แปลงปลูกต้นไม้ชายหาด อุทยานปราณบุรี

“ป่าชายหาด” คือ พื้นที่รอยต่อระหว่างทะเลกันป่าดิบแล้งตามชายฝั่งทะเลที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง ชายหาดเป็นกรวดทรายและโขดหินเป็นแนวกว้าง เช่น ตามเกาะต่างๆในทะเลของไทย ทั้งบริเวณในเขตอ่าวไทยและอันดามัน ดินค่อนข้างเค็มเนื่องจากมีไอเค็มจากฝั่งทะเลพัดเขาถึง สภาพป่าจะผิดแผกไปจากป่าพรุ ป่าบึงน้ำจืด และป่าชายเลน หรือป่าเลนน้ำเค็มโดยสิ้นเชิง ความชุ่มชื้นและปุ๋ยอินทรีย์ในดินมีน้อยมาก สังคมพืชโดยถือเอาความสูงเป็นเกณ์แบ่งได้ 3 ชั้น พันธุ์ไม้หลัก มีสนทะเล กระทิงหรือสารภีทะเล และหูกวางเป็นหลัก “ป่าชายหาด” นับเป็นป่าสังคมหนึ่งของป่าดิบ มีปริมาณฝนระหว่าง 1,500-4,000 มม/ปี และพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 50 เมตร ปริมาณพื้นที่ของป่าชนิดนี้ยังไม่อาจประเมินได้ แต่มีขนาดเล็กมากเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าประเภทอื่นในประเทศไทย (อ่านเพิ่มเติมได้จาก วารสารราชบัณฑิต) แนวคิดการปลูกป่าชายหาดเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศชายฝั่งทะเล เนินทรายชายฝั่ง เพื่อเป็นปราการทางธรรมชาติป้องกันคลื่นลมนั้นเริ่มปรากฏให้เห็นในระยะหลังๆที่สังคมเริ่มมีความรู้ความเข้าใจเรื่อง Eco-friendly มากขึ้น มีการเริ่มตระหนักว่า ความสมบูรณ์ของป่าชายหาดอาจทดแทนโครงสร้างป้องกันชายฝั่งอย่างกำแพงกันคลื่นได้ ตัวอย่างเช่นโครงการ การพัฒนาแนวทางการปลูกป่าชายหาดด้วยหลักการป่านิเวศ (Eco-forest) เพื่อป้องกันผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล การกัดเซาะชายฝั่ง และพายุซัดฝั่ง ณ ชายหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา ปลูกป่าชายหาดเสริมความมั่นคง ป่าปลายแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช Beach Lover ขอพาชมแปลงปลูกป่าชายหาด ณ วนอุทยานปราณบุรี หรือ […]

