ติดตามสภาพชายหาดม่วงงาม เดือนตุลาคม 2563 [27 ต.ค.2563]

การติดตามสภาพชายหาดม่วงงาม ย่างเข้าสู่เดือนที่ 5 ใกล้เข้าสู่ช่วงมรสุมชายหาดเริ่มเปลี่ยนเเปลงต่อเนื่องทุกๆวันการเก็บข้อมูลทุกๆเดือนเป็นติดตาทการเปลี่ยนเเปลงชายหาดที่ง่ายที่สุด เเละเป็นวิทยาศาสตร์ สามารถนำข้อมูลที่ได้มาเปรียบเทียบการเปลี่ยนเเปลงได้อย่างชัดเจนเเละเป็นการเรียนรู้กระบวนการวิทยาศาสตร์ เเละการจัดทำข้อมูลโดยชุมชน ถือเป็นการพัฒนาความเป็นพลเมืองที่ใช้พลังของวิทยาศาสตร์มาปกป้องสิ่งเเวดล้อมในบ้านเกิด

Beachlover

October 28, 2020

Beach Zoning หาดม่วงงาม จ.สงขลา [23 ส.ค.2563]

กิจกรรม Beach Zoning เพื่อออกแบบการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดระยะทางยาวกว่า 7 กิโลเมตร ในชุมชนหาดม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา วันที่ 23 สิงหาคม 2563 กิจกรรมนี้เริ่มจากการใส่รายละเอียดสภาพปัจจุบันของชายหาดม่วงงามลงไปบนแผนที่ที่ร่วมกันวาดขึ้นเอง เพื่อเป็นการ Check in ความรู้ความเข้าใจชายหาดในชุมชนของตนเอง จากนั้นได้เริ่มกันระบุปัญหาที่พบเจอจากการใช้ประโยชน์ริมชายหาด ต่อด้วยความฝันที่เราอยากเห็นชายหาดในชุมชนของเราหน้าตาเป็นอย่างไร และจะไปถึงความฝันนั้นโดยใช้กติการ่วมกันในชุมชนอย่างไร กิจกรรมนี้เต็มไปด้วยการถกเถียงกันของผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติของการอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน เพียงแต่ต้องพูดจากกันด้วยเหตุผลเพื่อให้เกิดฉันทามติร่วมกันในชุมชน จะดีแค่ไหน หากเราสามารถออกแบบชายหาดในชุมชนได้ด้วยตัวเอง … อยากให้ทุกชุมชนชายฝั่งได้มีวงถกเถียง ออกแบบพื้นที่สาธารณะ สร้างกติกาที่มาจากฉันทามติของชุมชนกันเอง เพราะนั่นหมายถึงการพัฒนาโดยฟังเสียงจากล่างขึ้นบนอย่างแท้จริง

Beachlover

August 26, 2020

หาดม่วงงามหลังศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว…ยังสบายดี

วันที่ 30 มิถุนายน 2563 ศาลปกครองจังหวัดสงขลาได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวหลังชาวบ้านม่วงงาม จ.สงขลา ได้ฟ้องร้องต่อศาลปกครองเนื่องจากไม่เห็นด้วยกับการดำเนินการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมหาดม่วงงาม ที่ดำเนินการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ไปเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2563 รายละเอียดของคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวจำนวน 25 หน้า สามารถติดตามได้จาก Website นี้ ในหมวดหมู่ “คดีชายหาด” Beach Lover ได้นำเสนอข้อเท็จจริง สถานภาพการกัดเซาะของชายหาดม่วงงาม รวมถึงลักษณะของโครงการตลอดจนข้อสังเกตในบางประเด็นไปแล้วจำนวน 5 โพส สามารถติดตามย้อนหลังได้ใน Website นี้ หมวดหมู่ “สถานการณ์ชายฝั่งทะเล” นอกจากนี้ ฺBeachlover ยังได้เผยแพร่คลิปการเดินสำรวจริมถนนในวันที่ 8 มิ.ย.2563 ของหมู่ที่ 7 ที่ถูกอ้างว่าเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงจนจำเป็นต้องมีโครงการกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดยาวเกือบ 700 เมตรในเฟสที่ 1 ผ่านทาง https://www.youtube.com/watch?v=eBsizPSlqh0&t=371s ซึ่งจากคลิปที่ยาวเกือบ 9 นาที ยังไม่พบร่องรอยถนนที่โดนกัดเซาะอย่างรุนแรงตามคำกล่าวอ้าง ศาลปกครองสงขลารับฟ้องคดีนี้ไปเมื่อกลางเดือนมิถุนายน และสั่งคุ้มครองชั่วคราวในอีก 2 สัปดาห์ถัดมา กระบวนการสอบสวนคดียังไม่เกิดขึ้น ข้อพิพาทนี้จะจบลงอย่างไรยังไม่แน่ใจ ใครแพ้ใครชนะ […]

