Real Time Kinematic (RTK) กับงานสำรวจชายหาด

เทคโนโลยี Real-Time Kinematic (RTK) ถือเป็นเครื่องมือสำคัญที่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในวงการสำรวจชายหาด ด้วยความสามารถในการระบุตำแหน่งได้อย่างแม่นยำในระดับเซนติเมตร RTK ช่วยให้วิศวกร นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญสามารถเก็บข้อมูลสัณฐานวิทยาของชายหาดได้อย่างละเอียดและแม่นยำ ไม่ว่าจะเป็นระดับความสูงของพื้นทราย ความลาดเอียงของชายหาด และตำแหน่งของแนวชายฝั่ง ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นปัจจัยสำคัญในการทำความเข้าใจและบริหารจัดการปัญหาท้าทายที่ชายหาดต้องเผชิญ การสำรวจสัณฐานวิทยาชายหาด: RTK ช่วยให้เราสามารถสร้างแบบจำลองสามมิติของชายหาดได้อย่างละเอียด เผยให้เห็นรายละเอียดปลีกย่อยที่อาจมองข้ามไปได้ด้วยวิธีการสำรวจแบบเดิม ข้อมูลเหล่านี้ช่วยในการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของชายหาดในระยะยาว และวางแผนการบริหารจัดการชายฝั่งอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การกำหนดตำแหน่งของโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือการเติมทรายเพื่อฟื้นฟูชายหาดที่ถูกกัดเซาะ การตรวจวัดการกัดเซาะชายฝั่ง: การกัดเซาะชายฝั่งเป็นปัญหาสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม RTK ช่วยให้เราสามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงของชายหาดได้อย่างต่อเนื่องและแม่นยำ ทำให้สามารถระบุพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการกัดเซาะ และดำเนินมาตรการป้องกันได้อย่างทันท่วงที การวางแผนและออกแบบโครงสร้างชายฝั่ง: การออกแบบโครงสร้างชายฝั่ง เช่น กำแพงกันคลื่น หรือรอดักทราย ต้องอาศัยข้อมูลสัณฐานวิทยาชายหาดที่ถูกต้องและแม่นยำ RTK ช่วยให้วิศวกรสามารถออกแบบโครงสร้างที่สอดคล้องกับสภาพของชายหาด และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทางทะเล การติดตามผลกระทบจากโครงการพัฒนาชายฝั่ง: โครงการพัฒนาชายฝั่ง เช่น การสร้างท่าเรือ หรือการถมทะเล อาจส่งผลกระทบต่อชายหาดและระบบนิเวศทางทะเล RTK ช่วยให้เราสามารถติดตามและประเมินผลกระทบเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และนำไปสู่การปรับปรุงโครงการเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม Real-Time Kinematic (RTK) เป็นเทคโนโลยีที่ทรงประสิทธิภาพที่ช่วยให้เราสามารถสำรวจและบริหารจัดการชายหาดได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน การใช้ RTK ในงานสำรวจชายหาดช่วยให้เราสามารถเข้าใจถึงพลวัตของชายหาด และนำไปสู่การตัดสินใจที่ชาญฉลาดในการอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งอันมีค่าของเรา ถึงแม้ Real-Time Kinematic (RTK)จะเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ แต่การใช้งานต้องอาศัยความเชี่ยวชาญและความเข้าใจในเทคโนโลยี […]

