ชายหาดหลังรื้อ “โกงกางเทียม”

Beach Lover ได้เคยพาชมโครงการวางโกงกางเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแถบเขาหลักใกล้หาดทางทองไปหลายครั้งแล้ว ติดตาม Clip พาเดินชมได้จาก Youtube (1) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) หาดนางทอง เขาหลัก พังงา และ (2) โกงกางเทียมซีออส (C-Aoss) ณ หาดนางทอง จ พังงา และ (3) รากโกงกางเทียม เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ณ หาดนางทอง และงานเขียนในโพสเก่าๆ หาอ่านเพิ่มเติมได้จาก Search icon ฤดู High season ของทะเลแถบอันดามันในปี 2567 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจชายหาดแถบนี้อีกครั้ง พบว่าโกงกางเทียมที่เคยวางอยู่หน้าชายหาดแห่งนี้มายาวนานมากกว่า 1 ปี หายไปหมดแล้ว จากการสอบถามผู้ดูแลรีสอร์ทแห่งนี้ได้ความว่า เจ้าของรีสอร์ทขอให้ผู้ที่นำมาทดลองวางรื้อออกให้หมดเนื่องจากไม่ได้ผล ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งไม่ได้ เสียหายและหลุดออกจากตำแหน่งเดิมที่เคยติดตั้ง ทั้งยังส่งผลเสียเป็นทัศนะที่ไม่น่ามอง จากนั้น รีสอร์ทก็นำทรายมาเติมโดยใช้เวลา 3 คืน ดำเนินการช่วง 20:00-22:00 […]

Beachlover

February 29, 2024

ทช.ติดตามการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่ง จังหวัดพังงา

ที่มา: https://web.facebook.com/DMCRTH ทช. ร่วมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ในพื้นที่บ้านท่านุ่น และบริเวณร้านน้องเปรี้ยว หาดบางเนียง จังหวัดพังงา วันที่ 2 กันยายน 2566 ดร.พรศรี สุทธนารักษ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พร้อมด้วยนายธเนศ มั่นน้อย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 ดร. ก้องเกียรติ กิตติวัฒนาวงศ์ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิจัยทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมในระบบนิเวศทางทะเลและชายฝั่ง และเจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 6 พร้อมกันนี้ มีดร.จตุรงค์ คงแก้ว รองคณบดีฝ่ายบริหารและทรัพยากรบุคคล คณะเทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต เข้าร่วมติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง ในพื้นที่บ้านท่านุ่น ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วทุ่ง จังหวัดพังงา และบริเวณร้านน้องเปรี้ยว หาดบางเนียง อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา ทั้งนี้ โครงการปักไม้ไผ่ดังกล่าว เป็นความร่วมมือของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตภูเก็ต และกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และพบว่ามีความสำเร็จเป็นอย่างดีที่สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งและเกิดการสะสมของตะกอนประมาณ 80 เซ็นติเมตร

Beachlover

September 5, 2023

รากโกงกางเทียม (อีกรอบ) ณ หาดนางทอง

เมื่อปลายปีก่อน Beach Lover ได้เคยพาสำรวจโครงการรากโกงกางเทียมเพื่อป้องกันชายฝั่ง ณ หาดนางทอง เขาหลักไปแล้ว ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ระเนระนาด-หาดนางทอง-เขาหลัก/ ครั้งนี้ขอพาชมซากที่ยังหลงเหลืออยู่ของรากโกงกางเทียมกันอีกซักรอบในช่วงต้นฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ สภาพโดยรวมแทบจะไม่เหลือรากโกงกางเทียมที่ทำจากยางให้เห็นแล้ว เกือบทั้งหมดหลุดออกจากฐาน มีบางส่วนจมอยู่ใต้ทราย นอกจากนั้นยังพบว่าตัวฐานที่เป็นเสาสำหรับยึดรากโกงกางเทียมเอนไปมาและไม่ได้อยู่ในตำแหน่งที่ติดตั้งไว้เดิม นอกจากนั้นยังพบว่ามีรอยแตกร้าวในแนวดิ่งเหมือนกันทุกต้น คาดว่าเกิดจากแรงปะทะของคลื่น ชม VDO clip การเดินสำรวจได้ที่ https://youtu.be/9zTpKvD0q88 บริเวณโดยรอบยังพบซากของฐานและรากโกงกางเทียมกระจายเป็นหย่อมๆ คาดว่าอาจถูกคลื่นซัดหลุดออกจากตำแหน่งติดตั้ง และมีการเก็บซากมากองไว้รวมกัน นอกจากนั้นยังพบว่า พื้นที่รอบๆโครงสร้างนี้ยังคงต้องใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบเดิมเหมือนก่อนที่จะมีโครงการนี้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งกันต่อไป ภาพทั้งหมดถ่ายเมื่อ 23 พ.ค.2566

