การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ

Click ที่ชื่อเรื่องจะนำไปสู่บทความวิชาการฉบับเต็มภาษาไทย การกระจายตัวของขนาดเม็ดทรายบริเวณชายหาดชะอำ   บทคัดย่อ การศึกษาด้านตะกอนชายฝั่งทะเลในประเทศไทยนับว่ามีอย่างจำกัด โดยทั่วไปเป็นการศึกษาในขั้นตอนความเหมาะสมเพื่อ วางแผนโครงการพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเล และการก่อสร้างโครงสร้างทางวิศวกรรม โดยดำเนินการสำรวจในระยะเวลาสั้นๆ ในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการเคลื่อนตัวของตะกอนมีอิทธิพลมาจากคลื่น การทราบถึงความสัมพันธ์นี้ จะเป็นประโยชน์ต่อการ ศึกษาด้านวิศวกรรมชายฝั่งทะเลในเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกันตะกอนทรายต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การ กระจายตัวของตะกอนทรายบริเวณชายหาด และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายกับระยะห่างจาก ชายฝั่ง โดยการเก็บตัวอย่างทรายจำนวน 100 ตัวอย่าง ใน 10 แนวสำรวจ บริเวณชายหาดชะอำใต้ จ.เพชรบุรี มาทดสอบใน ห้องปฏิบัติการ ผลการศึกษาพบว่า บริเวณแนวคลื่นแตกตัวซึ่งมีลักษณะรูปตัดชายหาดเป็นแอ่งนั้น มีขนาดเฉลี่ยของตะกอน ทรายสูงกว่าบริเวณอื่นในทุกแนวสำรวจ และแนวโน้มขนาดเฉลี่ยของตะกอนทรายจะลดลงเมื่อระยะห่างจากฝั่งมากขึ้น ผลการ ศึกษานี้เป็นแนวทางเบื้องต้นเพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในด้านวิศวกรรมชายฝั่ง และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ต่อไป

Beachlover

August 31, 2019

แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง?

บทความนี้เคยถูกเผยแพร่ในเวบ TCIJ แล้วเมื่อ 16 ส.ค.2562 (https://www.tcijthai.com/news/2019/8/scoop/9314) แก้ปัญหากัดเซาะชายฝั่งทะเลไทย … ยิ่งแก้-ยิ่งพัง? ประเทศไทยมี ‘โครงสร้างเพื่อป้องกันไม่ให้ชายฝั่งทะเลถูกกัดเซาะ’ แต่น่าแปลกไหมที่โครงสร้างเหล่านั้นกลับเป็นต้นเหตุของการกัดเซาะชายฝั่งเสียเอง พบบางแห่งกลับมีโครงสร้างป้องกันทับซ้อนกันในพื้นที่เดียวกัน บางแห่งป้องกันได้เฉพาะพื้นที่แต่ไปสร้างปัญหาการกัดเซาะในพื้นที่ใกล้เคียงถัดไป พบในต่างประเทศนอกเหนือจากใช้โครงสร้างป้องกันแล้ว หลายประเทศหันมาให้ความสนใจกับมาตรการที่เป็นมิตรกับธรรมชาติ ไทยเผชิญภัยจากการกัดเซาะชายฝั่งกว่า 705 กิโลเมตร ชายฝั่งทะเลประเทศไทยใน 23 จังหวัด กำลังเผชิญกับภัยจากการกัดเซาะประมาณ 705 กิโลเมตร หรือคิดเป็น 22% ของชายฝั่งทะเลรวมกันทั้งหมดประมาณ 3,151 กิโลเมตร [1] โดยมีสาเหตุทั้งจากธรรมชาติและจากกิจกรรมของมนุษย์ ยิ่งมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานริมชายฝั่งทะเลมากเท่าไหร่ ยิ่งส่งผลให้การเข้าถึงชายฝั่งทะเลนั้นยิ่งง่าย ส่งเสริมให้เกิดการตั้งถิ่นฐานอาศัยอยู่ริมชายฝั่งทะเลเพิ่มมากยิ่งขึ้น ด้วยลักษณะเฉพาะของชายฝั่งทะเลที่เป็นรอยต่อระหว่างผืนน้ำทะเล ผืนดิน และอากาศ จึงเป็นแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ทั้งบนบกและในน้ำ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูงซึ่งแตกต่างกันไปตามลักษณะของตะกอนบนชายหาดทั้งหาดหิน หาดโคลน และหาดทราย ทำให้เกิดแหล่งทรัพยากรธรรมชาติและแหล่งอาหารที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจมหาศาล สำหรับประเทศไทยมีใช้ผลประโยชน์ทางทะเลและชายฝั่งรวมมูลค่าถึง 7.5 ล้านล้านบาทต่อปี จากชายฝั่งทะเลกว่า 3,151 กิโลเมตร และพื้นที่ทางทะเลกว่า 323,490 ตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็น 60% ของพื้นที่ทางบก […]

