อ่าวปัตตานีตื้นและอาจจะปิดตาย ?

จากข้อมูลในเพจ ตะโละปาตานี- Teluk Patani :อ่าวปัตตานี ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2567 ที่ได้กล่าวถึงโครงการสะพานข้ามอ่าวปัตตานีโดยเชื่อมระหว่าง เมืองปัตตานี และ แหลมตาชี ตำบลแหลมโพธิ์ เพื่อสร้างโอกาสแนวใหม่ของสังคมเศรษฐกิจ ของจังหวัดปัตตานี และชายแดนใต้ โดยได้มีการสอบถามความเห็นเบื้องต้นของโครงการนี้ภายใต้โจทย์ 1. อ่าวปัตตานีตื้นเขินทุกปี เฉลี่ยปีละ 1 ซม ความลึกเฉลี่ยของอ่าว ประมาณ 1.25 – 2 ซม บริเวณ กลางอ่าวและก้นอ่าว ยกเว้นปากอ่าวตรง ปลายแหลม เฉลี่ย 3- 5 เมตร แต่ขุดลอกทุกปี ๆละ 70-90 ล้านบาท 2. ชาวประมงมีการพึ่งพาอ่าว ด้วยการทำประมงน้อยลง และมีการพึ่งพาอ่าวเชิงท่องเที่ยวมากขึ้น ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา 3. คนตำบลแหลมโพธิ์ มีฐานะยากจน และอัตราดร้อปเอาท์ จากระบบการศึกษาของเด็กนักเรียน ในลำดับต้นๆ ของจังหวัดปัตาานี 4. มีสถานที่ท่องเที่ยว […]

Beachlover

September 13, 2024

เครือข่ายฯกัดเซาะชายฝั่งปัตตานี เรียกร้องให้รัฐบาลเเก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL วันนี้ 29 ตุลาคม 2564 องค์กรนักศึกษา เยาวชน เเละภาคประชาชน ในจังหวัดปัตตานี 23 องค์การ ในนามเครือข่ายประชาชนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน จังหวัดปัตตานี ยื่นหนังสือต่อผู้ว่าราชการจังหวัด เเละตัวเเทนสมาชิกสภาผู้เเทนราษฎร ในจังหวัดปัตตานี ผ่านไปยังนายกรัฐมนตรี โดยมี 8 ข้อเรียกร้องสำคัญ 1. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำโครงการหรือกิจการประเภทกำแพงกันคลื่น กลับเข้าไปเป็นโครงการที่ต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้แก่ประชาชน และเพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนชายฝั่ง 2. ให้กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ระงับการดำเนินการโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่ชายหาดทั่วประเทศไทย ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน เพื่อป้องการทำลายชายหาดด้วยโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของรัฐ และไม่ให้เกิดการใช้งบประมาณอย่างฟุ่มเฟือย ไม่ได้เกิดประโยชน์ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่เป็นการซ้ำเติมเพิ่มปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งให้ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้น 3.รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดการใช้มาตรการชั่วคราว ที่สามารถรื้อถอนได้เมื่อผ่านมรสุมไป อย่างที่ปรากฏชัดเจนในหลายพื้นที่ชายหาดของประเทศไทยว่า การกัดเซาะชายฝั่งในหลายพื้นที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว การใช้มาตรการชั่วคราว ที่เหมาะสมกับสภาพการณ์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางออกที่เหมาะสมเพื่อการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน โดยส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งชั่วคราวในช่วงมรสุม 4. รัฐบาลต้องส่งเสริม และผลักดันให้มีการใช้มาตรการที่เป็นมิตรกับชายหาด เช่น การเติมทราย การกำหนดแนวถอยร่น การรื้อถอนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งที่ไม่จำเป็น และการป้องกันการกัดเซาะตามวิถีภูมิปัญญาดั้งเดิม เพื่อให้ชายฝั่งได้ฟื้นคืนและเกิดความสมดุล […]

