“รั้วไม้ชายหาด” วัดท่าไทร ยังสบายดี ?

Beach Lover เคยพาชม รั้วไม้ ณ ชายหาดหน้าวัดท่าไทรไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ การปักไม้ในพื้นที่นี้นับเป็นพื้นที่แรกๆที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) รับมาปฏิบัติเอง หลังจากที่ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ได้ดำเนินการเองไปบ้างแล้วก่อนหน้านั้น งบประมาณที่ทางกรมฯใช้ในพื้นที่นี้คือ 495,000 บาท สำหรับระยะทาง 594 เมตร หรืออาจกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ใช้เพื่อการปักไม้คือ 833 บาทต่อเมตร Beach Lover ได้ไล่เรียงภาพถ่ายในมุมเดิมๆ โดยมีตำแหน่งอ้างอิงเดิมให้ได้ชมกันอีกครั้งตั้งแต่ กันยายน 2563 จนถึง พฤษภาคม 2565 ตามภาพ พบว่า การเว้าโค้งด้านทิศเหนือส่วนถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันในแต่ละภาพ สิ่งที่แตกต่างพบเพียงการทับถมของทรายที่เข้ามาตกสะสมตามฤดูกาลเท่านั้น โดยพบว่าภาพในเดือนธันวาคม ซึ่งช่วงปลอดมรสุมทรายเข้ามาทับถมจนเกือบมิดปลายไม้และมีระดับเกือบเสมอกับสันทรายชายหาดด้านใน และหลังจากนั้นทรายส่วนนี้ก็ถูกคลื่นซัดหายไปตามฤดูกาลเหมือนเดิม โดยปรากฏลักษณะของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลนี้ในรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งแนวปักไม้เกือบ 600 เมตร จากการเดินสำรวจตลอดแนวเกือบ 600 เมตร พบว่าพื้นที่ทิศเหนือสุดของแนวปักไม้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดที่มีความแตกต่างจากพื้นที่ที่มีการปักไม้แต่อย่างใด ซึ่งเหมือนกับที่ Beach Lover เคยสำรวจและแสดงความเห็นไว้ในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อสองปีก่อน https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]

Beachlover

June 9, 2022

ผลการตรวจสอบ แนวชายฝั่งหาดท้ายเหมืองสมดุลปกติดี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง บริเวณหาดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดท้ายเหมือง (T7E201) การสำรวจรังวัดแนวชายฝั่งใช้เครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยอาศัยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ตามแผนการสำรวจแนวชายฝั่งบริเวณเขื่อนหินทิ้ง รั้วดักทราย และพื้นที่ข้างเคียง ระยะทางประมาณ ๑ กม. (จุดเริ่มต้นบริเวณปากคลองบางทอง และจุดสิ้นสุดบริเวณวัดท่าไทร) ผลการสำรวจเบื้องต้นเส้นแนวชายฝั่งบริเวณดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นแนวชายฝั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่

Beachlover

May 22, 2022

ติดตามตรวจสอบชายหาดหน้าวัดท่าไทร ไม่พบกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ตรวจติดตามระบบหาด ท้องที่ จ.พังงา เป็นระบบหาดท้ายเหมือง (T7E๒๐๑) ท้องที่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง บริเวณ​หน้าวัดท่าไทร ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดทรายหยาบปนละเอียด อุณหภูมิ​ชายหาด ๓๔.๕ องศาเซลเซียส​ ความเร็วลม ๘ กม./ชม. ท้องฟ้าแจ่มใส​ จากฝั่งออกไปประมาณ ๑ กม. มองไปน้ำทะเล​จะเป็นสีเขียว ถัดจากนั้นออกไปเป็นสีคราม น้ำทะเลริมฝั่งขุ่นเล็กน้อย ลักษณะของ​คลื่นเป็นคลื่นลม กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อัตราคลื่น​กระทบ​ฝั่ง​ ๙ ครั้ง​/นาที สำหรับบริเวณ​ที่กรม ทช. มาก่อสร้างรั้วดักทราย (sand fence) ไว้ ผลมีทรายมาทับถมเกือบมิดหัวไม้เป็นส่วนใหญ่ หัวไม้ที่โผล่ยาวสุดไม่เกิน ๕๐ ซม. บริเวณ​ด้านทิศเหนือของแนวรั้วดักทราย น้ำทะเลได้เซาะจนเห็นเสาไม้แต่ยังไม่เซาะผ่านเข้ามาในแนวเสาไม้ ระยะทางที่เป็นลักษณะ​เช่นนี้​ประมาณ​ ๒๐ เมตร […]

