ข้อสังเกตต่อโครงการป้องกันการกัดเซาะชายหาดม่วงงาม (ตอนที่ 1/5: สภาพทั่วไปของชายหาดม่วงงาม)

หาดม่วงงาม ตั้งอยู่ใน ต.ม่วงงาม อ.สิงหนคร จ.สงขลา มีสภาพทั่วไปเป็นหาดทรายขาว ยาวต่อเนื่องในแนวเหนือใต้ ทางทิศใต้ของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นที่ตั้งของชุมชนริมหาดม่วงงาม ส่วนมากเป็นชุมชนประมง ใช้พื้นที่ชายหาดด้านหน้าชุมชนเป็นพื้นที่จอดเรือวางอุปกรณ์เพื่อประกอบอาชีพประมง ส่วนด้านทิศเหนือของทางหลวงชนบท สข3025 เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของคนในชุมชน เป็นชายหาดท่องเที่ยวมีถนนเลียบชายหาดตลอดทั้งแนว  ไม่มีชุมชนตั้งประชิดชายหาดเหมือนทางตอนใต้ มีการปรับภูมิทัศน์โดยการทำลานคอนกรีตและปรับพื้นที่บางส่วนโดยการปูอิฐบล็อคเพื่อความสะดวกในการใช้พื้นที่ แสดงสภาพทั่วไปของชายหาดในหมู่ที่ 7 ระยะทาง 630 เมตร ดังรูปที่  1 จากรูปที่ 1 ที่ถ่ายโดย Google ในปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่ริเริ่มโครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งหาดม่วงงามโดยกรมโยธาธิการและผังเมืองในเฟสที่ 1 ยังไม่พบร่องรอยการกัดเซาะล้ำเข้ามาจนถึงโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐดังที่ถูกระบุไว้ในเอกสารสรุปความเป็นมาและความคืบหน้าของโครงการโดยกรมโยธาธิการและผังเมือง อย่างไรก็ตาม การกัดเซาะชายฝั่งถือเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นกับชายหาดทั่วโลกแต่จะมีสาเหตุและผล กระทบแตกต่างกันไปตามบริบทของพื้นที่ หาดม่วงงามประสบปัญหาการกัดเซาะเช่นเดียวกันกับชายฝั่งอื่นๆทั่วประเทศ นั่นคือการกัดเซาะในฤดูมรสุมส่งผลให้ชายหาดหดหายไป คลื่นกระเซ็นขึ้นมาบนถนนบ้างในบางฤดูกาล และยามหมดมรสุมชายหาดก็กลับมากว้างเหมือนเดิมตามสมดุลชายฝั่งที่แสดงดังรูปที่ 2 โดยรูปที่ 3  แสดงภาพบางส่วนในอดีตของชายหาดม่วงงามหลังผ่านพ้นพายุปาบึก ที่เข้าปะทะชายหาดภาคใต้ตอนล่างเมื่อต้นเดือนมกราคม 2562 ซึ่งส่งผลถึงชายหาด จ.สงขลาทั้งหมดเช่นกัน พบว่าแม้จะประสบกับคลื่นพายุขนาดใหญ่ แต่ชายหาดม่วงงามก็สามารถฟื้นกลับคืนสมดุลได้เองตามธรรมชาติ บางตำแหน่งของชายหาดม่วงงามพบการสร้างโครงสร้างป้องกันชายฝั่งแบบชั่วคราวโดยหน่วยงานส่วนท้องถิ่นบ้างในช่วงมรสุมอย่างการปักไม้ชะลอคลื่น ซึ่งมิได้กีดขวางการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดมากนักและไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเหมือนโครงสร้างถาวรแสดงดังรูปที่ 4 ทีม […]

Beachlover

May 17, 2020

เกิดอะไรขึ้นกับหาดมหาราช ช่วงโควิด19? [15 พ.ค.2563]

