สำรวจพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งวัดเทสก์ธรรมนาวา พังงา

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 กรม ทช. โดยกองอนุรักษ์ทรัพยากรชายฝั่ง สำรวจพื้นที่ชายฝั่ง บริเวณวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) ต.ท้ายเหมือง อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา อยู่ในระบบหาดท้ายเหมือง (T7E201) โดยติดตั้งรั้วดักทรายความยาวตามแนวชายฝั่ง 210 เมตร เพื่อเป็นการลดผลกระทบจากการกัดเซาะบริเวณจุดสิ้นสุดของโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง (Revetment) พบว่าบริเวณรั้วดักทรายมีความลาดชันชายหาดน้อยกว่าบริเวณหน้าโครงสร้างเขื่อนหินทิ้ง

Beachlover

November 5, 2020

ถึงคิวเกาะลิบง กับ หาดกำแพง ?!?

ลิบง เป็นชื่อของเกาะซึ่งตั้งอยู่ในน่านน้ำทะเลตรัง บริเวณปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียน ห่างจากฝั่งบ้านเจ้าไหมไปทางทิศใต้ประมาณ 2 กิโลเมตร และมีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่าเกาะใด ๆ ที่อยู่เขตปกครองของจังหวัดนี้ เกาะลิบงที่มีฐานะเป็นตำบล ที่อยู่ในเขตปกครองของอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง มีพื้นที่ประมาณ 35 ตารางกิโลเมตร (https://th.wikipedia.org/wiki/เกาะลิบง) เกาะลิบงเมื่อปีก่อนเริ่มเป็นที่กล่าวถึงกันอย่างกว้างขวางและเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะมากขึ้นอย่างรวดเร็วเนื่องจากเป็นแหล่งพักรักษาตัวของพยูนมาเรียม อันที่จริงแล้วเกาะลิบงมีชื่อเสียงเรื่องพยูนมาเนิ่นนานแล้วด้วยเป็นแหล่งหญ้าทะเลซึ่งเป็นอาหารของพยูน จึงเป็นพื้นที่แหล่งหากินของพยูนมาแต่ครั้งอดีต ปัจจุบันประกาศเป็นเขตอนุรักษ์ Beach Lover ได้สำรวจความสมบูรณ์ของทรัพยากรบนเกาะลิบงและพื้นที่ชายหาดรอบๆเกาะ พบทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอันหลากหลาย บางโซนของเกาะเป็นหาดทรายขาวยาวสวย บางโซนเป็นหาดโคลนบนทราย บางโซนเป็นท้องทุ่งหญ้าทะเล บางโซนเป็นโขดหินรูปร่างแปลกตา งานสำรวจเกิดขึ้นมาตั้งแต่ต้นปี 2563 แต่ไม่ได้มีโอกาสหยิบยกมาเล่าสู่กันฟัง จนถึงวันนี้ วันที่บางส่วนของชายหาดบนเกาะลิบงกำลังจะเกิดการเปลี่ยนแปลง รอบๆเกาะไร้ร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งยกเว้นเพียงพื้นที่เดียวคือพื้นที่หมู่ 5 บ้านหลังเขา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของเกาะซึ่งเป็นทะเลเปิด เป็นพื้นที่ของชุมชนประมงที่ตั้งอยู่ด้านหลังเกาะกวาง ช่วงที่ Beach Lover ลงสำรวจพื้นที่เป็นช่วงปลอดมรสุม คลื่นลมสงบยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะใดๆ แต่พบซากปรักหักพังของเศษวัสดุมากมายรวมถึงเศษซากแห่งความพยายามป้องกันพื้นที่ชายฝั่งนี้ให้รอดพ้นจากการกัดเซาะในอดีต ชาวบ้านเล่าให้เราฟังว่า หาดแถบนี้เริ่มเปลี่ยนแปลงไปหลังเกิด Tsunami เมื่อปี 2547 หลังจากนั้นทางท้องถิ่นก็ได้ก่อสร้างกำแพงกันคลื่นและถนนเลียบหาดแบบไม่ได้มาตรฐานนัก ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพเชิงกายภาพครั้งใหญ่ของหาดในหมู่ที่ 5 นี้ โดยระยะต่อมาโครงสร้างเกือบทั้งหมดได้พังทลายลงและส่งผลกระทบให้หาดกัดเซาะไปเรื่อยๆจวบจนถึงปัจจุบัน ทางท้องถิ่นได้ประสานไปหลายหน่วยงานรวมถึงนักวิชาการหลายสำนัก […]

