กำแพงกันคลื่น … ไปต่อหรือพอแค่นี้

หากนำบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อ กรุณาอ้างอิงลิขสิทธิ์บทความจาก www.beachlover.net ด้วย : ขอขอบคุณ เมื่อชายหาดประสบปัญหาการกัดเซาะ หน่วยงานทั้งรัฐและเอกชนมักคิดถึงการใช้มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อการป้องกันก่อนเป็นลำดับแรกๆ สืบเนื่องมาจากหลักคิดที่ว่าการจะหลีกเลี่ยงปัญหาชายฝั่งถูกกัดเซาะ คือการตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นขนาดใหญ่เข้ามาปะทะชายฝั่งโดยตรง เพื่อมิให้ชายฝั่งเกิดการเปลี่ยนแปลง  หลักคิดนี้เป็นจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น เนื่องจากเมื่อใดที่เราตรึงชายฝั่งให้อยู่กับที่ หรือป้องกันมิให้คลื่นวิ่งเข้ามาปะทะชายหาดโดยใช้โครงสร้างป้องกัน เท่ากับว่าเรากำลังแทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติของชายฝั่ง ทำให้ชายฝั่งเสียสมดุลและในบางครั้งอาจเกิดขึ้นแบบถาวรโดยมิอาจเรียกกลับคืนสมดุลเดิมได้ ก่อให้เกิดปัญหาที่ตามมามากมาย มาตรการใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมสามารถป้องกันได้เฉพาะพื้นที่ด้านในที่เราต้องการป้องกันเท่านั้น แต่พื้นที่รอบๆโครงสร้างพื้นที่ถัดไปจะถูกโครงสร้างนี้แทรกแซงกระบวนการทางธรรมชาติและเสียสมดุลไปในที่สุด ดังจะเห็นว่าพื้นที่ที่อยู่ถัดไปจากโครงสร้างป้องกันมักเกิดปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งที่บางครั้งรุนแรงมากกว่าการกัดเซาะตามธรรมชาติเสียอีก หากเป็นพื้นที่ที่ประสบภัยจากการกัดเซาะชายฝั่ง และทรงคุณค่าไม่ว่าจะด้านอะไรที่ประชาชนเล็งเห็นว่ามีความสำคัญ หากพิจารณาแล้ว การปล่อยไว้ตามธรรมชาติจะส่งผลให้พื้นที่นั้นค่อยๆถูกทะเลกัดกลืนหายไป และเมื่อพิจารณาแนวทางเลือกอื่นๆที่ไม่ใช้โครงสร้างแล้ว พบว่าไม่เหมาะสมเท่ากับการสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกัน ในกรณีนี้ การใช้โครงสร้างป้องกันอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยากหากต้องการรักษาพื้นที่นั้นไว้ให้คงอยู่ โดยหน่วยงานที่รับผิดชอบก็ควรแสดงเหตุผลอย่างเพียงพอ พร้อมทั้งหาแนวทางบรรเทาผลกระทบจากการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้พิจารณาประกอบการตัดสินใจในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นเพื่อพิจารณาโครงการ หากดำเนินการอย่างครบถ้วน “ทางรอด” นั้น ก็คงจะ “รอด” ได้จริงตามที่รัฐต้องการ หากพื้นที่นั้นมี “ความจำเป็น” มากเพียงพอ และหา “ทางรอด” โดยใช้มาตรการอื่นๆไม่ได้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการใช้โครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราว การเติมทรายชายหาด หรือการใช้มาตรการอื่นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทางรอดนั้นอาจเป็นการสร้างโครงสร้างป้องกันทางวิศวกรรมที่มั่นคงถาวร แต่หากการเกิดขึ้นของโครงการนั้นไร้ซึ่งความจำเป็น รวมถึงไม่แสดงข้อมูลอย่างถูกต้องและรอบด้านต่อผู้มีส่วนได้ส่วนแสียแล้ว “ทางรอด” ที่ว่านี้ อาจกลับกลายเป็น “ทางตัน” และนำพาสารพัดปัญหาแก่รัฐและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อย่างที่ได้เห็นกันในหลายๆตัวอย่างที่เกิดการฟ้องร้องระหว่างรัฐและประชาชน […]