Beachlover

September 13, 2024

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย บ้านบ่ออิฐ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) พื้นที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา วันที่ 31 สิงหาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่ชายหาดบ้านบ่ออิฐ ตำบลเขารูปช้าง อำเภอเมือง จังหวัดสงขลา ซึ่งอยู่ในระบบหาดสะกอม (T6B153) เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง หลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand Fence) ความยาวตามแนวชายฝั่ง 269 เมตร รูปแบบก้างปลา ใช้ไม้สน (ดำเนินโครงการในปี พ.ศ. 2565) ทำการสำรวจรังวัดการเปลี่ยนแปลงชายหาด (Beach Profile) ด้วยระบบ RTK GNSS Network มีแนวสำรวจทั้งหมด 14 แนว ซึ่งเป็นการสำรวจก่อนฤดูมรสุม ผลการสำรวจพบว่า รั้วดักทรายได้รับความเสียหายจากเพรียงทะเลและคลื่นมรสุม ทั้งบริเวณด้านทิศเหนือและทิศใต้ของแนวรั้วซึ่งรั้วที่หักเสียหายกับรั้วที่เหลืออยู่ยังมีประสิทธิภาพในการดักทราย โดยมีตะกอนทรายสะสมตัวหลังแนวรั้วเฉลี่ยสูงสุดอยู่ที่ระดับ +1.17 เมตร ความลาดชัน 4 องศา […]

Beachlover

August 31, 2024

รูปตัดชายหาด มีความสำคัญอย่างไร

รูปตัดชายหาด (Beach Profile) คือ ภาพตัดขวางของชายหาดที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะภูมิประเทศของชายหาด ตั้งแต่บริเวณหลังหาด (backshore) ไปจนถึงเขตน้ำขึ้นน้ำลง (foreshore) และในบางกรณีอาจหมายรวมไปถึงเขตไหล่ทวีป (offshore) รูปตัดชายหาด (Beach Profile) เปรียบเสมือน “ลายนิ้วมือ” ของชายหาดแต่ละแห่ง ที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะตัวของหาดนั้นๆ ตั้งแต่เนินทรายด้านหลังหาดที่อาจมีพืชพรรณปกคลุม ไปจนถึงพื้นทรายที่เปียกชื้นในเขตน้ำขึ้นน้ำลง และลึกลงไปในทะเลจนถึงบริเวณไหล่ทวีป รูปตัดชายหาดนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการทำความเข้าใจและจัดการชายฝั่งอย่างยั่งยืน 1. บันทึกการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง: รูปตัดชายหาดเปรียบเสมือนไทม์แมชชีนที่บันทึกการเปลี่ยนแปลงของหาดทรายในแต่ละช่วงเวลา เช่น ชายหาดหัวหินที่เคยกว้างขวาง อาจถูกกัดเซาะจนแคบลง หรือหาดในจังหวัดกระบี่ที่อาจมีตะกอนทับถมจนชายหาดขยายกว้างขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราเข้าใจถึงสาเหตุและแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลง เพื่อวางแผนป้องกันและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที 2. ออกแบบเกราะป้องกันชายฝั่ง: รูปตัดชายหาดเป็นเสมือนพิมพ์เขียวที่วิศวกรใช้ในการออกแบบโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง เช่น หากหาดทรายมีความลาดชันสูง อาจต้องใช้โครงสร้างที่แตกต่างไปจากหาดที่มีความลาดชันต่ำ การออกแบบที่เหมาะสมกับลักษณะของหาดจะช่วยให้การป้องกันมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า 3. ดูแลระบบนิเวศชายฝั่ง: รูปตัดชายหาดช่วยให้เราเข้าใจถึงความเชื่อมโยงระหว่างสิ่งมีชีวิตและสภาพแวดล้อมของชายหาด เช่น หากหาดทรายมีความลาดชันน้อย อาจเป็นแหล่งอาศัยของหญ้าทะเล ซึ่งเป็นแหล่งอาหารและที่หลบภัยของสัตว์น้ำ หรือหากมีแนวปะการังอยู่ใกล้ชายฝั่ง รูปตัดชายหาดจะช่วยให้เราประเมินผลกระทบของคลื่นและตะกอนที่มีต่อแนวปะการังได้ 4. เตรียมรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ: รูปตัดชายหาดช่วยให้เราประเมินความเสี่ยงและวางแผนรับมือกับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เช่น หากระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ชายหาดที่มีเนินทรายสูงอาจได้รับผลกระทบน้อยกว่าหาดที่มีความลาดชันต่ำ ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้เราสามารถเลือกใช้มาตรการรับมือที่เหมาะสม เช่น การเสริมเนินทราย การเติมทรายชายหาด หรือการย้ายถิ่นฐานชุมชน 5. […]

