หารือกำหนดแนวทางแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งถนนไปแหลมตาชี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) พร้อมด้วยนายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สมาชิก อบจ.ปัตตานี แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี นายก อบต.แหลมโพธิ์ ปลัดอำเภอยะหริ่ง เจ้าท่าภูมิภาคปัตตานี ตรวจสอบและหารือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เส้นทาง ปน ๒๐๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๔๒-แหลมตาชี ที่ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผลการตรวจสอบพบการกัดเซาะชายฝั่งและถนนดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกัดเซาะต่อเนื่องจากเขื่อนหินทิ้งป้องกันการกัดเซาะถนน โดยแขวงทางหลวงชนบทปัตตานี ได้พยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะมาแล้ว ๓ ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และปัจจุบันก็กำลังซ่อมแซมถนนอยู่ พร้อมทั้งจัดประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ห้องประชุม อบต.แหลมโพธ์ โดยมีมติเห็นชอบ มอบกรม ทช. ติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายหน้าเขื่อนหินทิ้ง และบริเวณต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง เพื่อชะลอคลื่นและดักตะกอนทราย เพื่อสร้างแนวให้เกิดเนินทรายชายฝั่งสำหรับรับแรงคลื่นที่เข้าปะทะเขื่อนหินทิ้ง อีกทั้งยังลดผลกระทบของการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง ทั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนรูปแบบการปักรั้วไม้ […]

Beachlover

February 28, 2022

เกิดอะไรขึ้น ณ ปลายสุดหาดกำแพง ชิงโค

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายแก้ว-ชิงโค ไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดคอนกรีต-ชิงโค/ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้ Beach Lover ขอพาไปชมโครงการนี้อีกครั้ง ณ ปลายสุดทางทิศเหนือของกำแพงกันคลื่นระยะที่ 4 ซึ่งมีระยะทาง 801 เมตร งบประมาณ 90 ล้านบาท (จากทั้งหมด 4 ระยะ งบประมาณรวม 375.5 ล้านบาท ระยะทางรวมทั้งสิ้น 2.617 กิโลเมตร) โดยครั้งนี้โครงสร้างหลักทั้งหมดได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงการปรับภูมิทัศน์เท่านั้น จากสภาพที่เห็นพบว่า เกิดความชำรุดเสียหายของเลนจักรยานสีฟ้า กล่าวคือมีการแตกร้าวและทรุดตัว ส่วนพื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้น คลื่นได้ปะทะและข้ามสันกำแพงโดยนำตะกอนทรายและขยะมาทับถมจำนวนมาก เมื่อสังเกตด้านท้ายน้ำของโครงสร้างกำแพงกันคลื่น หรือทางด้านทิศเหนือพบว่า มีร่องรอยของการกัดเซาะให้เห็นชัดเจนมากกว่าเมื่อครั้งก่อนๆ รวมถึงครั้งล่าสุเมื่อ ตุลาคม 2564 ที่ Beach Lover ได้ทำการบันทึกภาพมุมสูงเอาไว้ ซากของเสาไม้ที่ปักอยู่นี้ คือมาตรการลดผลกระทบด้านท้ายน้ำที่อาจเกิดจากโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบคอนกรีตทางทิศใต้ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการทดลองดำเนินการเป็นที่แรก โดยได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโค้งรับหน้าคลื่น และมีการปักเป็นแถวเสริมด้านหน้ากำแพงด้วยตามแบบ เมื่อตรวจสอบกับภาพมุมสูงที่ Beach Lover ได้เคยบันทึกเอาไว้เมื่อ […]

Beachlover

December 17, 2021

ติดตามการสะสมตัวของตะกอนทรายด้านหลัง แนวรั้วไม้คลองวาฬ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการสะสมตัวของปริมาณตะกอนทรายด้านหลังแนวรั้วดักตะกอนทราย (Sand fence) ในช่วงมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชายฝั่ง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่ารั้วดักตะกอนทรายแบบ wind break ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ บางตำแหน่งเริ่มมีการสะสมตัวของตะกอนทราย และพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมแล้ว ส่วนพื้นที่หาดคลองวาฬ บ้านหว้าโทน ต.คลองวาฬ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ประกอบกับคลื่น ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้บริเวณนี้เกิดร่องรอยของการกัดเซาะเล็กน้อยขึ้นด้านหลังรั้วดักตะกอนทราย แต่ในภาพรวมแล้วรั้วไม้บริเวณยังสามารถช่วยชะลอและลดความรุนแรงของคลื่นที่จะเข้ากระทบกับฝั่งได้ และยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่งด้านทิศเหนือได้

Beachlover

December 15, 2021

ติดตามการสะสมตะกอนทราย หลังแนวรั้วดักทรายที่คลองวาฬ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๕ กันยายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตาม และศึกษาการสะสมตัวของปริมาณตะกอนทรายด้านหลังแนวรั้วดักตะกอนทราย (Sand fence) แบบ wave break ในพื้นที่บ้านหว้าโทน ต.คลองวาฬ อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ที่ดำเนินการไว้เพื่อลดผลกระทบจากโครงสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาดและฟื้นฟูเนินทรายชายฝั่ง ผลการสำรวจพบว่า โดยรวมพื้นชายฝั่งไม่มีการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง ด้านหลัง และด้านหน้ารั้วดักทรายมีพืชพันธุ์ไม้ล้มลุกเถาเลื้อย เช่น ผักบุ้งทะเล ตลอดแนวชายฝั่ง

