เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating breakwater) ตอนที่ 1

อ้างอิงบางส่วนจาก: Ploypradub, P. and Ritphring, S., Comparison of Efficiency of Floating Breakwater and Rubble Mound Breakwater, Ladkrabang engineering journal, Vol.36, No.1,pp.1-8, Mar 2019. (In Thai) เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งและเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ (Floating Breakwater) เป็นรูปแบบหนึ่งของเขื่อนกันคลื่นที่ใช้เพื่อลดพลังงานของคลื่นที่เข้าปะทะชายฝั่งทะเล ซึ่งในอดีตนิยมใช้เขื่อนกันคลื่นแบบหินทิ้งเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพราะมีความแข็งแรงไม่ต้องทำการดูแลรักษามากนัก แต่ทำให้สูญเสียทัศนียภาพ ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และเกิดการกัดเซาะที่บริเวณเขื่อนกันคลื่นตัวสุดท้าย อย่างไรก็ตาม เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำสามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่ฐานรากไม่แข็งแรง สามารถเคลื่อนย้ายหรือรื้อถอนได้ มีขนาดไม่ใหญ่ทำให้ไม่สูญเสียทัศนียภาพ แต่ยังมีข้อจำกัดในหลายๆด้าน เช่น ไม่เหมาะสำหรับคลื่นขนาดใหญ่ และต้องการการดูแลรักษาสูง Tsinker (2004) ได้รายงานกรอบความคิดของเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำไว้ว่า โดยทั่วไปเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำถูกจำแนกว่าเป็นโครงสร้างที่สะท้อนคลื่นหรือเป็นโครงสร้างที่ทำให้พลังงานของคลื่นลดลง โดยถูกออกแบบเพื่อสะท้อนคลื่น ให้มีเพียงคลื่นที่มีพลังงานน้อยเท่านั้นที่สามารถผ่านเขื่อนกันคลื่นไปได้ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำ ได้พบการประยุกต์ใช้อย่างกว้างขวางในหลายพื้นที่ที่มีการป้องกันคลื่นลมและคลื่นที่เกิดจากเรือในงบประมาณที่ไม่สูง และในพื้นที่อ่าวเปิดที่ไม่ได้มีคลื่นที่มีความรุนแรงมากและพื้นที่มีความลึกของน้ำค่อนข้างมาก นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในพื้นที่ที่มีฐานรากที่ไม่แข็งแรง ไม่เป็นอุปสรรคต่อการไหลเวียนของน้ำได้รวมถึงการดำรงชีวิตของปลาทำให้ไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำ เขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำมีขนาดเล็กไม่รบกวนทัศนียภาพ ในช่วงทะเลสงบไม่มีมรสุมไม่จำเป็นต้องมีเขื่อนกันคลื่นก็สามารถรื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่ได้ จากการศึกษาของ Bruce et al. (1985) ได้แบ่งเขื่อนกันคลื่นแบบลอยน้ำเป็น 4 ประเภทหลักๆ คือ 1. กล่อง […]

Beachlover

September 11, 2022