Beachlover

April 23, 2021

เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนของชายฝั่งได้อย่างง่ายๆจากการถ่ายภาพมุมเดิมในเวลาแตกต่างกัน

ตามปกติแล้ว เราสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลได้หลากหลายวิธีการ เช่น แปลจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม สำรวจระดับของชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคนิคงานสำรวจทางวิศวกรรม สำรวจแนวชายฝั่งจากหมุดหลักฐานอ้างอิง แต่ก็มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากและต้องการทักษะบางประการในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ในยุคที่โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทุกคนมีกล้องถ่ายภาพอยู่กับตัวตลอดเวลา การถ่ายภาพมุมเดิมๆในเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีจุดอ้างอิงเดิมปรากฏในภาพ จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น ก่อนที่จะวิเคราะห์ในรายละเอียดโดยใช้เทคนิคที่ซับซ้อนต่อไป                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

Beachlover

April 20, 2021

หาดเต่าไข่ วัดท่าไทร ยังสบายดี (มาก)

Beach Lover เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายหน้าวัดท่าไทร ท้ายเหมือง จ.พังงา ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือไปแล้วครั้งหนึ่ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ท้ายเหมือง-เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน/ ช่วงหมดฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจชายหาดแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง พบว่าชายหาดแตกต่างไปจากเดิมช่วงมรสุมอย่างมากมาย หน้าหาดมีความลาดชัน 18 องศา ซึ่งถือว่าชันมาก และพบว่าคลื่นลมหอบทรายขึ้นมากองบริเวณชายหาดส่วนหลัง (Backshore) ที่เป็นพื้นที่ที่มีการปักไม้เพื่อเป็นรั้วดักทราย (Sand fence) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระยะทาง 594 เมตร ด้วยงบประมาณเกือบห้าแสนบาท การสำรวจเมื่อช่วงมรสุม (กันยายน) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายประมาณ 0.8-0.95 เมตรตลอดทั้งแนว (เฉลี่ยประมาณ 0.89 เมตร) ส่วนในช่วงปลอดมรสุม (ธันวาคม) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายเฉลี่ยประมาณ 0.15 เมตร พบว่าชายหาดใกล้เคียงทางทิศใต้ที่เคยมีกองหินโผล่ในช่วงมรสุม ปัจจุบันถูกทรายกลบจนเกือบมิด พบว่าชายหาดบริเวณนี้ในช่วงมรสุมเมื่อเกิดการกัดเซาะ ก็กัดเซาะตลอดทั้งแนวในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือระดับของสันหาดลดต่ำลงอย่างมาก ความลาดชันชายหาดลดลง คลื่นซัดเอาทรายหน้าหาดหดหายไป ส่งผลให้รั้วไม้ที่ถูกปักไว้โผล่พ้นผืนทรายตลอดทั้งแนวเกือบ 0.9 เมตร และคลื่นยังควักล้วงเอาทรายจากพื้นที่ด้านหลังรั้วไม้ออกไปได้อีกด้วย ครั้งเมื่อปลอดมรสุม ก็เกิดการทับถมในรูปแบบเดียวกัน […]

Beachlover

January 6, 2021

ท้ายเหมือง…เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน

[ภาพเมื่อ 30 กันยายน 2563] หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด เพื่อป้องกันศาลาและถนนเลียบทะเลของวัด ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ จนเกือบกระทบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด ระหว่างการก่อสร้าง วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทางทิศเหนือถัดจากกำแพงไปไม่ไกล ไปประมาณ 200 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.2561 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เจ้าอาวาสวัดท่าไทร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นห่วงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหลุมไข่เต่ามะเฟือง จึงได้มอบหมายให้ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.) ใช้อำนาจอำนาจตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/พรบ-กรม-ทช/) สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไปก่อน จากนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำโครงการปักเสาไม้เพื่อป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ (Downdrift) ด้านทิศเหนือของกำแพงหิน ระยะทาง 594 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 495,000 บาท […]

Beachlover

October 5, 2020