7 ข้อชวนคิด กับโครงการถมทะเลอ่าวไทย…เอาไงดี

นายทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ได้กล่าวถึงโครงการถมทะเลในบริบทของการพัฒนาและขยายพื้นที่ในกรุงเทพมหานคร ในงาน Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2567 โดยเสนอให้มีการถมทะเลที่บางขุนเทียนและปากน้ำ เพื่อให้ได้พื้นที่ลดความแออัดของกรุงเทพฯ ส่วนหนึ่ง และเป็นเมืองสีเขียวและเมืองใหม่ ให้เฉพาะรถไฟฟ้าวิ่งเท่านั้นและมีรถไฟเชื่อม และป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯได้ (อ้างอิง) นายทักษิณเน้นย้ำถึงความสำคัญของการลงทุนภาครัฐในช่วงสามปีของรัฐบาลนี้ และกล่าวว่าโครงการถมทะเลจะช่วยให้เกิดการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมกับการเติบโตทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน (อ้างอิง) หลังจากนั้นตัวแทนของพรรคเพื่อไทยได้ออกมาอธิบายถึงแนวคิดหลักของโครงการนี้เพิ่มเติมในชื่อใหม่ที่เรียกว่า “โครงการสร้อยไข่มุกอ่าวไทย” โดยการสร้างสิ่งปลูกสร้างลงไปในทะเลในลักษณะของเกาะ ซึ่งเบื้องต้นอาจจะมีเกาะจำนวน 9 เกาะ และให้แต่ละเกาะมีเขื่อนเป็นแนวกั้นน้ำ และมีประตูเปิด-ปิดได้ซึ่งเกาะแรกจะสร้างในพื้นที่ของชายทะเลบางขุนเทียน จากนั้นจะสร้างเกาะอื่นไปจนถึงชลบุรี รวมระยะทางตลอดอ่าวตัว ก.ประมาณ 100 กิโลเมตร  ทั้งนี้พื้นที่เกาะที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดเชื่อมของเขื่อนกั้นน้ำแต่ละเกาะจะมีขนาดประมาณ 50 ตารางกิโลเมตร และสร้างห่างจากชายฝั่งไป 1 กิโลเมตร มีถนนเชื่อมกับพื้นที่ชายฝั่งเพื่อความสะดวกในการเดินทางไปยังพื้นที่เกาะต่างๆ ได้  สำหรับแนวทางการลงทุนจะเป็นหน้าที่ของภาคเอกชน โดยผู้ที่เข้ามาลงทุนจะได้สัมปทานการใช้ที่ดินอาจจะเป็น 99 ปี ซึ่งสามารถพัฒนาเกาะนี้ใช้ประโยชน์ในหลายรูปแบบต่างๆ อาทิ การพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวที่จะเป็นแลนด์มาร์คใหม่ หรือเป็นเมืองใหม่ที่เป็นสมาร์ตซิตี้ใช้พลังงานสะอาด โดยจะมีการติดตั้งกังหันลมหรือโซลาร์เซลล์ก็สามารถที่จะออกแบบได้ โดยเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทานแล้วพื้นที่นี้ก็จะเป็นของภาครัฐ (อ้างอิง) สำหรับแนวความคิดนี้ทำให้เกิดประโยชน์ทั้งในแง่ของภาครัฐที่ได้โครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เศรษฐกิจ และพื้นที่ลุ่มในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล […]

