ท้องโหนด สวยแบบซุ่มเงียบ

เมื่อนึกถึงขนอม ใครๆอาจคิดถึงหาดขนอม ที่ตั้งของที่พักหลากหลายรสนิยมในหลากหลายราคา น้อยคนที่จะนึกถึงหาดเล็กๆอย่าง หาดท้องโหนด หาดทรายขนาดเล็กในกระเปาะ (Pocket beach) ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของหาดขนอม รอยต่อระหว่าง อ.ดอนสัก สุราษฎร์ธานี และ อ.ขนอม จ.นครศรีธรรมราช หาดแห่งนี้มีที่พักและร้านอาหารเพียง 2 แห่งเท่านั้น จึงมีความเงียบสงบสูง เท่าที่เดินเท้าสำรวจ ชายหาดมีความกว้างมากกว่า 40 เมตร มีความสมบูรณ์ของเนินทรายและยังไม่พบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง หาดเล็กๆแห่งนี้ยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานประปาที่ทำหน้าที่สูบจ่ายน้ำเพื่อการอุปโภคและบริโภคจากฝั่งแผ่นดินใหญ่ ลำเลียงผ่านท่อลอดใต้ทะเลระยะทางกว่า 20 กิโลเมตรไปขึ้นฝั่งแถบหาดทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเกาะสมุยอีกด้วย  เนื่องจากแหล่งน้ำบนเกาะสมุยนั้นไม่สามารถผลิตน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคได้เพียงพอกับความต้องการใช้ที่สูงขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะธุรกิจการท่องเที่ยวบนเกาะสมุย

Beachlover

September 7, 2023

หาดบางดี ยังสบายดี?

Beach Lover เคยเล่าเรื่องราวของหาดบางดี จ.นครศรีธรรมราชมาแล้วก่อนหน้านี้ในช่วงที่มีกระแสการต่อต้านโครงสร้างกำแพงกันคลื่นในเวทีรับฟังความคิดเห็นเมื่อปีที่แล้ว ติดตามได้จากโพสเก่าๆ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือนี้ Beach Lover ได้มีโอกาสกลับไปสำรวจสภาพของชายหาดบางดีอีกครั้งหนึ่ง พบว่าชายหาดโดยรวมยังสมบูรณ์ ยังไม่มีการโค่นล้มของต้นไม้ริมทะเลจากคลื่นในช่วงมรสุม แต่พบว่าชายหาดส่วนบนตัดชันขึ้นจากคลื่นที่รุนแรงในช่วงมรสุม ซึ่งเป็นผลกระทบที่คาดการณ์ได้จากปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นเป็นประจำในช่วงต้นปี ผู้ประกอบการร้านอาหารเครื่องดื่มริมทะเลเล่าให้เราฟังว่า ช่วงปลายปีก่อนจะเข้าช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นมากจนคลื่นซัดเข้ามาถึงถนนด้านใน ร้านริมทะเลปิดร้านไป 1-2 วันและขนของออกจากพื้นที่ แต่เหตุการณ์นี้เกิดเพียงไม่กี่ชั่วโมง ระดับน้ำก็ลดลงตามปกติ โดยที่ชายหาดมิได้เกิดความเสียหายอะไรเพราะเป็นเพียงปลายของคลื่นที่หมดพลังแล้วเท่านั้นที่รุกเข้ามาด้านในฝั่ง #ภาพทั้งหมดในโพสนี้ ถ่ายเมื่อ ม.ค.2566

Beachlover

May 15, 2023

ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH กรมทะเลชายฝั่ง ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช วันที่ 5 มกราคม 2566 กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง โดยส่วนวิศวกรรมชายฝั่ง ร่วมกับสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 ลงพื้นที่ติดตามประสิทธิภาพและความสมบูรณ์ของรั้วดักทราย (Sand fence) บริเวณชายหาดบ้านปากดวด ตำบลกลาย อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในระบบหาดหาดเสาเภา-ท่าศาลา (T6A149) โดยติดตั้งรั้วดักทรายขนานกับแนวชายฝั่งระยะทาง 600 เมตร จากการสำรวจพบว่าหลังแนวรั้วดักทรายมีตะกอนทรายสะสมตัวสูงขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2565 ประมาณ 0.70 – 0.90 เมตร โดยรั้วดักทรายอยู่ในสภาพสมบูรณ์ไม่ได้รับความเสียหายจากคลื่นลมมรสุมที่มีความรุนแรงในช่วงปลายปีที่ผ่านมา และไม่พบการกัดเซาะชายฝั่งเพิ่มเติม เบื้องต้นสรุปได้ว่าการติดตั้งรั้วไม้ดักตะกอนทรายสามารถช่วยฟื้นฟูตะกอนทรายชายหาดและลดผลกระทบจากการกัดเซาะชายฝั่งใด้ ทั้งนี้ กองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่งจะสำรวจข้อมูลและติดตามผลสัมฤทธิ์ของการติดตั้งรั้วดักทราย รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงชายฝั่งหลังสิ้นสุดฤดูมรสุม ต่อไป

