พัฒนาการของแหลมสนอ่อน จ.สงขลา

พัฒนาการของแหลมสนอ่อน แหลมสนอ่อน เห็นส่วนเหนือสุดของหาดสมิหลาที่มีความยาวรวมทั้งสิ้น 7.8 กิโลเมตร อยู่บริเวณทิศตะวันตกเฉียงเหนือของแหลมสมิหลา (รูป 1) ร่มรื่นไปด้วยทิวสนทะเลและไม้พุ่มหลากหลายชนิด บริเวณปลายแหลมเป็นที่ประดิษฐานอนุสาวรีย์กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ จากปลายแหลมสนอ่อนสามารถชมทัศนียภาพอันสวยงามของปากทะเลสาบสงขลา และมองเห็นเกาะหนูได้ใกล้และชัดที่สุด  แหลมสนอ่อนในอดีตมีความกว้างน้อยกว่าในปัจจุบันมากตามหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศปี พ.ศ.2510 (รูป 2-A) พัฒนาการของแหลมสนอ่อนเท่าที่มีข้อมูลปรากฏนั้นเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2511 ที่มีการสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำสงขลายาวประมาณ 700 เมตร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันตะกอนชายฝั่งทะเลไปตกในร่องน้ำเดินเรือของทะเลสาบสงขลา ส่งผลให้ตะกอนทรายที่เคลื่อนมาจากทิศใต้ตกทับถมทางด้านใต้โครงสร้างนี้ แหลมสนอ่อนเริ่มขยายพื้นที่เนื่องจากการสะสมตัวของตะกอนทรายดังกล่าวกว้างมากขึ้นนับจากนั้น (รูป 2-B) ต่อมาได้มีการพัฒนาท่าเทียบเรือน้ำลึกสงขลาบริเวณหัวเขาแดงเมื่อปี พ.ศ. 2528-2532 และได้ต่อขยายความยาวของโครงสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปลายแหลมสนอ่อนออกไปอีก 200 เมตร จึงเป็นการเพิ่มตะกอนให้กับพื้นที่แหลมสนอ่อนมากขึ้นอีก (รูป 2-C) จนมีความกว้างมากขึ้นเรื่อยๆ (รูป 2-D) พบว่าพัฒนาการของแหลมสนอ่อนเท่าที่มีหลักฐานปรากฎตั้งแต่ปี 2510 ถึง 2554 นั้น มีพื้นที่งอกเพิ่มมากขึ้นจากการสะสมตัวของตะกอนชายฝั่งที่เคลื่อนมาจากทิศใต้ประมาณ 497.42 ไร่หรือคิดเป็น 795,872 ตารางเมตร (รูป 3)