ทีม Beach Lover ได้เคยนำเสนอเรื่องราวความเป็นมาเป็นไปของชายหาดมหาราชมาอย่างเป็นระยะๆแล้วตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 จำนวน 6 เรื่อง ติดตามย้อนหลังได้จาก โพสเก่าๆของสถานการณ์ชายฝั่งทะเล https://beachlover.net/ความคืบหน้า-กำแพง-หาดมหา/ https://beachlover.net/ความคืบหน้า-มหาราช/ https://beachlover.net/google-earth-หาดมหาราช-สงขลา/ https://beachlover.net/ตอกเข็มแล้ว-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/ใกล้แล้ว-หาดมหาราช/ ณ ช่วงเวลาที่ชายหาดท่องเที่ยวหลายแห่งปิดไม่ให้เข้าใช้พื้นที่ แต่ชายหาดส่วนใหญ่ประชาชนยังสามารถเข้าถึงได้ปกติ แต่ ณ ช่วงเวลานี้ ชายหาดมหาราชที่ชาวสงขลาเคยเข้าถึงได้อย่างปกติ กำลังมีงานโครงสร้างขนาดใหญ่ก่อสร้างทับลงไปบนพื้นที่ชายหาด และดำเนินการต่อเนื่องเรื่อยมาหลายเดือนอย่างเร่งรีบ ภาพปัจจุบัน (ไม่ทราบแหล่งที่มาของภาพ) แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ชายหาดที่สมบูรณ์ไร้ร่องรอยการกัดเซาะชายฝั่ง กำลังถูกแทนที่ด้วยโครงสร้างกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันได แบบที่เคยเกิดขึ้นและกำลังจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของชายหาดในประเทศไทย การระบาดของกำแพงกันคลื่นเกิดขึ้นแล้วอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่รัฐได้ถอดถอนรายชื่อกำแพงกันคลื่นออกจากโครงการที่ต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม แม้ไร้ซึ่งความจำเป็น เราก็จะ “ขลิบ” ชายหาดมหาราช ด้วยกำแพงกันคลื่น ในมูลค่า 151.72 ล้านบาทต่อกิโลเมตร กันจริงใช่ไหม ?!?!?

Beachlover

May 15, 2020

ชายหาดหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท หายไปไหน ?!?! [17เม.ย.2563]

โรงแรมหาดแก้วรีสอร์ท ตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของทางเข้าทะเลสาบสงขลาและท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลา ในอดีตเคยมีหาดทรายกว้างด้านหน้าโรงแรม บางฤดูกาลก็เกิดชายหาดสองชั้น คือด้านในเป็นแอ่งน้ำและมีสันทรายด้านนอกอีกชั้นหนึ่ง ดังที่สังเกตได้จากภาพถ่ายปี 2007 (2550) พัฒนาการของชายหาดบริเวณนี้สามารถติดตามได้อย่างง่ายๆผ่านภาพถ่ายดาวเทียมจาก GoogleEarth ทีม Beach lover ได้รวบรวมมาแสดงไว้ตั้งแต่ปี 2556 จนถึงปี 2560 ดังนี้ พบว่าชายหาดด้านหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทนั้นเริ่มเกิดการกัดเซาะอย่างเด่นชัดทางทิศใต้ในพื้นที่ชายหาดส่วนที่ติดกับที่ดินส่วนถัดไป ที่เริ่มสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่น ในปี 2559-2560 จากนั้น ชายหาดธรรมชาติด้านหน้าโรงแรมที่เคยกว้าง ที่ซึ่งเคยจัดกีฬาชายหาด เคยจัดกิจกรรมต่างๆ ก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป พบว่าหลังการกัดเซาะ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างกำแพงกันคลื่นต่อเนื่องจากกำแพงของที่ดินด้านทิศใต้ของโรงแรมที่เป็นหนึ่งในต้นเหตุของการกัดเซาะบริเวณนี้ ยาวตลอดทั้งชายหาดไปถึงแถบชิงโค (ติดตามได้จากโพสเก่าๆ) โดยเห็นได้ชัดจากภาพถ่ายดาวเทียมเมื่อปลาย ปี 2562 ล่าสุดทีมเครือข่ายของ Beach lover ได้ลงสำรวจพื้นที่บริเวณหน้าโรงแรมหาดแก้วรีสอร์ทอีกครั้งในวันที่ 17 เม.ย.2563 พบสภาพชายหาดที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หาดทรายธรรมชาติที่กว้างและยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือ ถูกแทนที่ด้วยกำแพงกันคลื่นคอนกรีตขนาดใหญ่ ยาวต่อเนื่องไปทางทิศเหนือเช่นกัน หากรัฐยังคงมีทัศนะในการแก้ไขปัญหาแบบเดิม อย่างเคยรับปฏิบัติสืบต่อกันมา ชายหาดธรรมชาติจะถูกแทนที่ด้วยคอนกรีต และเราจะเห็นเหตุการณ์แบบนี้อีกครั้งและอีกครั้ง ภาพนี้จะถูกฉายซ้ำอีกจนกว่า “เขา” จะขลิบขอบประเทศไทยตลอดแนวสามพันว่ากิโลเมตร จนหมดสิ้น … เมื่อนั้นหาดทรายธรรมชาติคงจะกลายเป็นเพียงตำนานในหนังสือภาพที่เราต้องเปิดให้ลูกหลานดู