Beachlover

January 6, 2023

กำแพงไม้ ท่าศาลา นครฯ

BeachLover ขอพาชมชายหาดทางทิศเหนือของปากคลองกลาย อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้นำไม้มาปักไว้เพื่อบรรเทาปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แล้วเสร็จไปเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมา สภาพพื้นที่บริเวณนี้เดิมเป็นชายหาดกว้างยาวต่อเนื่องตั้งแต่ปากคลองกลายจนถึงปากดวด จนเมื่อเขื่อนกันทรายและคลื่นปากคลองกลายแล้วเสร็จก็ส่งผลให้พื้นที่นี้ถูกกัดเซาะอย่างรุนแรง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจึงได้ทำการนำไม้มาปักโดยใช้ชื่อเรียกว่า “รั้วดักทราย” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ โดยโครงการนี้เป็นการปักไม้เป็นระยะทางตามแนวชายฝั่งยาวประมาณ 500 เมตร แต่ในป้ายประชาสัมพันธ์นั้นกลับระบุระยะทางเป็น 3,000 เมตร  ดำเนินการโดยบริษัทวิสุทธิคอนซัลแตนท์จำกัด ด้วยงบประมาณ 2.89 ล้านบาท จากการลงพื้นที่สำรวจพบว่ารั้วไม้นี้ยังอยู่ในสภาพสมบูรณ์ดี ตลอดระยะทางตามแนวชายฝั่งทั้งโครงการนั้นไม่มีช่องว่างเปิดให้เดินลงชายหาดได้เลย หากต้องการเดินจากฝั่งลงไปที่ชายทะเลจำเป็นต้องขึ้นลงโดยผ่านร้านอาหารที่ตั้งอยู่ริมหาด หรือไม่ก็เดินเข้าได้เฉพาะตำแหน่งเริ่มต้นและตำแหน่งสิ้นสุดโครงการปักไม้เท่านั้น หากจำปีนข้ามก็ทำได้ค่อนข้างลำบากเพราะไม้ที่ปักนั้นแน่นและสูงพอสมควร สำหรับงานติดตั้งรั้วไม้ในพื้นที่นี้ มีประเด็นที่เป็นข้อสังเกตต่อหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการดังต่อไปนี้ ระยะทางปักไม้ตามที่ปรากฏจริงนั้นไม่เท่ากับระยะทางที่ระบุไว้ในป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ไม้ที่ปักค่อนข้างแน่น จนอาจเรียกโครงสร้างนี้ได้ว่าเป็นกำแพงไม้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกับพื้นที่ถัดไปหรือไม่ อย่างไร ไม่มีช่องเปิดเพื่อลงชายหาดเลยตลอดแนวโครงการ การปักลักษณะนี้ เป็นไปตามหลักวิชาการที่ถูกพิสูจน์แล้วในเชิงวิทยาศาสตร์ว่าได้ผลดี หรือไม่ อย่างไร น่าติดตามต่อไปว่า งานปักรั้วไม้ของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่นั้น มีประสิทธิภาพตามที่คาดไว้หรือไม่ และจะขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆอย่างไร