Beachlover

January 3, 2020

การขุดสันทรายชายหาดปากน้ำเทพา

การขุดสันทรายชายหาดปากน้ำเทพา ช่วงกลางเดือนมกราคม 2561 ได้มีการดำเนินการขุดสันทรายชายหาดปากน้ำเทพาฝั่งตะวันออกโดยกรมเจ้าท่า ตามข่าว(https://www.khaosod.co.th/around-thailand/news_711257)ให้เหตุผลว่าเป็นไปเพื่อการระบายน้ำและตะกอนออกจากปากร่องน้ำเทพา ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการขุดลอกร่องน้ำเทพาเพื่อประโยชน์ในการสัญจรผ่านปากร่องน้ำ แม่น้ำเทพา (ภาพที่ 1) ได้ไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทยที่อ.เทพาจ.สงขลาโดยที่ปากแม่น้ำได้มีการก่อสร้างเขื่อนกันทรายและคลื่นปากร่องน้ำ (Jetty) 1 คู่ทั้งทิศตะวันออกและตะวันตกโดยกรมเจ้าท่าซึ่งมีภารกิจหลักในการดูแลปากแม่น้ำในประเทศไทยเพื่อการคมนาคมให้เหตุผลในการก่อสร้างว่าเพื่อประโยชน์ต่อการสัญจรผ่านปากแม่น้ำลดการตกตะกอนบริเวณปากร่องเพื่อประหยัดงบประมาณในการขุดลอกร่องน้ำหลังการก่อสร้างไม่นานชายหาดด้านทิศตะวันตกได้เกิดการกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนต้องดำเนินการป้องกันโดยการสร้างเขื่อนกันคลื่นจำนวน 4 ตัวเนื่องจากผลกระทบของ Jetty ปากร่องน้ำเทพาซึ่งกีดขวางการเคลื่อนตัวของตะกอนชายฝั่งและได้ส่งผลให้ชายหาดด้านทิศตะวันออกได้เกิดทับถมของตะกอนทรายเป็นบริเวณกว้าง  แม้จะมีโครงสร้างเพื่อป้องกันการตกตะกอนที่ปากร่องน้ำแล้ว แต่กรมเจ้าท่ายังต้องดำเนินการบำรุงรักษาปากร่องน้ำโดยการขุดลอกตะกอนอยู่เป็นครั้งคราว ครั้งนี้ก็เช่นเดียวกัน ได้ดำเนินการขุดลอกตะกอนที่ปากร่องน้ำเทพาตามที่ปรากฎจากสื่อสังคมออนไลน์ดังภาพที่ 2 และได้ทำการลำเลียงตะกอนที่ขุดลอกซึ่งประกอบไปด้วย น้ำ ตะกอนดินปนทรายค่อนข้างละเอียดคล้ายโคลน โดยขุดสันทรายด้านทิศตะวันออกของปากร่องน้ำให้เป็นช่องเปิดเพื่อการระบายน้ำและตะกอนดังกล่าวออกสู่ทะเล จากภาพพบว่าได้ทำการขุดสันทรายชายหาดด้านทิศตะวันออกจนเป็นร่องกว้างขนานไปกับชายหาดยาวประมาณ 100 เมตร ซึ่งเดิมเป็นสันทรายที่สมบูรณ์สวยงามและมีตะกอนทรายทับถมอยู่เป็นบริเวณกว้างอันเนื่องมาจากผลกระทบของเขื่อนกันทรายและคลื่นปากแม่น้ำตามที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้นแสดงดังภาพที่ 3  โดยจากภาพที่ปรากฎในสื่อต่างๆแม้ยังไม่ชัดเจนนักว่าเริ่มขุดจากบริเวณไหนอย่างไร และปล่อยน้ำและตะกอนบริเวณใดของหาด แต่สามารถตั้งข้อสังเกตและประเด็นความห่วงกังวลต่อการดำเนินการได้ดังนี้ เหตุผลใดจึงต้องระบายน้ำและตะกอนลงทางด้านตะวันออกของปากร่อง – เนื่องจากทิศทางการเคลื่อนตัวของตะกอนเลียบชายฝั่งบริเวณนี้คือจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก หากมีการระบายตะกอนทางทิศตะวันออก คลื่นและกระแสน้ำก็จะพัดพาตะกอนให้กลับไปปิดทับถมปากร่องน้ำเหมือนเช่นเดิมซึ่งก็จะส่งผลให้การดำเนินการนี้ขาดประสิทธิภาพ ผู้ดำเนินการควรนำตะกอนที่ขุดลอกไปเสริมสมดุลตะกอนให้กับปากร่องน้ำทางทิศตะวันตกจะสมเหตุสมผลมากกว่า เพราะเป็นบริเวณที่เกิดการกัดเซาะเพราะขาดตะกอนตามที่ได้อธิบายมาแล้วข้างต้น เหตุผลของการใช้วิธีการขุดสันทรายเพื่อการระบายน้ำ – หากมีการอธิบายให้เหตุผลในข้อ 1 สมเหตุสมผลตามหลักวิชาการแล้ว เหตุใดจึงเลือกใช้การขุดสันทรายทั้งที่อาจใช้วิธีการอื่นเช่นการวางท่อระบายน้ำ  เพราะการลำเลียงน้ำและตะกอนนี้เป็นเพียงการดำเนินงานเพียงชั่วคราว แต่หากใช้วิธีการขุดสันทรายอันสมบูรณ์แล้วทำการกลบร่องที่ขุดใหม่ ก็ไม่อาจคาดเดาได้ว่าสภาพของสันทรายหลังจากนั้นจะกลับมาสมบูรณ์เหมือนอย่างเดิมหรือไม่  การประชาสัมพันธ์โครงการให้ประชาชนทราบ – ตามภาพข่าวยังไม่ชัดเจนถึงการมีอยู่ของป้ายประชาสัมพันธ์โครงการที่กำลังดำเนินการอยู่นี้ ทั้งนี้หากกรมเจ้าท่ามีเหตุผลอย่างเพียงพอและเป็นไปตามหลักวิชาการแล้วนั้นก็สมควรเผยแพร่และทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนได้เสียกับโครงการดังกล่าวให้ชัดเจนนอกจากนี้ควรคำนึงถึงสภาพแวดล้อมและระบบนิเวศโดยรวมที่อาจจะเสียหายจนไม่อาจฟื้นคืนกลับได้เหมือนเดิมไว้เป็นหนึ่งในข้อควรพิจารณาด้วย

