พาชมเกาะลิดี เกาะเล็กๆใกล้ฝั่งละงู

ลิดี เป็นภาษามลายูแปลว่า “ไม้เรียว” เกาะลิดีอันที่จริงแล้วประกอบด้วยสองเกาะ คือ ลิดีใหญ่ และ ลิดีเล็ก เกาะลิดีใหญ่นั้นเป็นเกาะสัมปทานรังนกของบริษัท Scotch รังนก ส่วนเกาะลิดีเล็กเป็นเขตอุทยานและเป็นที่ตั้งของที่ทำการอุทยาน เกาะลิดี อยู่ห่างจากที่ทำการแห่งชาติหมู่เกาะเภตรา (อ่าวนุ่น) ประมาณ 5 กม. และห่างจากท่าเรือปากบาราประมาณ 7 กม. เนื้อที่ประมาณ 10 ตร.กม. มีหาดทรายขาว เหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเล่นน้ำทะเล ปัจจุบันเกาะลิดีมีหน่วยพิทักษ์อุทยานฯ มีบ้านพัก และบริเวณที่กางเต็นท์สำหรับนักท่องเที่ยว (http://portal.dnp.go.th/Content/nationalpark?contentId=4648) เมื่อขึ้นฝั่งบนเกาะลิดีเล็ก จะพบสะพานคอนกรีตที่ใช้เป็นทางเดินเชื่อมระหว่างท่าเทียบเรือกับชายหาดอีกด้านหนึ่งของเกาะที่เป็นที่ตั้งของอุทยานฯ ริมทางเดินจะพบโขดหินรูปร่างแปลกตา และชายหาดเล็กๆ เมื่อสุดปลายทางเดินระยะทางประมาณ 260 เมตร จะพบชายหาดด้านหน้าอุทยาน เป็นหาดทรายขาวความยาวประมาณ 230 เมตร วางตัวในทิศตะวันออก-ตะวันตก ความกว้างประมาณ 15 เมตร ทรายขนาดไม่ละเอียดนัก และพบว่ามีความขาวมากกว่าทรายบนชายหาดฝั่งปากบารา เมื่อเดินถัดเข้าไปบริเวณด้านหลังที่ทำการอุทยานจะพบชายหาดขนาดเล็กระหว่างโขดหิดอีกหนึ่งหาด ความยาวประมาณ 75 เมตร ชายหาดทั้งสองแห่งนี้ หากเป็นช่วงฤดูท่องเที่ยว หรือเปิดให้มีการพักค้างและทำกิจกรรมของนักเรียนนักศึกษาเหมือนปกติก่อนช่วง COVID-19 […]

Beachlover

July 13, 2022

รักทะเลปากบารา มาช่วยกันลดขยะสู่ทะเลสตูล

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๕ สิงหาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ (ตรัง) จัดเก็บขยะจากทุ่นกักขยะ (BOOM) บริเวณปากคลองปากบารา ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล ได้ขยะ ๒๐๘ กก. เมื่อคัดแยกขยะตามแบบฟอร์ม ICC พบขยะส่วนใหญ่เป็น ขวดเครื่องดื่ม (พลาสติก) ขวดเครื่องดื่ม (แก้ว) ขวดพลาสติกอื่นๆ ขยะอินทรีย์ และกระป๋องเครื่องดื่ม ทั้งนี้ได้ประชาสัมพันธ์ทำความเข้าใจกับชุมชนชายฝั่งในพื้นที่ เพื่อรณรงค์ ลด ละ เลิก การทิ้งขยะ เพื่อเป็นแนวทางการบริหารจัดการ ลดปริมาณและผลกระทบของขยะลอยน้ำที่จะไหลลงสู่ทะเลต่อไป

Beachlover

August 16, 2021

กลุ่มเยาวชนสองล้อ ร่วมกันติดตามสภาพชายหาดหัวหิน [9 มิ.ย. 2564]