Beachlover

September 5, 2021

ติดตามตรวจสอบชายหาดหน้าวัดท่าไทร ไม่พบกัดเซาะ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๖ (พังงา) ตรวจติดตามระบบหาด ท้องที่ จ.พังงา เป็นระบบหาดท้ายเหมือง (T7E๒๐๑) ท้องที่ ต.นาเตย อ.ท้ายเหมือง บริเวณ​หน้าวัดท่าไทร ลักษณะหาดทรายสีน้ำตาลอ่อน เมล็ดทรายหยาบปนละเอียด อุณหภูมิ​ชายหาด ๓๔.๕ องศาเซลเซียส​ ความเร็วลม ๘ กม./ชม. ท้องฟ้าแจ่มใส​ จากฝั่งออกไปประมาณ ๑ กม. มองไปน้ำทะเล​จะเป็นสีเขียว ถัดจากนั้นออกไปเป็นสีคราม น้ำทะเลริมฝั่งขุ่นเล็กน้อย ลักษณะของ​คลื่นเป็นคลื่นลม กระแสน้ำชายฝั่งไหลไปทางทิศเหนือ อัตราคลื่น​กระทบ​ฝั่ง​ ๙ ครั้ง​/นาที สำหรับบริเวณ​ที่กรม ทช. มาก่อสร้างรั้วดักทราย (sand fence) ไว้ ผลมีทรายมาทับถมเกือบมิดหัวไม้เป็นส่วนใหญ่ หัวไม้ที่โผล่ยาวสุดไม่เกิน ๕๐ ซม. บริเวณ​ด้านทิศเหนือของแนวรั้วดักทราย น้ำทะเลได้เซาะจนเห็นเสาไม้แต่ยังไม่เซาะผ่านเข้ามาในแนวเสาไม้ ระยะทางที่เป็นลักษณะ​เช่นนี้​ประมาณ​ ๒๐ เมตร […]

Beachlover

April 23, 2021

เราสามารถสังเกตการเปลี่ยนของชายฝั่งได้อย่างง่ายๆจากการถ่ายภาพมุมเดิมในเวลาแตกต่างกัน

ตามปกติแล้ว เราสามารถศึกษาการเปลี่ยนแปลงของชายฝั่งทะเลได้หลากหลายวิธีการ เช่น แปลจากภาพถ่ายทางอากาศและภาพถ่ายดาวเทียม สำรวจระดับของชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปโดยใช้เทคนิคงานสำรวจทางวิศวกรรม สำรวจแนวชายฝั่งจากหมุดหลักฐานอ้างอิง แต่ก็มีกระบวนการที่ค่อนข้างยุ่งยากและต้องการทักษะบางประการในการวิเคราะห์และแปลผลข้อมูล ในยุคที่โทรศัพท์มือถือเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน ทุกคนมีกล้องถ่ายภาพอยู่กับตัวตลอดเวลา การถ่ายภาพมุมเดิมๆในเวลาที่แตกต่างกัน โดยมีจุดอ้างอิงเดิมปรากฏในภาพ จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ในเบื้องต้น ก่อนที่จะวิเคราะห์ในรายละเอียดโดยใช้เทคนิคที่ซับซ้อนต่อไป                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                   

Beachlover

April 20, 2021

หาดเต่าไข่ วัดท่าไทร ยังสบายดี (มาก)

Beach Lover เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายหน้าวัดท่าไทร ท้ายเหมือง จ.พังงา ช่วงมรสุมตะวันตกเฉียงเหนือไปแล้วครั้งหนึ่ง ติดตามได้จากโพส https://beachlover.net/ท้ายเหมือง-เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน/ ช่วงหมดฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงปลายเดือนธันวาคม 2563 นี้ Beach Lover ได้มีโอกาสลงพื้นที่สำรวจชายหาดแห่งนี้อีกครั้งหนึ่ง พบว่าชายหาดแตกต่างไปจากเดิมช่วงมรสุมอย่างมากมาย หน้าหาดมีความลาดชัน 18 องศา ซึ่งถือว่าชันมาก และพบว่าคลื่นลมหอบทรายขึ้นมากองบริเวณชายหาดส่วนหลัง (Backshore) ที่เป็นพื้นที่ที่มีการปักไม้เพื่อเป็นรั้วดักทราย (Sand fence) โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระยะทาง 594 เมตร ด้วยงบประมาณเกือบห้าแสนบาท การสำรวจเมื่อช่วงมรสุม (กันยายน) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายประมาณ 0.8-0.95 เมตรตลอดทั้งแนว (เฉลี่ยประมาณ 0.89 เมตร) ส่วนในช่วงปลอดมรสุม (ธันวาคม) พบว่ารั้วไม้มีสูงจากพื้นทรายเฉลี่ยประมาณ 0.15 เมตร พบว่าชายหาดใกล้เคียงทางทิศใต้ที่เคยมีกองหินโผล่ในช่วงมรสุม ปัจจุบันถูกทรายกลบจนเกือบมิด พบว่าชายหาดบริเวณนี้ในช่วงมรสุมเมื่อเกิดการกัดเซาะ ก็กัดเซาะตลอดทั้งแนวในรูปแบบเดียวกัน กล่าวคือระดับของสันหาดลดต่ำลงอย่างมาก ความลาดชันชายหาดลดลง คลื่นซัดเอาทรายหน้าหาดหดหายไป ส่งผลให้รั้วไม้ที่ถูกปักไว้โผล่พ้นผืนทรายตลอดทั้งแนวเกือบ 0.9 เมตร และคลื่นยังควักล้วงเอาทรายจากพื้นที่ด้านหลังรั้วไม้ออกไปได้อีกด้วย ครั้งเมื่อปลอดมรสุม ก็เกิดการทับถมในรูปแบบเดียวกัน […]