Beachlover

December 1, 2022

ทช. ลงสำรวจพื้นที่ชายฝั่ง เพชรบุรี และประจวบคีรีขันธ์

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 4 พฤศจิกายน 2565 เจ้าหน้าที่ส่วนอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 3 ลงสำรวจพื้นที่ชายฝั่งจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ในพื้นที่ที่มีการนำเสนอโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ประจำปีงบประมาณ 2566 ของหน่วยงานราชการ โดยจังหวัดเพชรบุรี มีโครงการเสริมทรายเพื่อป้องกันการกัดเซาะบริเวณชายหาดชะอำ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ระยะที่ 1 โดยกรมเจ้าท่า ส่วนจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มีโครงการที่เสนอในพื้นที่ จำนวน 3 โครงการ ได้แก่ (1) โครงการฟื้นฟูบูรณะและปรับปรุงภูมิทัศน์เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริเวณตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (2) โครงการพัฒนาพื้นที่เฉพาะบริเวณอ่าวประจวบคีรีขันธ์ ถนนปิ่นอนุสรณ์ต่อเนื่องบริเวณกองบังคับการกองบิน 5 ตำบลเกาะหลัก อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ถึงบริเวณค่ายลูกเสือจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตำบลประจวบคีรีขันธ์ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง (3) โครงการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นบริเวณร่องน้ำห้วยยาง ตำบลห้วยยาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกรมเจ้าท่า ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่ได้เก็บรวบรวมข้อมูลภาพถ่ายในอดีต ภาพถ่ายปัจจุบัน ภาพบินโดรน […]

Beachlover

November 6, 2022

งานเติมทรายชายหาด อยู่ตรงไหนกันบ้าง

สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังคงใช้มาตรการป้องกันชายฝั่งที่มีอยู่ในปัจจุบันเพื่อรับมือกับการกัดเซาะชายฝั่ง ได้แก่ กำแพงกันคลื่น เขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย และการเติมทรายชายหาด โดยที่ชายหาดท่องเที่ยวนั้น มาตรการเติมทรายชายหาดกำลังถูกนำมาใช้เพิ่มมากขึ้นเนื่องจากเป็นการเพิ่มพื้นที่ ชายหาด ซึ่งส่งผลต่อการเพิ่มขึ้นของมูลค่าทางเศรษฐกิจของชายหาด ถือได้ว่าเป็นมาตรการที่ส่งผลกระทบทางลบต่อเนื่องไปยังพื้นที่ข้างเคียงน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับมาตรการที่ใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมเพื่อป้องกันชายฝั่งประเภทอื่น การเติมทรายชายหาด มีประโยชน์หลักที่เห็นเด่นชัดคือเพิ่มพื้นที่สาธารณะประโยชน์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ เสริมสร้างเกราะป้องกันชายฝั่ง นอกจากนั้นยังมีผลประโยชน์แฝงอื่นเช่น เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ เสริมสร้างความสมบูรณ์ของระบบนิเวศน์ริมชายหาด ลดการสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรมซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพื้นที่ใกล้เคียง เพิ่มศักยภาพการเข้าถึงพื้นที่ชายหาด เสริมสร้างสุขภาพกายใจ ส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ไม่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลในอนาคต ดังจะเห็นได้ว่าประเทศที่ได้รับผลประโยชน์จากการท่องเที่ยวทางทะเลและมีมูลค่าของหาดทรายสูง แม้ต้องเผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งแต่มักหลีกเลี่ยงการใช้โครงสร้างเพื่อป้องกันชายฝั่ง เช่น  หาดไวกิกิในฮาวาย หาดไมอามี่ ประเทศสหรัฐอเมริกา หาดแคนคูนประเทศเม็กซิโก โดยวิธีการหนึ่งที่นิยมนำมาปรับใช้กับชายหาดเหล่านี้คือมาตรการเติมทรายชายหาด (https://beachlover.net/การเติมทรายชายหาด/)  ในส่วนของประเทศไทยนั้นหาดจอมเทียม จ.ชลบุรี ก็เผชิญกับปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเช่นกัน โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างการเติมทรายเช่นเดียวกันกับที่สำเร็จลุล่วงไปแล้วคือชายหาดพัทยา จ.ชลบุรี โดยพบว่าเมื่อประเมินความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ด้วย B/C ratio แล้วมีค่า 3.32 บาท ซึ่งถือว่าคุ้มค่าต่อการลงทุนเป็นอย่างยิ่ง  ปัจจุบันในประเทศไทยมีโครงการเติมทรายชายหาดที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเพียง 1 โครงการ ณ หาดพัทยา จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/หาดพัทยา-น่าเที่ยวแค่ไหน/) และมีที่กำลังดำเนินการอยู่ที่หาดจอมเทียน จ.ชลบุรี (https://beachlover.net/พาชม-เติมทรายชายหาดจอมเทียน-อีกครั้ง/) และหาดชลาทัศน์ จ.สงขลา (https://beachlover.net/หาดชลาทัศน์-ยามนี้-ยังสบ/) ทั้ง 3 โครงการนี้ เมื่อประเมินมูลค่าของการเติมทรายจากค่าเฉลี่ยต่อลูกบาศก์เมตรของการเติมทรายจากทั้ง 3 โครงการ พบว่ามีมูลค่าเฉลี่ย 803.108 บาท/ลบ.ม. ซึ่งได้รวมทั้งค่า ขุด […]