Beachlover

April 20, 2020

ชายหาดม่วงงามยามนี้ [14มี.ค.2563]

หาดม่วงงาม ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลม่วงงาม อำเภอสิงหนคร จังหวัดสงขลา มีความยาวชายหาดประมาณ 7.2 กิโลเมตร ห่างจากอำเภอสิงหนครเป็นระยะทาง 16 กิโลเมตร ลักษณะเป็นหาดทรายขาว เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ทางตอนใต้ของของหาดนี้เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านชาวประมงม่วงงาม ชายหาดบริเวณนี้มีถนนเลียบชายฝั่งตลอดความยาว มีการกัดเซาะบ้างตามฤดูกาล พอผ่านพ้นฤดูมรสุมชายหาดจะกลับมากว้างเหมือนเดิม ริมถนนเลียบชายฝั่งนี้สามารถพบเห็นซากของโครงสร้างป้องกันชายฝั่งเดิมที่เคยใช้ป้องกันชายฝั่งแล้วถูกทรายกลบทับไปช่วงปลอดมรสุม โผล่พ้นขึ้นมาบ้างในยามมรสุม ปัจจุบัน กรมโยธาธิการและผังเมืองได้กำลังดำเนินโครงการป้องกันชายฝั่งด้วยกำแพงกันคลื่นแบบขั้นบันไดเสริมเหล็กยาว 630 เมตร มีสันเขื่อนกว้าง 3.5 เมตร ซึ่งจะทำการก่อสร้างบนชายฝั่งตลอดแนวชายหาดของพื้นที่ ม.7 ต.ม่วงงาม นอกจากนี้จะมีการปรับปรุงทัศนียภาพโดยรอบ พร้อมกับออกแบบให้มีบันไดขึ้นลงชายหาด ทางลาดสำหรับผู้พิการ และทางลาดให้เรือขนาดเล็กขึ้นลงชายหาด จากการประชุมรับฟังความเห็นได้แจ้งชาวบ้านผู้มีส่วนได้เสียว่า โครงสร้างนี้จะไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และการประกอบอาชีพของคนในพื้นที่ แต่จะส่งเสริมให้เป็นที่สาธารณประโยชน์ ใช้ออกกำลังกาย หรือพัฒนาให้เป็นที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจได้อีกด้วย (ที่มา: https://news.gimyong.com/article/7448) ท่ามกลางกระแสประชาชนที่ทั้งเห็นด้วยและเห็นค้านกับโครงการ น่าติดตามต่อไปถึงผลกระทบที่กำลังจะเกิดขึ้น ชายหาดที่เคยหายไปช่วงมรสุมจะกลับมาในช่วงปลอดมรสุมเหมือนอย่างเดิมหรือไม่

