กำแพงกันคลื่นที่จะเกิดขึ้นที่หาดแตงโม เกาะสุกร จ.ตรัง [13 พ.ย.2562]

ไม่เคยไปหาดแตงโม (Watermelon beach ในภาพจาก google earth) และไม่เคยไปเกาะสุกร จ.ตรัง สงสัยว่ามีการกัดเซาะระดับที่ชาวบ้านเดือดร้อนมากจนต้องใช้งบประมาณรวม 50 ล้านบาท (ปี 63 ใช้ 10 ล้านบาท) เพื่อสร้างกำแพงกันคลื่น 350 เมตร ขนาดนั้นเลยหรือ? ภาพจาก google แสดงให้เห็นถึงชายหาดธรรมชาติ บนเกาะที่มีความเป็น local สูง และแทบจะไม่มีชุมชนตั้งประชิดชายหาดเลย สังเกตเห็นร่องรอยลางๆของกำแพงอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของหาดแตงโม คำถามตัวโตๆ … เรามีความจำเป็นขนาดนั้นเลยหรือ ?!? (ที่มา:งบประมาณของกรมโยธาธิการและผังเมืองที่เสนอต่อสภาฯ)

Beachlover

November 13, 2019

ใกล้แล้ว! การมาถึงของโครงสร้างบางอย่าง ณ หาดมหาราช [5 พ.ย.2562]

หาดมหาราช หาดทรายชายทะเลที่สงบ ร่มรื่น และมีความเป็นส่วนตัวมาก หาดทรายขาวน้ำไม่ลึกมาก สามารถเล่นน้ำได้ดี มีชายหาดร่มรื่นด้วยทิวสน มีการจัดแต่งเป็นที่พักผ่อน ที่ชมทิวทัศน์ ให้ความสะดวกในการพักผ่อนที่กลมกลืนกับธรรมชาติพอสมควร ด้านหลังแนวหาดเป็นสวนหย่อมและเป็นที่ตั้งของอนุสาวรีย์ กรมหลวงชุมพรเขตรอุดมศักดิ์ ประทับยืนหันหน้าออกสู่ทะเล มีที่พัก ร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว (http://www.painaidii.com) ชายหาดแห่งนี้เคยมีการสร้างกำแพงกันดินเพื่อปรับภูมิทัศน์ไปแล้วหนึ่งครั้ง ซึ่งปัจจุบันกำแพงนั้นได้ถูกพืชชายหาดปกคลุมจนเกือบมิด นั่นย่อมแสดงให้เห็นว่า ชายหาดแห่งนี้ค่อนข้างเสถียร แทบไม่มีการเปลี่ยนแปลงเชิงกายภาพใดๆ แนวกำแพงกันดินเดิมริมชายหาด แม้ช่วงที่เกิดพายุซัดฝั่งอย่างพายุปาบึกเมื่อเดือนมกราคม 2562 จากการลงพื้นที่สำรวจก็ไม่ปรากฏร่องรอยของการกัดเซาะชายฝั่ง มีเพียงทรายที่ถูกคลื่นซัดขึ้นมาบนถนนและน้ำที่กระเซ็นข้ามมาด้านในเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แต่วันนี้ (พ.ย.2562) เริ่มเห็นเสาเข็มจำนวนมากมาวางริมชายหาด มีการปักหมุดเขตการก่อสร้าง อะไรซักอย่าง คาดเดาได้ว่าน่าจะเป็นกำแพงกันคลื่นที่จะวางตัวอยู่บนชายหาดอย่างแน่นอน   เราจะสร้างกำแพงทับลงไปบนชายหาดที่สมบูรณ์แบบนี้หรือ ?  เราต้องใช้โครงสร้างทางวิศวกรรมป้องกันชายหาดที่ไร้ร่องรอยการกัดเซาะด้วยหรือ ?                                     […]

Beachlover

November 13, 2019

ความคืบหน้างานเติมทรายหาดชลาทัศน์ สงขลา [5 พ.ย.2562]

