ฝนถล่มเกาะภูเก็ต ส่งผลต่อชายหาดอย่างไร

ฺBeach Lover ชวนมองสถานการณ์ฝนถล่มเกาะภูเก็ตในช่วงวันที่ 29-30 มิถุนายน 2567 ตามข่าวบางส่วนดังนี้ น้ำท่วมภูเก็ตเสียหายหนักทั้ง 3 อำเภอ: น้ำท่วมขังถนนหลายสาย รถเล็กสัญจรลำบาก บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย มีการอพยพประชาชนในบางพื้นที่ (มติชนออนไลน์, https://www.matichon.co.th/region/news_4656712) น้ำท่วมภูเก็ตอ่วม ทำเครื่องบินลงจอดไม่ได้ รวม 14 เที่ยวบิน จนท.เร่งลงพื้นที่ช่วยเหลือ: น้ำท่วมขังบริเวณทางวิ่งของสนามบินนานาชาติภูเก็ต ทำให้ต้องยกเลิกและเปลี่ยนเส้นทางเที่ยวบินหลายเที่ยว (มติชนออนไลน์,https://www.matichon.co.th/region/news_4655815) “น้ำท่วม” ภูเก็ตทำเครื่องบินลงจอดไม่ได้ 14 เที่ยวบิน: สนามบินภูเก็ตต้องปิดทำการชั่วคราวเนื่องจากน้ำท่วม ส่งผลกระทบต่อผู้โดยสารจำนวนมาก (ฐานเศรษฐกิจ, https://www.thansettakij.com/business/tourism/600512) Beach Lover ขอชวนเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของฝนตกหนักและน้ำท่วมบนแผ่นดิน กับการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายฝั่งบรเวณท้ายน้ำดังนี้ ฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำ (Upstream) เช่น บนภูเขา ในแผ่นดิน สามารถส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงชายหาดในพื้นที่ท้ายน้ำ(Downstream) เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่เชื่อมโยงกันดังนี้ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นทันทีที่น้ำจำนวนนี้ไหลบ่าล้นพื้นที่ชายฝั่ง นั่นคือทรายบนชายหาดอาจถูกน้ำฝนเซาะเป็นร่องตามทางน้ำและไหลออกไปนอกจากฝั่งอย่างรวดเร็วความความแรงของน้ำและแรงโน้มถ่วงของโลก ดังที่เกิดขึ้นแล้วหลายครั้งที่ชายหาดพัทยาตามโพส https://beachlover.net/อีกแล้ว-ฝนถล่มหาดพัทยา/ และ https://beachlover.net/ฝนตกหนักที่พัทยาทำหาดพ/ และ https://beachlover.net/หาดพังรับฝนหนัก-อีกแล้ว/ และโพสเก่าๆในเวบนี้ ค้นหาได้จาก search icon มุมขวาบนของเวบ เมื่อผ่านช่วงเวลาฝนตกหนักและตะกอนบนแผ่นดินไหลลงทะเลเป็นจำนวนมากไประยะหนึ่ง ในบางพื้นที่อาจส่งผลกระทบต่อเนื่องดังต่อไปนี้ […]

Beachlover

July 1, 2024

ตรวจสอบน้ำเสียลงทะเล หาดสุรินทร์

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีการปล่อยน้ำเสียลงทะเล บริเวณชายหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต วันที่ 10 ตุลาคม 2566 สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 10 โดยศูนย์อนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเลจังหวัดภูเก็ต ลงพื้นที่ตรวจสอบกรณีการปล่อยน้ำเสียลงทะเล บริเวณชายหาดสุรินทร์ ตำบลเชิงทะเล อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ตามที่เป็นข่าวในสื่อออนไลน์เพจเฟสบุ๊ค(ขยะมรสุม) เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2566 นั้น เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงและได้สอบถามข้อมูลจากชาวบ้านในพื้นที่ ทราบว่าสาเหตุเกิดจากหัวสูบน้ำในระบบบ่อบำบัดน้ำเสียขององค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเลได้ตกลงไปถึงก้นบ่อบำบัดจึงทำให้ดูดตะกอนของเสียที่อยู่ก้นบ่อขึ้นมา ทั้งนี้ได้ติดต่อประสานงานกับเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลเชิงทะเล เพื่อทราบและได้เข้ามาดำเนินการแก้ไขระบบหัวสูบน้ำในบ่อบำบัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Beachlover