Beachlover

January 31, 2024

ลงมือแล้ว! กำแพงกันคลื่นหาดปากน้ำปราณ

ชายหาดปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีความยาวประมาณ 7.5 กิโลเมตร ต่อเนื่องจากทิศใต้ของปากน้ำปราณเรื่อยลงไปถึงหาดเขากะโหลก เป็นพื้นที่ที่ถูกพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว มีรีสอร์ท ร้านอาหาร ตลอดทั้งแนว เราสามารถแบ่งหาดแถบนี้ได้เป็นสองแบบ คือโซนที่ติดกับปากน้ำปราณมีลักษณะเป็นชายหาดที่มีถนนเลียบพร้อมพื้นที่สาธารณะริมชายหาด ส่วนทางทิศใต้ติดกับเขากะโหลกเป็นรีสอร์ทประชิดชายหาดและมีถนนเล็กๆอยู่ด้านใน เรามักเรียกขานหาดทางทิศใต้นี้ว่าหาดเขากะโหลก และทางทิศเหนือว่าหาดปากน้ำปราณ ชายหาดปากน้ำปราณถูกกัดเซาะรุนแรงมากขึ้นหลังการเกิดขึ้นของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/jetty/) แม้ตะกอนชายฝั่งจะมีทิศทางหลักไปทางทิศเหนือก็จริง แต่ในบางฤดูกาลก็นำพาให้เกิดปัญหากัดเซาะทางทิศใต้ของปากร่องน้ำได้เช่นกัน หลังจากนั้นจึงเกิดโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทางทิศใต้ของปากร่องน้ำทั้งกำแพงกันคลื่นแบบตั้งตรง  แบบขั้นบันได  และแบบหินทิ้ง พร้อมการปรับภูมิทัศน์โดยการถมพื้นที่ลงบนชายหาดและในทะเลเพื่อเพิ่มพื้นที่สาธารณะด้านหลังกำแพง พัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวริมทะเล จากทั้งท้องถิ่นและกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อยมาตั้งแต่ปี 2554, 2557 และ 2559 รวมระยะทางยาวกว่า 2.9 กิโลเมตร โดยหลังจากนั้นชายหาดปากน้ำปราณก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป ชายหาดด้านหน้ากำแพงตัดลึกและชันขึ้นเนื่องจากผลกระทบของกำแพงกันคลื่น (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/ ทำให้แม้ยามน้ำลงเกือบตลอดทั้งปี ไม่สามารถลงเดินเล่นบริเวณชายหาดด้านหน้ากำแพงได้อีกเลย การลงเล่นน้ำด้านหน้ากำแพงนั้นยิ่งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ยากยิ่งเนื่องจากมีความไม่ปลอดภัยจากคลื่นที่วิ่งเข้าปะทะกำแพงและสะท้อนกลับออกไปนอกฝั่ง และในบางฤดูกาลพบเห็นสาหร่ายสีเขียวขึ้นปกคลุมพื้นผิวของขั้นบันไดส่วนที่อยู่ประชิดน้ำ  (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/ตื่นตาตื่นใจ-สาหร่ายสีเขียว-กำมะหยี่-หนึ่งปีมีหน-ที่ทะเลปากน้ำปราณ/)  ทำให้ลื่นไถลได้ง่าย ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ใช้ชายหาดเป็นอย่างยิ่ง ในช่วงสองปีที่ผ่านมานี้ พบว่ากำแพงกันคลื่นแบบแนวดิ่งทางด้านทิศเหนือใกล้กับปากน้ำปราณที่ดำเนินการโดยงบประมาณจังหวัดเมื่อปี 2557 ระยะทางยาว 190 เมตร เกิดความเสียหายอย่างหนัก (อ่านเพิ่มเติมได้จาก https://beachlover.net/กำแพง-ปากน้ำปราณ-เสียหาย/) รวมถึงพื้นที่ใกล้เคียงด้วย จากนั้นเทศบาลตำบลปากน้ำปราณจึงได้ร้องขอความช่วยเหลือไปที่กรมโยธาธิการและผังเมืองในปี 2561 หลังจากนั้นกรมฯจึงริเริ่มโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเล […]

Beachlover

November 9, 2022

สำรวจเก็บข้อมูลการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งปราณบุรีในช่วงฤดูมรสุม

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง เก็บภาพถ่ายมุมสูงจากอากาศยานไร้คนขับ หรือ DRONE เพื่อสำรวจแนวชายฝั่ง สภาพชายหาด และการใช้ประโยชน์ริมชายหาดปราณบุรีในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่คาดว่าจะมีการก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นและปรับภูมิทัศน์ระยะทาง ๙๐๐ ม. บริเวณเขตพื้นที่เทศบาลตำบลปากน้ำปราณ ผลการสำรวจและประมวลข้อมูลเบื้องต้นพบว่า บริเวณด้านทิศใต้ของ Jetty ปากน้ำปราณ ไปจนถึง ศูนย์ PIPO หรือ Port In Port Out Control Center ของกรมประมง ชายหาดมีตะกอนสะสมตัวอย่างต่อเนื่อง พื้นที่โดยส่วนมากไม่พบการกัดเซาะชายฝั่ง บางตำแหน่งพบการกัดเซาะเล็กน้อยตามฤดูกาล การใช้ประโยชน์ริมชายหาด มีนักท่องเที่ยวและประชาชนในพื้นที่ใช้เป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อการพักผ่อนและเล่นกีฬาทางน้ำ เช่น Kite Surf ถัดมาทางทิศใต้พบโครงสร้างริมชายฝั่งที่ไม่มีประสิทธิภาพแล้ว เช่น กำแพงกันคลื่น และท่าเรือเทียบเรือเก่า