Beachlover

May 30, 2023

ระเนระนาด @ หาดนางทอง เขาหลัก

หาดนางทอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสวยงามแปลกตาจนถูกยกให้เป็นอันซีนพังงา เนื่องจากชายหาดแห่งนี้มีลักษณะพิเศษแตกต่างไปจากชายหาดอื่น ๆ เนื่องจากผืนทรายบนชายหาดนางทองเป็นสีดำละเอียด ที่พบไม่กี่แห่งในโลก ยามเมื่อน้ำทะเลลดลงต่ำสุดก็จะมองเห็นหาดทรายสีดำเป็นบริเวณกว้าง ทำให้เป็นที่กล่าวขานถึงความแปลกของหาดทรายที่นี่และขนานนามว่า “หาดทรายสีดำ” สำหรับทรายสีดำดังกล่าว คือ “แร่ดีบุก” ที่มีอยู่มากในบริเวณนี้ยาวไปตลอดแนวชายหาดของอำเภอตะกั่วป่า ซึ่งในอดีตอำเภอแห่งนี้ เคยเป็นแหล่งอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ริมชายฝั่งสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย ดังปรากฏอยู่ในคำขวัญของจังหวัดพังงาว่า “แร่หมื่นล้าน” ในอดีตหาดทรายแห่งนี้จะมีคลื่นซัดแร่ดีบุกขึ้นมาชาวบ้านจะตักมากองรวมกันก่อนจะนำใส่รางและล้างน้ำเพื่อแยกเอาทรายทะเลที่มีน้ำหนักเบากว่าออกให้เหลือเพียงแต่สีดำ ก่อนจะนำไปแยกเอาแร่ดีบุกออกมาขายอีกที หลังจากหมดยุคเหมืองแร่ จังหวัดพังงาก็เริ่มเข้าสู่ยุคท่องเที่ยว แต่คลื่นทะเลตามธรรมชาติก็ยังคงซัดเอาแร่ขึ้นบนชายหาดดังกล่าวอยู่เป็นระยะ และดึงกลับลงไปในทะเล สลับกันไปมาอยู่เรื่อย ๆ จนกลายเป็นหาดทรายสีดำ อันซีนพังงากับธรรมชาติแปลกตาที่มีเพียงจุดเดียว (https://mgronline.com/travel/detail/9630000104903) Beach Lover ได้เคยพาสำรวจหาดนางทองมาแล้วในอดีตช่วงพายุโนอึลซัดเข้าชายฝั่งอันดามันเมื่อ กันยายน 2563 ในเวลานั้น หาดนางทองและบริเวณใกล้เคียงมีลักษณะดังภาพ วันนี้ (24 พ.ย.2565) Beach Lover ได้พาสำรวจชายหาดด้านหลังประภาคารเขาหลัก หนึ่งในสถานที่ดึงดูดผู้คนมายังชายหาดนางทอง โดยเดินเท้าสำรวจชายหาดด้านหน้ารีสอร์ทแห่งหนึ่งระยะทางประมาณ 100 เมตร (คลิปเดินสำรวจ https://www.youtube.com/watch?v=Rugopmws9fg) พบสภาพชายหาดที่ประกอบด้วยกระสอบทรายเล็กและใหญ่ พร้อมโครงสร้างรากไม้ป่าชายเลนเทียมที่ทำจากไม้ประกอบพลาสติกและยางพารา (https://waa.inter.nstda.or.th/stks/pub/2020/20200612-17v1-C-Aoss.pdf) คาดว่าได้นำมาวางไว้เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่จากสภาพที่เห็นพบว่าถูกคลื่นซัดจนพังระเนระนาด พื้นที่ด้านหน้ารีสอร์ทที่มีการวางโครงสร้างป้องกันแห่งนี้ เป็นชายหาดส่วนที่ติดต่อกับอีกรีสอร์ทหนึ่งทางทิศใต้ที่มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่ง (Vertical […]

