ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 5 มกราคม 2566 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดเสาเภา-ท่าศาลา (T6A149) โดยติดตั้งรั้วดักทรายขนานกับแนวชายฝั่งระยะทาง 600 เมตร จากการสำรวจพบว่าหลังแนวรั้วดักทรายมีตะกอนทรายสะสมตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ประมาณ 0.70 – 0.90 เมตร โดยรั้วดักทรายอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมมรสุมที่มีความรุนแรงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม เบื้องต้นสรุปได้ว่าการติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายสามารถช่วยฟื้นฟูตะกอนทรายชายหาดและลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งใด้ ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะสำรวจข้อมูลและติดตามผลสัมฤทธิ์ของการติดตั้งรั้วดักทราย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังสิ้นสุดฤดูมรสุม ต่อไป

Beachlover

January 6, 2023

รั้วไม้ เป็นสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ?

ตามที่ Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของการปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา ไปในโพสก่อนหน้านี้ (https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ และ https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน-ภาคต่อ/) หลังจากการปักรั้วไม้เสร็จสมบูรณ์ไปเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565 พบว่า กรมเจ้าท่าโดยสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคสาขาสงขลา ได้แจ้งทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเจ้าของรั้วไม้ดักทรายว่าจะต้องขออนุญาตปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำกับกรมเจ้าท่าก่อนตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 63 (ปี พ.ศ.2537) ซึ่งออกตามความในมาตรา 117 แห่ง พรบ.การเดินเรือน่านน้ำไทย ปี พ.ศ.2456 โดยทางกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง ระบุว่ารั้วไม้ดักทรายบริเวณนี้ เป็นการนำไม้มาปักบนทรายตามรูปแบบโดยไม่มีการหล่อซีเมนต์หรือวัสดุยึดติดแบบโครงสร้างถาวร ทำจากวัสดุธรรมชาติ มีระยะเวลาการใช้งาน 3-5 ปี และเป็นการดำเนินการเร่งด่วนเพื่อประโยชน์สาธารณะ ไม่มีลักษณะกีดขวางการสัญจรทางน้ำ และยังเป็นการดำเนินการงานตามภารกิจ ตาม พรบ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พ.ศ.2558 จึงไม่ต้องขออนุญาตกรมเจ้าท่า เมื่อสองหน่วยงาน จากสองกระทรวงมีความเห็นในข้อกฎหมายที่แตกต่างกัน จึงหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเพื่อให้ได้ข้อยุติว่า การปักรั้วไม้ดักทรายโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง บริเวณบ่ออิฐ เขารูปช้าง จ.สงขลา จำเป็นต้องขออนุญาตต่อกรมเจ้าท่าหรือไม่ คณะกรรมการกฤษฎีกา คณะที่ 7 ลงความเห็นตามเอกสารระบุวันที่ 17 ตุลาคม 2565 […]

Beachlover

October 24, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน? (ภาคต่อ)

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จากโพสเก่าๆ วันนี้ขอพาชมอีกพื้นที่หนึ่งของโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา บริเวณชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ เมื่อเดือนพฤษภาคม 2565 Beach Lover ได้เคยนำเสนอภาพและเรื่องราวของพื้นที่นี้ โดย ณ เวลานั้น ยังมิได้ทำการปักรั้วไม้ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/กำแพงไม้-จะมาแทน-กำแพงหิน/ หลังจากนั้นอีก 2 เดือนต่อมา เมื่องานก่อสร้างแล้วเสร็จ Beach Lover จึงลงพื้นที่สำรวจอีกครั้ง แสดงภาพเปรียบเทียบดังรูป เมื่อเดินสำรวจตลอดระยะทาง 268 เมตร พบว่าไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น โดยปักเป็นแนวยาวห่างฝั่งประมาณ 5-6 เมตร พร้อมการปักตั้งฉากจากแนวไม้ยื่นออกไปประมาณ 1 เมตร นับว่าเป็นลักษณะของการปักรั้วไม้ที่แปลกไปจากงานเดิมที่กรมทรัพยากรทางทะเลและและชายฝั่งเคยดำเนินการไว้ในพื้นที่อื่นๆ […]