Beachlover

July 4, 2020

ชายหาดกัดเซาะแบบไหน “ชั่วคราว”หรือ”ชั่วโคตร”[4 มิ.ย.2563]

“ชายหาดถูกกัดเซาะหรือไม่” เป็นประเด็นถกเถียงหลัก ของความขัดแย้งในโครงการป้องกันชายฝั่งหาดม่วงงาม และคำตอบจากคำถามนี้ จะนำไปสู่การเลือก “ใช้” หรือ “ไม่ใช้” มาตรการเพื่อป้องกันชายฝั่ง Beach lover อยากชวนไปดูภาพการเปลี่ยนแปลงชายหาดในสองลักษณะของ จ.สงขลา เพื่อชวนคิดต่อ ภาพแรกเป็นการกัดเซาะด้านหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท (รายละเอียดติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดหน้าโรงแรมหาดแก้ว/ ) และ ภาพที่สอง คือการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม (รายละเอียดติดตามได้จาก https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/ ) ภาพแรกแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2556-2558 ของชายหาดหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท แต่ในปี 2560 เริ่มสังเกตเห็นการกัดเซาะอย่างชัดเจนอันเนื่องมาจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่นทางทิศใต้ (ด้านขวาของภาพ) ลักษณะเช่นนี้จะเป็นการกัดเซาะแบบถาวร หรือการกัดเซาะที่อาจเรียกง่ายๆว่า “การกัดเซาะแบบชั่วโคตร” โดยที่ชายหาดจะไม่สามารถกลับคืนสมดุลเดิมได้อีกต่อไป จนท้ายสุดก็ไม่สามารถสู้กับการกัดเซาะได้จนต้องสร้างกำแพงกันคลื่นขนาดใหญ่เพื่อป้องกันพื้นที่ตามที่ปรากฏให้เห็นในภาพปี 2562 ภาพที่สอง แสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ชายหาดม่วงงามเพียงเล็กน้อยตั้งแต่ปี 2556-2562 และไม่ปรากฏให้เห็นการกัดเซาะเข้ามาถึงด้านในถนนอย่างชัดเจนเลย ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าไม่มีภาพที่ถูกบันทึกไว้ในช่วงที่หาดถูกกัดเซาะ แต่จากการวิเคราะห์โดยในภาพถ่ายดาวเทียมตามที่แสดงรายละเอียดไว้ใน https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/ นั้น พบว่าชายหาดม่วงงามหมู่ที่ 7 เกิดการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลเท่านั้น มีการกัดเซาะทับถมสลับกันไปในปริมาณเพียงเล็กน้อย สุทธิแล้วตั้งแต่ปี 2556-2562 พบการทับถมของชายหาดประมาณ 1.9 เมตร ต่อปี […]

Beachlover

June 4, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 5/5: ประเด็นชวนคิด -ต่อ)

