EIA ใหม่ กำแพงกันคลื่นทุกขนาดต้องทำ!

วันที่ 8 มิ.ย.2566 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องกำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2566 สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ การก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเล ประกอบด้วย รอดักทราย เขื่อนกันทรายและคลื่น รอบังคับกระแสน้ำ แนวเขื่อนกันคลื่นนอกฝั่งทะเล และ กำแพงติดแนวชายฝั่งทะเล ทุกขนาด ต้องจัดทำ EIA ส่วนขั้นตอนในการเสนอรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA นั้น ต้องเสนอในขั้นขออนุมัติ หรือ ในขั้นขออนุญาตโครงการ แล้วแต่กรณี อย่างไรก็ตาม ประกาศนี้ให้ใช้บังคับนับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป แต่ไม่ให้ใช้บังคับกับโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการที่ได้รับจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เอกสารที่เกี่ยวข้อง: ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับปรับปรุง (Click ชื่อเรื่องเพื่อเปิดเอกสารฉบับเต็ม)

Beachlover

January 5, 2024

ราชกิจจานุเบกษา “กำแพงกันคลื่นต้องทำ EIA ” มีผลบังคับใช้ทันที

ที่มา: https://www.komchadluek.net/quality-life/environment/550610 เว็บไซต์ “ราชกิจจานุเบกษา” ประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2566  โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง กำหนดโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เพื่อกำหนดประเภทโครงการ กิจการ หรือการดำเนินการ ซึ่งต้องจัดทำ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมยิ่งขึ้น อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 48  แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2536 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2561 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังนี้

Beachlover

June 8, 2023

กำแพงกันคลื่น กับ EIA

ท่ามกลางกระแสการร้องขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบนำเอาโครงสร้างป้องกันชายฝั่งประเภทกำแพงกันคลื่นกลับเข้าไปอยู่ในประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นหนึ่งในรายการของโครงสร้างชายฝั่งทะเลที่จำเป็นต้องจัดทำรายงานประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนพิจารณาใช้โครงสร้างนี้เพื่อป้องกันชายฝั่ง ตามข่าวได้จาก https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL และ https://www.facebook.com/greensouthfoundation รวมถึงองค์กรและสื่อด้านสิ่งแวดล้อมอื่นๆ Beach Lover ซึ่งเป็น Website ที่ให้องค์ความรู้และถ่ายทอดข้อมูลสถานการณ์ชายฝั่งทะเลมาตลอดกว่า 4 ปี ขอชวนผู้ติดตามอ่านบทความกึ่งวิชาการได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรื-2/ หรือเข้าไปในหมวด “วิชาการ” และค้นหาบทความชื่อ “กำแพงกันคลื่น…ไปต่อหรือพอแค่นี้”

Beachlover

December 1, 2022

กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022

กำแพงกันคลื่นทั่วไทย มีแล้วกี่จังหวัด

ที่มา: https://www.facebook.com/DXCThaiPBS/ กระแสกำแพงกันคลื่น กำลังได้รับความสนใจ หลังจากในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมา เริ่มพบโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น กระจายไปยังหลายจังหวัดทั่วประเทศ โดยเฉพาะล่าสุด ที่ปรากฎภาพกำแพงกันคลื่นตามชายหาดท่องเที่ยวที่สำคัญ เช่น หาดชะอำ และ หาดปราณบุรี ทำให้นักท่องเที่ยวบางส่วน ไม่เห็นด้วยเนื่องจากเกรงว่า โครงสร้างวิศวกรรมป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง จะเข้าไปแทนที่หาดทราย ส่งผลต่อทัศนียภาพเดิมในอดีต ประกอบกับขณะนี้เริ่มพบปัญหากำแพงที่สร้างไปแล้วพังเสียหาย รวมถึงยังทำให้เกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงที่บริเวณด้านหัวและท้ายของโครงสร้าง ทำให้ต้องมีการก่อสร้างไปอย่างไม่รู้จบ นักวิชาการ ระบุว่า กำแพงกันคลื่นไม่ได้เพิ่งเกิดขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ หลายโครงการทยอยเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาไม่ถึง 10 ปี และยิ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ หลังมีการประกาศเพิกถอนกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) โดยให้เหตุผลว่าเพื่อให้เกิดความง่ายต่อการดำเนินการของรัฐ สามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างทันท่วงที เมื่อปี 2556 วันนี้ ศูนย์พัฒนาการสื่อสารด้านภัยพิบัติ รวบรวมข้อมูลการสำรวจโครงสร้างกำแพงกันคลื่นทั่วประเทศ ว่าปัจจุบันมีการก่อสร้างไปแล้วกี่จังหวัด และพื้นที่ไหนที่มีโครงสร้างดังกล่าวมากที่สุด ขณะเดียวกันยังชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับความคุ้มค่าของโครงการผ่านตัวเลขงบประมาณจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกรมโยธาธิการและผังเมือง ที่ถือเป็นหน่วยงานหลักในการก่อสร้างโครงการที่เชื่อว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งได้อย่างถาวร ซึ่งจุดนี้มีการตั้งข้อสังเกตจากนักวิชาการว่า หากกำแพงกันคลื่นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างตรงจุดจริง เหตุใดตัวเลขงบประมาณจึงมีแนวโน้มสูงขึ้นทุกปี

