สำรวจหาดบ้านป่าไหม้ ช่วงหมดมรสุมตะกอนทรายคืนแล้ว

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๓ เมษายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดบ้านป่าไหม้ ต.ดอนทราย อ.ไม้แก่น จ.ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระบบหาดบางนรา ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่ชายฝั่งทะเลมีลักษณะเป็นหาดทรายสมดุล มีการสะสมตัวของตะกอนทรายชายหาด/ชายฝั่ง จากการสอบถามชาวประมงทราบว่า การก่อตัวเนินทราย/สะสมตัวของตะกอนทราย เริ่มเกิดขึ้นหลังหมดลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ทำให้ได้ตะกอนทรายเข้ามาสะสมตัวในบริเวณนี้จำนวนมาก อีกทั้งชายหาดบ้านป่าไหม้ มีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียง พร้อมทั้งเป็นพื้นที่จอดเรือและค้าขายอาหารทะเลสดที่ได้จากประมงชายฝั่ง

Beachlover

April 25, 2021

อะไรเกิดขึ้นที่หาดตะโละกาโปร์ ?

การกัดเซาะบริเวณหาดตะโละกาโปร์ จ.ปัตตานี เมื่อเดือนมีนาคม 2564 พอจะวิเคราะห์เบื้องต้นได้จากภาพนี้ พื้นที่ลานปูนที่ยื่นล้ำของอาคารทางด้านล่างของภาพ ส่งผลให้เกิดการกัดเซาะทางด้านเหนือของลานปูนนี้ เนื่องจากการเลี้ยวเบนของคลื่นคล้ายอิทธิพลของการเลี้ยวเบนในพื้นที่ถัดจากกำแพงกันคลื่น (https://beachlover.net/seawall/) ถัดจากนั้นขึ้นไปทางตอนเหนืออีกเล็กน้อยพบต้นมะพร้าววางขวางลำอยู่ใต้น้ำในมุมที่ค่อนข้างตั้งฉากกับชายฝั่ง วางตัวประหนึ่งรอดักทรายใต้น้ำ (https://beachlover.net/groin/) ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศเหนือถัดขึ้นไปเกิดการกัดเซาะแบบเว้าแหว่ง หากการกัดเซาะในพื้นที่หาดตะโละกาโปร์เกิดตามธรรมชาติโดยแท้ เราจะเห็นการกัดเซาะในลักษณะของการกินระยะที่ค่อนข้างเท่ากันในหาดเดียวกัน แต่จากภาพที่ปรากฏพบว่า เกิดการเว้าแหว่งของชายหาดเป็นจุดๆเฉพาะตำแหน่ง ในขณะที่ชายหาดส่วนถัดไปทางตอนเหนือยังคงสมบูรณ์ ซึ่งนั่นหมายความว่า ต้องมีตัวกระตุ้นบางอย่างที่ส่งผลให้ชายหาดเกิดการกัดเซาะแบบไม่เป็นไปตามธรรมชาติ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงที่เห็นดังภาพอาจแตกต่างกันไปตามทิศทางของคลื่นลม บางฤดูกาลเราอาจไม่เห็นอิทธิพลของโครงสร้างที่ยื่นล้ำนี้ได้อย่างเด่นชัด ในขณะที่บางฤดูกาลโครงสร้างนี้เองที่อาจเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งอย่างมีนัยสำคัญ

Beachlover

April 15, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [20 ก.พ.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 20 ก.พ. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 9 แล้ว

Beachlover

February 22, 2021

จับมือกองทัพอากาศหารือแนวทางแก้ไขกัดเซาะชายฝั่งอ่าวมะนาว

ที่มา: Facebook page กรมทรัพยากรทางทะเลและขายฝั่ง วันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๓ (เพชรบุรี) ร่วมกับกองทัพอากาศ กองบิน ๕ อ่าวมะนาว สำรวจสถานภาพชายฝั่งและการกัดเซาะชายฝั่ง ระบบหาดอ่าวมะนาว จ.ประจวบคีรีขันธ์ เพื่อพิจารณาหาแนวทางแก้ไขผลกระทบการกัดเซาะชายฝั่ง ผลการสำรวจพบว่ามีการกัดเซาะชายฝั่งทะเล เป็นแนวยาวประมาณ ๑,๑๐๐ เมตร โดยต้นสนทะเลซึ่งอยู่ตามแนวชายฝั่งถูกกัดเซาะจนถึงบริเวณราก และมี end effect ระหว่างต้นไม้จึงเกิดการกัดเซาะความลึกประมาณ ๕-๑๐ เมตร สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งครั้งนี้ เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมวลอากาศเย็นกำลังแรง จึงทำให้บริเวณดังกล่าวจึงเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง

Beachlover

January 23, 2021

ยืนดูคลื่นปะทะกำเเพงกันคลื่น ที่บ้านท่าบอน หมู่ 2 ระโนด สงขลา

ที่มา: https://www.facebook.com/Beachforlife.BFL [ต้นฉบับข่าวเป็น VDO Clip] วันนี้ (20 มกราคม 2564) ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า โครงการนี้เป็นของกรมเจ้าท่าสร้างมา 2 ปีเเล้ว นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการก่อสร้างกำเเพงกันคลื่น โดยใช้วิธีการปักเสาเข็มเป็นกำเเพงเเนวดิ่ง หลังจากสร้างเสร็จ คลื่นกวาดทรายหน้ากำเเพงออกไปทำให้หน้ากำเเพงลึก ทำให้คลื่นปะทะกำเเพงกันคลื่นเเล้วยกตัวสูงขึ้น

Beachlover

January 20, 2021

เร่งช่วยชาวบ้านได้รับผลกระทบคลื่นกัดเซาะ ท่าบอน ระโนด

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/politics/ เมื่อวันที่ 16 ม.ค. นายถาวร เสนเนียม รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า ตนพร้อมด้วยนายชัยวุฒิ ผ่องแผ้ว คณะทำงาน นายชาตรี ณ ถลาง นายอำเภอระโนด นายปราโมทย์ แสงอรุณ นายก อบต.ท่าบอน นายสมเพียร บุญศิริ นายกเทศมนตรีตำบลปากแตระ อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา ได้ร่วมกันตรวจพื้นที่ชายทะเลฝั่งอ่าวไทย  ซึ่งได้รับผลกระทบจากคลื่นกัดเซาะตลิ่ง ทำให้พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ประกอบอาชีพ รวมถึงวัดอู่ตะเภาได้รับความเสียหาย  ซึ่งเป็นพื้นที่ที่กรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม  และกรมโยธาธิการและผังเมือง กระทรวงมหาดไทย ได้จัดงบประมาณมาดำเนินการก่อสร้าง เพื่อป้องกันตลิ่งพัง ปรากฏว่ารูปแบบการก่อสร้างมี 3 รูปแบบ 1.คันคอนกรีต 2.คอนกรีตเทราดทับตามแนวราดของชายหาด และ 3.เรียงหินก้อนใหญ่ ผลปรากฏว่าการก่อสร้างในรูปแบบเรียงหินก้อนใหญ่ สามารถป้องกันตลิ่งได้ และตนได้โทรศัพท์คุยกับนายวิทยา ยาม่วง อธิบดีกรมเจ้าท่า ได้รับคำตอบว่าจะส่งเจ้าหน้าที่กรมเจ้าท่าส่วนภูมิภาคมาตรวจสอบความเสียหายและจะได้จัดสรรงบประมาณมาแก้ไข รวมถึงการพัฒนาต่อเนื่องต่อไป