Beachlover

August 10, 2022

กำแพงไม้ ท่าศาลา นครฯ

BeachLover ขอพาชมชายหาดทางทิศเหนือของปากคลองกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำไม้มาปักไว้เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเสร็จไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สภาพพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นชายหาดกว้างยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปากคลองกลายจนถึงปากดวด จนเมื่อเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองกลายแล้วเสร็จก็ส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ทำการนำไม้มาปักโดยใช้ชื่อเรียกว่า “รั้วดักทราย” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยโครงการนี้เป็นการปักไม้เป็นระยะทางตามแนวชายฝั่งยาวประมาณ 500 เมตร แต่ในป้ายประชาสัมพันธ์นั้นกลับระบุระยะทางเป็น 3,000 เมตร  ดำเนินการโดยบริษัทวิสุทธิคอนซัลแตนท์จำกัด ด้วยงบประมาณ 2.89 ล้านบาท จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ารั้วไม้นี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี ตลอดระยะทางตามแนวชายฝั่งทั้งโครงการนั้นไม่มีช่องว่างเปิดให้เดินลงชายหาดได้เลย หากต้องการเดินจากฝั่งลงไปที่ชายทะเลจำเป็นต้องขึ้นลงโดยผ่านร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมหาด หรือไม่ก็เดินเข้าได้เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดโครงการปักไม้เท่านั้น หากจำปีนข้ามก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะไม้ที่ปักนั้นแน่นและสูงพอสมควร สำหรับงานติดตั้งรั้วไม้ในพื้นที่นี้ มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้ ระยะทางปักไม้ตามที่ปรากฏจริงนั้นไม่เท่ากับระยะทางที่ระบุไว้ในป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น จนอาจเรียกโครงสร้างนี้ได้ว่าเป็นกำแพงไม้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกับพื้นที่ถัดไปหรือไม่ อย่างไร ไม่มีช่องเปิดเพื่อลงชายหาดเลยตลอดแนวโครงการ การปักลักษณะนี้ เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกพิสูจน์แล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลดี หรือไม่ อย่างไร น่าติดตามต่อไปว่า งานปักรั้วไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้น มีประสิทธิภาพตามที่คาดไว้หรือไม่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างไร

Beachlover

August 6, 2022

“รั้วไม้ชายหาด” วัดท่าไทร ยังสบายดี ?

Beach Lover เคยพาชม รั้วไม้ ณ ชายหาดหน้าวัดท่าไทรไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ การปักไม้ในพื้นที่นี้นับเป็นพื้นที่แรกๆที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช) รับมาปฏิบัติเอง หลังจากที่ชาวบ้าน ผู้ประกอบการ ได้ดำเนินการเองไปบ้างแล้วก่อนหน้านั้น งบประมาณที่ทางกรมฯใช้ในพื้นที่นี้คือ 495,000 บาท สำหรับระยะทาง 594 เมตร หรืออาจกล่าวได้ว่า งบประมาณที่ใช้เพื่อการปักไม้คือ 833 บาทต่อเมตร Beach Lover ได้ไล่เรียงภาพถ่ายในมุมเดิมๆ โดยมีตำแหน่งอ้างอิงเดิมให้ได้ชมกันอีกครั้งตั้งแต่ กันยายน 2563 จนถึง พฤษภาคม 2565 ตามภาพ พบว่า การเว้าโค้งด้านทิศเหนือส่วนถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมีรูปแบบที่ไม่แตกต่างกันในแต่ละภาพ สิ่งที่แตกต่างพบเพียงการทับถมของทรายที่เข้ามาตกสะสมตามฤดูกาลเท่านั้น โดยพบว่าภาพในเดือนธันวาคม ซึ่งช่วงปลอดมรสุมทรายเข้ามาทับถมจนเกือบมิดปลายไม้และมีระดับเกือบเสมอกับสันทรายชายหาดด้านใน และหลังจากนั้นทรายส่วนนี้ก็ถูกคลื่นซัดหายไปตามฤดูกาลเหมือนเดิม โดยปรากฏลักษณะของการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลนี้ในรูปแบบเดียวกันตลอดทั้งแนวปักไม้เกือบ 600 เมตร จากการเดินสำรวจตลอดแนวเกือบ 600 เมตร พบว่าพื้นที่ทิศเหนือสุดของแนวปักไม้ ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของชายหาดที่มีความแตกต่างจากพื้นที่ที่มีการปักไม้แต่อย่างใด ซึ่งเหมือนกับที่ Beach Lover เคยสำรวจและแสดงความเห็นไว้ในการสำรวจครั้งก่อนหน้านี้เมื่อสองปีก่อน https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]

Beachlover

June 9, 2022

ผลการตรวจสอบ แนวชายฝั่งหาดท้ายเหมืองสมดุลปกติดี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่ง บริเวณหาดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดท้ายเหมือง (T7E201) การสำรวจรังวัดแนวชายฝั่งใช้เครื่องมือหาพิกัดดาวเทียมแบบ GNSS โดยอาศัยการรังวัดผ่านระบบโครงข่ายการรังวัดด้วยดาวเทียมแบบจลน์ (RTK GNSS Network) ตามแผนการสำรวจแนวชายฝั่งบริเวณเขื่อนหินทิ้ง รั้วดักทราย และพื้นที่ข้างเคียง ระยะทางประมาณ ๑ กม. (จุดเริ่มต้นบริเวณปากคลองบางทอง และจุดสิ้นสุดบริเวณวัดท่าไทร) ผลการสำรวจเบื้องต้นเส้นแนวชายฝั่งบริเวณดังกล่าวไม่มีการเปลี่ยนแปลงเมื่อเปรียบเทียบกับเส้นแนวชายฝั่งในเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ ที่ผ่านมา และไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่

Beachlover

May 22, 2022

กำแพงไม้ จะมาแทน กำแพงหิน ?!?

