ชาวดอนทะเล ต.คันธุลี สุราษฎร์ธานี ติดตามสภาพชายหาดก่อนเข้ามรสุม

ที่มาข่าว: https://www.facebook.com/greensouthfoundation/ 30 พฤศจิกายน 2565 ชาวดอนทะเล ต.คันธุลี สุราษฎร์ธานี ติดตามสภาพชายหาดก่อนเข้ามรสุม ด้วยวิธี Water Level เพื่อเป็นฐานข้อมูลสภาพชายหาดของชุมชน. การเก็บข้อมูลติดตามสภาพชายหาด เป็นกระบวนการชุมชนเพื่อสร้าง “Citizen Science” หรือนักวิทยาศาสตร์พลเมือง มีการใช้เครื่องมือติดตามสภาพชายหาดที่พัฒนาโดย ดร.สมปรารถนา ฤทธิ์พริ้ง ม.เกษตรศาสตร์ ด้วยวิธี Water Level ในการวัดรูปตัดชายหาด ใช้หลักการของระดับน้าในสายยาง ที่จะรักษาระดับคงที่เสมอ ก่อนบันทึกข้อมูลลงแอพพลิเคชั่น BMON บนโทรศัพท์มือถือทั้งข้อมูลระดับ มุมลาดเอียงชายหาด และภาพถ่าย 4 ทิศ ในแต่ละตำแหน่งที่สำรวจ หาดดอนทะเล ต.คันธุลี อ.ท่าชนะ จ.สุราษฎร์ธานี เป็นพื้นที่ต้นแบบของการลุกขึ้นปกป้องชายหาดจากโครงการก่อสร้างกำแพงกันคลื่นได้สำเร็จเป็นที่แรกของประเทศไทย โดยไม่มีการตอกเสาเข็มโครงการ ไม่มีการฟ้องร้องคดี ปัจจัยสำคัญมาจากการเฝ้าระวังและติดตามสภาพชายหาดของชุมชนเป็นทุนเดิม เมื่อพบว่าชายหาดที่เคยกัดเซาะจนทำให้คนในชุมชนมีมติให้สร้างกำพกันคลื่น กลับคืนสภาพสู่ชายหาดสมดุล เป็นเพียงการกัดเซาะตามฤดูกาล จึงมีการยื่นหนังสือไปยังหน่วยงานต่างๆทั้งในระดับจังหวัด และกรมโยธาธิการแะละผังเมือง ให้ยกเลิกโครงการ เนื่องจากกำแพงกันคลื่นไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป ภายหลังการคัดค้านโครงการฯ ได้มีการสำรวจความคิดเห็นจากการสำรวจ 195 คน […]

Beachlover

December 1, 2022

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [22 พ.ค.2565]

ที่มา: https://www.facebook.com/SaveMuangngamBeach ครั้งที่ 24 กับการเก็บข้อมูลวัดหาด ของชาวบ้านม่วงงาม วันนี้ ชายหาดกว้างขึ้น มีทรายเพิ่มพูนขึ้นมาก บางพื้นที่มีวะเเตก คลื่นลมสงบ เหมาะกับการพักผ่อนหย่อนใจ และหาปลา และอื่นๆอีกมากมาย วันนี้ ทีม Save หาดม่วงงาม ทำหน้าที่ัวัดหาดครบ2ปี ระยะ 2ปีที่ผ่านมา ชายหาดบ้านเราไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย ซึ่งทำให้เรารู้ว่า ก่อนมรสุม และหลังมรสุม ระบบ ธรรมชาติไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงชายหาดเลย นอกเสียงจากฝีมือมนุษย์ ที่พยายามลุกล้ำธรรมชาติ ฝืนธรรมชาติ อยากพัฒนาแต่กลับกลายเป็นทำลายซึ่งจริงๆแล้วเรามองเห็นว่าธรรมชาติสร้างสมดุลของตัวมันเอง อย่าไปทำลายระบบธรรมชาติอีกเลย