Beachlover

January 3, 2020

สำรวจความเห็นผู้ใช้ประโยชน์ชายหาดพัทยาหลังการเติมทราย

หลังการเติมทรายชายหาดพัทยาด้วยงบประมาณ 420 ล้านบาท โดยกรมเจ้าท่า ที่แล้วเสร็จไปเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2562 นับจนถึงทุกวันนี้ยังคงมีปัญหาที่ต้องแก้ไขต่อหลายประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระบบระบายน้ำริมชายหาดที่ขาดประสิทธิภาพ ยามฝนตกหนักน้ำจากเมืองจะไหลบ่าล้นข้ามถนนส่งผลกระทบอย่างหนักต่อทรายที่ถมลงบนชายหาดกว่าสามแสนคิว โดยเมืองพัทยากำลังดำเนินการเรื่องนี้อย่างเร่งด่วนด้วยการออกแบบระบบระบายน้ำที่ส่งน้ำลงทะเลโดยตรง ที่คาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ในส่วนของผู้ใช้ชายหาดที่มีมากหน้าหลายตาทั้งผู้ประกอบการร่มเตียง ธุรกิจเรือท่องเที่ยว หาบเร่แผงลอย นักท่องเที่ยว เขาเหล่านั้นคิดเห็นอย่างไรกับการเติมทรายชายหาดพัทยาในครั้งนี้ นิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ ม.เกษตรศาสตร์ ได้ลงพื้นที่สัมภาษณ์ความคิดเห็นในช่วงเดือนตุลาคม 2562 ลองไปฟังมุมมองเหล่านั้นกัน ลุงทอง คนขับเรือ หลังเติมทรายชายหาดกว้างขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อการลากเรือ ปริมาณทรายที่เติมไม่ควรเติมน้อยกว่านี้ เมื่อเกิดน้ำท่วมน้ำจะไหลพาทรายลงทะเลทำให้ปริมาณลดลงเป็นช่วง ๆ  นักท่องเที่ยวมีจำนวนเท่าเดิม พี่จิม ขายสัปปะรด เทียบกับแต่ก่อนเติมทรายชายหาด คนน้อยลงมากเนื่องจากเศรษกิจของประเทศไทย ทำให้ค้าขายได้ยากขึ้น แต่สภาพชายหาดมีความกว้างและสวยงามมากขึ้น พี่วิเชียร Lifeguard หลังเติมทราย ชายหาดดูสวยขึ้น บางช่วงเกิดการกัดเซาะเยอะ นักท่องเที่ยวเท่าเดิม ช่วงฝนตกทรายจะไหลลงทะเล เมื่อฝนหยุดตกจะมีรถไถทรายกลับคืน ป้าจื้ด ร้านขายน้ำ เช่าเตียง เติมทรายกำลังดี มีที่ให้นักท่องเที่ยวได้เดินเล่น นักท่องเที่ยวเดินเล่น คนขายของลดลง เพราะเทศกิจ ลุงพล ขายน้ำ หลังเติมทรายนักท่องเที่ยวมากขึ้น หาดสวยงามมากขึ้น สบายตา แต่นักท่องเที่ยวไปหาดจอมเทียนมากกว่า พี่เล็ก คนขับเรือสปีดโบ้ทท่องเที่ยว หลังเติมทรายหาดดูกว้างขึ้น สวย […]

Beachlover

January 2, 2020

ปากแม่น้ำ (Estuary)

