เผยแพร่ใน: https://dxc.thaipbs.or.th/post-special/น้ำทะเลล้นฝั่ง-ภัยเนิบช/ “ภัยคุกคามชายฝั่งทะเลที่เกิดจากฝีมือของมนุษย์นั้นเปรียบเสมือนเข็มยาวที่เดินบ่อยและเดินเร็ว แต่ภัยคุกคามจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลนั้นเหมือนเข็มสั้นที่เดินช้าแต่เดินอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน” หกสิบเปอร์เซ็นต์ของเมืองริมชายฝั่งทะเลที่มีประชากรมากกว่า 5 ล้านคนนั้นตั้งอยู่ในระยะไม่เกิน 100 กิโลเมตรจากชายฝั่ง (Nicholls et al., 2007) ชายฝั่งทะเลนั้นนับได้ว่าเป็นพื้นที่ที่มีความหลากหลากทางชีวภาพและเป็นหนึ่งในสิ่งแวดล้อมบนโลกที่มีความเป็นพลวัตมากที่สุด (McLean et al., 2001) และกำลังถูกคุกคามอย่างหนักจากทั้งธรรมชาติและกิจกรรมของมนุษย์ (Nicholls and Lowe, 2004) ทั้งยังมีความเปราะบางสูงต่อสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (U.S.EPA, 2009) ซึ่งส่งผลกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งทะเลในหลายมิติ เป็นต้นว่า การกัดเซาะชายฝั่ง น้ำท่วมริมชายฝั่ง พายุซัดฝั่ง การแทรกตัวของน้ำทะเลริมชายฝั่ง (Camarsa et al., 2012) โดยกระทบทั้งสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ของผู้ที่ตั้งถิ่นฐานและใช้ประโยชน์ริมชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งกว่า 70% ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาระดับน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 20% จากค่าระดับน้ำทะเลโลกเฉลี่ย รวมถึงภัยพิบัติทางทะเลที่มีแนวโน้มมากขึ้นทั้งความถี่และความรุนแรง (Core Writing Team et al., 2014) โดยนักวิทยาศาสตร์คาดเดากันว่าพื้นที่ริมมหาสมุทรแปซิฟิกจะเป็นพื้นที่ซึ่งได้รับอิทธิพลจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลมากที่สุด (Leal Filho, […]