ความคืบหน้างานเติมทรายหาดชลาทัศน์ สงขลา ยังคงอยู่บริเวณหน้าฐานทัพเรือ ก่อนถึงสนามยิงปืน โดรนสามารถบินเข้าใกล้ได้มากที่สุดเพียงเท่านี้ น่าติดตามว่า ลมมรสุมตะวันออกเฉียงกำลังจะเข้าสงขลาประมาณปลายเดือนนี้แล้ว หากยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ จะส่งผลกระทบอย่างไรต่อชายหาด ทั้งที่เติมไปแล้วและที่กำลังดำเนินการอยู่ รอติดตามอย่างใจเย็น

Beachlover

November 12, 2019

ล้นหลามขยะจากลอยกระทง ก่อนออกทะเลอ่าวไทยตัว ก [12 พ.ย.2562]

ที่มา: https://www.facebook.com/DMCRTH/ วันที่ ๑๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ กรม ทช. โดยสำนักงาน ทช.ที่๒ (ชลบุรี) ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาครัฐ ภาคเอกชน เครือข่ายจิตอาสา และภาคประชาชน ๑๕๐ คน จัดกิจกรรมอาสารักษ์สายน้ำ ลงเรือเก็บขยะในแม่น้ำเจ้าพระยา หลังวันลอยกระทง สายน้ำแห่งคุ้งบางกะเจ้า บริเวณวัดจากแดง ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ ได้ขยะ ๑,๑๗๐.๓ กก. หลังคัดแยกพบเป็นกระทง ๙๑๐ กก. ขยะพลาสติก ๑๕๘ กก. โฟม ๒๑ กก. ตะปู ๓.๕ กก. และขยะอื่นๆ ๗๗.๘ กก. ก่อนนำส่งเทศบาลนำไปกำจัดต่อไป  

Beachlover

November 12, 2019

ม.อ.แก้ปัญหาร่องน้ำบ้านน้ำเค็ม และหาดคึกคัก จ.พังงา ถูกกัดเซาะ [31 ตุลาคม 2562]

ที่มา: https://www.psu.ac.th/th/node/9246 ศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิจัยแนวทางบริหารจัดการร่องน้ำบ้านน้ำเค็ม และหาดคึกคัก จ.พังงา ฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่งบ้านน้ำเค็ม ตามวิถีชีวิตของชุมชน เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม ด้วยการนำทรายจากเหมืองเก่า ใน จ.พังงา มาเติมชายหาด และป้องกันการกัดเซาะด้วย ปะการังเทียม “โดมทะเล” ผศ.ดร.จุมพล ชื่นจิตต์ศิริ รองอธิการบดีฝ่ายกฎหมายและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พร้อมด้วย ผศ.ดร.ประภาศ เมืองจันทร์บุรี รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและชุมชนสัมพันธ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ รศ.ดร.มิตรชัย จงเชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผศ.ดร.นิเวศน์ อรุณเบิกฟ้า รองผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และ ผศ.พยอม รัตนมณี หัวหน้าโครงการฯ ร่วมกันแถลงข่าว โครงการทำการศึกษาวิจัยแนวทางในการบริหารจัดการปากร่องน้ำบ้านน้ำเค็ม จังหวัดพังงา เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2562 ที่ห้องประชุม สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ทั้งนี้การศึกษาวิจัยเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคม 2562 ถึงเดือนมีนาคม 2563 รวมเป็นระยะเวลา […]

Beachlover

November 12, 2019

กำแพงกันคลื่น หาดบางศิลา-บ้านหัวหิน จ.สตูล [3 พ.ย.2562]