October 10, 2023

สำรวจข้อมูลความลึกท้องน้ำ พื้นที่หาดบ้านด่านหยิด ถลาง จ.ภูเก็ต

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 25 เมษายน 2566 เจ้าหน้าที่กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนธรณีวิทยาชายฝั่งลงพื้นที่สำรวจข้อมูลความลึกท้องน้ำ โดยใช้เครื่องมือหยั่งความลึกท้องน้ำ (Echo Sounder) พื้นที่หาดบ้านด่านหยิด ต.ไม้ขาว อ.ถลาง จ.ภูเก็ต พื้นที่สำรวจนี้อยู่ในระบบหาดท่าฉัตรไชย ( T8B246 ) โดยมีเป้าหมายในการสำรวจรวมทั้งหมด 27 แนว โดยมีแนวสำรวจแบบขนานกับชายฝั่ง 6 แนว แนวตั้งฉากกับชายฝั่ง 20 แนว และแนวทแยง1 แนว มีระยะห่างระหว่างแนวสำรวจ 50 ม. คิดเป็นระยะทางในการสำรวจทั้งสิ้น 12.83 กม. ปัจจุบันสำรวจเรียบร้อยแล้วทั้ง 27 แนว ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่า พื้นที่สำรวจมีความลึกท้องน้ำประมาณ -0.03 ไปจนถึง -4.22 เมตร และมีความลาดชันประมาณ 0 – 17 องศา ทั้งนี้ ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจครั้งนี้จะนำไปเป็นฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์และประเมินความเปราะบางของพื้นที่ชายฝั่งต่อการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเลจังหวัดภูเก็ตฝั่งตะวันออกต่อไป

Beachlover

April 25, 2023

ความลาดชันชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจความลาดชันชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่าเป็นอย่างไร ความลาดชันชายหาดเป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจากการเกิดน้ำท่วม และความรวดเร็วในการกัดเซาะของแนวชายฝั่ง เพราะพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีความลาดชันสูง แนวชายฝั่งจะกัดเซาะช้ากว่าบริเวณชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ ตามกฎของ Brunn  แม้ว่ากฎของ Brunn จะใช้ไม่ได้กับพื้นดินทุกประเภท แต่มีประโยชน์ในการให้ข้อมูลเชิงลึกว่าพื้นที่ชายฝั่งทะเลที่มีที่ราบลุ่ม จะมีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมและการเปลี่ยนแปลงสภาพชายฝั่ง โดยทั่วไปพื้นที่ที่มีความลาดชันต่ำมีโอกาสที่คลื่นขนาดใหญ่สามารถซัดเข้าโจมตีพื้นที่ด้านในฝั่งได้มาก โดยเฉพาะหากเกิดคลื่นพายุรุนแรงในฤดูมรสุม ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำท่วมพื้นที่หลังหาด สร้างความเสียหายต่อที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ตลอดจนพัดพาเอาตะกอนออกสู่ทะเลได้มาก การสำรวจข้อมูลความลาดชันชายหาดในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ เป็นการสำรวจโดยใช้เครื่องวัดความลาดชันแบบพกพา ณ ตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) พบว่าค่าเฉลี่ย ค่าสูงสุด และค่าต่ำสุด ของความลาดชันชายหาดเป็น 6.33 , 13.70 และ 2.20 องศา ตามลำดับ จากการศึกษาที่ผ่านมาสำหรับชายหาดในประเทศไทยพบว่ามีความลาดชันชายหาดเฉลี่ยเท่ากับ 6.60 องศา (Ritphring, et al.,2018) เมื่อนำข้อมูลความลาดชันชายหาด มาพล็อตกราฟแจกแจงความถี่ พบว่า ความลาดชันชายหาดช่วง 5-6 องศา เป็นช่วงที่มีความถี่สูงสุด จำนวน 13 […]

Beachlover

August 23, 2022

กำแพงริมทะเลเกาะภูเก็ต ยังสบายดี?