Beachlover

November 3, 2020

ความคืบหน้างานก่อสร้างหาดขั้นบันได @ หาดชะอำใต้

Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวของงานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได ณ หาดชะอำใต้ไปแล้วตามนี้ https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/ และ https://beachlover.net/กัดเซาะ-ชะอำ-เอาไงดี/ งานก่อสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง ณ ชายหาดชะอำปัจจุบันประกอบด้วย 3 ระยะ (1) งบประมาณปี 2562 ช่วง กม.0+780-2+228 ยาว 1.438 กิโลเมตร งบประมาณ 102.974 ล้านบาท (2) งบประมาณปี 2563 ช่วง กม.2+228 – 2+985 ยาว 1.219 กิโลเมตร งบประมาณ 74.963 ล้านบาท (3) งบประมาณปี 2564 ช่วง กม.0+000 – 0+318 ยาว 0.318 กิโลเมตร งบประมาณ 48.5 ล้านบาท รวมระยะทางกว่า 3 กิโลเมตร ตั้งแต่สามแยกที่เป็นลานเอนกประสงค์เรื่อยลงไปทางทิศใต้ของหาดชะอำใต้ โครงสร้างบริเวณนี้ออกแบบไว้เป็นกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได […]

Beachlover

November 3, 2020

ตรวจติดตามผลการแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งอ่าวปัตตานี

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๙ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๙ (ปัตตานี) ตรวจสอบสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่อ่าวปัตตานี ต.ตันหยงลุโละ และ ต.บาราโหม อ.เมือง จ.ปัตตานี เพื่อนำข้อมูลสถานภาพการกัดเซาะชายฝั่งจัดทำรายละเอียดคำขอโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยวิธีปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นในพื้นที่หาดโคลน เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

Beachlover

October 30, 2020

คดีประวัติศาสตร์ “หาดกัดเพราะรัฐสร้าง” คาบสมุทรตากใบ นราธิวาส

ริมชายฝั่งบริเวณนี้ถูกกัดเซาะไปแล้วกว่า 18 ไร่ หลังการก่อสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตรบนคาบสมุทรตากใบ โดยกรมชลประทาน ชัยชนะจากการต่อสู้โดยลำพังของผู้หญิงคนนึงมาตลอดเกือบ 20 ปี ด้วยความเชื่ออย่างสุดใจว่า “ความจริงจะชนะทุกสิ่งแม้แต่ผู้ถืออำนาจรัฐ” จะถูกส่งต่อเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้กับนัก (อยาก) สู้ ทุกคน โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาลุ่มน้ำโกลก เป็นหนึ่งในโครงการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แห่งประเทศไทยกับกระทรวงเกษตรแห่งมาเลเซียที่ตกลงความร่วมมือกันเมื่อ กุมภาพันธ์ 2522 โดยรัฐบาลออสเตรเลียได้ส่งคณะที่ปรึกษาคือ บริษัท Snowy Mountain Engineering Corporation Limited (SMEC, https://www.smec.com/en_au) และ Mc Gowan International Pty Ltd. (MGI) มาดำเนินการศึกษาความเหมาะสมโครงการในช่วงกันยายน 2526-กันยายน 2528 โดยองค์ประกอบของโครงการนั้นมีหลายส่วน มีระยะเวลาก่อสร้างตามแผนในปีงบประมาณ 2538-2548 แต่ส่วนที่สำคัญอันเป็นเหตุแห่งคดีนี้คือ การสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำโกลก (Jetty, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Jetty.pdf) และ รอดักทราย (Groin, https://beachlover.net/wp-content/uploads/2019/07/Groin.pdf) เรื่อยมาทางทิศเหนือตลอดแนวกว่า 20 กิโลเมตร บนคาบสมุทรตากใบ เหตุแห่งการสร้างรอดักทรายตลอดแนวกว่า […]

Beachlover

October 30, 2020

ชาวบ้านมีมติ ไม่เอากำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เขารูปช้าง จ.สงขลา

ที่มา:https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๕ (สงขลา) ร่วมกับกรมเจ้าท่า ที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ทสจ.สงขลา สิ่งแวดล้อมภาคที่ ๑๖ และประชาชนในพื้นที่ ๑๕๐ คน เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และชี้แจงข้อมูลโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งบริเวณ ม.๓–๗ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา เนื่องจากได้รับข้อร้องเรียนและข้อกังวลจากประชาชนในพื้นที่เกี่ยวกับโครงการก่อสร้างฯ ที่ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงการทำประชาพิจารณ์ให้ก่อสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง เพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง แต่ได้กำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งชาวบ้านเกรงว่าหาดทรายจะหายไป วิถีประมงพื้นบ้านต้องเปลี่ยนไป ทรัพยากรสัตว์น้ำอาจจะสูญหายไปด้วย ซึ่งในที่ประชุมมีมติไม่รับโครงการก่อสร้างกำแพงป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง โดยให้เจ้าของโครงการและผู้รับจ้างหยุดการก่อสร้างจนกว่าจะมีข้อสรุปจากเจ้าของโครงการฯ