Beachlover

August 6, 2022

สำรวจการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งแหลมตะลุมพุก

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๘ มกราคม ๒๕๖๕ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) สำรวจเก็บข้อมูลและติดตามสถานภาพชายฝั่ง พื้นที่หาดแหลมตะลุมพุก ต.แหลมตะลุมพุก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ในระบบหาดแหลมตะลุมพุก – แหลมสมิหลา (T๖B๑๕๑) ผลการสำรวจพบว่า พื้นที่บริเวณเส้นทางไปปลายแหลมตะลุมพุกมีการสะสมตัวของตะกอนทรายเป็นจำนวนมาก ทำให้พื้นที่หาดทรายกว้างขึ้น นอกจากนี้ยังพบการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งตามฤดูกาลในบริเวณหน้าโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งบางจุดของหาดแหลมตะลุมพุก อาจเกิดจากคลื่นลมแรง ทำให้เกิดการพัดพาตะกอนทรายบริเวณด้านหน้าของโครงสร้างเขื่อนหินทิ้งกลับคืนสู่ทะเลส่งผลทำให้ตะกอนหาดทรายบริเวณด้านหน้าโครงสร้างหายไป อีกทั้งหาดแหลมตะลุมพุกมีการใช้ประโยชน์พื้นที่โดยรอบเป็นพื้นที่สาธารณะสำหรับการท่องเที่ยวชายหาด และพื้นที่พักผ่อนหย่อนใจทั้งของประชาชนในพื้นที่ และพื้นที่ใกล้เคียง

Beachlover

January 19, 2022

ชุมชนชายฝั่งท่าซักเห็นชอบ ให้ปักแนวไม้ไผ่ชะลอคลื่นสร้างผืนป่า

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง และสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมประชุมในการประชาสัมพันธ์และรับฟังความคิดเห็นโครงการซ่อม สร้าง เสริม การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่นเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง พื้นที่ ต.ท่าซัก อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช ความยาวแนวไม้ไผ่ ๒,๓๐๐ เมตร โดยมีประชาชนในพื้นที่เข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการฯ ประมาน ๖๐ คน ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นให้ดำเนินการตามรูปแบบที่กรม ทช. นำเสนอ เพื่อเป็นการป้องการกัดเซาะชายฝั่งและควรฟื้นฟูป่าชายเลนหลังแนวไม้ไผ่ต่อไป

Beachlover

December 18, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงแนวชายฝั่งท่าศาลา-ปากพนัง-หัวไทร

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๔ กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทะเลด้วยอากาศยานไร้คนขับ (Drone) ๓ พื้นที่ ประกอบด้วย ๑. โครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันคลื่นกัดเซาะชายทะเล/ริมหาด หาดทรายแก้ว-หาดเราะ ม.๑ – ม.๓ ต.ท่าขึ้น อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ท่าขึ้น มีระยะก่อสร้างความยาว ๖.๕ กม. ผลการสำรวจมีการทิ้งหินตลอดแนว และพบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเป็นบางช่วงในจุดที่ไม่มีหินทิ้ง ๒. โครงการก่อสร้างแนวเขื่อนหินใหญ่ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณพื้นที่ ม.๖ ต.ปากพนังตะวันออก อ.ปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ของ อบต.ปากพนังฝั่งตะวันออก ขนาดพื้นที่โครงการระยะทางยาว ๔.๒๘ กม. ผลการสำรวจพบว่าด้านทิศใต้ของโครงการฯ มีหินทิ้งตลอดแนวชายฝั่ง ๓. งานก่อสร้างแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณ ม.๕ ๖ และ ๙ ต.เกาะเพชร อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ของกรมเจ้าท่า […]

Beachlover

November 4, 2021

8 เดือนผ่านไป กับ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” @ หน้าสตน

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของหาดบ้านหน้าสตน อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ไปแล้วในเดือน ก.พ.2564 ติดตามได้จาก https://beachlover.net/หาดกัดเพราะรัฐสร้าง-หน้าสตน/ Beach Lover ได้ลงพื้นที่ติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาดพื้นที่นี้อีกครั้งในเดือน ต.ค.2564 พบว่า จะงอยของกำแพงหินที่เป็นเหตุให้พื้นที่ทางทิศเหนือเกิดการกัดเซาะอย่างรุนแรงนั้นถูกรื้ออกไป และเกิดกำแพงหินเรียงแนวใหม่กระเถิบประชิดชายฝั่งมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือจากตำแหน่งสิ้นสุดโครงสร้างเดิม ด้วยวัสดุและรูปแบบหินเรียงตามเดิม สิ้นสุดปลายกำแพงหินเรียงนี้ พบการกัดเซาะกินลึกเข้ามาในพื้นที่เอกชน โดยชาวบ้านต้องนำกระสอบใส่ทรายช่วยเหลือตัวเองไปพลางในช่วงมรสุม แม้ว่าจะเป็นพื้นที่เล็กๆที่ได้รับผลกระทบจากแนวกำแพงกันคลื่นของรัฐ แต่ได้ฉายภาพใหญ่ของผลกระทบทั้งหมดให้เห็นอย่างชัดเจนมากว่า เมื่อเกิดกำแพงกันคลื่นเพื่อป้องกันชายฝั่งขึ้นที่ใด ที่สุดปลายโครงสร้างก็จะส่งต่อผลกระทบต่อเนื่องแบบโดมิโน่ไปเรื่อยๆ โดยรัฐก็จะใช้วิธีการซ้ำแบบเดิมเพื่อป้องกันชายฝั่งส่วนถัดไปอย่างต่อเนื่อง และเมื่อส่วนถัดไปสร้างเสร็จก็จะส่งต่อผลกระทบชิ่งต่อพื้นที่ใกล้เคียงถัดไปภายในเวลาอันรวดเร็ว โดยวงจรนี้จะเป็นภาพวนซ้ำไปซ้ำมาไม่รู้จักจบสิ้นตราบเท่าที่รัฐยังคงแก้ปัญหาแบบเดิมเหมือนอย่างอดีตต่อเนื่องมายังปัจจุบัน และไม่มีทีท่าว่าจะเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้