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของพื้นที่ที่มีกำแพงไม้ หรือ ที่หน่วยงานเรียกขานกันว่า “รั้วไม้ดักทราย” ไปแล้วในหลายพื้นที่ ติดตามได้จาก https://beachlover.net/ถึงคิวเกาะลิบง-กับ-หาดกำ/ และ https://beachlover.net/หาดเต่าไข่-วัดท่าไทร-ยัง/ วันนี้ขอพาชมพื้นที่ที่กำลังจะเกิดโครงการ “รั้วไม้ดักทราย” ใน จ.สงขลา ในระยะเวลาอันใกล้นี้ ได้แก่ชายหาดบริเวณเขารูปช้าง ส่วนถัดจากโครงการกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียง (https://beachlover.net/ผลกระทบปลายกำแพงกันคลื่น-ชายฝั่งบ่ออิฐ-เกาะแต้ว/) และต่อเนื่องจากโครงการเติมทรายซึ่งอยู่ในแผนของกรมเจ้าท่าใน (งบประมาณปี 2566 มูลค่า 30 ล้านบาท) ถัดไปทางทิศเหนือของโครงการกำแพงกันคลื่นอีก 1 กิโลเมตร หรือกล่าวได้ว่า “รั้วไม้ดักทราย” จะเกิดขึ้นห่างจากตำแหน่งสิ้นสุดของกำแพงกันคลื่นแบบหินเรียงของกรมเจ้าท่าไปอีก 1 กิโลเมตร ทางทิศเหนือ จากป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ โครงการนี้ควรแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 10 เมษายน 2565 แต่ปัจจุบัน ณ วันที่สำรวจ ยังไม่พบร่องรอยของการลงมือก่อสร้างแต่อย่างใด สภาพพื้นที่ทั้งหมดเป็นหาดทราย โดยมีกำแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งแล้วตลอดทั้งแนว สันหาดค่อนข้างสูง สิ่งที่น่าตั้งคำถามคือในเมื่อพื้นที่นี้มีกำแพงแบบหินทิ้งริมฝั่งแล้ว หน่วยงานจะดำเนินการก่อสร้างรั้วไม้ดักทรายกันแบบไหน อย่างไร จะรื้อกำแพงหินออก หรือ จะปักไม้ด้านหน้ากำแพง รวมถึงจะวัดประสิทธิภาพของรั้วไม้นี้ได้อย่างไรหากมีโครงสร้างป้องกันชายฝั่งของเดิมอยู่ วัตถุประสงค์ของการก่อสร้างรั้วไม้ในพื้นที่นี้ตามจริงคือต้องการบรรเทาผลกระทบจากการกัดเซาะด้านท้ายน้ำถัดจากกำแพงกันคลื่นที่ก่อสร้างไปแล้วก่อนหน้านี้ แต่รั้วไม้นี้จะป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพตามที่หวังตั้งใจไว้หรือไม่ […]

Beachlover

May 16, 2022

หารือกำหนดแนวทางแก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งถนนไปแหลมตาชี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) พร้อมด้วยนายจตุรนต์ เอี่ยมโสภา สมาชิก อบจ.ปัตตานี แขวงทางหลวงชนบทปัตตานี นายก อบต.แหลมโพธิ์ ปลัดอำเภอยะหริ่ง เจ้าท่าภูมิภาคปัตตานี ตรวจสอบและหารือปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เส้นทาง ปน ๒๐๖๒ แยกทางหลวงหมายเลข ๔๒-แหลมตาชี ที่ได้รับผลกระทบในช่วงฤดูมรสุมระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ในบริเวณพื้นที่ชายฝั่ง ต.แหลมโพธิ์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี ผลการตรวจสอบพบการกัดเซาะชายฝั่งและถนนดังกล่าว ซึ่งเป็นผลกระทบจากการกัดเซาะต่อเนื่องจากเขื่อนหินทิ้งป้องกันการกัดเซาะถนน โดยแขวงทางหลวงชนบทปัตตานี ได้พยายามแก้ปัญหาการกัดเซาะมาแล้ว ๓ ครั้ง ในช่วงเดือนธันวาคม ๒๕๖๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕ และปัจจุบันก็กำลังซ่อมแซมถนนอยู่ พร้อมทั้งจัดประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ณ ห้องประชุม อบต.แหลมโพธ์ โดยมีมติเห็นชอบ มอบกรม ทช. ติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายหน้าเขื่อนหินทิ้ง และบริเวณต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง เพื่อชะลอคลื่นและดักตะกอนทราย เพื่อสร้างแนวให้เกิดเนินทรายชายฝั่งสำหรับรับแรงคลื่นที่เข้าปะทะเขื่อนหินทิ้ง อีกทั้งยังลดผลกระทบของการกัดเซาะต่อเนื่องจากจุดสิ้นสุดหินทิ้ง ทั้งนี้ได้ขอรับการสนับสนุนรูปแบบการปักรั้วไม้ […]