Beachlover

January 18, 2021

คลื่นซัด!! หาดปากน้ำปราณแนวเขื่อนพังราบ

ที่มา: http://www.prachuppostnews.com/ คลื่นลมแรงในทะเลพัดเข้าทาโถมเข้าหาชายฝั่ง น้ำทะเลกัดเซาะจนเขื่อนกันคลื่น ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ พังได้รับความเสียหายยาวเพิ่มมากขึ้น เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ ต้องนำธงแดงมาปักห้ามไม่ให้เข้าบริเวณพื้นที่ถูกน้ำทะเลกัดเซาะเกรงจะเป็นอันตราย วันนี้(วันที่14มกราคม2563)   ผู้สื่อข่าวเดินทางลงไปบริเวณ  ชายหาดปากน้ำปราณ ต.ปากน้ำปราณ  อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งได้รับการแจ้งจากชาวบ้านว่าเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายต่อเนื่องมาหลายปียังไม่มีหน่วยงานภาครัฐ   ที่เกี่ยวข้องมาแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน       ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวยังเป็นแหล่งท่องเที่ยว    มีทั้งร้านอาหาร   โดยปัจจุบันการกัดเซาะชายหาดปากน้ำปราณ หนักขึ้นอย่างต่อเนื่อง    ซึ่งสภาพเขื่อนกันคลื่นได้รับความเสียหายเป็นแนวยาวบริเวณตั้งแต่     เลยสะพานปลามาถึงบริเวณร้านอาหารจนไปถึงบริเวณแนวเขื่อนกันคลื่นอีกส่วนที่ยังไม่เสียหาย บริเวณจุดที่เสียหายเกิดจากคลื่นลมมรสุมรุนแรงของทุกปีที่ซัดเข้าหาชายฝั่งปากน้ำปราณ  จนสร้างความเสียหายอย่างหนัก พื้นที่หาดถูกกัดเซาะเข้ามาด้านในกว่า5เมตรทั้งที่เป็นร้านอาหารและบริเวณลานพักผ่อนปูตัวหนอนแนวต้นสนหายไปถึง2ชั้นแล้ว ในปัจจุบันนี้ ด้านนายธงชัย สุณาพันธ์ปลัดเทศบาล ปฏิบัติหน้าที่นายกเทศมนตรีตำบลปากน้ำปราณ  กล่าวว่าปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นต่อเนื่องทุกปีและปีนี้ยอมรับว่าหนักการกัดเซาะลึกเข้ามาในพื้นที่ด้านใน ซึ่งปัญหาการกัดเซาะที่นี่ ตนเองได้ทำหนังสือให้อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองได้รับทราบแล้วเมื่อวานนี้ถึงความเสียหายแนวยาวหลายร้อยเมตร ซึ่งการดำเนินการต้องอาศัยกรมโยธาธิการและผังเมือง  ลำพังเทศบาลฯไม่สามารถดำเนินการได้ ยิ่งตอนนี้สะพานปลาเก่าเหลือแต่เสาทำให้กระแสคลื่นซัดเข้ามาในจุดที่พบเสียหายอย่างหนักและรุนแรงขึ้น ทางเทศบาลฯทำได้เพียงปักธงแดง และกั้นแนวเชือกและแนวรั้วไม้ไผ่เท่านั้น ว่าห้ามทุกคนเข้าไปเป็นจุดอันตราย หากแก้ไขเฉพาะหน้าก็ต้องรอให้คลื่นลมสงบในช่วงเดือนมีนาคมนี้   จะนำถุงบิ๊กแบ็คไปทิ้งเอาไว้เพื่อเป็นแนวป้องกันชั่วคราว จนกว่าหน่วยงานที่เกี่ยวจะเข้ามาซ่อมแซมและน่าจะต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก นางสาวธนวัฒน์  ธนศร เจ้าของร้านอาหารชวนนั่ง กล่าวว่าคลื่นลมแรงตั้งแต่ก่อนปีใหม่ซัดเข้าหาฝั่งอย่างหนัก จนกัดเซาะเข้ามาด้านใต้พื้นศูนย์อาหาร  และมาหลังปีใหม่ก็ยังหนักอยู่จึงว่าจ้างรถลงไปตักทรายเข้ามาถมด้านใต้ไปบ้างแล้วโชคดีวันนี้คลื่นลมเริ่มเบาเริ่มพัดทรายเข้ามาบ้าง แต่ก็อยากให้หน่วยงานเกี่ยวข้องเร่งแก้ไข  เพราะเกิดขึ้นทุกปี และเป็นอันตราย

Beachlover

January 15, 2021

ชายฝั่งทะเลปัตตานีกัดเซาะรุนแรง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๔ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) สำรวจติดตามและเฝ้าระวังการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณ ต.บางเก่า อ.สายบุรี จ.ปัตตานี พบการกัดเซาะชายฝั่งและสิ่งปลูกสร้างตามแนวชายฝั่งที่เสียหายได้ทำให้เกิดการกัดเซาะต่อเนื่องไปทางด้านทิศเหนืออีกด้วย มีการกัดเซาะชายฝั่งระยะทาง ๔๐๐ เมตร สาเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งในครั้งนี้ เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมวลอากาศเย็นมีกำลังแรง จึงเกิดคลื่นลมแรงและน้ำทะเลหนุนสูง ทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณดังกล่าวอย่างรุนแรง