Beachlover

October 30, 2021

กรมทะเลร่วมช่วยดูแลพี่น้องชุมชน รอบอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ร่วมคณะ พล.ท เกรียงไกร ศรีรักษ์ แม่ทัพภาคที่ ๔ และคณะทำงานแพทย์หญิงเพชรดาว โต๊ะมีนา ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อพรรคภูมิใจไทย ผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่อ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี เพื่อรับฟังและแก้ไขปัญหาสันดอนทรายที่เกิดขึ้นในอ่าวปัตตานีจากการขุดลอก โดยชาวประมงเสนอให้มีการแก้ไขปัญหาสันดอนทรายด้วยการขนย้ายสันดอนทรายไปทิ้งที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อประโยชน์สาธารณะ และให้ขุดลอกสันทรายที่งอกบริเวณปลายแหลมตาชีเพื่อให้น้ำในอ่าวปัตตานีไหลเวียนได้สะดวก เนื่องจากปัจจุบันน้ำทะเลจากอ่าวไทยไหลเวียนเข้าในอ่าวปัตตานีน้อยลง เพราะปลายแหลมตาชีปิดทางน้ำไว้ รวมทั้งขอสนับสนุนเครื่องมือประมงประเภทอวนลอยกุ้ง ซึ่งแม่ทัพภาคที่ ๔ รับข้อเสนอของชาวประมง โดยจะนำไปประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ร่วมกันแก้ไขปัญหาให้กับชาวประมงรอบอ่าวปัตตานี เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในอ่าวปัตตานีได้อย่างยั่งยืนตลอดไป

Beachlover

September 10, 2021

สำรวจการเปลี่ยนแปลงพื้นที่แนวชายฝั่งช่วงหาดเทพา-แหลมโพธิ์

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจติดตามและเก็บข้อมูลสถานภาพชายฝั่ง บริเวณพื้นที่ท่าเทียบเรือปัตตานี ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดเทพา-แหลมโพธิ์ ผลการสำรวจพบว่า มีลักษณะทางกายภาพชายฝั่งเป็นหาดโคลน พื้นที่แนวชายฝั่งส่วนใหญ่ประกอบด้วยโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ เขื่อนหินทิ้ง ประเภทลาดเอียง ความยาวประมาณ ๔๐๐ เมตร เขื่อนกันทรายและคลื่น ความยาวประมาณ ๑,๒๗๐ เมตร และท่าเรือที่มีลักษณะยืนรุกล้ำลำน้ำไปในทะเล ความยาวประมาณ ๗๕๐ เมตร โดยมีวัตถุประสงค์สำหรับเป็นท่าเทียบเรือประมงใช้สำหรับขนส่งและค้าขายอาหารทะเล พร้อมทั้งท่าเรือแหล่งนี้ยังเป็นแหล่งอุตสาหกรรมประมงที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจของจังหวัดปัตตานี อีกทั้งลักษณะโครงสร้างที่ยืนรุกล้ำลำน้ำไปในทะเลยังช่วยกันคลื่นและทรายมาปิดทับถมปากร่องแม่น้ำปัตตานี ปัจจุบันไม่พบการชำรุดของโครงสร้างดังกล่าว