Beachlover

February 28, 2022

เกิดอะไรขึ้น ณ ปลายสุดหาดกำแพง ชิงโค

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดทรายแก้ว-ชิงโค ไปแล้วหลายครั้ง ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดคอนกรีต-ชิงโค/ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือปีนี้ Beach Lover ขอพาไปชมโครงการนี้อีกครั้ง ณ ปลายสุดทางทิศเหนือของกำแพงกันคลื่นระยะที่ 4 ซึ่งมีระยะทาง 801 เมตร งบประมาณ 90 ล้านบาท (จากทั้งหมด 4 ระยะ งบประมาณรวม 375.5 ล้านบาท ระยะทางรวมทั้งสิ้น 2.617 กิโลเมตร) โดยครั้งนี้โครงสร้างหลักทั้งหมดได้เสร็จสมบูรณ์แล้ว เหลือเพียงการปรับภูมิทัศน์เท่านั้น จากสภาพที่เห็นพบว่า เกิดความชำรุดเสียหายของเลนจักรยานสีฟ้า กล่าวคือมีการแตกร้าวและทรุดตัว ส่วนพื้นที่ด้านหลังกำแพงนั้น คลื่นได้ปะทะและข้ามสันกำแพงโดยนำตะกอนทรายและขยะมาทับถมจำนวนมาก เมื่อสังเกตด้านท้ายน้ำของโครงสร้างกำแพงกันคลื่น หรือทางด้านทิศเหนือพบว่า มีร่องรอยของการกัดเซาะให้เห็นชัดเจนมากกว่าเมื่อครั้งก่อนๆ รวมถึงครั้งล่าสุเมื่อ ตุลาคม 2564 ที่ Beach Lover ได้ทำการบันทึกภาพมุมสูงเอาไว้ ซากของเสาไม้ที่ปักอยู่นี้ คือมาตรการลดผลกระทบด้านท้ายน้ำที่อาจเกิดจากโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบคอนกรีตทางทิศใต้ โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในฐานะเจ้าของโครงการทดลองดำเนินการเป็นที่แรก โดยได้รับคำแนะนำจากนักวิชาการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง มีแบบก่อสร้างเป็นรูปโค้งรับหน้าคลื่น และมีการปักเป็นแถวเสริมด้านหน้ากำแพงด้วยตามแบบ เมื่อตรวจสอบกับภาพมุมสูงที่ Beach Lover ได้เคยบันทึกเอาไว้เมื่อ […]

Beachlover

December 17, 2021

ติดตามการสะสมตัวของตะกอนทรายด้านหลัง แนวรั้วไม้คลองวาฬ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจ ติดตามการสะสมตัวของปริมาณตะกอนทรายด้านหลังแนวรั้วดักตะกอนทราย (Sand fence) ในช่วงมรสมุตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่ชายฝั่ง อ.เมือง จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผลการสำรวจเบื้องต้นพบว่ารั้วดักตะกอนทรายแบบ wind break ในพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ บางตำแหน่งเริ่มมีการสะสมตัวของตะกอนทราย และพันธุ์ไม้ขึ้นปกคลุมแล้ว ส่วนพื้นที่หาดคลองวาฬ บ้านหว้าโทน ต.คลองวาฬ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีระดับน้ำทะเลค่อนข้างสูง ประกอบกับคลื่น ค่อนข้างรุนแรง ส่งผลให้บริเวณนี้เกิดร่องรอยของการกัดเซาะเล็กน้อยขึ้นด้านหลังรั้วดักตะกอนทราย แต่ในภาพรวมแล้วรั้วไม้บริเวณยังสามารถช่วยชะลอและลดความรุนแรงของคลื่นที่จะเข้ากระทบกับฝั่งได้ และยังช่วยลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงสร้างกำแพงป้องกันคลื่นริมชายฝั่งด้านทิศเหนือได้

Beachlover

December 15, 2021
1 2