หาดเลื่องชื่อของเกาะฮ่องกง Repulse Bay ยามไร้ผู้คน

ชายหาดอันเลื่องชื่อที่สุด Repulse beach รายล้อมไปด้วยคอนโดหรู โรงแรม บ้านพักตากอากาศของคนมีฐานะ ในช่วงฤดูร้อนจะคราคร่ำไปด้วยผู้คน เป็นชายหาดสาธารณะที่อยู่ไม่ไกลจากเมืองมากนัก และช่วงหน้า Low season แบบนี้ หากนักท่องเที่ยวจะลงเล่นน้ำ ต้องดูแลตัวเอง เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ประจำ ในช่วงนี้สถานที่ท่องเที่ยวหลายแห่งถือโอกาสปิดตัวเพื่อซ่อมแซม บำรุงรักษา facilities ต่างๆให้พร้อมกลับมาใช้ได้อย่างสมบูรณ์ก่อนการมาถึงของช่วง High เอาใจนักท่องเที่ยวจนเกินพอดี ทรัพยากรจะฟื้นตัวไม่ทัน

Beachlover

December 16, 2019

ม่านดักตะกอนที่ Victoria Harbour, Hongkong

วีธีการลดผลกระทบจากการก่อสร้างริมทะเลคือการใช้ม่านดักตะกอนแบบนี้ค่ะ รายงาน EIA ชอบเขียนว่าต้องมีการใช้ม่านดักตะกอน แต่เอาเข้าจริงๆมีหรือเปล่า หากไม่ได้เข้าไปติดตาม ก็ไม่อาจทราบได้  

Beachlover

December 16, 2019

ท่าเทียบเรือ เมืองมาเล่ Maldives

ในประเทศที่เป็นหมู่เกาะ การคมนาคมขนส่งทางเรือถือเป็นกลไกหลักที่เชื่อมเกาะเชื่อมผู้คนเข้าด้วยกัน โครงสร้างป้องกันท่าเรือจึงมีความจำเป็นอย่างมากเพื่อความปลอดภัยต่อการจอด การขึ้นลงเรือ กระนั้นก็ตามผลกระทบที่เกิดกับพื้นที่ข้างเคียงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ผู้มีส่วนได้เสียต้องช่วยกันขบคิดและเยียวยาผลที่เกิดขึ้นตามสมควร

Beachlover

December 11, 2019

Teluk Kemang ชายหาดที่มีชื่อเสียงของ Port Dickson, Malaysia

หาด Teluk Kemang ชายหาดของ Port Dickson ที่เขาว่ากันว่ามีชื่อเสียงและคึกคักที่สุด อารมณ์ประมาณหาดบางแสนที่ไม่มีร่มเตียง แต่ทรายขาวปนเทาสวยดีแม้ไม่ละเอียดมากก็ตาม

Beachlover

December 7, 2019

ป้ายเตือน Rip current ที่ชายหาด Okinawa, Japan

ป้ายเตือน Rip current บริเวณชายหาดที่เกิดปรากฏการณ์นี้ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทยทางวิชาการ แต่ชาวบ้านมักเรียกว่า กระแสน้ำกินคน คือกระแสน้ำจะดูดดึงคนที่เล่นน้ำอยู่ริมชายฝั่งออกไปนอกฝั่ง สามารถสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ไม่ได้เกิดขึ้นทุกที่และทุกวัน ขึ้นกับความเหมาะสมสอดคล้องกันของคุณลักษณะของคลื่นและความลาดชันด้านหน้าชายหาด สำหรับในประเทศไทยเท่าที่พอเห็นได้คือหาดตาลคู่ จ.ตราด ทุ่งวัวแล่น จ.ชุมพร แม่รำพึง จ.ระยอง หาดกะรน จ.ภูเก็ต หาดอื่นๆไม่ใช่ว่าจะไม่เกิดขึ้น แต่ยังไม่มีป้ายเตือน

Beachlover

December 6, 2019

โครงสร้างชายฝั่ง จ.Tokushima, Japan

พาไปดูโครงสร้างป้องกันชายฝั่ง จ.Tokushima เกาะชิโกกุ ประเทศญี่ปุ่น เป็นการสร้างใหม่โดยย้ายของเดิมที่ไม่ฟังก์ชั่นแล้วเนื่องจากการทรุดตัว มาเติมบางส่วน Block armour ที่เห็นรูปร่างแตกต่างกันเพราะมาจากคนละบริษัท ไม่ได้แตกต่างกันเรื่องประสิทธิภาพการป้องกัน ไม่ใช้หินก้อนใหญ่แบบบ้านเราเพราะหายากและราคาสูง ส่วนเรื่องผลกระทบนั้นมีแน่นอน แต่ชายหาดบริเวณนี้ไม่มีมิติของการท่องเที่ยว คำนึงเรื่องป้องกันภัยพิบัติมากกว่า โดยเฉพาะ Storm surge

Beachlover

December 5, 2019

ร่องรอยที่หาด Ibaruma, บนเกาะ Ishigaki, Okinawa, Japan

นี่คือร่องรอยของซากปะการัง บ่งบอกว่าในอดีตบริเวณนี้จมอยู่ใต้ระดับน้ำทะเล จากความสูงของกองปะการังนี้ คาดเดาได้ว่าระดับน้ำในอดีตต้องสูงมากกว่า 8 เมตร จากระดับน้ำทะเลปัจจุบัน

Beachlover

December 5, 2019

กวาดชายหาด (Beach grooming) ณ Unawatuna Beach, Sri Lanka

การกวาดเพื่อทำความสะอาดชายหาด พบเห็นทั่วไปโดยเฉพาะหาดสาธารณะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว และหาดด้านหน้าโรงแรม เพื่อไม่ให้มีขยะตกค้างบนชายหาด รบกวนการใช้ประโยชน์บนชายหาด โดยขยะเหล่านั้นอาจถูกซัดมากับคลื่นลมตามธรรมชาติจากนอกชายฝั่ง หรือเกิดจากการทิ้งโดยตรงบนชายหาด การกวาดชายหาดในลักษณะนี้ทำให้ชายหาดสะอาดตาน่ามองขึ้นก็จริง แต่เป็นการไปรบกวนและอาจถึงขนาดทำลายสิ่งมีชีวิตหน้าดินทั้งหมด นอกจากนั้นการกวาดยังทำให้ชายหาดร่วนซุย ความหนาแน่นของชายหาดลดลง เมื่อคลื่นลมซัดเข้าฝั่ง ทรายบนหาดส่วนนี้จะถูกพัดพาออกได้ง่ายมากขึ้น ส่งผลให้ชายหาดบริเวณนี้อ่อนไหวต่อการเปลี่ยนแปลงง่ายมากขึ้น ถ้าไม่มีขยะ ก็คงไม่ต้องกวาดขยะ และคงมีชายหาดแน่นๆ ทรายแน่นๆให้เดินเหยียบ ดีกว่าทรายที่ร่วนซุยจาก beach grooming  

Beachlover

December 5, 2019

สันหาดชัดเจน Unawatuna Beach, Sri Lanka

เห็นสันหาดหรือ Berm ได้อย่างชัดเจนมาก โดยทั่วไปน้ำทะเลจะไม่ขึ้นมาถึงจุดนี้ เว้นแต่ละล้นข้ามจากคลื่น overwash เท่านั้น ชายหาดส่วนหลังจึงมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก

Beachlover

December 5, 2019
1 5 6 7