เยาวชนสองล้อรักษ์หาดสตูลชวนกันมาสำรวจติดตามสภาพชายหาดหัวหิน อ.ละงู จ.สตูล กลุ่มเยาวชนร่วมติดตามชายหาดทั้งช่วงปลอดมรสุม และช่วงมรสุม ทำให้สามารถสังเกตการเปลี่ยนเเปลงชายหาดตามธรรมชาติ เเละผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นหาดบางศิลาได้อย่างชัดเจน โดยได้กำหนดจุดสำรวจรวม 3 ตำแหน่งตลอดเเนวชายหาดบ้านหัวหิน ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พบว่า ตำแหน่งสำรวจที่ 3 นั้น มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง อันเป็นผลมาจากกำเเพงกันคลื่นทางทิศเหนือ การกัดเซาะนี้เกิดขึ้นลึกกว่า 10 เมตร ความยาว กว่า50 เมตรตลอดเเนวชายหาด โดยทางกลุ่มเยาวชนยังคงติดตามเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียนรู้สภาพชายหาดในชุมชนของตนเอง

Beachlover

June 15, 2021

เฝ้าระวังการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งทะเลสตูล สถานการณ์ทั่วไปปกติ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ (ตรัง) สำรวจ และจัดทำข้อมูลพื้นที่โครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ข้อมูลสถานภาพชายฝั่งทะเลในท้องที่ จ.สตูล พบว่าในบริเวณระบบหาดบ้านบ่อเจ็ดลูก (T8E312) ท้องที่ ต.แหลมสน ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล สภาพโดยทั่วไปสมดุล มีกำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียง และกล่องกระชุหินตามแนวชายฝั่ง เป็นช่วงๆ ส่วนบริเวณระบบหาดปากบารา (T8E313) ท้องที่ ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล สภาพโดยทั่วไปสมดุล บริเวณชุมชนบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของราษฎร และร้านค้ามีกำแพงป้องกันคลื่นประเภทตั้งตรง กำแพงป้องกันคลื่นประเภทลาดเอียง เขื่อนหินทิ้ง และเขื่อนคอนกรีตหล่อรูปสี่ขา ตลอดแนว และบริเวณระบบหาดอ่าวนุ่น (T8E314) ท้องที่ ต.ปากน้ำ อ.ละงู จ.สตูล สภาพโดยทั่วไปสมดุล มีกำแพงป้องกันคลื่นแบบตั้งตรง เขื่อนหินทิ้ง มีการวางท่อคอนกรีต และทางเดินศึกษาธรรมชาติตลอดแนว โดยพบโครงสร้างบางจุดชำรุดจนไม่สามารถป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อบ้านเรือนและทรัพย์สินของประชาชนแต่อย่างใด

Beachlover

June 13, 2021

สำรวจการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ชายฝั่ง ปลายสุดแดนฝั่งอันดามัน

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๗ (ตรัง) สำรวจ พื้นที่ชายฝั่งในท้องที่ จ.สตูล ๓ พื้นที่ ได้แก่ (๑) บริเวณระบบหาดบางศิลา (T8E315) ท้องที่ ต.ละงู อ.ละงู จ.สตูล สภาพโดยทั่วไปมีเขื่อน/กำแพงป้องกันคลื่นแบบลาดเอียง และหินทิ้งเกือบตลอดแนวของชายหาด ยาวต่อเนื่องกันจนถึงจุดสิ้นสุดของโครงสร้าง พบการกัดเซาะชายฝั่งยาวประมาณ ๕๐ เมตร อาคารบ้านเรือนของราษฎรได้รับความเสียหาย ๔ หลัง สาเหตุเกิดจากการเลี้ยวเบนของคลื่น (End effect) เมื่อสิ้นสุดโครงสร้าง พื้นที่ถัดจากบริเวณที่ถูกกัดเซาะเป็นชายหาดธรรมชาติคงเหลืออยู่ความยาวประมาณ ๑ กม. ได้สอบถามความคิดเห็นของราษฎรบริเวณนี้เกี่ยวกับการก่อสร้างเขื่อน/กำแพงป้องกันคลื่น ได้รับแจ้งว่า ไม่เห็นด้วย หากจะมีการก่อสร้างเขื่อน/กำแพงป้องกันคลื่นบริเวณนี้ (๒) บริเวณระบบหาดท่าแพ-ตันหยงโป (T8E316) ท้องที่ ต.ตันหยงโป อ.เมือง จ.สตูล สภาพโดยทั่วไปบริเวณบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของราษฎรมีเขื่อน/กำแพงป้องกันคลื่นแบบตั้งตรง และแบบลาดเอียง ตลอดแนว ส่วนที่ไม่มีบ้านเรือน […]