Beachlover

August 24, 2022

งบประมาณสร้างกำแพงกันคลื่น 2554-2565 โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

Beach Lover ได้นำเสนอร่างงบประมาณเพื่อการป้องกันชายฝั่งของ 3 กรมหลัก มาตั้งแต่ปี 2563 ถึงปัจจุบัน ติดตามได้จากโพสเก่าๆ Beach Lover ได้นำเสนอเรื่องราวของกำแพงกันคลื่น [https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-ไปต่อหรือพอแค่นี้/] อย่างต่อเนื่องมามากกว่า 2 ปี รวมถึงผลที่เกิดขึ้นจากการถอดเอากำแพงกันคลื่นออกจากรายการที่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปี 2556 [https://beachlover.net/ประกาศกระทรวงทรัพยากร-2/] ติดตามได้จากโพสเก่าๆเช่นเดียวกัน ครั้งนี้ขอนำสองเรื่องมาผนวกกัน โดยแสดงข้อมูลของงบประมาณที่ถูกเสนอไว้ในเล่มงบประมาณ(ขาวคาดแดง) โดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในส่วนของกำแพงกันคลื่นตั้งแต่ปี 2554-2565 รวม 12 ปี พบว่า จำนวนงบประมาณที่ขอตั้งไว้ในแต่ละปีเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเฉพาะในส่วนของงานก่อสร้างโครงสร้างป้องกันแบบกำแพงกันคลื่นนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ไม่นับรวมงานจ้างบริษัทที่ปรึกษา) หากย้อนดูอดีตช่วงปี 2556 ซึ่งเป็นปีที่มีการถอดกำแพงกันคลื่นออกจากรายการที่ต้องทำรายงานศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม นั่นหมายถึงการตั้งงบประมาณของหน่วยงานในปี 2558 จะอยู่บนหลักที่ว่ากำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำ EIA แล้ว มีความเป็นไปได้ว่า ประกาศนี้จะมีผลต่อการตั้งงบประมาณในปี 2559 เสียมากกว่า เนื่องจากการประกาศในราชกิจจานุเบกษามีผลบังคับใช้ในวันที่ 21 ธันวาคม 2556 ซึ่งกระชั้นกับการตั้งงบประมาณเกินไป (เริ่มทำเอกสารงบประมาณ 2558 ตั้งแต่ต้นปี 2557) เมื่อพิจารณาการของบประมาณเพื่อสร้างกำแพงกันคลื่นในปี 2559-2560 นั้นพบว่าเพิ่มสูงขึ้นมาก คือเพิ่มขึ้นถึง […]