ตามที่ Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายฝั่ง รวมถึงโครงสร้างป้องกัน บริเวณชายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตไปแล้วตามโพสก่อนหน้านี้ ครั้งนี้ขอพาสำรวจโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ชำรุดเสียหายกันบ้าง ทั้งนี้เพื่อประเมินความสามารถในการป้องกันพื้นที่หลังโครงสร้าง สภาพและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อโครงสร้าง และผลที่กระทบที่เกิดขึ้นกับพื้นที่ท้ายน้ำ จากการสอบถามประชาชนในพื้นที่และการลงสำรวจภาคสนาม พบว่าโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยส่วนมากยังคงอยู่ในสภาพดี สามารถป้องกันการกัดเซาะพื้นที่หลังโครงสร้างได้ และไม่พบร่องรอยผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายน้ำ แต่พบโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่เกิดการชำรุดเสียหายจำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่บริเวณริมถนนกมลาป่าตอง 1 ตำแหน่ง และบริเวณหาดราไวย์ 3 ตำแหน่ง ดังนี้ (1) กำแพงดูราโฮลด์ริมถนนกมลาป่าตอง ความยาว 70 เมตร พบว่าก้อนดูราโฮลด์ของกำแพงชั้นบนสุดเกิดการเลื่อนหลุดออกจากกำแพงและหล่นลงมาด้านหน้ากำแพง และก้อนดูราโฮลด์บางก้อนแตกหักเสียหาย (2) กำแพงตั้งตรงบริเวณทิศเหนือของหาดราไวย์ 1 ความยาว 130 เมตร พบการกัดเซาะด้านหลังกำแพงส่งผลให้เกิดโพรงหลังกำแพงและกำแพงเกิดการแตกหักและเอียง นอกจากนี้ยังพบว่ามีพื้นที่ของหาดทรายเหลือน้อยมากในบริเวณนี้เนื่องจากน้ำขึ้นถึงฐานกำแพง (3) กำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งและกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณทิศใต้ของหาดราไวย์ 2 ความยาว 400 เมตร พบว่ากำแพงหินทิ้งด้านหน้ากำแพงกันคลื่น มีบางส่วนจมอยู่ใต้น้ำ และกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงมีร่องรอยการแตกหัก นอกจากนี้บริเวณด้านหน้าโครงสร้างป้องกันชายฝั่งไม่มีชายหาดและไม่สามารถมองเห็นชายหาดด้านล่างได้ (4) กำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรงบริเวณหาดราไวย์ 3 ความยาว 150 เมตร พบว่าสภาพกำแพงชำรุดเสียหาย แผ่นคอนกรีตแตกร้าว รวมถึงแนวกำแพงแตกและทรุดตัวลง 

Beachlover

August 22, 2022

พาสำรวจตะกอนชายหาดบนเกาะภูเก็ต

Beach Lover ได้พาสำรวจสภาพชายหาด รวมถึงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง บริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ติดตามได้จากโพสในหมวดสถานการณ์ชายฝั่ง ครั้งนี้ขอพาสำรวจตะกอนทรายบนชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่งกันบ้าง ว่ามีคุณสมบัติเป็นอย่างไร ข้อมูลคุณสมบัติของตะกอน ได้จากการนำตัวอย่างทรายจากตำแหน่งสำรวจบริเวณชายหาดส่วนหน้า (Foreshore) จำนวน 1.5 กิโลกรัม มาทำการอบแห้งเป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำไปร่อนผ่านตะแกรงเพื่อหาขนาดกลางของตะกอน (D50) โดยวิธี Sieve analysis ในห้องปฏิบัติการปฐพีกลศาสตร์ ตามมาตรฐาน ASTM จากการนำทรายไปร่อนผ่านตะแกรงจะได้ข้อมูลน้ำหนักทรายคงค้างบนตะแกรงร่อนขนาดต่างๆ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และพล็อตกราฟความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเม็ดทรายซึ่งเป็น Semi-logarithmic scale และเปอร์เซ็นต์โดยน้ำหนักของเม็ดทรายที่มีขนาดเล็กกว่าจะได้เป็นกราฟการกระจายของขนาดเม็ดทรายของแต่ละตำแหน่งสำรวจ แล้วนำมาหาค่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจ จากการสำรวจภาคสนามในพื้นที่ศึกษา 47 ตำแหน่งสำรวจ บริเวณที่เป็นหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธี Sieve analysis พบว่า ขนาดกลางของตะกอนมีการกระจายตัวดัง Histrogram ด้านล่าง พบว่าขนาดกลางของตะกอน ณ ตำแหน่งสำรวจจำนวน 47 ตำแหน่ง มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 0.37 มิลลิเมตร มีค่าขนาดกลางของตะกอนใหญ่ที่สุด 2.90 มิลลิเมตร และค่าขนาดกลางของตะกอนเล็กที่สุด 0.13 มิลลิเมตร โดยพบว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนในพื้นที่ศึกษามีขนาดใหญ่กว่าค่าเฉลี่ยของขนาดกลางของตะกอนชายหาดในประเทศไทยซึ่งมีขนาด 0.33 มิลลิเมตร […]