Beachlover

May 22, 2021

เยาวชนสองล้อรักษ์หาดสตูลสำรวจสภาพชายหาดหัวหิน [9 ม.ค.2564]

เยาวชนสองล้อรักษ์หาดสตูลชวนกันมาสำรวจติดตามสภาพชายหาดหัวหิน เดือนนี้เป็นเดือนที่ 12 ของการติดตามสภาพชายหาดบ้านหัวหิน อ.ละงู จ.สตูล เราติดตามชายหาดช่วงปลอดมรสุม ช่วงมรสุม เเละผ่านมรสุมเราเห็นการเปลี่ยนเเปลงชายหาดตามธรรมชาติ เเละผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นหาดบางศิลา

Beachlover

January 12, 2021

เยาวชนสองล้อรักษ์หาดทราย ติดตามสภาพชายหาดบ้านหัวหิน [24 ก.ย.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL/ กลุ่มเยาวชนสองล้อรักษ์หาดทรายได้ร่วมกันติดตามสภาพชายหาดบ้านหัวหิน อ.ละงู จ.สตูล ซึ่งเป็นชายหาดผืนสุดท้ายของบริเวณนั้น เนื่องจากหาดบางศิลา ซึ่งเชื่อมต่อกับหาดบ้านหัวหินมีการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่นตลอดทั้งเเนว ทำให้เหลือเพียงชายหาดบ้านหัวหิน 800 เมตร ที่ยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่เยาวชนกลุ่มนี้ได้ร่วมกันติดตามสภาพชายหาด กว่า 9 เดือน เเละในเดือนนี้เป็นเดือนที่เข้าสู่ช่วงมรสุม ซึ่งพบว่า ชายหาดบริเวณ จุดที่ 3 ซึ่งใกล้กับกำเเพงกันคลื่นได้เกิดการกัดเซาะชายฝั่ง จนทำให้ถนนได้รับความเสียหาย เเละทางหน่วยงานท้องถิ่นได้นำหินมาทิ้งเพื่อป้องกันถนน ในส่วนพื้นที่ชายหาดบริเวณอื่น พบว่า ยังคงสภาพปกติ

Beachlover

October 1, 2020

Beach Zoning หาดบ้านหัวหิน สตูล [22 ส.ค.2563]

กลางเดือนกรกฎาคม 2563 กิจกรรม Beach Zoning ได้ถูกจัดขึ้นไปแล้วครั้งหนึ่ง ณ ชายหาดบ้านหัวหิน ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการลงในรายละเอียดรวมถึงการดึงเยาวชนในชุมชนเข้ามาร่วมกันออกไอเดียเพิ่มเติม กิจกรรมนี้เริ่มจากการใส่รายละเอียดสภาพปัจจุบันของชายหาดบ้านหัวหินลงไปบนแผนที่ที่ร่วมกันวาดขึ้นเอง เพื่อเป็นการ Check in ความรู้ความเข้าใจชายหาดในชุมชนของตนเอง จากนั้นได้เริ่มกันระบุปัญหาที่พบเจอจากการใช้ประโยชน์ริมชายหาด ต่อด้วยความฝันที่อยากเห็นชายหาดในชุมชนของเราหน้าตาเป็นอย่างไร และจะไปถึงความฝันนั้นโดยใช้กติการ่วมกันในชุมชนอย่างไร กิจกรรมนี้เต็มไปด้วยการถกเถียงกันของผู้ที่มีความเห็นแตกต่างกัน ซึ่งนั่นเป็นเรื่องปกติของการอยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน เพียงแต่ต้องพูดจากกันด้วยเหตุผลเพื่อให้เกิดฉันทามติร่วมกันในชุมชน จะดีแค่ไหน หากเราสามารถออกแบบชายหาดในชุมชนได้ด้วยตัวเอง … อยากให้ทุกชุมชนชายฝั่งได้มีวงถกเถียง ออกแบบพื้นที่สาธารณะ สร้างกติกาที่มาจากฉันทามติของชุมชนกันเอง เพราะนั่นหมายถึงการพัฒนาโดยฟังเสียงจากล่างขึ้นบนอย่างแท้จริง

Beachlover

August 26, 2020
1 2