เพิ่มแนวป้องกัน ปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นปากทะเล เพชรบุรี
ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น พื้นที่ ต.ปากทะเล และ ต.บางแก้ว จ.เพชรบุรี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ตรวจสอบความสมบูรณ์ของโครงการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่น พื้นที่ ต.ปากทะเล และ ต.บางแก้ว จ.เพชรบุรี
“ทะเลกรุงเทพ” ของจริงอยู่ที่นี่ ไม่ใช่ “สวนสยาม” อย่างที่ใครเค้ากล่าวอ้างแต่อย่างใด! กรุงเทพมหานครมีอาณาเขตติดทะเลประมาณ 5 กิโลเมตร ในเขตบางขุนเทียน ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี ชายฝั่งทะเลถูกกัดกินลึกเข้าไปแล้วกว่า 1 กิโลเมตร กรุงเทพมหานครพยายามต่อสู้กับธรรมชาติโดยการปักเสาไฟฟ้า ปลูกป่าชายเลน ปักไม้ไผ่มาอย่างต่อเนื่อง แม้กิจกรรมหลักจะไม่ได้ใช้งบประมาณประจำปีของกรุงเทพฯ แต่ก็เป็นงบประมาณที่มหาศาลมากจากภาคเอกชนผ่านทางมูลนิธิเพื่อปลูกป่าชายเลน ล่าสุดได้วางแผนใช้งบประมาณ 1,400 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง (Breakwater) ท่าเรือ ทางเดินธรรมชาติ และศูนย์การเรียนรู้เรื่องการกัดเซาะชายฝั่ง โดยโครงการทั้งหมดนั้นผ่านการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เรียบร้อยแล้ว เมื่อหลายเดือนก่อนงบก้อนนี้ถูกตีตกไปในการพิจารณาร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2564 แต่กรุงเทพมหานครยังคงไม่ลดละความพยายาม ปัจจุบันอยู่ระหว่างการของบประมาณปี 2565 เพื่อการดำเนินโครงการนี้ งบประมาณที่ใช้กว่า 1,400 ล้านบาท นั้น เท่ากับงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 เพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของ 2 กรมรวมกันคือกรมเจ้าท่าและกรมโยธาธิการและผังเมือง แต่ครั้งนี้จะใช้เพื่อป้องกันชายฝั่งกรุงเทพมหานครระยะทางเพียง 5 กิโลเมตร ?!?!?
แหลมตาชีหรือแหลมโพธิ์ สัญลักษณ์ที่สำคัญของชายฝั่งทะเลจังหวัดปัตตานี ณ ที่แห่งนี้ตะกอนทรายที่เดินทางเลียบชายฝั่งมาตั้งแต่ปากแม่น้ำโกลกจะเคลื่อนที่มาสะสม เติมเต็มให้แหลมตาชีงอกยื่นยาวออกไปเรื่อยๆ โดยฝั่งซ้ายหรือทิศใต้ของปลายแหลมเป็นป่าชายเลนในอ่าวปัตตานี ส่วนฝั่งขวาหรือทิศเหนือเป็นป่าชายหาดและทะเลฝั่งอ่าวไทย Beach Lover พาชมปลายสุดแหลมตาชีในมุมสูง ซึ่งเผยให้เห็นป่าชายหาด ป่าชายเลน ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งสองฝั่งของปลายแหลม นักวิชาการบางสำนักชี้ว่า ปลายแหลมนี้กำลังค่อยๆโค้งเข้าไปปิดปากอ่าวปัตตานีในอนาคต ในขณะที่บางสำนักชี้ว่า โอกาสเกิดแบบนั้นน่าจะมีความเป็นไปได้น้อยตราบเท่าที่ยังมีน้ำไหลออกจากปากแม่น้ำปัตตานี เรื่องราวนี้คงจะได้พิสูจน์โดยใช้ข้อมูลเชิงวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์กันด้วยหลักเหตุผลได้อย่างไม่ยากเย็นนัก … รอติดตามต่อไป
ปีนี้ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งวางแผนปักไม้ไผ่ ความยาวรวม 15.85 กิโลเมตร งบประมาณรวม 63.4 ล้านบาท สำหรับ 4 พื้นที่ในจังหวัดเพชรบุรี จันทบุรี และสมุทรปราการ โดยใช้ไม้ไผ่ความยาวไม่ต่ำกว่า 5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยว่า 3 นิ้ว โดยปักตามแบบที่กำหนดนี้ ตกกิโลเมตรละ 4 ล้านบาท เท่าที่เห็นเชิงประจักษ์ยังพบหลายพื้นที่ที่ไม่ก่อให้เกิดการตกทับถมของตะกอนเลนตามที่กรมฯตั้งไว้ตามวัตถุประสงค์ คำถามสำคัญคือ ได้มีการติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพประสิทธิผลของการดำเนินงานที่ผ่านมาหรือไม่อย่างไร เหตุใดจึงมั่นใจได้ว่า ทั้ง 4 โครงการที่กำลังเกิดขึ้นในปีงบประมาณ 2563 นี้จะบรรลุวัตถุประสงค์
ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง ลงพื้นที่ติดตามตรวจสอบสถานภาพชายฝั่งในพื้นที่ระบบหาดU-SKM/PBI (เเม่กลอง-บางตะบูน) บริเวณ ต.คลองโคน อ.เมือง จ.สมุทรสงคราม จนถึง ต.บางตะบูน อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี ผลการสำรวจพบว่าเป็นหาดโคลน ตะกอนที่พบส่วนใหญ่เป็นตะกอนโคลนทะเล จากการสำรวจพบแปลงเลี้ยงหอยบริเวณบ้านคลองช่อง ม.๕ และ ม.๗ ต.คลองโคน รวมถึงพื้นที่ด้านทิศเหนือของคลองบางตะบูนในเขต ต.บางตะบูน สถานภาพชายฝั่งมีสภาพสมดุล ไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง ป่าชายเลนสมบูรณ์ พันธุ์ไม้ป่าชายเลนที่พบ ได้แก่ เเสมขาว โกงกางใบเล็ก โกงกางใบใหญ่ รวมทั้งพบฝูงลิงแสม ทั้งนี้ในพื้นที่พบต้นโกงกางที่กำลังเติบโตจำนวนมาก