Beachlover

July 20, 2021

งานปักไม้ไผ่โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง

โดยทั่วไปเรามักพบเห็นโครงการป้องกันชายฝั่งที่ดำเนินงานโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในรูปแบบของโครงสร้างทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ โดยเน้นที่กำแพงกันคลื่นรูปแบบต่างๆเป็นหลัก (ศึกษาได้จากโพสเก่าๆ) โครงการนี้น่าจะเป็นโครงการแรกๆของกรมโยธาฯที่ทำการปักไม้ไผ่เพื่อป้องกันชายฝั่ง โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งอ่าวไทยฝั่งตะวันตกโดยการปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นนี้ กำลังเกิดขึ้นที่แหลมใหญ่ สมุทรสงคราม ความยาว 4 กิโลเมตร ด้วยงบประมาณ 25.9 ล้านบาท เนื่องจาก Beach Lover ยังไม่มีรายละเอียดของโครงการ รวมถึงสถานการณ์กัดเซาะจนเป็นเหตุผลความจำเป็นให้ต้องดำเนินโครงการนี้ แต่จากข้อมูลเท่าที่มีข้างต้น พบประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกตคือ (1) การปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นนั้น เป็นมาตรการที่กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเน้นย้ำมาตลอดว่าเป็นการช่วยเร่งให้ตะกอนตกทับถมเพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตของป่าชายเลนด้านใน เพราะสำหรับหาดโคลนแล้วถือว่าโครงสร้างป่าชายเลนและระบบรากที่ช่วยยึดเกาะตะกอนนั้นเป็นปราการทางธรรมชาติ ที่ช่วยกันคลื่นลมและส่งเสริมให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพที่ดีที่สุด โดยมักพบว่าดำเนินการร่วมไปกับการปลูกป่าชายเลน หรือ มีป่าชายเลนที่ต้องการให้เกิดความสมบูรณ์อยู่ด้านใน คำถาม: งานอนุรักษ์ป่าชายเลนนั้น เป็นหนึ่งในภารกิจของกรมโยธาธิการและผังเมืองหรือไม่ ? (2) งานปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นที่ดำเนินการโดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ผ่านมา ใช้งบประมาณ 4 ล้านบาทต่อหนึ่งกิโลเมตร (https://beachlover.net/ทช-ปักไม้ไผ่-ปี63/) หากปักไม้ระยะทาง 4 กิโลเมตรตามโครงการนี้ควรใช้งบประมาณเพียง 16 ล้านบาทเท่านั้น คำถาม: เหตุใดราคากลางของกรมโยธาธิการและผังเมือง (39.186 ล้านบาท) หรือแม้แต่วงเงินงบประมาณที่ชนะการประกวดราคา (25.9 ล้านบาท) จึงสูงลิ่วกว่าของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างมาก กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องนี้จะว่าอย่างไร … รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

May 26, 2021

สดๆร้อนๆ!! เปิด(ร่าง)งบประมาณป้องกันชายฝั่งประจำปี 2565

จากที่ Beach Lover ได้เคยเปิดงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 (https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/) และ 2564 (https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/) เพื่องานป้องกันชายฝั่งไปแล้วนั้น ในวาระที่ร่างงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 กำลังจะเข้าสภาฯ เร็วๆนี้ ขอเปิดร่างงบประมาณประจำปี 2565 (เล่มขาวคาดแดง) เพื่อป้องกันชายฝั่งจาก 3 กรมหลักให้ได้ศึกษากันอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 พบว่ารัฐวางแผนใช้จ่ายงบประมาณในปีงบประมาณ 2565 (ต.ค.2564-ก.ย.2565) เพื่อการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่งใน 3 กรมหลักรวมทั้งสิ้น 1,378.7428 ล้านบาท ใน 57 โครงการ (ไม่นับรวมจำนวนโครงการของกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเนื่องจากไม่ระบุจำนวนไว้ในร่างงบประมาณ) ในจำนวน 53 โครงการของกรมโยธาธิการและผังเมืองนั้น มี 6 โครงการที่เป็นโครงการที่ตั้งใหม่ในปี 2565 โดยทั้ง 53 โครงการนั้น เป็นโครงสร้างประเภทกำแพงกันคลื่นทั้งหมด นอกจากนี้ยังมีงบประมาณส่วนที่เป็นงานจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษาความเหมาะสม ออกแบบรายละเอียด ศึกษาการลดผลกระทบ และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกจำนวน 175.4938 ล้านบาท ใน 12 โครงการ ซึ่งมิได้นำมาแสดงรวมไว้เนื่องจากไม่ได้เป็นงบเพื่อการก่อสร้างและปรับปรุงโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง สำหรับกรมเจ้าท่าในปีนี้มีโครงการทั้งหมด […]

