ประมงพื้นบ้านนาเกลือค้านแผนการสร้างท่าเทียบเรือ

ที่มา: https://www.facebook.com/STVPattaya/

กลุ่มประมงพื้นบ้านนาเกลือ ค้านแผนการก่อสร้างท่าเทียบเรือประมงตลาดลานโพธิ์ ชี้ไม่เกิดประโยชน์ไม่ตอบโจทย์ต่อวิถีชีวิต หวั่นสูญงบประมาณโดยใช่เหตุ

วันนี้ (26 มิ.ย.) ที่ โรงแรม เดอะไซมิทพัทยา จ.ชลบุรี เมืองพัทยา ซึ่งมีแผนดำเนินการโครงการ Neo Pattaya ได้มอบหมายให้กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาสำรวจออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือและระบบขนส่งทางทะเลรองรับนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในเมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่อง อำเภอบางละมุง จัดประชุมชี้แจงรูปแบบและแผนดำเนินการต่อภาคประชาชนครั้งที่ 1 โดยมีนายสมศักดิ์ สถิตเกษมสานต์ ผู้จัดการโครงการฯ พร้อมด้วย นายกนก เข็มนาค ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ชี้แจงความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของโครงการ ให้ กับประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพื้นที่ ตามแผนการจะดำเนิน 4 โครงการ ประกอบด้วย

1.โครงการออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือแหลมไม้รวก (หาดยินยอม)

2.โครงการออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือประมงบริเวณตลาดลานโพธิ์

3.โครงการออกแบบรายละเอียดเส้นทางเดินชมธรรมชาติตลาดลานโพธิ์-จุดชมทัศนีย ภาพปากคลองนาเกลือและคลองนกยาง (สะพานยาว)

4.โครงการออกแบบรายละเอียดจุดชมทัศนียภาพปากคลองนาเกลือและคลองนกยาง (สะพานยาว)

นายสมศักดิ์ สถิตเกษมสานต์ ผู้จัดการโครงการฯ ชี้แจงว่าด้วยเมืองพัทยามีนโยบายจัดทำแผน Neo Pattaya พัทยาโฉมใหม่ใส่ใจไม่ทิ้งกัน โดยมีแนวคิดในการพัฒนา ประกอบด้วย

1.พัฒนาโมโนเรลสายสีเขียวสายสีแดงและสายสีเหลืองเชื่อมต่อสถานีรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่เพิ่มสัดส่วนการเดินทางระบบราง

2. พัฒนาท่าเทียบเรือเพิ่มโครงข่ายการเดินทางทางน้ำเพิ่มมาตรฐานความปลอดภัยเพิ่มสัดส่วนการเดินทางทางน้ำ

3. พัฒนาท่าเทียบเรือพัทยาใต้และท่าเทียบเรือสำราญ เพื่อเป็นประตูแห่งใหม่ของ EEC เป็นศูนย์กลางการเดินทางทางน้ำเชื่อมโยงระบบรางและระบบถนน

4. พัฒนาระบบขนส่งสาธารณะที่จอดรถนอกเมืองลดการใช้รถส่วนบุคคลในพื้นที่เมืองพัทยา

5. ปรับปรุงถนนอุโมงค์เพิ่มโครงข่ายถนนเพื่อกระจายการเดินทางไปบริเวณรอบศูนย์กลางเมือง ซึ่งนโยบายการพัฒนาดังกล่าวมีความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับโครงการเขตพัฒ นาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของรัฐบาลจึงได้กำหนดให้มีการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบรายละ เอียดท่าเทียบเรือสำราญซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณท่าเทียบเรือพัทยาใต้เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคต

ทั้งนี้จึงจำเป็นต้องศึกษาและจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาเส้นทางเดินเรือในพื้นที่เมืองพัทยาเพื่อเป็นทางเลือกในการเดินทางและเสริมโครงข่ายการเดินทางทางเรือที่มีอยู่รองรับความต้องการของนักท่องเที่ยวในการเดินทางไปยังสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆในเมืองพัทยาและพื้นที่เกี่ยวเนื่องพร้อมทั้งสร้างความสะดวกและความปลอดภัยในการเดินทางแก่นักท่องเที่ยวและประชาชนที่ใช้บริการและกระจายนักท่องเที่ยวไปยังชุมชนประมงนาเกลือทำให้เกิดการท่องเที่ยวเชื่อมโยงเข้าสู่ชุมชน เมืองพัทยาจึงได้ว่าจ้างที่ปรึกษาเพื่อดำเนินโครง การศึกษาสำรวจออกแบบเพื่อพัฒนาท่าเรือและระบบขนส่งทางทะเลรองรับนักท่องเที่ยวเชื่อมโยงภายในพื้นที่เมืองพัทยาและพื้นที่ต่อเนื่อง เพื่อจะได้นำผลการศึกษาไปใช้ในการบริหารจัดการการเดินเรือและจัดหางบประ มาณสำหรับการก่อสร้างท่าเรือต่อไป

โดยหลังการประชุมชี้แจงแผนการศึกษา สำรวจ ออกแบบจากกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าว ทางกลุ่มประมงพื้นบ้านนาเกลือหลายรายที่เข้าร่วมประชุมได้เสนอแนะและแสดงความคิดเห็นในส่วนของการดำเนินโครงการออกแบบรายละเอียดท่าเทียบเรือประมงบริเวณตลาดลานโพธิ์ โดยพบว่าส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับการดำเนิน การก่อสร้างโครงการดังกล่าวด้วยหวั่นว่าจะไม่เกิดประโยชน์กับประชาชนในพื้นที่อย่างแท้จริง เนื่องจากสะ พานคอนกรีตตามแผนที่มีการออกแบบไว้ไม่ตอบโจทย์การใช้งานของกลุ่มประมงพื้นบ้าน ด้วยพบว่าส่วนใหญ่จะเป็นเรือประมงขนาดเล็ก จึงทำให้การใช้งานเป็นไปด้วยความยากลำบาก ขณะที่สะพานท่าเทียบเรือบริเวณหาดไม้ลวกหรือหาดยินยอม และหาดดงตาลก็อาจไม่ตอบโจทย์การระบายนักท่องเที่ยวที่หนาแน่นจากท่าเทียบเรือแหลมบาลีฮายเช่นกัน โดยเฉพาะหาดดงตาลซึ่งเป็นชายหาดทางธรรมชาติแห่งสุดท้ายของเมืองพัทยาที่ควรรักษาสภาพไว้ ซึ่งกรณีนี้จะทำให้เมืองพัทยาสูญเสียงบประมาณในการจำนวนการโดยเปล่าประโยชน์ จึงอยากให้บริษัทที่ปรึกษาทบทวนการดำเนินการใหม่

ทั้งนี้ทางบริษัทที่ปรึกษาจะรับข้อเสนอแนะต่างๆรวบรวมไว้ พร้อมไปทำการศึกษาความเป็นไปได้ ก่อนจะหารือกับเมืองพัทยาเพื่อพิจารณาแก้ไขให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป…