ปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี อ่างศิลา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 7 มีนาคม 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก ได้รับแจ้งจากศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนบน รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณอ่างศิลา อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบบริเวณดังกล่าว และสัมภาษณ์ชาวบ้านบริเวณอ่างศิลา ทราบว่าน้ำทะเลมีสีเขียวและมีกลิ่น เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 เจ้าหน้าที่ได้ทำการสำรวจและตรวจสอบคุณภาพน้ำทะเล จำนวน 3 สถานี ได้แก่ สถานี AS1-AS3 ตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าสภาพน้ำเป็นสีเขียว มีกลิ่นเล็กน้อย และไม่พบสัตว์น้ำตาย ผลการตรวจวัดคุณภาพน้ำทั่วไป มีค่าความเป็นกรดและด่าง 8.33-8.50 อุณหภูมิ 32.4-33.1 องศาเซลเซียส และความเค็ม 31.9-32.2 ส่วนในพันส่วน ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพน้ำทะเลประเภทที่ 3 เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยสาเหตุจากการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

March 7, 2024

ท้องทะเลชลบุรี กำลังกลายเป็น “เขตแห่งความตาย” ?

ที่มา: https://bbc.in/3rv4fKF ท้องทะเลชลบุรี กำลังกลายเป็น “เขตแห่งความตาย” ? ชายหาดบางแสน จ.ชลบุรี แหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุง ที่ผู้คนเลือกเดินทางพักผ่อนช่วงวันหยุดยาว หรือสุดสัปดาห์ มาวันนี้ น้ำทะเลแปรเปลี่ยนเป็นสีเขียวมรกต มองผิวเผินอาจดูแปลกตา แต่เมื่อเข้าไปสำรวจใกล้ ๆ กวักน้ำขึ้นมามองให้ชัดขึ้น จะพบว่าน้ำทะเลให้ความรู้สึกเหนียวหนืด เต็มไปด้วยกลิ่นหญ้าและปลาตาย นี่คือปรากฏการณ์ “แพลงก์ตอนบลูม” หรือ “ขี้ปลาวาฬ” ที่มักเกิดทุกปี แต่ปีนี้เนิ่นน่านกว่าปกติ เพราะเกิดต่อเนื่องมาตั้งแต่ปลายเดือน ก.ค. ครอบคลุมผืนทะเลหาดบางแสน ลามไปถึงเกาะล้าน อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://bbc.in/3rv4fKF

Beachlover

September 21, 2023

ท่อน้ำมันดิบไทยออยล์ แตกรั่ว น้ำมันดิบไหลลงทะเล

ที่มา: https://web.facebook.com/profile.php?id=100066914075214 เมื่อวันที่ 4 กันยายน2566 สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี รายงานผู้บังคับบัญชา เมื่อวันที่ 3 ก.ย. 66 เวลาประมาณ 20.00 น. เกิดเหตุขณะไทยออยล์รับส่งสินค้า (น้ำมันดิบ) พบว่ามีท่อจ่ายแตกรั่ว ทำให้มีปริมาณน้ำมันดิบไหลลงทะเล (ไม่ทราบปริมาณ) ขนาดความดันขนถ่ายสินค้า 8 บาร์ บมจ.ไทยออยล์ ร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาค สาขาชลบุรี ได้ดำเนินการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ โดยล้อมและฉีดพ่นสารเคมีจุดเกิดเหตุ และในช่วงเช้านำโดรนบินสำรวจพบว่ามีขนาดความกว้างของน้ำมันดิบในทะเลประมาณ 5 กม. ในการนี้ บมจ.ไทยออยล์ได้จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ อาคารหอประชุมบริษัท ไทยออยล์ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดชลบุรี ได้ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ต่อไปแล้ว

Beachlover

September 5, 2023

สิ้นชื่ออ่าวดงตาล?

Beach Lover เคยพาสำรวจอ่าวดงตาลในช่วงสองปีที่ผ่านมาหลายครั้ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/อ่าวดงตาล-ถูกขลิบ/และ https://beachlover.net/รื้อกำแพง-อ่าวดงตาล/ และ https://beachlover.net/ดงตาล-กับ-ชายหาดที่หายไป/ โดยในเวลานั้นพื้นที่หาดดงตาลทางทิศตะวันออกติดกับหัวเขายังคงเป็นหาดทรายธรรมชาติ และถูกเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แบบจำกัดเวลา มาวันนี้ ขอพอสำรวจอ่าวดงตาลอีกครั้ง โดยพบว่าโครงสร้างที่กล่าวถึงในโพสก่อนหน้าแล้วเสร็จไปบางส่วนแล้ว และพบว่าทางทิศตะวันตกของอ่าว มีกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงพร้อมการปรับปรุงภูมิทัศน์ด้านบนซึ่งเป็นโครงการที่เสร็จไปก่อนหน้านี้แล้ว นอกจากนั้นยังพบ งานปรับปรุงกำแพงกันคลื่นเดิมที่มีลักษณะเป็นแนวดิ่งโดยการนำหินมาถมด้านหน้าเพื่อลดแรงปะทะและสะท้อนกลับของคลื่น เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อ่าวดงตาลระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตรนี้ จะถูกขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนว เมื่อนั้น “อ่าวดงตาล” ชายหาดเลื่องชื่อสำหรับกีฬาทางน้ำคงเหลือเพียงตำนานหรือไม่ รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

July 5, 2023

เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี ชายฝั่งทะเลศรีราชา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 1 กรกฎาคม 2566 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง โดยศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันออก รายงานการเกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสี บริเวณชายฝั่งทะเลศรีราชา จ.ชลบุรี ห่างชายฝั่ง 5 กม. อ้างอิงข้อมูลจากกลุ่มไลน์ RT Bangsaen โดยสถานีวิจัยประมงศรีราชา คณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานข้อมูลคุณภาพน้ำตรวจวัดที่สถานี ST5 ซึ่งพบปริมาณออกซิเจนละลายน้ำต่ำที่ระดับพื้นท้องน้ำ ประกอบกับพบการสะพรั่งของไดโนแฟลกเจลเลตชนิด Noctiluca scintillans จากการสำรวจ ซึ่งแพลงก์ตอนชนิดนี้ไม่สร้างสารชีวพิษ และมักพบว่าเป็นสาเหตุทำให้เกิดปรากฏการณ์น้ำทะเลเปลี่ยนสีในหลายพื้นที่ นอกจากนั้น พบปลาตายเล็กน้อยในพื้นที่เกิดปรากฏการณ์ฯ ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยฯ จะติดตามสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิดต่อไป

Beachlover

July 1, 2023

หาดพัทยาพัง! รอบที่เท่าไหร่แล้ว?

ที่มา: https://web.facebook.com/STVPattaya เรื่องมันจบยาก…ฝนตกทุกครั้ง ชายหาดพัทยาพังทุกเที่ยว ชาวบ้านถามหาแนวทางแก้ไขที่เป็นรูปธรรม ไม่ใช่ดีแต่แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาน้ำท่วมขัง นอกจากจะเป็นปัญหาผูกขาดที่อยู่คู่กับเมืองพัทยามาอย่างยาวนาน เรียกได้ว่าแก้ไขไม่เด็ดขาด เบ็ดเสร็จเสียที ทั้งที่ผ่านมาแม้ว่าเมืองพัทยาจะมีการตั้งงบประมาณและโครงการต่างๆเพื่อรองรับแก้ไขมาแล้วหลายครั้ง หลายรอบ หลายยุคสมัย หลายสมัยการปกครอง หมดงบประมาณไปหลายร้อยล้านบาท ทั้งโครงการแก้น้ำท่วมบนถนนสุขุมวิทซึ่งเป็นสายหลัก ตลาดนาเกลือ หนองใหญ่ ถนนเลียบทางรถไฟ เขาตาโล เขาน้อย ซอยบัวขาว ถนนพัทยาสาย 3 หรือแม้แต่ถนนพัทยาสายเลียบชายหาด และที่เด่นชัดที่สร้างภาพลักษณ์ที่เสียหายต่อการท่องเที่ยว คือการระบายน้ำฝนที่ปะปนกับน้ำเสียลงสู่ทะเล รวมและปริมาณน้ำที่หลาลงบนชายหาดพัทยา ที่กรมเจ้าท่าเป็นเจ้าภาพในการทุ่มงบประมาณ 400 กว่าล้านบาทในการเสริมทรายในระยะ 50 เมตรจากแนวฟุตบาทเพื่อเสริมภาพลักษณ์ด้านการท่องเที่ยว ด้วยพบว่ามีนัยยะของการกัดเซาะอย่างรุนแรง แต่ทุกครั้งตามข้อตกลงก่อนดำเนินการที่เมืองพัทยาตบปากรับคำว่าจะจัดทำระบบดักน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำพัดทรายไหลลงสู่ทะเล แต่ท้ายที่สุดเมื่อมีพายุฝนตกต่อเนื่องลงครั้งใด เมืองพัทยาก็ต้องประสบพบเจอกับปัญหาท่วมขังซ้ำซากแบบนี้ทุกครั้ง แม้จะตอบได้ว่าปัจจุบันมีการระบายน้ำที่รวดเร็วขึ้นก็ตาม โดทุกครั้งมัก จะมีเหตุผลที่วาเมืองพัทยาอยู่ในพื้นที่ต่ำที่ต้องรองรับมวลน้ำจากเทศบาลข้างเคียงที่มีพื้นที่สูงกว่าถึง 60 เมตร ในขณะที่ท่อระบายน้ำเดิมของเมืองพัทยาที่ใช้กันมาแต่อดีตรวมระยะทางนับพันกิโลเมตรนั้นมีขนาดความกว้างไม่เกิน 60-800 ม.ม.เท่านั้น ส่วนโครงการที่จัดทำไปก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่เป็นการจัดทำเพื่อให้มีการระบายน้ำที่รวดเร็วมากขึ้นและลดความเสียต่อทรัพย์สินของประชาชนและนักท่องเที่ยวให้น้อยที่สุด โดยขณะที่กำลังรอแผนแม่บทของกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่รัฐบาลมอบหมายจะให้เข้ามาดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมในงบประมาณนับหมื่นล้านบาท ซึ่งยังคงตอบไม่ได้ว่าจะดำเนินการเมื่อใด ปัจจุบันสิ่งที่ทำได้อย่างเดียวก็การใช้งบประมาณในการนำกำลังคนและเครื่องจักรลงพื้นที่ชายหาดพัทยาเพื่อเกลี่ยทรายให้กลับมาอยู่ในสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด เพราะเมื่อเกิดปัญหาน้ำหลากครั้งใด ก็จะมีภาพความเสียหายต่อชายหาดเกิดขึ้นเมื่อนั้น กรณีนี้มีให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ต่อสายตานักท่องเที่ยวออกไปทั่วโลก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาพสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง ทั้งๆที่ปัจจุบันเมืองพัทยาได้ถูกวางให้เป็นศูนย์กลางของ […]

Beachlover

October 11, 2022

หาดพังรับฝนหนัก (อีกแล้ว)!

ที่มา: https://www.facebook.com/PattayaWatchdog หาดพังเหมือนทุกครั้ง ชายหาดพัทยา เมื่อเช้านี้ (12 ก.ย.2565) เมืองพัทยา ไม่เคยแก้ไขปัญหา น้ำฝนปนน้ำเสียกัดเซาะทรายชายหาด วางท่อระบายน้ำไป 100 ล้านบาท เกิดประโยชน์หรือไม่ นี่จะปรับปรุงภูมิทัศน์ อีก 160 ล้านบาท เริ่มตัดต้นไม้อีกแล้ว ยั่งยืนหรือย่อยยับ?

Beachlover

September 12, 2022

กำแพงล้อมหาด! @ บางละมุง

Beach Lover เคยพาไปชมชายหาดแถบนี้มาแล้วจากโพส https://beachlover.net/หาดบางละมุง-กำลังจะมีกำแพง/ จะพบว่าหาดบางละมุงโดยเฉพาะอย่างยิ่งทางทิศใต้เต็มไปด้วยกำแพงริมทะเลที่สร้างโดยเอกชนจนเกือบหมดแล้ว ในรูปแบบที่แตกต่างกันไป แต่โดยส่วนมากแล้วเราจะพบกำแพงแบบตั้งตรง (แนวดิ่ง) เป็นส่วนใหญ่ พบว่าตลอดแนวกว่า 2 กิโลเมตร ที่ริมทะเลพบเห็นได้แต่กำแพงนั้น มีชายหาดธรรมชาติยาวประมาณ 90 เมตร ที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันใดๆ แทรกตัวอยู่ระหว่างกำแพงตามภาพ และจากการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายย้อนหลังกลับไปในอดีต (ถึงปี ค.ศ.2003) ก็พบว่า พื้นที่นี้ไม่เคยมีการสร้างโครงสร้างป้องกันใดๆริมชายฝั่งทะเลเลย พบว่าแนวนอกสุดของโครงสร้างถาวรซึ่งก็คือทางเดินอยู่พ้นจากระดับน้ำสูงสุด (ตามภาพปัจจุบัน) ขึ้นไปประมาณ 30 เมตร ด้วยเหตุที่มีระยะถอยร่นขึ้นไปบนฝั่งค่อนข้างเพียงพอ จึงไม่พบร่องรอยความเสียหายจากคลื่นเหมือนพื้นที่อื่นๆที่อยู่บริเวณข้างเคียง

Beachlover

September 12, 2022

ดงตาล กับ ชายหาดที่หายไป

Beach Lover เคยพาสำรวจอ่าวดงตาลเมื่อสองปีก่อนไปแล้วจากโพส https://beachlover.net/อ่าวดงตาล-ถูกขลิบ/ และ https://beachlover.net/รื้อกำแพง-อ่าวดงตาล/ โดยในเวลานั้นพื้นที่หาดดงตาลทางทิศตะวันออกติดกับหัวเขายังคงเป็นหาดทรายธรรมชาติ และถูกเปิดเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ประชาชนทั่วไปสามารถเข้าใช้พื้นที่ได้แบบจำกัดเวลา วันนี้ Beach Lover ได้สำรวจพื้นที่นี้อีกครั้ง แต่ครั้งนี้พบว่าพื้นที่หาดทรายที่เคยนำเสนอไปในโพสก่อนหน้านี้ถูกปิดพื้นที่เพื่องานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง พื้นที่นี้กำลังก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได พร้อมงานปรับภูมิทัศน์ ระยะทาง 808 เมตร ด้วยงบประมาณ 134.9 ล้านบาท โดยใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 2 ปี จากการเดินสำรวจพบว่า มีการนำผ้าตาข่ายมาขึงเพื่อปิดพื้นที่ก่อสร้างเกือบตลอดทั้งแนว ตั้งแต่แนวกำแพงหินเรียงตัวเดิมถัดเรื่อยไปทางทิศตะวันออกของหาดทางฝั่งหัวเขาระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร และพบว่ามีการตอกเข็มจนครบระยะทางก่อสร้างแล้ว จากภาพพบว่า เสาเข็มต้นนอกสุดนั้นยื่นล้ำลงไปในทะเลค่อนข้างมาก และเป็นพื้นที่ที่ระดับน้ำทะเลท่วมถึง หมายความว่ากำแพงนี้ทับลงไปบนพื้นที่ชายหาดอย่างแน่นอน เมื่อกำแพงนี้แล้วเสร็จ ชายหาดบางส่วนจะหายไปอย่างน้อยก็เท่ากับความกว้างของกำแพงนี้ ยังไม่รวมถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นด้านหน้ากำแพงที่อาจส่งผลให้เมื่อเวลาผ่านไปชายหาดจะหดหายไปเพิ่มขึ้นอีก จากการเดินสำรวจ ยังพบว่าบริเวณจุดเริ่มต้นโครงการได้เห็นการขึ้นรูปของแนวขั้นบันไดบ้างแล้ว เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จ อ่าวดงตาลระยะทางกว่า 3.5 กิโลเมตรนี้ จะถูกขลิบด้วยกำแพงกันคลื่นตลอดทั้งแนว เมื่อนั้น “อ่าวดงตาล” ชายหาดเลื่องชื่อสำหรับกีฬาทางน้ำคงเหลือเพียงตำนาน

Beachlover

September 9, 2022
1 2 5