ความเสียหายที่เกิดจากการสร้าง ไม่ได้สัดส่วนกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ จากรูปที่ 8 (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/) ยามน้ำลดลงถึงระดับน้ำลงเฉลี่ยช่วงน้ำเกิด (ระดับ -0.49 ม.รทก) ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำมีพิสัยการขึ้นลงที่แตกต่างกันมากที่สุด เกิดในช่วงพระจันทร์เต็มดวงทั้งข้างขึ้นและข้างแรม พบว่าฐานของโครงสร้างกำแพงนี้จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลตลอดเวลา (เสาเข็มต้นที่อยู่ฝั่งทะเลและแนวถุงทราย) เมื่อน้ำขึ้นจะมีบางส่วนของกำแพงที่อยู่ใต้น้ำเพิ่มเติม และเมื่อโครงสร้างอยู่ในแนวที่น้ำท่วมถึงคลื่นจะวิ่งเข้ามาถึง นั่นหมายถึงโครงสร้างนั้นกำลังรบกวนสมดุลของกระบวนการชายฝั่งทะเล แม้ตามแบบจะปรากฏชัดว่าจะมีการถมทรายกลับทับจนถึงบันไดขั้นที่สาม (จากด้านบน) แต่เมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะทรายที่ถูกถมทับไปบนกำแพงขั้นบันได คลื่นจะค่อยๆชักเอาทรายด้านบนและด้านหน้าบันไดออกไป และเมื่อทรายด้านบนที่ถมทับถูกชักออกไปทั้งหมด คลื่นจะสามารถวิ่งเข้ามาปะทะกำแพงโดยตรงและจะส่งผลให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง ยิ่งเหนี่ยวนำให้ทรายด้านหน้ากำแพงถูกดึงออกนอกชายฝั่ง และชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปอย่างถาวร แสดงผลกระทบของโครงสร้างกำแพงกันคลื่นดังรูปที่ 11 นอกจากนั้นกำแพงจะยิ่งส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงเกิดการกัดเซาะได้เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นและกระแสน้ำ แสดงดังรูปที่ 12 หากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบดังรูปที่ 13 ซึ่งจะยิ่งเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยไม่จำเป็น งานป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งโดยใช้โครงสร้างที่ผ่านมาในประเทศไทยนั้น โดยมากเป็นการดำเนินงานเฉพาะพื้นที่ ทั้งที่จริงแล้วชายฝั่งทะเลเป็นเขตติดต่อที่ยาวต่อเนื่องกัน การดำเนินการในพื้นที่ใดย่อมส่งผลกระทบต่ออีกพื้นที่หนึ่งบริเวณใกล้เคียง พบว่าปัญหาการกัดเซาะที่เกิดขึ้นตลอดแนวชายฝั่งทะเลประเทศไทยส่วนใหญ่ต้นเหตุแห่งปัญหามาจากโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง ซึ่งแท้จริงแล้วมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันการกัดเซาะ แต่กลับกลายเป็นต้นเหตุแห่งปัญหาเสียเอง (https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314) ประเทศที่มีดินแดนติดชายฝั่งหลายประเทศ โดยเรียนรู้จากบทเรียนเดิมที่เคยเกิดขึ้นว่า มาตรการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งนั้นมีข้อจำกัดทั้งเรื่องงบประมาณที่ต้องใช้เพื่อการก่อสร้างและบำรุงรักษาที่นับวันจะมีมูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กลายเป็นว่ายิ่งสร้างโครงสร้างป้องกันยิ่งจะส่งผลให้ต้องสร้างต่อไปเรื่อยๆ เพราะชายหาดที่ไม่ถูกป้องกันจะถูกกัดเซาะเป็นโดมิโน่ (Domino effect) แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในปัจจุบันจึงได้พยายามปรับเปลี่ยนวิธีการ จากการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่โดยใช้โครงสร้างป้องกัน มาเป็นใช้มาตรการที่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุด สำหรับประเทศไทยนั้น หลายหน่วยงานได้ดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งทะเลในหลายพื้นที่  […]

Beachlover

May 21, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 4/5: ประเด็นชวนคิด 1)