Beachlover

May 21, 2021

เปิด 5 รายชื่อบริษัทที่ได้งานป้องกันชายฝั่ง 2558-2562

Beach Lover ได้นำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายเพื่อการป้องกันชายฝั่งมาแล้วอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563-2564 สามารถติดตามได้จาก https://beachlover.net/budget-2563-beach-erosion/ และ https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/ จะพบว่าหน่วยงานหลักทั้งสามหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการป้องกันชายฝั่งต้องจัดสรรงบประมาณ 1500-1800 ล้านบาทต่อปีเพื่อป้องกันชายฝั่ง หากตีเป็นตัวเลขกลมๆพบว่างบประมาณจำนวนนี้สามารถส่งเด็กเรียนตั้งแต่ระดับอนุบาลจนจบมหาวิทยาลัยได้ประมาณ 1000 คนในสถานศึกษาของรัฐ (ธนาคารแห่งประเทศไทย, 2561) Beach Lover ได้ตามต่อจากงบประมาณลึกลงไปในส่วนของบริษัทที่ชนะการประมูลงานป้องกันชายฝั่งของรัฐในช่วง 2558-2563 เท่าที่มีข้อมูลเปิดเผยจากฐานข้อมูลการใช้จ่ายภาครัฐ แสดงดังกราฟด้านล่าง พบว่า เกือบ 1 ใน 4 ของงบประมาณป้องกันชายฝั่งตลอดระยะเวลา 6 ปีร่วม 4,000 กว่าล้านบาทนั้น บริษัทตากใบการโยธาชนะการประมูลและได้รับงานไปเป็นอันดับหนึ่งคิดเป็น 24.541% รองลงมาคือบริษัทเอสซีจี 1995 จำกัด คิดเป็น 23.617% สามารถติดตามผลงานบางส่วน ของบริษัทตากใบการโยธาที่กำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันได้จาก https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพงบ่ออิฐ/ และ https://beachlover.net/ตรวจงาน-เขื่อน-หาดแก้ว/ และ https://beachlover.net/โครงสร้าง-หาดแก้ว/

Beachlover

August 29, 2020

งบประมาณตั้งใหม่เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปีนี้ คิดเป็น 18.84% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2564

ตามที่ Beach Lover ได้นำเสนอร่างงบประมาณรายจ่ายเพื่อป้องกันชายฝั่งทะเลประจำปีงบประมาณ 2564 ไปแล้วนั้น (https://beachlover.net/ร่างงบประมาณ-ชายฝั่ง-2564/) พบว่า ส่วนใหญ่เป็นโครงการที่ผูกพันมาตั้งแต่ปีงบประมาณก่อนหน้า เมื่อจำแนกลงในรายละเอียดแล้วพบว่า โครงการป้องกันชายฝั่งที่ตั้งใหม่ในปีงบประมาณ 2564 รวมทั้ง 3 กรม จำนวน 19 โครงการ รวมงบประมาณ 327 ล้านบาท หรือคิดเป็น 18.84% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ประเด็นที่น่าสังเกตคือโครงการส่วนใหญ่ที่ตั้งใหม่ มักมีระยะเวลาผูกพันโครงการ 3 ปี นั่นหมายความว่า หากแต่ละโครงการผ่านการพิจารณางบประมาณประจำปี และอนุมัติให้ดำเนินการได้ งบประมาณส่วนนี้จะผูกพันไปอีกสามปีโดยมากแล้วในปีงบประมาณถัดๆก็จะไม่สามารถตัดทอนหรือลดทอนส่วนของงบผูกพันนี้ออกไปได้ ดังนั้นหากโครงการใดไม่มีเหตุผลความจำเป็นอย่างเพียงพอและไม่สมควรเกิดขึ้น จำเป็นต้องแสดงความเห็นให้มีการตัดทอนรายโครงการไปตั้งแต่เริ่มปีงบประมาณที่ตั้งใหม่ เพราะหากปล่อยให้โครงการเหล่านั้นดำเนินไปและกลายเป็นงบผูกพันไปแล้ว จะเป็นการยากหากจะไปตัดทอนงบประมาณส่วนนั้นในปีถัดๆไป ดังจะเห็นได้จากตารางที่ได้รวบรวมมานี้ว่าสัดส่วนมากกว่า 80% ของงบประมาณรายจ่ายนั้นเป็นงบผูกพันมาจากปีก่อนๆ คำถาม: เหล่าผู้ทรงเกียรติทั้งหลายที่มีหน้าที่พิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปีนั้น มีข้อมูลและเท่าทันความรู้มากน้อยขนาดไหนที่จะไปต่อรองกับภาครัฐเจ้าของโครงการ คำตอบ: ?>#@$%&*!

