ควรรื้อโครงสร้างริมชายฝั่งทะเลที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด

รื้อโครงสร้างริมชายฝั่งทะเลที่ไม่จำเป็นออกทั้งหมด ทั้งที่อาจเหนี่ยวนำให้เกิดการกัดเซาะในพื้นที่ข้างเคียงรวมถึงที่ไม่ส่งกระทบใดๆต่อชายหาด สำหรับโครงสร้างชายฝั่งที่หมดสภาพ ซึ่งหมายถึงหมดประสิทธิภาพหรือหมดหน้าที่ในการป้องกันชายฝั่งไปแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้อาจก่อให้เกิดผลกระทบทั้งเชิงกายภาพ เช่น อาจก่อให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม หรือ เป็นทัศนะที่อุจจาดตาบดบังทัศนียภาพที่สวยงามของชายหาด ในกรณีนี้ควรมีการวิเคราะห์ถึงการรื้อถอนทำลายเพื่อคืนสภาพชายหาดให้เป็นไปตามธรรมชาติ แต่ในหลายกรณีการมีอยู่ของโครงสร้างนั้น ได้ก่อให้เกิดบริบทใหม่ในเรื่องของการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นขึ้นแล้ว เช่น อาจเกิดการทับถมของที่ดินจนเกิดชุมชนใหม่ขึ้น หรือร่องน้ำถูกเปิดตลอดทั้งปีจนชาวบ้านเปลี่ยนขนาดเรือจากเล็กเป็นใหญ่เพื่อการพาณิชย์แทนที่จะเป็นเพื่อการดำรงชีพหรือประมงขนาดเล็กเหมือนในอดีต ดังนั้น หากมีการรื้อถอนทำลายโครงสร้างที่มีอยู่อาจส่งผลกระทบถึงการใช้ประโยชน์ในบริบทใหม่ที่เกิดขึ้นนี้ได้ การสร้างยังต้องใช้ระยะเวลาในการศึกษาออกแบบ การรื้อโครงสร้างก็เช่นเดียวกัน จึงจำเป็นต้องศึกษาวิเคราะห์ในรายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนดำเนินการใดๆ มิฉะนั้นอาจเกิดผลกระทบที่ยากจะคาดเดา

Beachlover

June 30, 2022

ศาลปกครองระยอง สั่งระงับรื้อถอน ‘บ้านสุขาวดี’ พัทยา เฉพาะส่วน ‘อาคาร A-ป้ายโครงเหล็ก

ที่มา: www.isranews.org ‘ศาลปกครองระยอง’ มีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ‘นายกเมืองพัทยา’ ที่มีคำสั่งให้รื้อถอน ‘อาคาร A-ป้ายโครงเหล็ก’ บ้านสุขาวดี แต่ ‘ยกคำขอ’ กรณีทุเลาบังคับกรณีรื้อถอน ‘อาคาร C’ สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) รายงานว่า เมื่อวันที่ 5 ม.ค.ที่ผ่านมา ศาลปกครองระยองมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งทางปกครอง ในคดีหมายเลขดำที่ 187/2564 ระหว่าง บริษัท เฮลธ์ ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด กับ เมืองพัทยา นายกเมืองพัทยา และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในเขตเทศบาลเมืองพัทยาฯ ตามพ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 สำหรับคดีนี้ ผู้ฟ้องคดี (บริษัท เฮลธ์ ฟู้ดส์ อินเตอร์เนชั่นแนล (ไทยแลนด์) จำกัด) ฟ้องว่า ผู้ฟ้องคดี ซึ่งเป็นเจ้าของอาคาร (บ้านสุขาวดี) ตั้งอยู่ที่ตำบลนาเกลือ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการที่นายกเมืองพัทยามีคำสั่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 […]

Beachlover

January 8, 2022

ภาพมุมสูง การกัดเซาะชายหาดตะโละกาโปร์ ก่อนรื้อโครงสร้าง

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวการดำเนินการรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง ริมชายหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ไปแล้วนั้น ปัจจุบัน (24 เมษายน 2564) ยังอยู่ระหว่างการดำเนินงานรื้อถอน โดยทาง Beach Lover ไม่มีข้อมูลว่า หน่วยงานตัดสินใจรื้อถอนโครงสร้างใดบ้างด้วยเหตุผลใด และมีกำหนดแล้วเสร็จเมื่อไหร่ แต่จากภาพมุมสูงเปรียบเทียบกันในแต่ละช่วงเวลา และจากเรื่องราวที่เคยได้นำเสนอไปแล้วก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/อะไรเกิดขึ้นที่หาดตะโละกาโปร์/ ) พบว่า โครงสร้างที่เป็นเสมือนตัวกระตุ้นให้เกิดการกัดเซาะอย่างไม่เป็นธรรมชาติได้แก่ลานปูนที่ยื่นล้ำลงไปบนชายหาด ทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตาโละกาโปร์ หากการกัดเซาะในพื้นที่หาดตะโละกาโปร์เกิดตามธรรมชาติโดยแท้ เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะของการกินระยะที่ค่อนข้างเท่ากันในหาดเดียวกัน แต่จากภาพที่ปรากฏพบว่า เกิดการเว้าแหว่งของชายหาดเป็นจุดๆเฉพาะตำแหน่ง ในขณะที่ชายหาดส่วนถัดไปทางตอนเหนือยังคงสมบูรณ์ โดยการเปลี่ยนแปลงที่เห็นดังภาพอาจแตกต่างกันไปตามทิศทางของคลื่นลม บางฤดูกาลเราอาจไม่เห็นอิทธิพลของโครงสร้างที่ยื่นล้ำนี้ได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่บางฤดูกาลโครงสร้างนี้เองที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ จากภาพการรื้อถอนโครงสร้างริมหาดตะโละกาโปร์ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง(https://beachlover.net/รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์-ปัตตานี/) ตามข่าว ยังไม่ปรากฏว่ามีการรื้อถอนโครงสร้างนี้แต่อย่างใด เป็นเพียงภาพของรถขุดที่กำลังรื้อถอนโครงสร้างบางอย่าง (ซึ่งไม่แน่ใจว่าโครงสร้างใด) ในหมู่บ้านทางทิศใต้ของหาดท่องเที่ยวตะโละกาโปร์ อย่างไรก็ตาม โครงการรื้อถอนนี้ยังไม่แล้วเสร็จ หากมีความคืบหน้าอย่างไร Beach Lover จะนำมาเสนอในโอกาสถัดไป

Beachlover

April 24, 2021

รื้อถอนต้นเหตุกัดเซาะชายฝั่งบ้านตะโละกาโปร์ ปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง บริเวณบ้านตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี พร้อมทั้งติดตามการรื้อถอนโครงสร้างถาวร บริเวณหาดทรายและชายฝั่งที่มีสภาพชำรุดและไม่ใช้ประโยชน์ ดำเนินการโดย อบต.ตะโละกาโปร์ ซึ่งโครงสร้างเหล่านี้เปรียบเสมือนตัวขัดขวางการไหลของกระแสน้ำหรือกระแสคลื่นชายฝั่ง เมื่อมีระดับน้ำท่วมถึง คลื่นที่เคลื่อนที่มากระทบกับสิ่งกีดขวาง จะเกิดการสะท้อนกลับพร้อมทั้งนำทรายให้เคลื่อนออกไปด้วย อีกทั้งจุดปลายของโครงสร้างจะเป็นจุดกำเนิดคลื่นใหม่ให้แผ่อ้อมผ่านสิ่งกีดขวางและเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องไป หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์การเลี้ยวเบน (diffraction) หรือ End Effect

Beachlover

April 23, 2021