การใช้มาตรการที่เกินจำเป็น จากข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหาดม่วงงามทั้งภาพถ่ายดาวเทียม ข้อมูลวิเคราะห์เชิงปริมาณ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-3-5/) ข้อมูลจากรายงานของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง และภาพถ่ายจากการออกภาคสนาม (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/) พบข้อมูลที่สอดคล้องตรงกันทั้งหมดว่าชายหาดม่วงงามนั้นไม่เกิดการกัดเซาะที่รุนแรงขนาดที่จำเป็นต้องสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งขนาดใหญ่ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/) การดำเนินโครงการนี้จึงขัดต่อหลักความจำเป็น รวมถึงมาตรการที่เลือกใช้นั้นพบว่าไม่ได้สมดุลกับผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งรัฐต้องการแก้ไข หากศึกษาแนวโน้มการกัดเซาะของหาดม่วงงามจากข้อมูลอดีต มีความน่าจะเป็นต่ำที่ชายหาดจะเกิดการกัดเซาะลึกเข้ามาจนเกิดความเสียหายอย่างรุนแรง แม้กระทั่งพายุใหญ่อย่างปาบึกที่เกิดขึ้นเมื่อต้นปี 2562 ก็ยังไม่ส่งผลให้หาดม่วงงามกัดเซาะอย่างมีนัยสำคัญ (https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/) ” รัฐไม่จำเป็นต้องใช้งบประมาณจำนวนมากเพื่อสร้างโครงสร้างขนาดใหญ่ที่มั่นคงถาวร เพื่อแก้ไขปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวอย่างไม่รุนแรง ไม่มีเหตุผลอย่างเพียงพอที่ต้องสร้างโครงสร้างคอนกรีตขนาดใหญ่ทับลงบนชายหาดที่ยังสมบูรณ์ รัฐควรเลือกใช้แนวทางเลือกที่ได้สมดุลกับการกัดเซาะที่ต้องการป้องกัน”  สำหรับหาดม่วงงามที่เกิดการกัดเซาะเพียงเล็กน้อยและเกิดเพียงชั่วคราว ก็ควรเลือกใช้มาตรการที่สอดคล้องเหมาะสมกับผลกระทบ เป็นต้นว่าโครงสร้างชั่วคราว ที่สามารถป้องกันการกัดเซาะระดับไม่รุนแรงและเกิดขึ้นแบบชั่วครั้งชั่วคราวได้ดี ดังที่ท้องถิ่นได้ดำเนินการแล้ว ในอดีต เนื่องจากโดยธรรมชาติแล้วการกัดเซาะจะเกิดเพียงชั่วคราวตามฤดูกาล เว้นเสียแต่จะมีการแทรกแซงสมดุลของธรรมชาติชายฝั่งทะเลโดยกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การสร้างโครงสร้างล้ำลงไปกีดขวางการเคลื่อนที่ของของตะกอน โดยพบว่าบริเวณชายหาดที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดการกัดเซาะน้อยกว่า บริเวณที่อยู่ใกล้เคียงกับโครงสร้าง อันเนื่องจากอิทธิพลของโครงสร้างชายฝั่งกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนทราย “แม้ว่าต่อไปในภายภาคหน้า ธรรมชาติเกิดการเปลี่ยนแปลง หรือเกิดการแทรกแซงสมดุลของชายฝั่งทะเลจนส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะเข้ามาจนถึงโครงสร้างพื้นฐานของรัฐหรือเอกชน เมื่อถึงยามจำเป็นจึงค่อยพิจารณาป้องกันแก้ไขเฉพาะรายพื้นที่ ด้วยมาตรการที่สมดุลกับความเสียหายที่เกิดขึ้น” จากรายการการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 2 โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองพบว่ามาตรการที่เสนอให้ประชาชนได้ลงความเห็นล้วนแล้วแต่เป็นมาตรการถาวรและเกินจำเป็นใช้งบประมาณมากโดยทุกมาตรการไม่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จึงตั้งข้อสังเกตว่ามาตรการที่รัฐศึกษารวบรวมมาให้ประชาชนลงความเห็น และมาตรการที่ถูกเลือกให้เป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด ไม่ใช่มาตรการที่ดีที่สุดเมื่อเทียบกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการ ยังมีมาตรการอื่นๆที่สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้ คือการป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวในช่วงฤดูกาลมรสุมช่วงสั้นๆหรือช่วงใดช่วงหนึ่งโดยไม่ก่อผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และไม่สิ้นเปลืองงบประมาณเท่ากับโครงการที่รัฐกำลังดำเนินการ โครงสร้างป้องกันชายฝั่งลักษณะเช่นนี้จึงขัดต่อหลักความจำเป็น โปรดติดตามตอนที่ 5/5: ประเด็นชวนคิด(ต่อ) ได้ ผ่าน […]