Beachlover

September 17, 2024

วัดขุนสมุทรจีน แผ่นดินล้ำค่าที่กำลังจมน้ำหาย

ที่มา: https://www.facebook.com/themomentumco ช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ชื่อของ ‘วัดขุนสมุทรจีน’ หรือ ‘วัดขุนสมุทราวาส’ จังหวัดสมุทรปราการ ถูกพูดถึงบ่อยครั้ง จากการเป็นวัดขนาดใหญ่ริมอ่าวไทยที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะกินพื้นที่บริเวณวัดเข้าไปเป็นจำนวนหลักหลายกิโลเมตร จนกลายเป็นเกาะ และเกิดความกังวลว่า วัดที่สวยงามเงียบสงบริมทะเลแห่งนี้อาจ ‘จม’ ลงในวันใดวันหนึ่งในอนาคต และชาวบ้านในชุมชนบริเวณใกล้เคียงต้องทยอยอพยพออกไปเรื่อยๆ เดิมทีพื้นที่ของวัดขุนสมุทรจีนเป็นแหลมเล็กๆ ยื่นเข้าไปในอ่าวไทย มีเนื้อที่กว่า 76 ไร่ โดยได้รับบริจาคจากชาวบ้านขุนสมุทรจีน และเคยมีที่อยู่อาศัย รวมถึงโรงเรียนตั้งอยู่ แต่เนื่องจากบริเวณชายฝั่งประเทศไทยโดนน้ำทะเลกัดเซาะตามธรรมชาติอยู่แล้ว บวกกับภาวะโลกร้อนที่ทำให้คลื่นแรงขึ้น น้ำทะเลเพิ่มขึ้น จึงทำให้ครั้งหนึ่งพระอุโบสถเก่าแก่ภายในวัดบางส่วนต้องจมอยู่ใต้น้ำในเวลาน้ำขึ้น และสามารถเข้าชมได้เมื่อน้ำลด อย่างไรก็ดี หลังจากทางวัดและชาวบ้านในชุมชนบ้านขุนสมุทรจีนร่วมกันแก้ไขปัญหาโดยอาศัยเสาไฟฟ้าเก่า ปักเป็นแถวเพื่อสร้างแนวเขื่อนหินป้องกันคลื่นทะเลและดักตะกอน รวมถึงทางวัดได้ยกพื้นให้สูงขึ้นด้วยโครงไม้ และปลูกไม้ป่าชายเลน เพื่อเพิ่มความหนาแน่นให้เป็นธรรมชาติ จึงทำให้วัดแห่งนี้ รวมถึงพระอุโบสถ กลายเป็นสถานที่ทางศาสนาที่มีความแตกต่างจากที่อื่นๆ เนื่องจากมีร่องรอยของน้ำทะเลจากธรรมชาติที่ประทับอยู่ตามจุดต่างๆ แต่ปัญหายังไม่จบ เนื่องจากปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะของวัดขุนสมุทรจีนเป็นเรื่องของชายฝั่ง ซึ่งชายฝั่งของประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นชายหาดโคลน จึงได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลและมีความเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติอยู่แล้ว ดร.ธนวัฒน์ จารุพงษ์สกุล ศาสตราจารย์ ภาควิชาธรณีวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกกับ The Momentum ถึงภาพรวมและแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยระบุว่า การกัดเซาะที่บริเวณพื้นที่วัดขุนสมุทรจีนเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานาน และมีการทดลองติดตั้งเสา […]

Beachlover

March 6, 2022

กำแพงกันคลื่นราคา 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร!

จ.สมุทรปราการตั้งอยู่บริเวณปากอ่าวไทย ชายฝั่งมีลักษณะเป็นหาดโคลนมีความยาวตามแนวชายฝั่งประมาณ 44 กิโลเมตร ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้เผชิญปัญหาการกัดเซาะเรื่อยมา ในส่วนของเทศบาลตำบลบางปูนั้นมีความยาวชายฝั่งประมาณ 20 กิโลเมตร ประกอบด้วย ต.ท้ายบ้าน ต.บางปูใหม่ และ ต.บางปู โดยเกือบทั้งหมดได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยการก่อสร้างเขื่อนหินเรียงริมชายฝั่งความยาวประมาณ 14 กิโลเมตร ภาพด้านล่างฝั่งซ้าย เป็นภาพเมื่อปี 2551 เทศบาลตำบลบางปูได้ดำเนินการปรับปรุงเสริมแนวเขื่อนเรียงหินเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณท้านซอยบางเมฆขาว-บริเวณคลองตำหรุ ส่วนภาพฝั่งขวา คือ สภาพหลังการปรับปรุงเขื่อนเรียงหินเดิมให้มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการเพิ่ม side slope และขยายความกว้างของสันเขื่อน ทำการปูยางแอสฟัลท์ติกคอนกรีตบนแนวสันเขื่อน เพื่อใช้ประโยชน์ในการออกกำลังกายและการพักผ่อนหย่อนใจของประชาชน อีกทั้งยังมีการสร้างกำแพงเพื่อเสริมความสูงของเขื่อนเพื่อป้องกันการซัดของคลื่นที่รุนแรงในช่วงมรสุม (ที่มา: เทศบาลตำบลบางปู) ลักษณะของโครงสร้างแบบนี้ หากสร้างในคราวเดียวกัน ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ประเมินไว้ว่าใช้งบประมาณ 175 ล้านบาทต่อกิโลเมตร ซึ่งนับว่าเป็นกำแพงกันคลื่นริมชายฝั่งทะเลที่ราคาสูงที่สุดเท่าที่ Beach Lover เคยสำรวจข้อมูลมีตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Beachlover

November 12, 2020