Beachlover

May 23, 2022

กลุ่มประมงพื้นบ้านดอนสัก ร่วมเรียนรู้ระบบ ติดตามชายหาดโดยชุมชน

ที่มา: https://www.facebook.com/LaetaLaeTai/ กลุ่มประมงพื้นบ้านอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี สำรวจการกัดเซาะชายฝั่งช่วงฤดูมรสุม เพื่อบันทึกข้อมูลการติดตามชายหาดโดยชุมชน หวังใช้เป็นประโยชน์ในการจัดทำแผนพัฒนาชายหาดร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ. วันอาทิตย์ที่ผ่านมา (7 พ.ย.2564) กลุ่มประมงพื้นบ้านจาก 3 ตำบล ในอำเภอดอนสัก จ.สุราษฎร์ธานี รวม 30 คน ร่วมเรียนรู้ข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่ง และแนวทางการแก้ปัญหา ณ โรงเรียนวัดนทีวัฒนาราม ต.ชลคราม อ.ดอนสัก เพื่อทำความเข้าใจสภาพปัญหาพื้นที่ จากการแลกเปลี่ยนข้อมูล พบว่า ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งของ อ.ดอนสัก เริ่มต้นตั้งแต่มีนโยบายสัมปทานป่าชายเลน และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง ช่วง พ.ศ.2530 ทำให้เกิดการทำลายพื้นที่ป่ายเลน แปรสภาพเป็นบ่อเพาะเลี้ยงกุ้ง จนมาถึงยุทธศาสตร์ด้านการเชื่อมโยงเส้นทางการท่องเที่ยวและขนส่งน้ำมันทางทะเลระหว่างแผ่นดินใหญ่ กับ อ.เกาะสมุย อ.เกาะพงัน ส่งผลกระทบต่อการกัดเซาะชายฝั่งมาจนปัจจุบัน. จากนั้น ได้รวมกลุ่มกันทำการสำรวจพื้นที่ชายหาดบริเวณชายหาดบ้านพอด ต.ชลคราม ซึ่งใกล้กับพื้นที่กำแพงกันคลื่นแบบเรียงหิน รวมระยะทาง 1,800 เมตร จากคลองตั้ว ถึง The Tamarind รีสอร์ท มีเป้าหมายในการก่อสร้างเพื่อป้องกันชุมชน และพื้นที่จอดเรือของชุมชนบ้านพอด ปัจจุบันการกัดเซาะชายฝั่งนั้นเกิดขึ้นบริเวณด้านท้ายของกำเเพงกันคลื่นตั้งเเต่ […]

Beachlover

November 11, 2021

กิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องระบบติดตามชายหาด ระดับชุมชน [20 ต.ค. 2564]

Beach Lover ร่วมกับ Beach for life/ Save หาดม่วงงาม ร่วมกันจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เรื่องระบบติดตามชายหาดให้แก่ชุมชนชายฝั่ง พังสาย กระดังงา วัดกระ พังเที๊ย และหาดยายแคง จ.สงขลา ในวันพุธที่ 20 ตุลาคม 2564 โดยได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 5 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.สงขลา กิจกรรมนี้ เริ่มจากการให้ความรู้เรื่องสถานการณ์ชายหาดคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา การใช้มาตรการเพื่อการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งของหน่วยงานรัฐ ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความสำคัญของข้อมูล และการใช้ระบบติดตามข้อมูลชายหาดระดับชุมชน พร้อมกับการลงปฏิบัติเพื่อใช้อุปกรณ์และระบบในสนามจริง ณ ชายหาดม่วงงาม กิจกรรมนี้ เป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้กับชุมชนชายฝั่ง ให้มีความรู้ และรู้จักการติดตามข้อมูลเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งนี้เพื่อการจัดการพื้นที่ชายหาดในชุมชนของตนเองได้อย่างยั่งยืน

Beachlover

October 24, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [29 ส.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 29 ส.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 15 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมา พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/

Beachlover

August 30, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [24 ก.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 24 ก.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 14 แล้ว มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมา พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/ ทีมงาน Save หาดม่วงงาม ยืนยันจากการลงพื้นที่เก็บข้อมูลต่อเนื่องทุกเดือนว่า ชายหาดม่วงงามนั้นมีเสถียรภาพ โครงการกำเเพงกันคลื่นที่กรมโยธาฯ เคยอ้างว่าจำเป็นต้องสร้างมิฉะนั้นน้ำทะเลจะกัดเซาะมาถึงถนน ในวันนี้ผ่านไปปีกว่าแล้ว จากข้อมูลสำรวจยืนยันชัดเจนว่าหาดม่วงงามไร้การกัดเซาะชายฝั่งรุนเเรง หาดทรายกว้าง มีเเนวผักบุ้งทะเลขึ้นปกคลุม

Beachlover

July 26, 2021

กลุ่มเยาวชนสองล้อ ร่วมกันติดตามสภาพชายหาดหัวหิน [9 มิ.ย. 2564]