Beachlover

April 27, 2022

“ปดิพัทธ์” ลงพื้นที่หาดแม่รำพึง ยืนยันกำแพงกันคลื่นส่งผลเสียมากกว่าผลดี

ที่มา: https://www.facebook.com/TheReportersTH UPDATE: ‘ปดิพัทธ์’ ลงพื้นที่หาดแม่รำพึง บางสะพาน ยืนยันกำแพงกันคลื่นส่งผลเสียมากกว่าผลดี รัฐต้องรับฟังประชาชนอย่างตรงไปตรงมา เตรียมยื่นเรื่องเข้า กมธ.การมีส่วนร่วมของประชาชน ทบทวนการทำ EIA วันนี้ (14 เม.ย. 65) ปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.จังหวัดพิษณุโลก พรรคก้าวไกล ลงพื้นที่ติดตามกรณีโครงการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่น ชายฝั่งทะเลหาดแม่รำพึง อ.บางสะพาน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พร้อมนายนราวิชญ์ กิตติพงศ์ธนกิจ กลุ่ม Saveหาดแม่รำพึงบางสะพาน หลังทางกลุ่มได้ร้องเรียนไปยังคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง สภาผู้แทนราษฎร ประดิพัทธ์ กล่าวว่า วันนี้มาพักผ่อนที่บ้านญาติ จึงแวะมารับฟังปัญหาและติดตามประเด็นช่วย ส.ส.ประเสริฐพงษ์ ศรนุวัติ พรรคก้าวไกล ซึ่งเป็นคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาการกัดเซาะชายฝั่ง สภาผู้แทนราษฎร รับฟังความเดือดร้อนและติดตามประเด็นดังกล่าว พร้อมระบุว่า แม้ผลการศึกษาเรื่องการแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งด้วยแนวกำแพงกันคลื่นยังไม่ออกมาเป็นเล่มรายงาน แต่ผลการศึกษาเบื้องต้นชี้ชัดว่าการสร้างกำแพงกันคลื่นมีผลเสียมากกว่าผลดี เป็นโครงการที่ไม่ตรงกับสภาพการณ์ของแต่ละพื้นที่ สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนเพิ่มเติม มีตัวอย่างให้เห็นในหลายหาดว่าการสร้างกำแพงกันคลื่นทำให้เกิดการกัดเซาะมากขึ้นเพราะไปเปลี่ยนแปลงรูปแบบของคลื่น ที่บางสะพานมีข้อร้องเรียนเกิดขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่ไม่ได้พบว่ามีการกัดเซาะรุนแรง ความจริงการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะ มีมาตรการณ์ตั้งแต่ระดับเบาจนไปถึงการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทอช.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ทำการศึกษาหาดแม่รำพึงแล้ว ว่า […]

Beachlover

April 15, 2022

เครือข่ายฯกัดเซาะชายฝั่งปัตตานี เรียกร้องให้รัฐบาลเเก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL วันนี้ 29 ตุลาคม 2564 องค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชน ในจังหวัดปัตตานี 23 องค์การ ในนามเครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เเละตัวเเทนสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร ในจังหวัดปัตตานี ผ่านไปยังนายกรัฐมนตรี โดยมี 8 ข้อเรียกร้องสำคัญ 1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง 2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม 4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล […]

Beachlover

October 30, 2021

งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น 2554-2565 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

Beach Lover ได้นำเสนอร่างงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งของ 3 กรมหลัก มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ติดตามได้จากโพสเก่าๆ Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของกำแพงกันคลื่น [https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/] อย่างต่อเนื่องมามากกว่า 2 ปี รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการถอดเอากำแพงกันคลื่นออกจากรายการที่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2556 [https://beachlover.net/ประกาศกระทรวงทรัพยากร-2/] ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่นเดียวกัน ครั้งนี้ขอนำสองเรื่องมาผนวกกัน โดยแสดงข้อมูลของงบประมาณที่ถูกเสนอไว้ในเล่มงบประมาณ(ขาวคาดแดง) โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในส่วนของกำแพงกันคลื่นตั้งแต่ปี 2554-2565 รวม 12 ปี พบว่า จำนวนงบประมาณที่ขอตั้งไว้ในแต่ละปีเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเฉพาะในส่วนของงานก่อสร้างโครงสร้างป้องกันแบบกำแพงกันคลื่นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ไม่นับรวมงานจ้างบริษัทที่ปรึกษา) หากย้อนดูอดีตช่วงปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่มีการถอดกำแพงกันคลื่นออกจากรายการที่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม นั่นหมายถึงการตั้งงบประมาณของหน่วยงานในปี 2558 จะอยู่บนหลักที่ว่ากำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA แล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ประกาศนี้จะมีผลต่อการตั้งงบประมาณในปี 2559 เสียมากกว่า เนื่องจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ธันวาคม 2556 ซึ่งกระชั้นกับการตั้งงบประมาณเกินไป (เริ่มทำเอกสารงบประมาณ 2558 ตั้งแต่ต้นปี 2557) เมื่อพิจารณาการของบประมาณเพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นในปี 2559-2560 นั้นพบว่าเพิ่มสูงขึ้นมาก คือเพิ่มขึ้นถึง […]

Beachlover

July 20, 2021

ประกาศ สผ. เรื่องแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

Click ไอคอน “Download” เพื่อนำไปสู่ ประกาศสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องแนวทางการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการจัดทำ รายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม [8 ก.พ.2562]

Beachlover

May 17, 2021