Beachlover

November 27, 2022

สำรวจชนิดพันธุ์พืชที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูชายหาดพังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ระบบหาดบางสัก (T7D192) ระบบหาดคึกคัก (T7D195) ระบบหาดหาดท้ายเหมือง (T7E201) จ.พังงา เพื่อสำรวจชนิดพันธุ์พืชชายหาดที่มีความเหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาด โดยการพิจารณาจากคุณสมบัติในการยึดเกาะเม็ดทราย การทนต่อสภาพแวดล้อม การกระจายตัวบริเวณชายหาด การทนต่อแรงลมทะเล การทนต่อความเค็มของน้ำทะเล ผลการสำรวจพบพืชชายหาดที่กระจายตัวตั้งแต่แนวชายฝั่งลึกเข้าไป ๓๐ เมตร ได้แก่ ผักบุ้งทะเล ถั่วผีทะเล ถั่วคล้าทะเล หญ้าไหวทาม เบญจมาศน้ำเค็ม เข็มเลื้อย เตยทะเล รักทะเล จิกทะเล เป็นต้น ส่วนพืชชายหาดที่คาดว่ามีศักยภาพที่เหมาะสมต่อการฟื้นฟูเสถียรภาพชายหาดมี ๔ ชนิด ได้แก่ ผักบุ้งทะเล (Ipomoea pes-caprae) หญ้าไหวทาม (Ischaemum muticum) ถั่วผีทะเล (Vigna marina) ถั่วคล้าทะเล (Canavalia maritima)

Beachlover

August 11, 2022

ตรวจสอบชายหาดคึกคัก พบถูกคลื่นกัดเซาะประชาชนเดือดร้อน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) พร้อมด้วย ทสจ.พังงา เจ้าท่าภูมิภาคสาขาพังงา ตรวจสอบสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ ต.ตึกคัก อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา พบว่ามีลมพายุพัดคลื่นทะเลกระทบชายฝั่งอย่างรุนแรง และเกิดความเสียหายต่อชายฝั่งจริง เนื่องจากช่วงนี้ได้มีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามันและอ่าวไทย ประกอบกับในบริเวณชายหาดคึกคักมีการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในลักษณะกำแพงกันคลื่นริมชายหาดแบบตั้งตรง โดยเจ้าของที่ดินริมชายหาดบางราย ทำให้ส่งผลกับพื้นที่ชายฝั่งถัดไปถูกกัดเซาะเสียหายรุนแรงมากขึ้น ทั้งนี้ จังหวัดพังงาและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องได้ติดตาม ดูแล เฝ้าระวังพื้นที่ชายฝั่งบริเวณดังกล่าวอยู่ตลอด โดยที่ผ่านมามีการดำเนินการเสนอโครงการฟื้นฟูชายหาดคึกคักแบบบูรณาการ (จัดสร้างโดมทะเลและเสริมทรายชายหาด) ต่อ ครม.สัญจร จ.ภูเก็ต ซึ่ง ครม.ได้มีมติเห็นชอบเมื่อวันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ แต่ขาดงบประมาณในการดำเนินการ และวันที่ ๑๔ กันยายน ๒๕๖๔ จังหวัดพังงาได้เห็นชอบให้กรมเจ้าท่า ศึกษาวางแผนแม่บทและสำรวจออกแบบเสริมทรายป้องกันการกัดเซาะสนับสนุนการท่องเที่ยวบริเวณเขาหลักถึงแหลมปะการัง อ.ตะกั่วป่า จ.พังงา ซึ่งกรมเจ้าท่าได้รับการอนุมัติให้ดำเนินโครงการตลอดจนได้งบประมาณเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการ ส่วนการแก้ไขระยะสั้น เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๖๕ […]