เยาวชนสองล้อรักษ์หาดสตูลชวนกันมาสำรวจติดตามสภาพชายหาดหัวหิน อ.ละงู จ.สตูล กลุ่มเยาวชนร่วมติดตามชายหาดทั้งช่วงปลอดมรสุม และช่วงมรสุม ทำให้สามารถสังเกตการเปลี่ยนเเปลงชายหาดตามธรรมชาติ เเละผลกระทบของกำเเพงกันคลื่นหาดบางศิลาได้อย่างชัดเจน โดยได้กำหนดจุดสำรวจรวม 3 ตำแหน่งตลอดเเนวชายหาดบ้านหัวหิน ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร พบว่า ตำแหน่งสำรวจที่ 3 นั้น มีการกัดเซาะชายฝั่งอย่างรุนเเรง อันเป็นผลมาจากกำเเพงกันคลื่นทางทิศเหนือ การกัดเซาะนี้เกิดขึ้นลึกกว่า 10 เมตร ความยาว กว่า50 เมตรตลอดเเนวชายหาด โดยทางกลุ่มเยาวชนยังคงติดตามเก็บข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อเรียนรู้สภาพชายหาดในชุมชนของตนเอง

Beachlover

June 15, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดมหาราช [5 มิ.ย.2564]

จากที่ Beach lover และ เครือข่าย Beach for life ได้เปิดห้องเรียนชายหาด ติดอาวุธทางปัญญาให้กับชุมชนชายฝั่ง ณ ชายหาดมหาราช อ.สทิงพระ จ.สงขลา เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา และได้มีการติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดครั้งแรกในเดือนมีนาคม (https://beachlover.net/เปิดพื้นที่การเรียนรู้แห่งใหม่-ณ-ชายหาดมหาราช/) มาวันนี้ ชาวบ้านริมหาดมหาราชได้ลงมือติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดอีกครั้ง นับว่าเป็นครั้งที่ 2 ตั้งแต่ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบติดตามชายหาดด้วย Application BMON โดยข้อมูลที่ได้นี้จะถูกจัดการอย่างเป็นระบบในคลังข้อมูลสำรวจ เพื่อให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของชายหาดในแต่ละฤดูกาลต่อไป

Beachlover

June 6, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงาม [29 พ.ค.2564]

เครือข่าย Save หาดม่วงงาม ได้ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดม่วงงามต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกเดือน ตั้งแต่กลางปี 2563 ซึ่งครอบคลุมช่วง ก่อนมรสุม ช่วงมรสุม และปลายมรสุม โดยในวันที่ 29 พ.ค. 2564 ถือเป็นครั้งที่ 12 มีชาวบ้านม่วงงาม เเวะเวียนมาร่วมวัดหาด เรียนรู้การเก็บข้อมูลเพื่อยืนยันความสมบูรณ์ของหาดม่วงงาม สำหรับการติดตามสภาพชายหาดม่วงงามนั้น เป็นกิจกรรมที่ทำโดยระบบอาสาสมัครต่อเนื่องกันมาครบรอบ 1 ปีพอดี พร้อมๆกับวาระที่มีการนำคดีม่วงงามขึ้นส่งศาลปกครองจังหวัดสงขลา ติดตามเรื่องราวในคดีได้จาก โพสเก่าๆ โดยค้นหาจาก Search Icon ทางมุมขวาบนของเวบ และอ่านคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวได้จาก https://beachlover.net/คุ้มครอง-ม่วงงาม/

Beachlover

May 29, 2021

ติดตามการเปลี่ยนแปลงชายหาดตะโละกาโปร์ [30 เม.ย. 2564]

วันที่ 30 เมษายน 2564 ทีมเยาวชนในพื้นที่จังหวัดปัตตานี ได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลรูปตัดชายหาดตะโละกาโปร์ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อตรวจวัดการเปลี่ยนเเปลงของชายหาด ก่อนหน้านี้ สภาพชายหาดถูกกัดเซาะเพราะโครงสร้างอาคาร อบต.เก่า เเละต้นสนที่ล้ม ทำให้โครงสร้างเหล่านั้นเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดการกัดเซาะชายฝั่งหาดตะโละกาโปร์ ความยาว เกือบ 500 เมตร ในเดือนนี้ผ่านมรสุมไปเเล้ว เเต่ยังพบร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่งอันเป็นผลจากตัวกระตุ้นที่กล่าวมา เเละยังไม่ได้รับการเเก้ไข หรือรื้อถอนโครงสร้างที่รบกวนสมดุลชายฝั่งเเต่อย่างใด

Beachlover

May 2, 2021
1 2 4