Beachlover

May 20, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 3/5: ประวัติการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม)

Beach Lover ได้นำเสนอสภาพทั่วไปและลักษณะโครงการป้องกันชายฝั่งที่กำลังก่อสร้างบนชายหาดม่วงงามไปแล้วสองตอน ติดตามย้อนหลังได้จาก Link ด้านล่าง ความเดิมตอนที่ 1/5:https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/ ความเดิมตอนที่ 2/5:https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/ จากประวัติการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามตั้งแต่ปี ค.ศ.2013-2019 (พ.ศ.2556-2562) โดยแปลผลจากภาพถ่ายดาวเทียมจาก Google Earth พร้อมปรับความถูกต้องเชิงพิกัดภูมิศาสตร์แล้ว โดยอ้างอิงแนวชายฝั่งจากแนวพืชขึ้นถาวรสูงสุด (Permanent vegetation line) ซึ่งเป็นตำแหน่งของแนวชายฝั่งตามนิยามที่ทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งใช้อยู่ในปัจจุบัน (กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2561) พบว่า สภาพทั่วไปของชายฝั่งที่เปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงปี แสดงดังรูปที่ 9 จากภาพถ่ายดาวเทียมปรากฏชัดว่าชายหาดบริเวณนี้ค่อนข้างสมบูรณ์ พื้นที่ชายหาดมีการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย พบว่าแนวระดับน้ำทะเลไม่กินลึกเข้ามาถึงแนวถนนเลยแม้แต่ช่วงเวลาเดียว อาจมีการเปลี่ยนแปลงบ้างตามฤดูกาล โดยช่วงมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (ประมาณ ตุลาคม ถึง กุมภาพันธ์) ของทุกปี ชายหาดภาคใต้ตอนล่างมักเกิดคลื่นใหญ่ลมแรงและอาจพบเห็นการกัดเซาะได้ในช่วงเวลานี้ หลังจากนั้นในช่วงปลอดมรสุมในเดือนมิถุนายนไปจนถึงกันยายน คลื่นแถบนี้จะมีขนาดเล็ก และอาจพบสันดอนทรายใต้น้ำในช่วงเวลานี้ (รูปที่ 9  A D F และ G) ซึ่งถือว่าเป็นปราการทางธรรมชาติที่ช่วยป้องกันคลื่นเข้าปะทะชายฝั่งทะเลโดยตรง เมื่อนำแนวชายฝั่งของแต่ละชุดข้อมูลมาซ้อนทับกันเพื่อวิเคราะห์อัตราการเปลี่ยนแปลง พบว่าชายหาดม่วงงามในหมู่ 7 ระยะทางตามแนวชายฝั่ง 630 […]

Beachlover

May 19, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม ตอนที่ 2/5: ลักษณะของโครงการ

ความเดิมจากตอนที่ 1 ติดตามได้จาก : https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-1-5/ ในปี พ.ศ. 2559 กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ริเร่ิมดำเนินโครงการเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันชายฝั่งบริเวณชายหาดม่วงงาม ความยาวตลอดชายฝั่งในระยะแรก (เฟส 1) 630 เมตร ด้วยงบประมาณ 87.034 ล้านบาท บริเวณพื้นที่หมู่ 7 ต.ม่วงงาม มีขอบเขตโครงการตั้งแต่ทิศใต้ของขอบเขตสนามกีฬาเรื่อยลงทางทางใต้สิ้นสุดที่สามแยกบริเวณเทศบาลตำบลม่วงงาม แสดงขอบเขตพื้นที่โครงการดังรูปที่ 6 โดยมีรูปแบบของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งดังรูปที่ 7 โดยที่รูปแบบของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเป็นกำแพงกันคลื่นคอนกรีตแบบขั้นบันได แสดงรูปตัดของโครงสร้างที่จะก่อสร้างตามแผนดังรูปที่ 8 โปรดติดตามตอนที่ 3/5: ประวัติการกัดเซาะชายหาดม่วงงามได้ ผ่าน www.beachlover.net