Beachlover

August 30, 2019

แหล่งที่มาของตะกอนบนชายหาดนั้นมีหลากหลาย

ลักษณะที่แตกต่างกันของชายหาดเป็นผลมาจากประเภทของวัสดุที่มาหล่อเลี้ยงหรือสร้างชายหาด รวมถึงกระบวนการทางชายฝั่งทะเลที่มีอิทธิพลต่อชายหาดบริเวณนั้นๆ วัสดุที่เป็นตัวกำเนิดชายหาดนั้นมีที่มาที่แตกต่างกัน โดยอาจปะปนมากับลำน้ำที่ไหลลงสู่ทะเล  พัดพามาโดยแรงลม ถูกเคลื่อนย้ายโดยคลื่นและกระแสน้ำชายฝั่งทะเล อิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง และปรากฏการณ์ทางธรรมชาติอื่นๆรวมถึงกิจกรรมของมนุษย์ ทำให้ตะกอนที่มาหล่อเลี้ยงชายหาดมีลักษณะที่แตกต่างกันทั้งขนาดและปริมาณ สำหรับชายหาดบางแห่งเราอาจพบตะกอนทรายหยาบสีน้ำตาล ในขณะที่บางแห่งเราอาจพบทรายละเอียดสีขาว เป็นต้น เวลาไปชายหาดครั้งต่อไป  ลองสังเกตตะกอนบนชายหาดกันดู จะเพลินไม่น้อย

Beachlover

August 6, 2019

ชายหาดมีฤดูกาล

ช่วงคลื่นลมสงบชายหาดจะกว้าง ส่วนในช่วงฤดูมรสุมชายหาดจะแคบลง บางส่วนของชายหาดอาจถูกกัดเซาะเนื่องจากช่วงมรสุมระดับน้ำทะเลจะยกตัวสูงขึ้นกว่าฤดูกาลปกติ คลื่นจะนำเอามวลทรายหน้าหาดออกไปทับถมนอกชายฝั่ง จากนั้นช่วงปลอดมรสุมชายหาดจะกลับมาเหมือนเดิมก่อนมรสุม และวนเวียนแบบนี้เป็นวัฏจักรตราบเท่าที่สมดุลชายหาดไม่ถูกแทรกแซง หากเราไม่เข้าใจว่าชายหาดมีฤดูกาลแล้วเข้าไปพัฒนาพื้นที่ริมชายหาดมากจนเกินไป ในช่วงฤดูมรสุมอาจเกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ มนุษย์ควรตระหนักถึงประเด็นนี้และไม่เข้าไปรุกล้ำพื้นที่ชายหาดมากจนเกินไป เพื่อเปิดพื้นที่ให้กระบวนการชายฝั่งได้ปรับสมดุลตามธรรมชาติ

Beachlover

August 1, 2019

การระบายน้ำลงชายหาดส่งผลอย่างไร?

ปลายทางของน้ำฝนและน้ำเสียในประเทศไทยที่ทั้งผ่านและไม่ผ่านกระบวนการบำบัดนั้นล้วนแล้วแต่ไหลลงทะเลทั้งสิ้น ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสัตว์ทะเลและสัตว์หน้าดินได้ และถึงแม้ว่าคุณภาพน้ำที่ถูกปล่อยลงทะเลจะไม่มีปัญหา แต่การที่น้ำจืดไหลลงทะเลมากเกินไปและในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้สัตว์ทะเลเกิดอาการน็อคน้ำจืดได้ อย่างที่เคยเกิดมาแล้วแถบอ่าวไทยตอนบนเมื่อครั้งเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 การระบายน้ำผ่านท่อระบายน้ำริมชายฝั่งทะเลยังส่งผลให้เกิดการกัดเซาะชายหาดเป็นร่อง เกิดอันตรายต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่ชายหาดและริมทะเลหากร่องน้ำนั้นใหญ่และลึก และจะยิ่งส่งผลกระทบหนักมากหากน้ำที่ถูกระบายผ่านท่อมีคุณภาพไม่เหมาะสม นอกจากนี้ยังเป็นอุปสรรคและส่งผลให้มาตรการเติมทรายเพื่อแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งนั้นมีประสิทธิภาพน้อยลงอีกด้วย