Beachlover

March 15, 2020

ด่วน!!! ความคืบหน้าโครงการป้องกันชายฝั่ง ชายหาดมหาราช สงขลา [5 มี.ค.2563]

ด่วน!!! รายงาน(เกือบ)สด ชายหาดมหาราช สงขลา ความคืบหน้าล่าสุดในวันนี้ (5 มี.ค.2563) มีการตอกเข็มเกือบตลอดทั้งแนวก่อสร้าง เทปูนชั้นบนสุดของกำแพง หล่อคอนกรีตในบางตำแหน่ง และมีการนำเสาเข็มมาวางเป็นจุดๆกระจายตลอดแนวก่อสร้าง Beach lover ได้นำเสนอการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดมหาราช จ.สงขลา โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 จำนวน 5 เรื่อง ติดตามย้อนหลังได้จาก  https://beachlover.net/ความคืบหน้า-มหาราช/ https://beachlover.net/google-earth-หาดมหาราช-สงขลา/ https://beachlover.net/ตอกเข็มแล้ว-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/กำแพงกันคลื่น-หาดมหาราช/ https://beachlover.net/ใกล้แล้ว-หาดมหาราช/ แม้ไร้ซึ่งความจำเป็น เราก็จะ “ขลิบ” ชายหาดมหาราชด้วยกำแพงกันคลื่น ในมูลค่า 151.72 ล้านบาทต่อกิโลเมตร กันจริงใช่ไหม ?!?!?

Beachlover

March 6, 2020

โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน [27ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH/ โครงการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ยกระดับคุณภาพชีวิตคนในชุมชน ออกอากาศเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 ในรายการ เรื่องเด่นเย็นนี้ ช่วงข่าวเศรษฐกิจ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3 ตามลิ๊งค์ด้านล่าง▶️ https://news.bectero.com/news/168638 ปัญหาการกัดเซาะแนวชายฝั่งทะเลของไทย ปัจจุบันนี้ยังน่าเป็นห่วง หลายครอบครัวบ้านถูกคลื่นซัดพังเสียหายต้องย้ายออกจากพื้นที่ กรมโยธาธิการและผังเมืองจึงเข้ามาแก้ไขปัญหาและพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้ดีขึ้น  ชายฝั่งทะเลทั้งอ่าวไทยและอันดามันประสบปัญหาการกัดเซาะตลอดแนวชายฝั่ง ด้วยระดับความรุนแรงและสาเหตุที่แตกต่างกันไป โดยเฉพาะปัจจัยทางธรรมชาติ สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชน หลายครอบครัวต้องอพยพย้ายบ้านเรือน ไม่สามารถทำการประมงหาเลี้ยงครอบครัวได้   กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงได้มีโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันคลื่นกัดเซาะชายฝั่งทะเลขึ้น โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น หรือ IEE จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อวิถีชีวิต และสภาพแวดล้อมของชุมชนน้อยที่สุด ด้วยมาตรการที่แก้ไขอย่างยั่งยืน   ชายหาดปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นอีกหนึ่งพื้นที่ ที่ถูก น้ำทะเลกัดเซาะเฉลี่ย 1 ถึง 5 เมตรต่อปี รุนแรงสุดอยู่ตอนกลางของหาด มีการศึกษาผลกระทบหลังจากการก่อสร้างเขื่อนในพื้นที่ข้างเคียงพบว่าปัญหาการกัดเซาะที่ปลายเขื่อนจะไม่ส่งผลไปยังหาดข้างเคียงต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ สามารถใช้แบบจำลองทางวิศวกรรมคำนวณหาขอบเขตที่แน่นอนได้  กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้ามาแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน พร้อมพัฒนาพื้นที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวรวมถึงปรับปรุงสภาพแวดล้อมชายหาดที่เสื่อมโทรมกลายสภาพเป็นลานกิจกรรมนานาชนิด สร้างอาชีพเสริม เพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้ผู้คนในแถบนี้ท่ามกลางบรรยากาศที่สวยงาม กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล  ไม่เพียงคุณภาพชีวิตคนในชุมชนดีขึ้น แต่โครงการ ป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งปราณบุรี ยังช่วยยกระดับผังเมือง และเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมรอบนอกอย่างเป็นระบบภายใต้ภารกิจการพัฒนาเมืองของกรมโยธาธิการและผังเมือง