Beachlover

October 23, 2020

รมว.วราวุธ ย้ำแก้ไขปัญหากัดเซาะชายฝั่งต้องคุ้มค่า ลดปัญหาพื้นที่ข้างเคียง

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH วันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๕๖๓ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (รมว.ทส.) กล่าวว่า ตนได้รับทราบสรุปรายงานสถานการณ์พื้นที่ที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของประเทศไทย ช่วงปี ๒๕๖๒ มีระยะทางรวม ๙๑.๖๙ กม. มีพื้นที่ที่กัดเซาะรุนแรงที่ต้องการแก้ไขเร่งด่วนระยะทาง ๑๒.๘๗ กม. ซึ่งส่วนมากมีสาเหตุมาจากกิจกรรมมนุษย์และผลกระทบที่เกิดจากโครงสร้างป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งที่ได้ดำเนินก่อสร้างแล้ว แต่ส่งผลต่อพื้นที่ข้างเคียงซึ่งในหลายพื้นที่ก็กลายเป็นปัญหาขัดแย้งระหว่างหน่วยงานรัฐและชุมชน นายวราวุธ กล่าวอีกว่า อย่างกรณีการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล บริเวณพื้นที่ชายฝั่งหาดม่วงงาม ที่เครือข่ายประชาชนรักษ์หาดม่วงงาม เรียกร้องให้หยุดดำเนินการ เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวไม่ประสบปัญหาการกัดเซาะ ซึ่งศาลปกครองจังหวัดสงขลาให้มีคำสั่งให้หยุดดำเนินการชั่วคราวเพื่อศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นก่อน ซึ่งตนได้สั่งการให้นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กำกับและสั่งการให้หน่วยงานเร่งสำรวจและกำหนดแนวทางมาตรการการแก้ไขอย่างเป็นระบบ โดยต้องคำนึงถึงความสมดุลของการพัฒนาและการอนุรักษ์ “ระบบนิเวศทางธรรมชาติถูกออกแบบโดยสร้างความสัมพันธ์ทุกอย่างไว้อย่างลงตัว และธรรมชาติได้กำหนดทิศทางและความเป็นไปทุกอย่างไว้แล้ว มนุษย์ที่มีหน้าที่สร้างและรักษาความสมดุล ไม่ใช่พยายามเปลี่ยนแปลงความสมดุล การแก้ไขปัญหาไม่ใช่สิ่งที่ผิด แต่การแก้ไขปัญหาที่ไม่คำนึงถึงผลกระทบต่างหากที่ผิด” นายวราวุธ กล่าวต่อว่า ตนเชื่อว่าการก่อสร้างโครงสร้างเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะเกิดจากความตั้งใจดีของหน่วยงานที่ต้องการช่วยเหลือพี่น้องประชาชนในพื้นที่ แต่ต้องขอให้คำนึงถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น หรือความจำเป็น และความคุ้มค่าในเชิงเศรษฐศาสตร์ด้วย และสิ่งสำคัญที่ตนอยากฝากไว้ คือ การมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง การเปิดโอกาสให้พี่น้องประชาชนได้เข้ามาร่วมคิดร่วมทำในขั้นตอนต่างๆ จะช่วยลดปัญหาความขัดแย้งและสร้างความเข้าใจและความร่วมมือร่วมกัน ซึ่งจะส่งผลให้การดำเนินงานต่างๆ สำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี ด้านนายจตุพร […]

Beachlover

October 20, 2020

กำแพงกันคลื่น… ไปต่อหรือพอแค่นี้?

กำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได เป็นทางเลือกเพื่อการป้องกันชายฝั่งทะเลในยุคปัจจุบัน ที่ทางกรมโยธาธิการและผังเมืองระบุว่าเป็นแนวทางเลือกที่ประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับโครงการป้องกันชายฝั่งในหลายๆพื้นที่เห็นพ้องต้องกันมากที่สุด เช่น หาดมหาราช [https://beachlover.net/covid19-หาดมหาราช/] หาดม่วงงาม [https://beachlover.net/ข้อสังเกต-ม่วงงาม-2-5/] จ.สงขลา หาดชะอำ จ.เพชรบุรี [https://beachlover.net/หาดขั้นบันได-ชะอำ/] ปากน้ำปราณ จ.ประจวบคีรีขันธ์ [https://beachlover.net/ไทยริเวียร่า-ประจวบ/] เป็นต้น โดยทางกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ระบุว่า โครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดที่ได้ศึกษาอย่างรอบคอบตามหลักวิชานี้สามารถป้องกันชายฝั่งได้ดี สมควรดำเนินการต่ออีกในหลายพื้นที่ที่ยังรอคอยการแก้ไข เช่น หาดสวนสน จ.ระยอง และ ปากน้ำแขมหนู จ.จันทบุรี ที่กำลังก่อสร้างอยู่ในปัจจุบัน ข้อเท็จจริงตามทฤษฎีก็คือ โครงสร้างกำแพงกันคลื่นไม่ว่าจะเป็นแบบแนวดิ่ง ลาดเอียง หรือแบบขั้นบันไดที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังดำเนินการนั้น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทำหน้าที่ตรึงแนวชายฝั่งให้อยู่กับที่  ทําให้พื้นที่ด้านหลังกําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ โดยจะออกแบบไปเป็นรูปแบบใดก็ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่  การยอมรับของประชาชน และงบประมาณ เนื่องจากกำแพงกันคลื่นวางตัวขนานกับชายฝั่งจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อนด้านหน้ากำแพง โดยที่คลื่นจะมีความรุนแรงขึ้นด้านหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ส่งผลให้ระดับสันชายหาดลดต่ำลงระดับน้ำด้านหน้ากำแพงกันคลื่นลึกขึ้นจนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปในที่สุด ส่งผลเสียต่อทรัพยากรและทัศนียภาพริมทะเล การที่ทรายด้านหน้ากำแพงหายไปยังทำให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานของกำแพง ส่งผลต่อเสถียรภาพของกำแพงกันคลื่นด้วย การเลี้ยวเบนของคลื่นเมื่อเข้ากระทบกำลังจะส่งผลให้ชายหาดส่วนถัดไปจากสุดปลายกำแพงด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) เกิดการกัดเซาะได้เช่นกันดังนั้นหากใช้มาตรการสร้างกำแพงกันคลื่น จำเป็นต้องสร้างตลอดทั้งแนว มิฉะนั้นพื้นที่ใกล้เคียงที่ปราศจากโครงสร้างป้องกันจะเกิดผลกระทบ โดย Beach Lover ได้เคยนำเสนอผลกระทบที่ว่านี้ผ่าน https://beachlover.net/seawall/ […]

Beachlover

October 18, 2020

ท้ายเหมือง…เต่าเกือบไม่ได้ไข่เพราะกำแพงหิน

[ภาพเมื่อ 30 กันยายน 2563] หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด เพื่อป้องกันศาลาและถนนเลียบทะเลของวัด ไม่ให้เกิดการกัดเซาะ จนเกือบกระทบการวางไข่ของเต่ามะเฟือง หาดหน้าวัดวัดเทสก์ธรรมนาวา (วัดท่าไทร) อ.ท้ายเหมือง จ.พังงา มีการสร้างกำแพงกันคลื่นแบบหินบริเวณชายหาดด้านหน้าของวัด ระหว่างการก่อสร้าง วันที่ 26 ธ.ค.2561 ได้มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่ทางทิศเหนือถัดจากกำแพงไปไม่ไกล ไปประมาณ 200 เมตร หลังจากนั้นในวันที่ 31 ธ.ค.2561 อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้เข้าพูดคุยกับผู้ว่าราชการจังหวัดพังงา เจ้าอาวาสวัดท่าไทร มีความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่าเป็นห่วงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับหลุมไข่เต่ามะเฟือง จึงได้มอบหมายให้ ผอ.สำนักงานบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 8 (สบทช.) ใช้อำนาจอำนาจตามมาตรา 17 ของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (https://beachlover.net/พรบ-กรม-ทช/) สั่งระงับการก่อสร้างเขื่อนไปก่อน จากนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง (ทช.) ได้ทำโครงการปักเสาไม้เพื่อป้องกันการกัดเซาะด้านท้ายน้ำ (Downdrift) ด้านทิศเหนือของกำแพงหิน ระยะทาง 594 เมตร โดยใช้งบประมาณทั้งสิ้น 495,000 บาท […]

Beachlover

October 5, 2020
1 22 23 24 29