Beachlover

May 20, 2021

มติเอกฉันท์ชาวบ้านไม่เอา “สันดอนทราย” ในอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/theagandath/ โดย อัลอามีน มะแต และ ดร.อลิสา หะสาเมาะ จากการที่คณะกรรมาธิการการป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย สำนักกรรมาธิการ 3 สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้จัดทำโครงการศึกษาเรื่อง “สำรวจความต้องการสันดอนทราย จากโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานี” โดยลงพื้นที่สำรวจ จัดเก็บข้อมูลและประมวลผลตั้งแต่วันที่ 13 ธ.ค.2563 แล้วประมวลผลเสร็จเมื่อวันที่ 18 ม.ค.2564 นั้น ผลสรุปที่ได้จากโครงการนี้พบว่า ชาวบ้านในชุมชนที่ตอบแบบสอบถามจำนวน 315 คน ประกอบอาชีพประมง 100% ปรากฏว่าทั้งหมด 100% ไม่ต้องการสันดอนทราย โดยต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับผิดชอบด้วยการนำกองทราย ซึ่งเกิดจากวัสดุขุดลอกไปทิ้งนอกอ่าวไทย “สันดอนทราย” มีที่มาที่ไปอย่างไร สำหรับโครงการขุดลอกอ่าวปัตตานีเพื่อแก้ปัญหาการตื่นเขินเกิดขึ้นจาก 2 หน่วยงานคือ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า และ ศอ.บต. เริ่มศึกษาความเป็นไปได้มาตั้งแต่ปี 2558 ต่อมาได้ชงเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (คปต.) ครั้งที่ 1/2560 ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และ […]

Beachlover

January 28, 2021

ตรวจติดตามผลการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ตรวจสอบสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อ่าวปัตตานี ต.ตันหยงลุโละ และ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อนำข้อมูลสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งจัดทำรายละเอียดคำขอโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่หาดโคลน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2020

กรมเจ้าท่า ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่อ่าวปัตตานี หลังขุดลอกอ่าวแล้วเสร็จ [25ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/กรมเจ้าท่า วันเสาร์ที่ 25 มกราคม 2563 เวลา 9.30 น. อธิบดีกรมเจ้าท่า (นายวิทยา ยาม่วง) เป็นประธานเปิดโครงการ “เจ้าท่า ร่วมใจ ปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำคืนสู่ธรรมชาติ” บริเวณอ่าวปัตตานี ณ สะพานท่าเทียบเรือปัตตานี โดยมีนายสมนึก พรหมเขียว รองผู้ว่าราชการจังหวัดปัตตานีให้การกล่าวต้อนรับ และขอบคุณกรมเจ้าท่าที่ดำเนินการขุดลอกร่องน้ำในอ่าวปัตตานีให้ประชาชนรอบอ่าวปัตตานีเดินเรือได้สะดวกและช่วยให้มีการไหลเวียนของน้ำในอ่าวปัตตานีดีขึ้น อันเป็นการฟื้นฟูระบบนิเวศน์ของอ่าวปัตตานี  นายสมพงษ์ จิรศิริเลิศ รองอธิบดีกรมเจ้าท่า(ด้านปฏิบัติการ)กล่าวรายงานโครงการฯ และมีนายณัฐชัย พลกล้า ผู้เชี่ยวชาญวิชาชีพเฉพาะด้านการวางแผนพัฒนาทางน้ำ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำ นายวิชัย คำคง ผู้อำนวยการสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 นายอนันต์ แก้ววิเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาที่ 4 ผู้นำทางศาสนา ผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และ ประชาชนรอบอ่าวปัตตานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในพื้นที่ และเจ้าหน้าที่จากกรมเจ้าท่า ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาคเข้าร่วมพิธีอย่างพร้อมเพรียงกัน จำนวน 1,000 คน อ่าวปัตตานีแห่งนี้ เป็นพื้นที่ที่ชุมชนใช้ร่วมกันในการทำอาชีพทางการประมง และกิจกรรมในครั้งนี้มีการปล่อยพันธุ์สัตว์ร่วมกับตัวแทนประชาชนรอบอ่าวปัตตานีประกอบด้วย […]

Beachlover

January 26, 2020

หาดรูสะมิแล จ.ปัตตานี [15ม.ค.2563]

หาดรูสะมิแล จ.ปัตตานี อยู่ด้านในอ่าวปัตตานี จ.ปัตตานี ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับปลายแหลมตาชีพอดี บริเวณนี้ไม่มีชายหาดธรรมชาติเหลือแล้วเนื่องจากมีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งยาวประมาณ 955 เมตร

Beachlover

January 15, 2020