Beachlover

January 14, 2021

ชายฝั่งทะเลเพชรบุรีถูกกัดเซาะรุนแรง พื้นที่หาดชะอำ

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๓ (เพชรบุรี) ร่วมกับสำนักงานเจ้าท่าส่วนภูมิภาคสาขาเพชรบุรี สำรวจ ติดตามและเฝ้าระวังการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณหาดชะอำ ต.ชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี พบการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณทิศเหนือของจุดชมวิวระยะทาง ๓๘๘ เมตร กัดเซาะลึกประมาณ ๒-๓ เมตร พบต้นไม้ประเภทสนทะเลและมะขามเทศ ถูกกัดเซาะจนถึงราก และบริเวณทิศใต้ของจุดชมวิว พบการกัดเซาะชายฝั่งระยะทาง ๔๗๓ เมตร ถูกกัดเซาะชายฝั่งลึกประมาณ ๕-๗ เมตร ตลอดแนว ทำให้ต้นไม้ประเภทสนทะเล และมะขามเทศ ที่อยู่บริเวณริมตลิ่งล้มลงเป็นจำนวนมาก และมีต้นไม้บางส่วนกำลังจะล้มลง สำหรับบริเวณอื่นๆ ไม่ถูกกัดเซาะ เนื่องจากมีโครงสร้างแข็ง และมีเนินทรายป้องกันไว้ การแก้ไขปัญหาเบื้องต้นทางเทศบาลชะอำและผู้ประกอบการร้านค้านำถุงกระสอบทรายมาวางแนวป้องกันคลื่นทะเล สาเหตุการกัดเซาะชายฝั่งครั้งนี้ เกิดจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมวลอากาศเย็นกำลังแรง จนเกิดคลื่นลมแรง ความสูงของคลื่นประมาณ ๒-๓ เมตร ประกอบกับน้ำทะเลหนุนสูง จึงทำให้บริเวณดังกล่าวจึงเกิดการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนแรง

Beachlover

January 13, 2021

น้ำท่วมชายฝั่ง ปานาเระ ปัตตานี

สืบเนื่องจากภาพข่าวและวีดีโอคลิปที่ถูกเผยแพร่กันไปเมื่อคืนวันที่ 12 มกราคม 2564 ถึงเหตุการณ์ที่น้ำทะเลไหลบ่าเข้าท่วมพื้นที่แถบชายหาดปานาเระ หาดท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ จ.ปัตตานี ตามคลิป https://www.facebook.com/watch/live/?v=3863633530334021&ref=watch_permalink และ https://www.youtube.com/watch?v=58USfzLARGw ปรากฏการณ์น้ำทะเลเข้าท่วมพื้นที่ชายฝั่ง (Coastal flooding) ลักษณะนี้มักเกิดขึ้นในช่วงน้ำเกิด (Spring tide) ซึ่งก็คือคืนวันพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งมีทั้งข้างขึ้น (Full moon) และข้างแรม(New moon) สำหรับเหุตการณ์ในครั้งนี้เราจะไม่เห็นดวงจันทร์ เพราะเป็นคืนเดือนมืด หรือแรม 15 ค่ำนั่นเอง ซึ่งตรงกับวันที่ 13 มกราคม จากข้อมูลระดับน้ำทำนาย ณ ปากน้ำปัตตานี โดยกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ (http://www.hydro.navy.mi.th/tide64/21-PN2021.pdf) แสดงให้เห็นว่า ช่วงเวลาที่มีการถ่ายคลิป VDO ในคืนวันที่ 12 มกราคมนั้น เป็นช่วงเวลาที่ระดับน้ำทะเลยกตัวสูงสุดของพอดี (รูปล่างในกรอบสีแดง) นอกจากนั้น ในช่วงวันที่ 12 มกราคม เป็นช่วงที่เกิดความกดอากาศสูงหลายพื้นที่ในประเทศ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้ภาคใต้ตอนล่างฝั่งอ่าวไทยเกิดคลื่นสูง ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ปกติที่มักเกิดขึ้นในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ โดยปรากฏชัดจากผลการพยากรณ์คลื่นทะเลในวันที่ 12 มกราคม 2564 […]

Beachlover

January 13, 2021
1 2 3