Beachlover

August 19, 2022

โครงสร้างป้องกันชายฝั่งเกาะภูเก็ต อยู่ตรงไหนกันบ้าง

จากโพสครั้งก่อน Beach Lover ได้พาชมความสวยงาม (และไม่สวยงาม) ของชายหาดบริเวณเกาะภูเก็ตฝั่งตะวันตกไปแล้ว ครั้งนี้ขอพาชมโครงสร้างป้องกันชายฝั่งในพื้นที่นี้กันบ้าง โครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่มีใช้กันอยู่โดยทั่วไปในประเทศไทยนั้น ประกอบด้วย 4 รูปแบบหลักๆดังนี้ กำแพงกันคลื่น (https://beachlover.net/seawall/) รอดักทราย (https://beachlover.net/groin/) เขื่อนกันคลื่น (https://beachlover.net/breakwater/) เติทรายชายหาด (https://beachlover.net/เติมทรายชายหาด/) โดยทั้ง 4 รูปแบบนี้อาจเลือกใช้วัสดุที่แตกต่างกันไปเช่น หินทิ้ง หินเรียง เสาปูน เสาไม้ ถุงทราย กระชุหิน และอื่นๆ ถ้าหากว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งและมีการวางแนวของโครงสร้างเป็นไปตามทั้ง 4 รูปแบบข้างต้น ล้วนแล้วแต่เป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งทั้งสิ้น นอกจากนี้หากลดระดับความสูงของสันโครงสร้างลงให้จมอยู่ใต้น้ำ แต่ยังมีวัตถุประสงค์และการวางแนวเป็นไปตามรูปแบบของโครงสร้างป้องกัน ก็ถือว่าเป็นโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเช่นกัน เช่น เขื่อนกันคลื่นใต้น้ำ เป็นต้น จากการสำรวจภาคสนามบริเวณหาดทรายฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต พบว่ามีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งจำนวน 35 ตำแหน่ง  โดยโครงสร้างที่ทำการสำรวจภาคสนามมีความยาวรวมทั้งหมด 6,895.4 เมตร และพบว่าโครงสร้างโดยส่วนมากเป็นกำแพงแบบตั้งตรง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อกันดินและถูกสร้างประชิดชายฝั่งจึงทำหน้าที่เสมือนกำแพงกันคลื่นในช่วงเวลาน้ำขึ้นหรือช่วงฤดูมรสุม ส่งผลให้การจำแนกความแตกต่างระหว่างกำแพงกันคลื่นและกำแพงกันดินนั้นทำได้ยาก รูปถ่ายด้านล่างเป็นเพียงตัวอย่างบางส่วนของโครงสร้างทั้งหมดเท่านั้น

Beachlover

August 18, 2022

พาชม ทุกชายหาด ฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต

จังหวัดภูเก็ต มีรูปร่างเป็นเกาะเรียวยาวจากเหนือไปใต้ มีเกาะบริวารน้อยใหญ่ล้อมรอบพื้นที่ส่วนใหญ่ประมาณ ร้อยละ 70 เป็นที่ราบสูงหรือภูเขา มีเทือกเขาทอดยาวในแนวเหนือใต้ ยอดเขาที่สูงที่สุดคือ ยอดเขาไม้เท้าสิบสอง สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 529 เมตร เป็นแนวกำบังลมและฝน ทำให้ภูเก็ตปลอดภัยจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ และพื้นที่ประมาณร้อยละ 30 เป็นที่ราบแถบเชิงเขาและชายฝั่งทะเลอยู่บริเวณตอนกลางและตะวันออกของเกาะ โดยพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกมีสภาพเป็นหาดโคลนและป่าชายเลน ส่วนชายฝั่งทะเลด้านตะวันตกเป็นภูเขาและหาดทราย  มีความยาวชายฝั่งรอบเกาะภูเก็ตรวมทั้งสิ้น 202.83 กิโลเมตร โดยชายหาดฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ตที่มีมิติการใช้ประโยชน์เพื่อการท่องเที่ยวสูงกว่าฝั่งตะวันออก มีความยาวประมาณ 81.14 กิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 40.00 ของความยาวชายหาดรอบเกาะภูเก็ต Beach Lover ขอพาชมภาพ Snapshot ของตำแหน่งชายหาดทั้ง 47 ตำแหน่ง ใน 33 ชายหาด ตลอดความยาวกว่า 80 กิโลเมตรทางฝั่งตะวันตกของเกาะภูเก็ต ที่ได้ทำการสำรวจหลังการเปิดประเทศเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวหลังจากสถานการณ์ COVID-19 ได้ทุเลาเบาบางลง โดยทั้ง 47 ตำแหน่งใน 33 ชายหาดนี้เป็นหาดทรายทั้งหมด มีระยะทางรวมกัน (เฉพาะส่วนที่เป็นทราย) ประมาณ 30 กว่ากิโลเมตร บางตำแหน่งสามารถเข้าถึงได้โดยทางสาธารณะ ส่วนบางตำแหน่งต้องผ่านพื้นที่เอกชน จึงจะเข้าถึงชายหาดได้ รวมถึงบางตำแหน่งต้องเดินผ่านป่าและซอกหินจึงจะได้พบความงดงามของชายหาด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลช่วยในการตัดสินใจเพื่อการท่องเที่ยว และเพื่องานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง

Beachlover

August 15, 2022

สำรวจทะเลภูเก็ต เห็นแล้วชื่นใจ น้ำใส ไร้ขยะ [23เม.ย.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. ทะเลอันดามันตอนบน เก็บข้อมูลภาพถ่ายสภาพชายหาดหลังจากการประกาศห้ามกิจกรรมบริเวณชายฝั่ง เนื่องจากโควิค-๑๙ โดยการใช้อากาศยานไร้คนขับ (Drone) ถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลสำหรับเปรียบเทียบในพื้นที่เดียวกันกับช่วงเวลาปกติที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรชายหาดและทะเล เริ่มสำรวจตั้งแต่เขต อ.เมือง ได้แก่ หาดอ่าวยนต์ อ่าวฉลอง หาดราไวย์ หาดยะนุ้ย หาดกะตะ หาดกะตะน้อย และหาดกะรน เขต อ.กะทู้ หาดป่าตอง และหาดไตรตรัง ผลการสำรวจพบว่าสภาพชายหาดไม่มีผู้คนเข้าไปทำกิจกรรมใดๆ สภาพหาดสะอาด น้ำทะเลใส ไม่พบขยะในทะเลและขยะที่ชายหาดซึ่งเกิดจากกิจกรรมท่องเที่ยว พักผ่อน สันทนาการทางทะเล

Beachlover

April 23, 2020

กำแพงและทางระบายน้ำลงหาดกะรน จ.ภูเก็ต [20ม.ค.2563]

หาดกะรนเป็นชายหาดที่ยาวที่สุดของเกาะภูเก็ต ทอดยาวประมาณ 3.3 กิโลเมตร ในแนวเหนือใต้ กล่าวกันว่าทรายที่หาดนี้ละเอียดนุ่มเท้าที่สุดบนเกาะภูเก็ต และแทบไม่มีเปลือกหอยปะปนเลย ทางทิศเหนือของชายหาดเป็นสวนสาธารณะ ที่จอดรถ ถนนสาธารณะ และโรงแรม พื้นที่ส่วนนี้เองที่ปรากฏให้เห็นถึงโครงสร้างกำแพง ยาวประมาณ 450 เมตร สูงประมาณ 1.2 เมตร ซึ่งไม่แน่ใจว่าเป็นกำแพงกันดินหรือกำแพงกันคลื่น ชาวบ้านแถวนั้นเล่าให้ฟังว่า ช่วงมรสุมที่ระดับน้ำทะเลสูงกว่ายามปกติ คลื่นจะวิ่งจนถึงตัวกำแพงซึ่งอยู่ห่างจากระดับน้ำวันนี้ประมาณ 50 เมตร ปัจจุบันยังไม่พบร่องรอยของผลกระทบที่เกิดจากกำแพงนี้ สุดปลายกำแพงทางทิศเหนือ พบทางระบายน้ำออกสู่ทะเล ไม่แน่ใจว่าเป็นทางระบายน้ำจากลำรางสาธารณะหรือไหลมาจากแหล่งใด แต่มีสีและกลิ่นไม่ดีนัก ทางออกสู่ทะเลได้ตัดให้ชายหาดแยกออกจากกัน สามารถเดินข้ามได้เฉพาะริมทะเลเท่านั้น มีหลายชายหาดที่ทางระบายน้ำลงทะเลส่งผลกระทบต่อทัศนียภาพ การใช้ประโยชน์บนชายหาด ตลอดจนมลพิษที่ถูกปล่อยลงสู่ทะเล เป็นเรื่องน่าคิดว่า เราจะแก้ไขปัญหานี้อย่างไร หรือจะปล่อยให้ไหลลงทะเลตามยถากรรมแบบที่ผ่านมา

Beachlover

January 20, 2020