตะโละกาโปร์ ปัตตานี [29 ก.ย.2562]

วันนี้ (28 กันยายน 2562) น้องๆในเครือข่ายของกลุ่มเยาวชน Beach for life ได้ร่วมมือกันติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด ตะโละกาโปร์ จ.ปัตตานี ประจำเดือนกันยายน แสดงดังภาพ ผลการเปลี่ยนแปลงได้ถูกบันทึกใน Application “BMON” โดยนำมาเล่าในโอกาสต่อไป

Beachlover

September 29, 2019

การกัดเซาะได้คุกคามสิ่งแวดล้อมและพื้นที่แนวชายฝั่งแคลิฟอร์เนีย [27 ก.ย. 2562]

ที่มา: http://coastalcare.org และ https://www.cbsnews.com หาดที่ควรจะสวยงามกลับกลายเป็นพื้นที่ที่ดูเหมือนถูกภัยพิบัติ เพราะมีการสร้างกำแพงกันคลื่นเมื่อ 10 ปีที่แล้วเพื่อป้องกันบ้านถูกทำลาย ซึ่งเจ้าของต้องจ่ายเงินกว่าล้านบาทเพื่อซ่อมมัน จากเม็กซิโกถึงโอเรกอน มีความยาวชายฝั่งมากกว่า 3400 ไมล์ ที่ Del Mar Amanda Leeได้กล่าวว่า เมืองของเธอต้องมีการเติมทรายชายหาดในอีก10ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายประมาณ 6 ล้านดอลลาร์ เธอยังกล่าวอีกว่า ถ้าพวกเราไม่ทำอะไรในตอนนี้ ในปี 2060 เรามีโอกาสที่จะสูญเสียหาดได้แน่นอน ที่Del Mar. ไม่ได้รับผลกระทบแค่บ้านเรือนเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงรางรถไฟที่ตั้งอยู่ในที่ไม่ปลอดภัย โดยมีผู้ใช้เป็นประจำมากกว่าสี่ล้านคน ที่เมือง Ventura ประมาณ 60 ไมล์ทางเหนือของ Los Angeles ตามแนวชายฝั่ง มีพื้นที่ที่ถูกคลื่นกัดเซาะบริเวณทางจักยาน เลยมีการแก้ไขปัญหาโดยเติมหินจำนวนมากบริเวณชายฝั่ง ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายถึง 5 ล้านดอลลาร์ แต่เมื่อมีผลกระทบกับบ้านเรือน กลุ่มผู้เดือดร้อนได้ร่วมกันสร้างกำแพงกันคลื่น แต่กลับทำให้ทุกอย่างแย่ลง เพราะเมื่อคุณสร้างกำแพงกันคลื่นและพยายามจะหยุดยั้งการกัดเซาะ แต่ในระยะยาวจะทำให้เราสูญเสียหาด ขึ้นไปทางชายฝั่งใกล้ San Simeon มีการกัดเซาะเฉลี่ย 5 […]

Beachlover

September 29, 2019
1 83 84 85 92