นิยามของแนวชายฝั่งทะเล (Shoreline)

แนวชายฝั่ง หมายถึงเส้นแบ่งระหว่างน้ำและพื้นแผ่นดิน แต่ในความเป็นจริงแนวชายฝั่งนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามธรรมชาติ ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนที่ของตะกอน ระดับน้ำทะเล ความลาดชันชายหาด และปัจจัยอื่นๆ การระบุแนวชายฝั่งเป็นข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการบริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งและการออกแบบทางวิศวกรรมเช่นโครงการป้องกันชายฝั่ง Elizabeth H. Boak และ Ian L. Turner (Boak and Turner, 2005) ได้ทำการรวบรวมนิยามของการระบุแนวชายฝั่ง พบว่านิยาม ต่างๆที่ใช้ในการระบุชายฝั่งแบ่งได้เป็นสองกลุ่มได้แก่ กลุ่มแรก คือการระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นกับลักษณะเชิงกายภาพที่สังเกตได้ (รูป A และ B) และ การระบุแนวชายฝั่งกลุ่มที่ 2 ขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล (รูปที่ C) กลุ่มแรกที่ใช้การระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นกับลักษณะเชิงกายภาพที่สังเกตได้ เป็นลักษณะทางกายภาพของชายฝั่งที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจน เช่น แนวพืชพรรณถาวรบริเวณชายฝั่ง (Permanent vegetation line) เป็นต้น สำหรับแหล่งข้อมูลที่สามารถนำมาประกอบการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงชายฝั่ง เช่น ภาพถ่ายทางอากาศ, การเดินสำรวจแนวชายฝั่งทะเล, การสำรวจแนวชายฝั่งโดยใช้เครื่อง GPS, แผนที่ชายฝั่ง เป็นต้น ส่วนกลุ่มที่ 2 ที่ใช้การระบุแนวชายฝั่งโดยขึ้นอยู่กับการขึ้นลงของระดับน้ำทะเล จำเป็นต้องใช้แผนที่ชายฝั่งและแผนที่เดินเรือ (Coastal […]

Beachlover

May 11, 2021

การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ (Zoning)

ด้วยการเพิ่มขึ้นของประชากร การพัฒนาของเมืองริมชายฝั่งทะเล ส่งผลให้ต้องใช้พื้นที่และทรัพยากรริมชายฝั่งเพิ่มมากข้ึน หากปราศจากการควบคุมและวางแผนอย่างรอบคอบ  อาจทำให้เกิดการเสียสมดุลของทรัพยากรธรรมชาติเนื่องจากการใช้ที่เกิดขีดความสามารถที่จะรองรับได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบเสียหายทั้งต่อทรัพยากรและการเข้าใช้ประโยชน์จากทรัพยากรนั้นโดยมนุษย์  การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายฝั่งทะเล เป็นหนึ่งในมาตรการเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยมีความหมายคือ การจัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่ชายฝั่งนั้นให้มีความเหมาะสมตามศักยภาพของพื้นที่โดยไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบทรัพยากร หรือหมายถึงการจัดการพื้นที่เพื่อให้เกิดสมดุลระหว่างการใช้ประโยชน์และการสงวนรักษา เป็นมาตรการไม่ซับซ้อน นับว่าเป็นหนึ่งในมาตรการที่ง่ายที่สุดเพื่อการจัดการพื้นที่ชายฝั่ง การแบ่งเขตการใช้ประโยชน์พื้นที่มีเป้าหมายเพื่อแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของพื้นที่ โดยการจัดการการใช้ประโยชน์และแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยใช้กระบวนการจัดการที่มีการผสมผสานกันระหว่างหน่วยงานและแผนงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง กลุ่มผู้ใช้ประโยชน์และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ต้องอาศัยองค์ความรู้ต่างๆ ทั้งทางวิทยาศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ เพื่อนำมาวางแผนการพัฒนาเพื่อนำไปปฏิบัติ ให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์พื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยทั่วไปประกอบด้วยขั้นตอนดังนี้ การรวบรวมข้อมูลชายฝั่ง เช่น เชิงกายภาพ การใช้ประโยชน์ สถานภาพของทรัพยากร  วิเคราะห์ประเด็นปัญหาต่างๆ เพื่อหาสาเหตุ มาตรการแก้ไข ผู้มีส่วนได้เสีย เสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning โดยยึดหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับความต้องการสังคม และการใช้ประโยชน์ในอนาคต นำเสนอแนวทางการแบ่งเขต zoning เพื่อรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และนำแนวทางไปปฏิบัติให้มีผลบังคับใช้ทางกฎหมายต่อไป อย่างไรก็ตามการการทำ Beach Zoning ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งสภาพปัญหาของชายหาดนั้น สภาพแวดล้อมทางกายภาพ ชีวภาพ การใช้ประโยชน์ ข้อบังคับ นโยบายการพัฒนา […]