เนื้อหาเกือบทั้งหมดมาจากหนังสือ “มหัศจรรย์ใต้ทะเล” ซึ่งแปลมาจากหนังสือ Wonder of the sea รูปจาก Google earth ปากแม่น้ำ ปากแม่น้ำ (estuary) คือ อ่าวหรือพื้นน้ำบริเวณชายฝั่งทะเลที่น้ำจืดและน้ำเค็มมีการไหลเข้าหากันและผสมกัน จนค่าความเค็มบริเวณปากแม่น้ำค่อยๆเพิ่มขึ้นจนใกล้เคียงกับค่าความเค็มของมหาสมุทรบริเวณนั้น ตัวอย่างของปากแม่น้ำในประเทศไทยเช่น ปากแม่น้ำเจ้าพระยา จ.สมุทรปราการ และปากแม่น้ำบางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา โดยน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาและบางปะกง จะไหลลงสู่ทะเลอ่าวไทยโดยผ่านทางปากแม่น้ำทั้งสองแห่งนี้   ปากแม่น้ำมีความสำคัญเนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดของผลผลิตทางชีวภาพจำนวนมหาศาล โดยเฉพาะพวกแพลงก์ตอน สิ่งมีชีวิตทางทะเลหลายชนิดที่พบอยู่มากมายในปากแม่น้ำ ซึ่งไม่ปรากฏอยู่ในที่อื่นใดบนโลกเลย มหาสมุทรต้องพึ่งพาอาศัยสิ่งมีชีวิตเหล่านี้  และต้องพึ่งพาปากแม่น้ำด้วยในฐานะที่เป็นเครื่องจักรทางชีวภาพที่ขับเคลื่อนผลผลิตข้างต้นสู่มหาสมุทร นอกจากนี้ปากแม่น้ำยังเป็นตำแหน่งของชายฝั่งที่อยู่ในอ้อมกอดของมหานคร แต่กลับกลายเป็นที่ที่ผู้คนอยากถมทิ้ง ทั้งพื้นโคลนและต้นหญ้าแห่งท้องทะเลหรือแพลงก์ตอน เพื่อให้ได้มีพื้นที่สำหรับสร้างที่พักอาศัย ท่าเรือ หรือย่านการค้าธุรกิจมากขึ้น ปากแม่น้ำกลายเป็นที่ทิ้งขยะ สารมลพิษทั้งหลายที่ผู้คนไม่ต้องการ ปากแม่น้ำคือจุดบรรจบของความขัดแย้งที่ล่อแหลมที่สุดระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เราลืมไปว่าปากแม่น้ำคือแหล่งทรัพยากรธรรมชาติอันล้ำค่าที่สุด  ทว่าเปราะบางที่สุด และเป็นแหล่งทรัพยากรที่ถูกรุกล้ำและทำลายจากการกระทำของมนุษย์มากกว่าแหล่งทรัพยากรใดๆ      

Beachlover

December 5, 2019

การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ

Click ที่ชื่อเรื่องจะนำไปสู่บทความวิชาการฉบับเต็มภาษาไทย การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ   บทคัดย่อ การศึกษาด้านตะกอนชายฝั่งทะเลในประเทศไทยนับว่ามีอย่างจำกัด โดยทั่วไปเป็นการศึกษาในขั้นตอนความเหมาะสมเพื่อ วางแผนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยดำเนินการสำรวจในระยะเวลาสั้นๆ ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการเคลื่อนตัวของตะกอนมีอิทธิพลมาจากคลื่น การทราบถึงความสัมพันธ์นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาด้านวิศวกรรมชายฝั่งทะเลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกันตะกอนทรายต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การ กระจายตัวของตะกอนทรายบริเวณชายหาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายกับระยะห่างจาก ชายฝั่ง โดยการเก็บตัวอย่างทรายจำนวน 100 ตัวอย่าง ใน 10 แนวสำรวจ บริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี มาทดสอบใน ห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า บริเวณแนวคลื่นแตกตัวซึ่งมีลักษณะรูปตัดชายหาดเป็นแอ่งนั้น มีขนาดเฉลี่ยของตะกอน ทรายสูงกว่าบริเวณอื่นในทุกแนวสำรวจ และแนวโน้มขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายจะลดลงเมื่อระยะห่างจากฝั่งมากขึ้น ผลการ ศึกษานี้เป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในด้านวิศวกรรมชายฝั่ง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต่อไป

Beachlover

August 31, 2019

แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง?

บทความนี้เคยถูกเผยแพร่ในเวบ TCIJ แล้วเมื่อ 16 ส.ค.2562 (https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314) แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง? ประเทศไทยมี ‘โครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ’ แต่น่าแปลกไหมที่โครงสร้างเหล่านั้นกลับเป็นต้นเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งเสียเอง พบบางแห่งกลับมีโครงสร้างป้องกันทับซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งป้องกันได้เฉพาะพื้นที่แต่ไปสร้างปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ใกล้เคียงถัดไป พบในต่างประเทศนอกเหนือจากใช้โครงสร้างป้องกันแล้ว หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไทยเผชิญภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 705 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลประเทศไทยใน 23 จังหวัด กำลังเผชิญกับภัยจากการกัดเซาะประมาณ 705 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 22% ของชายฝั่งทะเลรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,151 กิโลเมตร [1] โดยมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ยิ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานริมชายฝั่งทะเลมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การเข้าถึงชายฝั่งทะเลนั้นยิ่งง่าย ส่งเสริมให้เกิดการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะเฉพาะของชายฝั่งทะเลที่เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำทะเล ผืนดิน และอากาศ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในน้ำ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของตะกอนบนชายหาดทั้งหาดหิน หาดโคลน และหาดทราย ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล สำหรับประเทศไทยมีใช้ผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่งรวมมูลค่าถึง 7.5 ล้านล้านบาทต่อปี จากชายฝั่งทะเลกว่า 3,151 กิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเลกว่า 323,490 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 60% ของพื้นที่ทางบก […]