Beachlover

January 2, 2022

ตื่นตา! ปรากฏการณ์ชายทะเลปราณบุรีสีเขียวมรกต

ที่มา: https://www.one31.net/news/ พรมสีเขียวมรกตคล้ายกำมะหยี่จากสาหร่ายสีเขียว ที่เกาะติดตามขั้นบันไดปูนเขื่อนกันคลื่นระยะทางกว่า 2 กิโลเมตร บริเวณชายหาดปราณบุรี ต.ปากน้ำปราณ อ.ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้พบเห็น เนื่องจากสีสันที่สวยงาม เมื่อกระทบเกลียวคลื่นจะเกิดแสงระยิบระยับ ทำให้นักท่องเที่ยวที่มาพักผ่อนชายทะเล ต่างหยิบโทรศัพท์มาบันทึกภาพเก็บไว้และแชร์ส่งต่อกันในโซเชียล หากใครจะมาเที่ยวชมปรากฏการณ์พรมสีเขียวมรกตนี้ ต้องมาช่วงเวลาที่น้ำทะเลลดลง ตั้งแต่ช่วงเที่ยงถึงเย็น จะมองเห็นได้ชัดเจนและสวยงาม สำหรับปรากฏการณ์สาหร่ายสีเขียวมรกตจะเกิดขึ้นช่วงมีฤดูมรสุมพัดเข้าหาฝั่ง ตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน จนถึงเดือนมกราคม ของทุกปี และจะเกิดขึ้นเฉพาะบริเวณชายหาดที่น้ำทะเลท่วมถึง เป็นช่วงที่น้ำทะเลใสสะอาด อากาศบริสุทธิ์ มีแสงแดดที่สาดส่องลงมาในอุณหภูมิที่เหมาะสม จนเกิดความสมดุลของระบบนิเวศน์ก็จะเกิดสาหร่ายทะเลสีเขียวมรกตขึ้นมา แต่ก็จะเกิดไม่นานเมื่อไหร่ที่น้ำทะเลลดลง บริเวณขั้นบันไดน้ำทะเลขึ้นไม่ถึง สาหร่ายก็จะถูกแสงแดดแผดเผาจนแห้งเป็นสีขาวและตายไป ก็ถือเป็นไฮไลท์ในช่วงนี้ก็ว่าได้.

Beachlover

December 23, 2020

โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน [27ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH/ โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 ในรายการ เรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วงข่าวเศรษฐกิจ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตามลิ๊งค์ด้านล่าง▶️ https://news.bectero.com/news/168638 ปัญหาการกัดเซาะแนวชายฝั่งทะเลของไทย ปัจจุบันนี้ยังน่าเป็นห่วง หลายครอบครัวบ้านถูกคลื่นซัดพังเสียหายต้องย้ายออกจากพื้นที่ กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงเข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น  ชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันประสบปัญหาการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง ด้วยระดับความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะปัจจัยทางธรรมชาติ สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน หลายครอบครัวต้องอพยพย้ายบ้านเรือน ไม่สามารถทำการประมงหาเลี้ยงครอบครัวได้   กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลขึ้น โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของชุมชนน้อยที่สุด ด้วยมาตรการที่แก้ไขอย่างยั่งยืน   ชายหาดปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ถูก น้ำทะเลกัดเซาะเฉลี่ย 1 ถึง 5 เมตรต่อปี รุนแรงสุดอยู่ตอนกลางของหาด มีการศึกษาผลกระทบหลังจากการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ข้างเคียงพบว่าปัญหาการกัดเซาะที่ปลายเขื่อนจะไม่ส่งผลไปยังหาดข้างเคียงต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ สามารถใช้แบบจำลองทางวิศวกรรมคำนวณหาขอบเขตที่แน่นอนได้  กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงปรับปรุงสภาพแวดล้อมชายหาดที่เสื่อมโทรมกลายสภาพเป็นลานกิจกรรมนานาชนิด สร้างอาชีพเสริม เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ผู้คนในแถบนี้ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงาม กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล  ไม่เพียงคุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น แต่โครงการ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี ยังช่วยยกระดับผังเมือง และเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมรอบนอกอย่างเป็นระบบภายใต้ภารกิจการพัฒนาเมืองของกรมโยธาธิการและผังเมือง

Beachlover

January 28, 2020