Beachlover

November 1, 2021

กรมโยธา สร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลปากพนัง

ที่มา: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH/ ยผ. สร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล บริเวณชายฝั่งอำเภอปากพนัง จังหวัดนครศรีธรรมราช รักษาพื้นที่ทำกิน คงวิถีชีวิตชาวประมงท้องถิ่นอย่างยั่งยืน

Beachlover

September 12, 2021

20 ปี บ้านหน้าศาลกับชายหาดที่หายไป

20 ปีก่อน สมัย Beach Lover ลงพื้นที่สำรวจชายฝั่งทะเล ต้องแบกกล้องฟิล์มตัวใหญ่ กล้องถ่าย VDO ขนาดเท่าเครื่องชงกาแฟสมัยนี้ แผนที่กระดาษมาตราส่วน 1:50,000 ม้วนเขื่องทุกระวางติดทะเล พร้อมสัมภาระพะรุงพะรัง โทรศัพท์ที่ไม่มีสัญญาณจีพีเอสและอินเตอร์เนท ไม่อาจรู้ได้เลยว่าเราอยู่ตรงไหนในแผนที่นอกจากการสังเกตสภาพแวดล้อมรอบๆ คอยอ่านป้ายข้างๆทาง ร่วมกับการไถ่ถามจากคนรอบตัว 20 ปีก่อน ชายหาดภาคใต้แม้มีร่องรอยการกัดเซาะอย่างชัดเจนจากการแทรกแซงของมนุษย์ แต่ยังพอเสพความสมบูรณ์ของชายหาดสวยๆได้มากมาย ระหว่างทาง 20 ปีก่อน ณ หาดแห่งนี้ “บ้านหน้าศาล” คือตำแหน่งที่แวะเข้ามานั่งพักหาอะไรเย็นๆดื่ม ณ ชุมชนที่อยู่ประชิดชายฝั่ง และเป็นตำแหน่งที่คาดเดาได้ไม่ยากว่าจะเกิดผลกระทบอย่างไรจากการสร้าง Jetty ของกรมชลประทานทางทิศใต้ สมัยนั้น ไม่มีใครฟังเรื่องอะไรแบบนี้ และไม่มีใครเชื่อว่า “ความวิบัติ” ของชายหาดจะเกิดขึ้นจริง 20 ปีต่อมา ชุมชนบ้านหน้าศาลเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งความเป็นชุมชนมุสลิมที่เคยจัดประเพณีมัสยิดบนชายหาดและในทะเล เมื่อพื้นที่ชายหาดเปลี่ยนแปลงไปประเพณีนั้นก็ถูกยกเลิกไปโดยปริยาย การอพยพย้ายถิ่นฐานของชาวบ้านออกจากที่เดิมเพราะปัญหาการกัดเซาะและน้ำทะเลเข้าท่วมหมู่บ้าน 20 ปี ที่เทคโนโลยีก้าวล้ำพัฒนาไปไกล เราสามารถลงพื้นที่สำรวจชายหาดได้อย่างตัวเบาด้วยโทรศัพท์มือถือพร้อม Application ที่พร้อมใช้เพื่องานสำรวจอัดแน่นอยู่ในเครื่องเดียว … แต่บัดนี้ ชายหาดเมื่อ 20 […]

Beachlover

August 3, 2021
1 2