Beachlover

January 6, 2021

สำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งวัดเทสก์ธรรมนาวา พังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา อยู่ในระบบหาดท้ายเหมือง (T7E201) โดยติดตั้งรั้วดักทรายความยาวตามแนวชายฝั่ง 210 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการกัดเซาะบริเวณจุดสิ้นสุดของโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง (Revetment) พบว่าบริเวณรั้วดักทรายมีความลาดชันชายหาดน้อยกว่าบริเวณหน้าโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง

Beachlover

November 5, 2020

ถึงคิวเกาะลิบง กับ หาดกำแพง ?!?

ลิบง เป็นชื่อของเกาะซึ่งตั้งอยู่ในน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ห่างจากฝั่งบ้านเจ้าไหมไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเกาะใด ๆ ที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดนี้ เกาะลิบงที่มีฐานะเป็นตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร (https://th.wikipedia.org/wiki/เกาะลิบง) เกาะลิบงเมื่อปีก่อนเริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นแหล่งพักรักษาตัวของพยูนมาเรียม อันที่จริงแล้วเกาะลิบงมีชื่อเสียงเรื่องพยูนมาเนิ่นนานแล้วด้วยเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพยูน จึงเป็นพื้นที่แหล่งหากินของพยูนมาแต่ครั้งอดีต ปัจจุบันประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ Beach Lover ได้สำรวจความสมบูรณ์ของทรัพยากรบนเกาะลิบงและพื้นที่ชายหาดรอบๆเกาะ พบทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันหลากหลาย บางโซนของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวสวย บางโซนเป็นหาดโคลนบนทราย บางโซนเป็นท้องทุ่งหญ้าทะเล บางโซนเป็นโขดหินรูปร่างแปลกตา งานสำรวจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่ได้มีโอกาสหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง จนถึงวันนี้ วันที่บางส่วนของชายหาดบนเกาะลิบงกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง รอบๆเกาะไร้ร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งยกเว้นเพียงพื้นที่เดียวคือพื้นที่หมู่ 5 บ้านหลังเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นทะเลเปิด เป็นพื้นที่ของชุมชนประมงที่ตั้งอยู่ด้านหลังเกาะกวาง ช่วงที่ Beach Lover ลงสำรวจพื้นที่เป็นช่วงปลอดมรสุม คลื่นลมสงบยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะใดๆ แต่พบซากปรักหักพังของเศษวัสดุมากมายรวมถึงเศษซากแห่งความพยายามป้องกันพื้นที่ชายฝั่งนี้ให้รอดพ้นจากการกัดเซาะในอดีต ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า หาดแถบนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด Tsunami เมื่อปี 2547 หลังจากนั้นทางท้องถิ่นก็ได้ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นและถนนเลียบหาดแบบไม่ได้มาตรฐานนัก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพเชิงกายภาพครั้งใหญ่ของหาดในหมู่ที่ 5 นี้ โดยระยะต่อมาโครงสร้างเกือบทั้งหมดได้พังทลายลงและส่งผลกระทบให้หาดกัดเซาะไปเรื่อยๆจวบจนถึงปัจจุบัน ทางท้องถิ่นได้ประสานไปหลายหน่วยงานรวมถึงนักวิชาการหลายสำนัก […]

Beachlover

November 3, 2020

ท้ายเหมือง…เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน

[ภาพเมื่อ 30 กันยายน 2563] หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด เพื่อป้องกันศาลาและถนนเลียบทะเลของวัด ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ จนเกือบกระทบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด ระหว่างการก่อสร้าง วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทางทิศเหนือถัดจากกำแพงไปไม่ไกล ไปประมาณ 200 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.2561 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เจ้าอาวาสวัดท่าไทร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นห่วงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหลุมไข่เต่ามะเฟือง จึงได้มอบหมายให้ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.) ใช้อำนาจอำนาจตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/พรบ-กรม-ทช/) สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไปก่อน จากนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำโครงการปักเสาไม้เพื่อป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ (Downdrift) ด้านทิศเหนือของกำแพงหิน ระยะทาง 594 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 495,000 บาท […]

Beachlover

October 5, 2020
1 2