Beachlover

July 20, 2024

สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย ชายหาดตำบลกลาย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง สำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 12 มีนาคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณชายหาดบ้านบางสาร ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสำรวจและติดตามการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังการติดตั้งรั้วดักทราย (Sand fence) ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมRTK GNSS Network โดยรั้วดักทรายมีความยาว 570 เมตร ปักรูปแบบซิกแซก ใช้ไม้ความยาว 3 เมตร ปักลึกลงดิน 2 เมตร (ดำเนินการติดตั้งในปี พ.ศ. 2565) มีแนวสำรวจทั้งหมด 21 แนว ครอบคลุมพื้นที่ชายฝั่งประมาณ 1,000 เมตร เป็นการสำรวจในช่วงหลังฤดูมรสุม ผลสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ใกล้เขื่อนป้องกันคลื่นนอกชายฝั่ง รั้วดักทรายหลุดพังเสียหายจากคลื่นในช่วงฤดูมรสุมเป็นระยะทาง 180 เมตร และช่วงถัดมา แนวไม้อยู่ในสภาพล้มเอียงเข้าหาฝั่ง ระยะทาง 50 เมตร […]

Beachlover

March 13, 2024

สำรวจสัณฐานชายหาด แหลมพันวา

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS วันที่ 21 มกราคม 2567 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่ง ลงพื้นที่บริเวณแหลมพันวาตะวันออก ต.วิชิต อ.เมืองภูเก็ต จ.ภูเก็ต เพื่อสำรวจสัณฐานชายหาด ด้วยเครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) โดยมีระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ 950 เมตร กำหนดแนวสำรวจสัณฐานชายหาด รวม 13 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้น พบว่า พื้นที่สำรวจมีความลาดชันชายหาดประมาณ 0.06 – 8.52 องศา มีความกว้างของหาด ประมาณ 10 – 13 เมตร เมื่อนำผลการสำรวจครั้งนี้เปรียบเทียบกับผลการสำรวจในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ พบว่า บริเวณพื้นที่แหลมพันวาตะวันออกมีตะกอนสะสมเพิ่มขึ้นประมาณ 197.48 ลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้ข้อมูลที่ได้จะนำไปวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเล ความลาดชันชายหาด ความกว้างของหาด […]

Beachlover

January 22, 2024

พาสำรวจการเปลี่ยนแปลงชายหาดกะตะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจหาดกะตะ ต.กะรน อ.เมือง จ.ภูเก็ต ซึ่งอยู่ในระบบหาดกะตะใหญ่ (T7E222) โดยใช้เครื่องหาพิกัดดาวเทียมแบบ RTK GNSS เป็นเทคนิคการสำรวจรังวัดด้วยระบบโครงข่ายรังวัดดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ผลสำรวจพบว่า หาดกะตะด้านทิศเหนือมีความกว้างชายหาดมากที่สุด ๑๒๐ เมตร และมีความลาดชันต่ำกว่าบริเวณตอนกลาง และด้านทิศใต้ของหาด ความลาดชันที่ได้จากการสำรวจคือ ๐-๒๐ องศา โดยความลาดชันด้านทิศเหนือของหาดมีค่าต่ำที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงชายหาดในเดือนมีนาคม ๒๕๖๕ โดยพบว่า หาดด้านทิศใต้มีปริมาณตะกอนทรายเพิ่มมากขึ้น และไม่พบร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่