Beachlover

May 9, 2021

การดูดทรายในแม่น้ำ

เนื่องจากตะกอนทรายที่หล่อเลี้ยงชายฝั่งนั้น ส่วนหนึ่งไหลรวมมากับน้ำจืดที่ไหลลงสู่ทะเล ตะกอนบางส่วนอาจถูกดักตามเขื่อน อาคารบังคับน้ำต่างๆในแม่น้ำตามที่ได้กล่าวมาในหัวข้อก่อนหน้า ในบางพื้นที่ตะกอนจะตกทับถมในลำน้ำก่อนออกสู่ชายฝั่ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของตะกอน ลักษณะของลำน้ำ และการไหลของน้ำ โดยแตกต่างกันไปในแต่ละฤดูกาล การดูดทรายในลำน้ำ มักเป็นไปเพื่อความสะดวกในการเดินเรือ เพื่อประโยชน์ด้านการระบายน้ำ และเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมโดยเฉพาะการก่อสร้าง  หากมีการดูดทรายเหล่านี้ออกจากลำน้ำ เท่ากับว่าตะกอนทรายที่เดิมจะต้องไหลรวมกับน้ำจืดแล้วไหลลงทะเลจะมีปริมาณน้อยลง นั่นหมายถึงสมดุลของตะกอนที่ไหลจะบกลงทะเลนั้นลงลด ส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะมากขึ้น

Beachlover

May 8, 2021

ขยะทะเล

ขยะทะเลคือของเสียที่ถูกทิ้งลงทะเล โดยส่วนมากมักเป็นวัสดุเบาที่สามารถพัดพาได้ง่ายจากแหล่งกำเนิด โดยลม คลื่น และกระแสน้ำ  ส่วนใหญ่จะย่อยสลายได้ยาก เช่น แห อวน โฟม พลาสติก ผ้า ซึ่งถูกพัดพาลงมาจากแม่น้ำสู่ทะเล ตลอดจนจากเรือประมงนอกชายฝั่ง และจากการทิ้งขยะโดยตรงลงบนชายหาดและทะเล จากฐานข้อมูลของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบว่า จังหวัดชายฝั่งทะเลทั้งหมด 23 จังหวัด มีปริมาณขยะ ประมาณ 10 ล้านตัน/ปี ในจำนวนนี้มีประมาณ 5 ล้านตันที่ได้รับการจัดการไม่ถูกวิธี และพบว่าประมาณ 10% ของขยะที่ตกค้างเนื่องจากการจัดการไม่ถูกวิธีจะไหลลงทะเล ซึ่งนั่นหมายถึงมีขยะไหลลงทะเลปีละประมาณ 50,000-60,000 ตัน/ปี ซึ่งถือเป็นอันดับที่ 6 ของโลก (http://www.dmcr.go.th) ผลกระทบที่เกิดจากการมีขยะทะเลที่ชายหาดและในทะเลนั้นมีทั้งต่อตัวทรัพยากรชายหาด สิ่งมีชีวิต และผู้ใช้ชายหาด คือเป็นแหล่งเสื่อมโทรม สะสมเชื้อโรค ทัศนียภาพไม่สวยงาม ก่อให้เกิดปัญหาด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยของผู้ใช้ชายหาด นอกจากนั้น ขยะทะเลโดยเฉพาะพลาสติกยังเป็นสาเหตุการตายของสัตว์ทะเล เช่น พะยูน เต่า โลมา วาฬ ดังที่มักพบในข่าวสารต่างๆว่าสัตว์เหล่านี้มีขยะพลาสติกในท้องบ้าง ถูกขยะทะเลพันตามร่างกายบ้าง 

Beachlover

May 6, 2021

การทำเหมืองทรายชายฝั่ง

หมายถึงการขุดและนำทรายไปเป็นวัสดุเพื่อการก่อสร้าง เป็นแหล่งแร่ เป็นวัตถุดิบในงานอุตสาหกรรม และอื่นๆ การนำทรายออกจากชายหาดรวมถึงนอกชายฝั่งทุกกรณี อาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นกับชายหาด ทำให้พื้นที่ชายหาดลดลง เกิดหลุมขนาดใหญ่ รวมถึงอาจเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งในอัตราเร่งเพิ่มมากขึ้นด้วย จากข้อมูลสำรวจพบการทำเหมืองทรายชายฝั่งทั้งหมด 73 ประเทศทั่วโลกใน 5 ทวีป (http://coastalcare.org) การขุดทรายบนชายหาด จะส่งผลถึงสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่หน้าดินและริมชายหาด มีผลต่อห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเล น้ำที่ขุ่นจากการขุดทรายริมชายหาดจะส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ริมฝั่งรวมถึงประมงชายฝั่งด้วย และหากมีการขุดทรายบนหาดท่องเที่ยวยิ่งจะกระทบต่อทัศนียภาพและมูลค่าทางเศรษฐกิจของชายหาดนั้น

Beachlover

May 4, 2021
1 4 5