Beachlover

January 28, 2020

ความคืบหน้า กำแพงป้องกันชายฝั่งชายหาดมหาราช [25ม.ค.2563]

Beach lover ได้นำเสนอการดำเนินโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นชายหาดมหาราช จ.สงขลา โดยกรมโยธาธิการและผังเมือง มาตั้งแต่เดือน พ.ย. 2562 จำนวน 4 เรื่อง ติดตามย้อนหลังได้จาก http://Google earth หาดมหาราช จ.สงขลา ไร้การกัดเซาะ [15 ม.ค.2563] และ http://ตอกเข็มแล้ว!! หาดมหาราช จ.สงขลา [11ม.ค.2563] และ http://ลงมือแล้ว! กำแพงกันคลื่นชายหาดมหาราช สงขลา [15 ธ.ค.2562] และ http://ใกล้แล้ว! การมาถึงของโครงสร้างบางอย่าง ณ หาดมหาราช [5 พ.ย.2562] ความคืบหน้าล่าสุดในวันที่ 25 ม.ค.2563 มีการตอกเข็มเพิ่มขึ้นเกือบตลอดทั้งแนวก่อสร้าง หล่อคอนกรีตแล้วในบางตำแหน่ง และมีการนำเสาเข็มมาวางเป็นจุดๆกระจายตลอดแนวก่อสร้าง โครงการนี้มีระยะเวลาก่อสร้างตามสัญญา 2 ปี 1 เดือน ตลอดแนว 1.1 กิโลเมตร จากการสังเกตหน้างานพบว่าผู้รับเหมาค่อนข้างเร่งงานพอสมควร แม้ช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ที่ผ่านมาก็หยุดงานเพียงไม่กี่วันก็กลับมาตอกเสาเข็มต่อ (จากปากคำของผู้มีบ้านอยู่ริมชายหาด) จากการพูดคุยกับชาวบ้านในพื้นที่พบว่า […]

Beachlover

January 26, 2020

กำแพงกันคลื่นใน 3 พื้นที่ ที่ต้องตั้งงบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” [17ม.ค.2563]