Beachlover

June 26, 2022

หาดบางเทา สวยสมดุลไม่พบการเปลี่ยนแปลงชายหาด

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจลักษณะสัณฐานชายฝั่ง ความกว้าง และความลาดชันชายหาดบางเทา ซึ่งอยู่ในระบบหาดอ่าวบางเทา ต.เชิงทะเล อ.ถลาง จ.ภูเก็ต โดยสำรวจรังวัดทำภาพตัดขวางชายหาดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ซึ่งได้รับการสนับสนุนระบบโครงข่ายดังกล่าวจากกรมแผนที่ทหาร ในการสำรวจครั้งนี้ใช้เครื่องหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS (Global Navigation Satellite System) ซึ่งค่าพิกัดที่ได้จะมีความถูกต้องสูง เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปศึกษาและประเมินความเปราะบางของพื้นที่ต่อการกัดเซาะชายฝั่ง โดยสำรวจ ๓๖ แนว ระยะห่างระหว่างแนว ๒๐๐ เมตร ครอบคลุมระยะทางตามแนวชายฝั่งประมาณ ๖.๕ กม. โดยวันนี้สามารถสำรวจสัณฐานชายหาดได้ ๑๘ แนว พบว่าชายหาดบริเวณด้านทิศเหนือมีความกว้าง ๒๐-๓๕ เมตร และมีความลาดชันชายหาด ๖-๘ องศา ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง ชายหาดมีความสมดุล มีการใช้ประโยชน์ชายหาดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และกิจกรรมทางน้ำ

Beachlover

February 23, 2022

ติดตามการสะสมตัวของตะกอนทรายด้านหลัง แนวรั้วไม้คลองวาฬ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการสะสมตัวของปริมาณตะกอนทรายด้านหลังแนวรั้วดักตะกอนทราย (Sand fence) ในช่วงมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชายฝั่ง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่ารั้วดักตะกอนทรายแบบ wind break ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ บางตำแหน่งเริ่มมีการสะสมตัวของตะกอนทราย และพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมแล้ว ส่วนพื้นที่หาดคลองวาฬ บ้านหว้าโทน ต.คลองวาฬ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ประกอบกับคลื่น ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้บริเวณนี้เกิดร่องรอยของการกัดเซาะเล็กน้อยขึ้นด้านหลังรั้วดักตะกอนทราย แต่ในภาพรวมแล้วรั้วไม้บริเวณยังสามารถช่วยชะลอและลดความรุนแรงของคลื่นที่จะเข้ากระทบกับฝั่งได้ และยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่งด้านทิศเหนือได้

Beachlover

December 15, 2021

สำรวจสัณฐานชายหาด และการเปลี่ยนแปลงหาดแม่รำพึง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจชายหาดหาดแม่รำพึง ครอบคลุมพื้นที่ ต.เพ และ ต.ตะพง อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดแม่รำพึง-มาบตาพุด (T1K032) เพื่อสำรวจและศึกษาการเปลี่ยนแปลงสัณฐานชายหาด และการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่งบริเวณหาดแม่รำพึง โดยสำรวจภาพตัดขวางชายหาด (Beach profile) ด้วยการรังวัดด้วยระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) รวม ๓๒ แนว เพื่อนำมาจัดทำแผนที่แสดงเส้นระดับความสูงของหาดได้ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า ชายหาดหาดแม่รำพึงฝั่งตะวันออกมีความลาดชันต่ำและมีชายหาดกว้างกว่าฝั่งตะวันตก มีค่าความลาดชันประมาณ ๓-๑๑ องศา

Beachlover

October 24, 2021

สำรวจการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งหาดเจ้าหลาว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๘ กันยายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจสถานภาพชายฝั่ง ชายหาดหาดเจ้าหลาว อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดเจ้าหลาว (T1H022) ตามแนวชายฝั่งประมาณ ๑๒.๓ กม. และสำรวจสัณฐานชายหาดโดยใช้เทคนิคการรังวัดด้วยโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) และเทคนิคการสำรวจด้วยการถ่ายภาพมุมสูงโดยอาศัยอากาศยานไร้คนขับ ซึ่งการสำรวจและศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการสำรวจ ติดตาม และศึกษาการเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง ซึ่งเป็นผลกระทบจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งประเภทกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่ง กรณีศึกษา พื้นที่หาดแหลมเสด็จ อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี

Beachlover

September 19, 2021
1 2