Beachlover

May 18, 2020

ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 1/5: สภาพทั่วไปของชายหาดม่วงงาม)

หาดม่วงงาม ตั้งอยู่ใน ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีสภาพทั่วไปเป็นหาดทรายขาว ยาวต่อเนื่องในแนวเหนือใต้ ทางทิศใต้ของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นที่ตั้งของชุมชนริมหาดม่วงงาม ส่วนมากเป็นชุมชนประมง ใช้พื้นที่ชายหาดด้านหน้าชุมชนเป็นพื้นที่จอดเรือวางอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพประมง ส่วนด้านทิศเหนือของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน เป็นชายหาดท่องเที่ยวมีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว  ไม่มีชุมชนตั้งประชิดชายหาดเหมือนทางตอนใต้ มีการปรับภูมิทัศน์โดยการทำลานคอนกรีตและปรับพื้นที่บางส่วนโดยการปูอิฐบล็อคเพื่อความสะดวกในการใช้พื้นที่ แสดงสภาพทั่วไปของชายหาดในหมู่ที่ 7 ระยะทาง 630 เมตร ดังรูปที่  1 จากรูปที่ 1 ที่ถ่ายโดย Google ในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ริเริ่มโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงามโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในเฟสที่ 1 ยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะล้ำเข้ามาจนถึงโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐดังที่ถูกระบุไว้ในเอกสารสรุปความเป็นมาและความคืบหน้าของโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อย่างไรก็ตาม การกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับชายหาดทั่วโลกแต่จะมีสาเหตุและผล กระทบแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ หาดม่วงงามประสบปัญหาการกัดเซาะเช่นเดียวกันกับชายฝั่งอื่นๆทั่วประเทศ นั่นคือการกัดเซาะในฤดูมรสุมส่งผลให้ชายหาดหดหายไป คลื่นกระเซ็นขึ้นมาบนถนนบ้างในบางฤดูกาล และยามหมดมรสุมชายหาดก็กลับมากว้างเหมือนเดิมตามสมดุลชายฝั่งที่แสดงดังรูปที่ 2 โดยรูปที่ 3  แสดงภาพบางส่วนในอดีตของชายหาดม่วงงามหลังผ่านพ้นพายุปาบึก ที่เข้าปะทะชายหาดภาคใต้ตอนล่างเมื่อต้นเดือนมกราคม 2562 ซึ่งส่งผลถึงชายหาด จ.สงขลาทั้งหมดเช่นกัน พบว่าแม้จะประสบกับคลื่นพายุขนาดใหญ่ แต่ชายหาดม่วงงามก็สามารถฟื้นกลับคืนสมดุลได้เองตามธรรมชาติ บางตำแหน่งของชายหาดม่วงงามพบการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวโดยหน่วยงานส่วนท้องถิ่นบ้างในช่วงมรสุมอย่างการปักไม้ชะลอคลื่น ซึ่งมิได้กีดขวางการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดมากนักและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเหมือนโครงสร้างถาวรแสดงดังรูปที่ 4 ทีม […]

Beachlover

May 17, 2020

เต่ากระ เพลียคลื่น พบถูกซัดเกยหาดม่วงงาม [22มี.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ มีนาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยศูนย์วิจัย ทช. อ่าวไทยตอนล่าง รับแจ้งจากคุณอุทัย ปิ่นทอง พบสัตว์ทะเลหายากเกยตื้นมีชีวิต บริเวณหาดม่วงงาม ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา ผลการตรวจสอบเป็นเต่ากระ ไม่ทราบเพศ ขนาดกว้าง ๒๑.๕ ซม. ความยาว ๒๖ ซม. ไม่พบบาดแผลภายนอก สภาพอ่อนแรง ลักษณะผอมมาก ไม่พบเลขไมโครชิพ จึงรับเต่ากลับศูนย์วิจัยฯ เพื่อนำไปตรวจร่างกายและให้การรักษา โดยให้สารน้ำ วิตามิน และเจาะเลือด ตรวจสุขภาพ และพักฟื้นต่อไป

Beachlover

March 23, 2020
1 2 3 4