กําแพงกันคลื่น มีลักษณะเป็นกําแพงวางตัวตามแนวประชิดและขนานชายฝั่ง เพื่อรับแรงปะทะจากคลื่น ทําให้พื้นที่ด้านหลัง กําแพงกันคลื่นไม่ถูกกัดเซาะ มักใช้ในการป้องกันชายฝั่งที่มีพื้นที่แคบๆ นิยมใช้ในการป้องกันพื้นที่ของเอกชนเนื่องจากมีค่าใช้จ่าย ไม่สูงมากนัก อาจมีได้หลากหลายรูปแบบเช่น กําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้ง แบบเข็มพืด แบบ Tetrapod แบบเกเบียน เป็นต้น ซึ่งขึ้นอยู่กับความเหมาะสมเชิงพื้นที่และงบประมาณ ผลกระทบที่เกิดขึ้นคือ เกิดการสะท้อนกลับของคลื่นที่เข้ามากระทบโดยจะมีความ รุนแรงมากหน้ากําแพง ส่งผลให้เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์ ด้านหน้ากําแพงได้ เมื่อคลื่นเข้าปะทะกําแพงจะเกิดการตะกุยตะกอนทรายจากชายหาดด้านหน้ากําแพงกันคลื่น แล้วกระแสน้ําในทิศทางออกจากฝั่งซึ่งเกิดจากคลื่นจะพาตะกอนทรายเหล่านั้นออกไปนอกชายฝั่ง ทําให้เกิดการกัดเซาะบริเวณหน้ากําแพงกันคลื่น ทําให้การเข้าถึงชายหาดถูกปรับเปลี่ยนสภาพไป อาจเกิดความไม่สะดวกขึ้น ทําให้เกิดการกัดเซาะที่ฐานและด้านท้ายน้ําของกําแพง (Downdrift) โดยมีลักษณะเป็น Local effect หากเป็นกําแพงกันคลื่นแบบหินทิ้งมักก่อให้เกิดอันตรายเมื่อลม พายุขนาดใหญ่หอบเอาหินเข้ามาที่ชายฝั่งด้านใน เป็นอันตรายต่อ พื้นท่ีใกล้เคียงได้ ส่งผลเสียต่อทัศนียภาพริมทะเล ที่สำคัญ หากจุดสิ้นสุดของปลายกำแพงไม่ใช่หัวหาด หัวแหลม โครงสร้างป้องกันชายฝั่ง หรือโครงสร้างปากแม่น้ำ จะเกิดการกัดเซาะต่อเนื่องทางด้านท้ายน้ำ จนอาจจะต้องสร้างกำแพง “ต่อไปเรื่อยๆ” ใช้งบประมาณ “ต่อไปเรื่อยๆ” เพื่อแก้ไขปัญหานี้ “ต่อไปเรื่อยๆ” ตามรูป คำถามตัวโตๆคือ ประเทศไทยร่ำรวยพอที่จะแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการเดิมๆ “ต่อไปเรื่อยๆ” หรือไม่

Beachlover

January 17, 2020

กรมโยธาฯสร้างเขื่อนป้องกันกัดเซาะฝั่ง ศูนย์การพัฒนาฯอ่าวคุ้งกระเบน หนุนการท่องเที่ยว [15ม.ค.2563]

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/DPT.PR.GO.TH/ จังหวัดจันทบุรี เมืองรองที่การท่องเที่ยวเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติอย่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองได้เข้าไปเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับพื้นที่บริเวณริมชายฝั่งทะเล ผู้ค้าตลอดแนวถนนบริเวณศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลคลองขุด อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี ออกมาให้บริการนักท่องเที่ยว นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนคนในพื้นที่ ที่มีมาเกือบทุกวัน แต่จะคึกคักมากสุดก็วันหยุดสุดสัปดาห์ เพราะไม่ต้องประสบปัญหาพื้นที่ชายฝั่งถูกน้ำทะเลกัดเซาะอีกต่อไป หลังกรมโยธาธิการและผังเมือง ก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลประเภทบันไดคอนกรีต ความยาว 1,265 เมตร แบ่งเป็น 3 ระยะ โดยเริ่มก่อสร้างปี 2559 ถึง 2563 ลงพื้นที่สำรวจออกแบบ รับฟังความคิดเห็นสาธารณะกับผู้ที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นหรือ IEE ที่ตกผลึกความเห็นทั้งจากองค์กรด้านสิ่งแวดล้อม ภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา ศาสนสถาน นักวิชาการอิสระกลุ่มประมงพื้นบ้าน และประชาชนในพื้นที่ รอยยิ้มของประชาชนและนักท่องเที่ยว สะท้อนให้เห็นถึงความมั่นใจต่อความปลอดภัยของพื้นที่ หลังจากถูกปรับโครงสร้างให้มีความมั่นคงมากขึ้น ชม Clip ได้จาก Link ของรายการเรื่องเด่นเย็นนี้ ช่อง 3 : https://news.bectero.com/news/166680?fbclid=IwAR2Gk_tO2eWhJzesq6gVpuALvW2_5OVdJZHo_zUzscCCUqmJzKCYvfFdhaU

Beachlover

January 15, 2020
1 16 17