Beachlover

August 30, 2019

แหล่งที่มาของตะกอนบนชายหาดนั้นมีหลากหลาย

ลักษณะที่แตกต่างกันของชายหาดเป็นผลมาจากประเภทของวัสดุที่มาหล่อเลี้ยงหรือสร้างชายหาด รวมถึงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลต่อชายหาดบริเวณนั้นๆ วัสดุที่เป็นตัวกำเนิดชายหาดนั้นมีที่มาที่แตกต่างกัน โดยอาจปะปนมากับลำน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล  พัดพามาโดยแรงลม ถูกเคลื่อนย้ายโดยคลื่นและกระแสน้ำชายฝั่งทะเล อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆรวมถึงกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ตะกอนที่มาหล่อเลี้ยงชายหาดมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งขนาดและปริมาณ สำหรับชายหาดบางแห่งเราอาจพบตะกอนทรายหยาบสีน้ำตาล ในขณะที่บางแห่งเราอาจพบทรายละเอียดสีขาว เป็นต้น เวลาไปชายหาดครั้งต่อไป  ลองสังเกตตะกอนบนชายหาดกันดู จะเพลินไม่น้อย

Beachlover

August 6, 2019

ชายหาดมีฤดูกาล

ช่วงคลื่นลมสงบชายหาดจะกว้าง ส่วนในช่วงฤดูมรสุมชายหาดจะแคบลง บางส่วนของชายหาดอาจถูกกัดเซาะเนื่องจากช่วงมรสุมระดับน้ำทะเลจะยกตัวสูงขึ้นกว่าฤดูกาลปกติ คลื่นจะนำเอามวลทรายหน้าหาดออกไปทับถมนอกชายฝั่ง จากนั้นช่วงปลอดมรสุมชายหาดจะกลับมาเหมือนเดิมก่อนมรสุม และวนเวียนแบบนี้เป็นวัฏจักรตราบเท่าที่สมดุลชายหาดไม่ถูกแทรกแซง หากเราไม่เข้าใจว่าชายหาดมีฤดูกาลแล้วเข้าไปพัฒนาพื้นที่ริมชายหาดมากจนเกินไป ในช่วงฤดูมรสุมอาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ มนุษย์ควรตระหนักถึงประเด็นนี้และไม่เข้าไปรุกล้ำพื้นที่ชายหาดมากจนเกินไป เพื่อเปิดพื้นที่ให้กระบวนการชายฝั่งได้ปรับสมดุลตามธรรมชาติ

Beachlover

August 1, 2019

การระบายน้ำลงชายหาดส่งผลอย่างไร?

ปลายทางของน้ำฝนและน้ำเสียในประเทศไทยที่ทั้งผ่านและไม่ผ่านกระบวนการบำบัดนั้นล้วนแล้วแต่ไหลลงทะเลทั้งสิ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและสัตว์หน้าดินได้ และถึงแม้ว่าคุณภาพน้ำที่ถูกปล่อยลงทะเลจะไม่มีปัญหา แต่การที่น้ำจืดไหลลงทะเลมากเกินไปและในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้สัตว์ทะเลเกิดอาการน็อคน้ำจืดได้ อย่างที่เคยเกิดมาแล้วแถบอ่าวไทยตอนบนเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 การระบายน้ำผ่านท่อระบายน้ำริมชายฝั่งทะเลยังส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดเป็นร่อง เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดและริมทะเลหากร่องน้ำนั้นใหญ่และลึก และจะยิ่งส่งผลกระทบหนักมากหากน้ำที่ถูกระบายผ่านท่อมีคุณภาพไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคและส่งผลให้มาตรการเติมทรายเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมีประสิทธิภาพน้อยลงอีกด้วย

Beachlover

July 31, 2019
1 8 9 10 11