Beachlover

July 15, 2020

สดๆร้อนๆ ! เปิด (ร่าง) งบประมาณแผ่นดินปี 2564 เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งใน 3 กรม

สดๆร้อนๆ !!! (ร่าง) งบประมาณที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างและซ่อมแซมโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล ประจำปีงบประมาณ 2564 ใน 3 กรม จาก 3 กระทรวง รวม 1,735,484,800 บาท มีหลายประเด็นที่น่าตั้งข้อสังเกต โดยเฉพาะงานป้องกันชายฝั่งในจังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ สตูล ปัตตานี และนราธิวาส จำนวน 12 โครงการ พบว่าหลายพื้นที่ก่อสร้างไม่มีบ้านเรือนและโครงสร้างพื้นฐานของรัฐที่ต้องป้องกัน โดยโครงการถูกบรรจุไว้ในแผนบูรณาการโครงการมั่นคงมั่งคั่งยั่งยืนในจังหวัดชายแดนใต้ (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8 และ ขาวคาดแดงเล่มที่ 18-1) บางโครงการแม้สร้างอยู่ในพื้นที่เดียวกัน แต่ถูกตั้งงบประมาณกระจายไปในหลายโครงการ เช่น โครงการป้องกันชายฝั่งปากแตระ ระโนด จ.สงขลา จำนวน 4 โครงการ ในพื้นที่หมู่ 3, 4 และ 5 ที่ตั้งงบประมาณไว้ใน โครงการแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากร และโครงการป้องกันการสูญเสียดินแดน (ขาวคาดแดงเล่มที่ 8) ประเด็นที่น่าสนใจอีกเรื่องคือ ทั้ง 80 โครงการในปี 2564 […]

Beachlover

July 1, 2020

กำแพงกันคลื่นใน 3 พื้นที่ ที่ต้องตั้งงบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” [17ม.ค.2563]

กําแพงกันคลื่น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทําให้พื้นที่ด้านหลัง กําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ มักใช้ในการป้องกันชายฝั่งที่มีพื้นที่แคบๆ นิยมใช้ในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ไม่สูงมากนัก อาจมีได้หลากหลายรูปแบบเช่น กําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง แบบเข็มพืด แบบ Tetrapod แบบเกเบียน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่และงบประมาณ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นที่เข้ามากระทบโดยจะมีความ รุนแรงมากหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ทําให้เกิดการกัดเซาะบริเวณหน้ากําแพงกันคลื่น ทําให้การเข้าถึงชายหาดถูกปรับเปลี่ยนสภาพไป อาจเกิดความไม่สะดวกขึ้น ทําให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานและด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) โดยมีลักษณะเป็น Local effect หากเป็นกําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมักก่อให้เกิดอันตรายเมื่อลม พายุขนาดใหญ่หอบเอาหินเข้ามาที่ชายฝั่งด้านใน เป็นอันตรายต่อ พื้นท่ีใกล้เคียงได้ ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพริมทะเล ที่สำคัญ หากจุดสิ้นสุดของปลายกำแพงไม่ใช่หัวหาด หัวแหลม โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือโครงสร้างปากแม่น้ำ จะเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องทางด้านท้ายน้ำ จนอาจจะต้องสร้างกำแพง “ต่อไปเรื่อยๆ” ใช้งบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ต่อไปเรื่อยๆ” ตามรูป คำถามตัวโตๆคือ ประเทศไทยร่ำรวยพอที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ “ต่อไปเรื่อยๆ” หรือไม่

Beachlover

January 17, 2020