Beachlover

June 1, 2022

เกาะคอเขา กับแผ่นดินที่หายไป

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของเกาะคอเขา จ.พังงา ไปแล้วหลายครั้ง ติดตามบางส่วนได้จาก https://beachlover.net/jetty-ตัวแรกแห่งอันดามัน-กำล/ วันนี้ Beach Lover ได้มีโอกาสสำรวจภาคสนามพื้นที่แห่งนี้อีกครั้ง เพื่อติดตามสถานการณ์การกัดเซาะพื้นที่เกาะคอเขาบริเวณปากคลองบ้านน้ำเค็ม พบว่าพื้นที่ปากคลองทางทิศเหนือ ที่เกิดการกัดเซาะแบบผิดธรรมชาติ คือเกิดการกัดเซาะแบบเว้าแหว่งตามที่ได้อธิบายไปแล้วตามโพส https://beachlover.net/jetty-ตัวแรกแห่งอันดามัน-กำล/ มีโครงสร้างป้องกันแบบกำแพงกันคลื่น ซึ่งทางรีสอร์ทได้ดำเนินการก่อสร้างเอง เพราะต้องการปกป้องถนนซึ่งเป็นเพียงเส้นเดียวที่วิ่งเข้าสู่รีสอร์ทแห่งนี้ ส่วนของที่ดินด้านข้างของรีสอร์ท หรือด้านหน้าถนนเส้นนี้ ที่จมน้ำหายไปจำนวนหลายไร่ ทางรีสอร์ทยังมิได้ดำเนินการใดๆ เพียงแต่ขอป้องกันถนนไว้ก่อนเพื่อสัญจรเข้าออก และได้นำวัสดุจำพวกท่อซีเมนต์เทปูนมาวางเพื่อป้องกันแนวรั้วของโรงแรมเอาไว้ ด้านหน้าโรงแรมส่วนที่ใกล้มาทางปากคลอง พบความพยายามในการป้องกันแก้ไขปัญหาโดยการนำท่อซีเมนต์และแท่งคอนกรีตสี่เหลี่ยมลูกบาศก์มาวางเพื่อป้องกันคลื่น และพบว่าไม่มีชายหาดหลงเหลืออยู่เลย ด้านหน้ารีสอร์ทส่วนถัดขึ้นไปทางทิศเหนือ พบชายหาดและโครงสร้างบางส่วนของห้องพักที่วางอยู่บนชายหาด โดยพบร่องรอยการกัดเซาะอยู่ ด้านใต้โครงสร้าง ถัดไปทางทิศเหนือของห้องพัก พบโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรีสอร์ทที่ถูกฝังอยู่ใต้ทรายจำนวนหนึ่ง ทางผู้ดูแลได้แจ้งว่า ได้วางโครงสร้างแบบนี้ไว้เกือบตลอดทั้งแนว จะโผล่พ้นน้ำมาให้เห็นในช่วงมรสุมเท่านั้น ถัดจากรีสอร์ทขึ้นไปทางเหนือในที่ดินส่วนถัดไป พบการกัดเซาะเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ชายหาดยังคงสมบูรณ์อยู่มากด้วยพืชและป่าชายหาด

Beachlover

May 9, 2022

แหลมหาด “The Must” แห่งเกาะยาวใหญ่

แหลมหาด เป็นหนึ่งในสถานที่เที่ยวชื่อดังอันดับต้น ของเกาะยาวใหญ่ จ.พังงา เป็นปลายแหลมเล็กๆอยู่ระหว่างเกาะยาวใหญ่และเกาะยาวน้อย เมื่อน้ำลงจะมีชายหาดทอดตัวยาวเป็นกิโลเมตร หาดทรายขาวละเอียด น้ำใส เป็น หนึ่งในสถานที่ถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง The Mechanic Resurrection 2 ทำให้ทุกคนที่มาเยือนเกาะยาวจะต้องไม่พลาดที่จะเลือกเล่นน้ำทะเลที่แหลมหาด (https://siamrath.co.th/n/181420) Beach Lover พาสำรวจแหลมหาด หรือ Sandspit (https://en.wikipedia.org/wiki/Spit_(landform)) สัณฐานชายฝั่งที่สวยงามแปลกตา แห่งเดียวทางทิศเหนือของเกาะยาวใหญ่ พบหาดทรายขาวละเอียด ฉากหลังของแหลมหาดคือเกาะยาวน้อย มีต้นมะพร้าวประปรายก่อนเดินข้ามไปยังปลายแหลมที่ยื่นยาวออกไปหลายร้อยเมตรทีเดียว แม้บนหาดจะเป็นทราย แต่ลึกลงไปห่างฝั่งไม่เกินระยะ 5-10 เมตรนั้นมีลักษณะเป็นทรายบนโคลน ทั้งสองฝั่งของปลายแหลมหาด พื้นที่ชายหาดรวมถึงพื้นที่บนเกาะยาวใหญ่ยังคงความเป็นธรรมชาติอยู่มาก และยังไม่ถูกรบกวนจากการพัฒนาขนาดใหญ่และโครงสร้างทางวิศวกรรมมากนัก พบว่าเกือบทุกชายหาดยังคงความสมบูรณ์สวยงามไว้ได้อย่างลงตัวกับธรรมชาติ … หวังว่าคนบนเกาะยาวใหญ่จะยังคงรักษาเอกลักษณ์นี้ไว้ได้อย่างยาวนาน เพื่อรุ่นลูกหลานจะได้มีโอกาสเสพความเป็นธรรมชาตินี้สืบไป

Beachlover

April 8, 2022

เกาะยาวใหญ่ก็มีกำแพงกันคลื่นนะ!