Beachlover

July 31, 2019

การสำรวจตะกอนชายฝั่งทะเล หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา

Click ที่ชื่อเรื่องเพื่อนำไปสู่บทความฉบับเต็มภาษาไทย การสำรวจตะกอนชายฝั่งทะเล หาดชลาทัศน์ จังหวัดสงขลา

Beachlover

July 28, 2019

การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Click ที่ชื่อบทความเพื่อนำไปสู่บทความฉบับเต็ม ภาษาไทย การติดตามการเปลี่ยนแปลงสภาพชายหาด อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนชายฝั่ง

Beachlover

July 26, 2019

การขึ้นลงของระดับน้ำทะเลแต่ละพื้นที่นั้นไม่เหมือนกัน

การขึ้นลงของน้ำทะเลนั้นเป็นไปตามการเคลื่อนที่และแรงดึงดูดของดวงจันทร์ โลก และดวงอาทิตย์ โดยแต่ละสถานที่บนโลกที่มีตำแหน่งแตกต่างกันจะเกิดการขึ้นลงของระดับน้ำทะเลที่ไม่เหมือนกัน ทั้งรูปแบบ พิสัยและเวลา แม้ในประเทศไทยเอง การขึ้นลงของน้ำทะเลในแต่ละชายหาดก็แตกต่างกัน ในขณะที่ชายหาดหนึ่งน้ำกำลังขึ้น อีกชายหาดหนึ่งน้ำทะเลอาจกำลังลง บางพื้นที่เกิดน้ำขึ้นลงสองครั้งต่อวันหรือเรียกว่าน้ำคู่ ในขณะที่อีกพื้นที่หนึ่งเกิดเพียงหนึ่งครั้งต่อวันซึ่งเรียกว่าน้ำเดี่ยว หรืออาจเกิดการขึ้นลงของน้ำสองครั้งต่อวันแต่มีค่าการขึ้นลงแต่ละครั้งไม่เท่ากันที่เรียกว่าน้ำผสม นอกจากนั้นพิสัยการขึ้นลงของน้ำ หรือความแตกต่างกันระหว่างน้ำขึ้นและลงก็ยังต่างกันไปตามแต่ละที่ด้วย ลักษณะการขึ้นลงของน้ำ ณ สถานีวัดระดับน้ำของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ (ที่มา:  กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง, 2557)

Beachlover

July 25, 2019

ลอนทรายที่เห็นบนชายหาดคือผลผลิตจากคลื่น

ลอนทรายบนชายหาดปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจนมากขึ้นยามน้ำลง ร่องรอยที่ทิ้งไว้นี้เกิดขึ้นจากการเคลื่อนตัวของคลื่นเข้าสู่ชายหาด ด้วยลักษณะของคลื่นน้ำที่เป็นลอน จึงก่อให้เกิดการเคลื่อนที่ของทรายในลักษณะที่ล้อกันไปตามรูปแบบของคลื่นน้ำ เราสามารถพบเห็นลักษณะนี้ใต้ผิวน้ำในบริเวณน้ำตื้นได้เช่นกัน

Beachlover

July 25, 2019

จุดเริ่มต้นของกระบวนการทางชายฝั่งทะเลคืออากาศ

ลมก่อให้เกิดคลื่น ซึ่งเกิดจากแรงเสียดทานระหว่างการเคลื่อนที่ของลมและผิวน้ำทะเล ส่งผลให้ผิวหน้าน้ำทะเลเกิดการปั่นป่วนและเปลี่ยนแปลงรูปแบบ จากผิวน้ำทะเลราบเรียบเกิดการกระเพื่อมจนเกิดเป็นคลื่นในที่สุด น้ำทะเลจะส่งต่อพลังงานจากกระบวนการนี้ทำให้คลื่นเคลื่อนที่เข้าสู่ชายฝั่ง  ก่อให้เกิดกระแสน้ำที่ทำให้ตะกอนเคลื่อนที่ โดยขนาดของคลื่นขึ้นอยู่กับ ความเร็วลม ระยะเวลาที่ลมพัดบนผิวน้ำทะเล และ ขนาดของพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากลมนี้ื  

Beachlover

July 16, 2019
1 9 10 11 12