เกาะยาวใหญ่เป็นส่วนหนึ่งของหมู่เกาะยาว ที่แบ่งออกเป็น 2 เกาะ คือ เกาะยาวน้อย และเกาะยาวใหญ่ ตั้งอยู่ในอ่าวพังงา ติดทะเลอันดามัน ล้อมรอบไปด้วย 3 จังหวัด ภูเก็ต-พังงา-กระบี่ มีทัศนียภาพสวยงาม ทะเลสีฟ้า บรรยากาศดี เงียบสงบ เหมาะแก่การไปพักผ่อน เพราะมีความเป็นส่วนตัว โดยทั้งสองเกาะมีที่พักหลายแห่งบนเกาะ สำหรับเกาะยาวใหญ่ มีทั้งรีสอร์ทและโฮมสเตย์ของชาวบ้าน มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจหลายที่ อาทิ พายเรือคายัคชมป่าโกงกาง 2,000 ไร่, เดินเล่นที่แหลมหาด ดูปูมดแดง, อุดหนุนเครื่องจักสานของชาวบ้าน, กินขนมบ้าบิ่น, ถ่ายรูปกับกุ้งมังกร 7 สี เป็นต้น (https://www.checkinchill.com) Beach Lover ได้เคยพาไปสำรวจชายหาดบนเกาะยาวน้อยแล้วเมื่อ เมษายน 2564 ติดตามได้จาก https://beachlover.net/พาชมชายหาด-เกาะยาวน้อย/ ครั้งนี้ Beach Lover ขอพาชมชายหาดบริเวณ หมู่ 4 ตำบลพรุใน บนฝั่งตะวันออกของเกาะยาวใหญ่ ซึ่งเป็นเพียงไม่กี่หาดบนเกาะยาวใหญ่ที่มีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบกำแพงกันคลื่น กำแพงกันคลื่นที่พบบนหาดแห่งนี้ เป็นแบบดูราโฮลด์ (https://commercial.unilock.com/products/a-z-products/all/durahold/?region=1) […]

Beachlover

April 6, 2022

เชิญประชุมรับฟังความคิดเห็น เกาะยาวน้อย พังงา [9มี.ค.2565]

ที่มา: กรมโยธาธิการและผังเมือง องค์การบริหารส่วนตําบลเกาะยาวน้อย จึงได้มีหนังสือ ลงวันที่ 21 เมษายน 2564 ถึง อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง ขอความอนุเคราะห์ศึกษาแก้ไขปัญหาน้ําทะเลกัดเซาะชายฝั่ง และขอรับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ตําบลเกาะยาวน้อย อําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา บริเวณชายฝั่งทะเลหาดป่าทราย หมู่ที่ 5 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้านแหลมไทร หมู่ที่ 5 พื้นที่ชายฝั่งทะเลบ้าน ท่าเขา หมู่ที่ 4 และชายฝั่งทะเลหาดบ้านอันเป้า หมู่ที่ 7 ตําบลเกาะยาวน้อย อําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา พร้อมขอรับ การสนับสนุนงบประมาณในคราวเดียวกัน สําหรับออกแบบและก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเลบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ดังกล่าว เพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งและแก้ไขปัญหาความเดือนร้อนที่อาจกระทบต่อชุมชนได้ โดยในการนี้ องค์การบริหารส่วนตําบลเกาะยาวน้อยได้ยืนยันความพร้อมของพื้นที่ว่าสามารถดําเนินการศึกษาปัญหาน้ําทะเลกัดเซาะชายฝั่งพร้อมก่อสร้างโครงการได้ และยินดีรับมอบโครงการเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จเพื่อใช้งานและบํารุงรักษา ต่อไป กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงดำเนินโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ระยะที่ 3 พื้นที่ชายหาดป่าทรายและหาดแหลมไทร หมู่ที่ 5 ตําบลเกาะยาวน้อย อําเภอเกาะยาว จังหวัดพังงา วัตถุประสงค์ของโครงการ (1) เพื่อสํารวจออกแบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลตามหลักวิชาการให้มีความเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และสอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในพื้นที่ (2) เพื่อรับฟังข้อคิดเห็น […]

Beachlover

March 4, 2022
1 2 4