หากขับรถผ่านถนเลียบหาดบางศิลา ต่อเนื่องมาถึงหาดบ้านหัวหิน จ.สตูล ยามนี้ จะมองทะเลไม่เห็นเลยเนื่องจากมีกำแพงกันคลื่นกั้นเกือบตลอดทั้งชายหาด เปิดทางลงชายหาดได้เป็นจุดๆเท่านั้น กำแพงกันคลื่นที่ว่านี้สร้างต่างเวลา ต่างวาระ ต่างรูปแบบ ปัจจุบันแนวกำแพงกันคลื่นยาวประมาณ 4.3 กิโลเมตร สร้างมาสุดที่หาดบ้านหัวหิน ตอนใต้ของหาดบางศิลา ซึ่งเหลือหาดทรายธรรมชาติอีกประมาณ 1 กิโลเมตรสุดท้าย ณ บริเวณสุดปลายกำแพงได้เกิดการกัดเซาะเข้ามาจนถึงถนนเลียบชายหาด เนื่องจากอิทธิพลของคลื่นที่เลี้ยวเบนบริเวณส่วนปลายของกำแพง นอกจากนั้นเมื่อคลื่นวิ่งเข้าปะทะกำแพงจะทำให้เกิดคลื่นสะท้อนเอาทรายด้านหน้ากำแพงออกไปนอกชายฝั่ง ส่งผลให้ระดับสันชายหาดลดต่ำลง ระดับน้ำด้านหน้ากำแพงกันคลื่นลึกขึ้น จนชายหาดด้านหน้ากำแพงหดหายไปในที่สุด และอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของกำแพงอีกด้วย   กลายเป็นว่า “ยิ่งสร้าง ยิ่งกัด”  “ยิ่งสร้าง ยิ่งพัง” หรือไม่ โดยทั่วไปวิศวกรเลือกใช้กำแพงกันคลื่นในกรณีที่พื้นที่ด้านในมีชุมชนหนาแน่น มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจในระดับสูงจนไม่สามารถรอให้ชายหาดปรับสมดุลตามธรรมชาติได้ ต้องใช้โครงสร้างป้องกันเท่านั้น และมีระดับการกัดเซาะที่เข้าข่ายวิกฤตต้องหาทางรับมือโดยด่วน แต่จากบริบทของพื้นที่ ไม่พบหลักฐานที่จะเป็นเหตุผลทางวิชาการใดที่เข้าข่าย “จำเป็น” ต้องลงมือดำเนินการก่อสร้างกำแพงกันคลื่น คำถามตัวโตๆสำหรับเรื่องราวนี้คือ กำแพงกันคลื่น ณ หาดบางศิลา ต่อเนื่องมาถึงหาดบ้านหัวหิน จ.สตูล ที่ดำเนินการไปแล้ว และกำลังดำเนินการเพิ่มเติมบางส่วนในตอนนี้ มีความ “จำเป็น” หรือไม่ ….. ใครตอบดี ?!?  

Beachlover

November 8, 2019

เปิดพื้นที่การเรียนรู้ ณ ชายหาดหัวหิน ละงู สตูล [3 พ.ย.2562]

ข้อมูลถูกผิดอย่างไร สามารถทราบได้ทันที สั่งให้แก้ไขได้โดยทันที วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงได้ทันที นี่หล่ะ Application ติดตามสภาพชายฝั่งทะเล BMON เปิดพื้นการเรียนรู้ใหม่กับน้องๆเยาวชนกลุ่มสองล้อ ณ หาดหัวหิน ละงู สตูล ร่วมกับกลุ่มแกนนำ Beach for life ถึงปัจจุบันนี้ เรามีเครือข่ายอาสาสมัครทั้งหมด 5 พื้นที่ ใน 3 จังหวัด และกำลังขยายเครือข่ายให้กระจายไปในชุมชนชายฝั่งทะเลให้มากยิ่งขึ้น เอาใจช่วยน้องๆไปพร้อมๆกันค่ะ

Beachlover

November 5, 2019

หาดหัวหิน ละงู จ.สตูล [3 พ.ย.2562]

หาดหัวหิน อ.ละงู สตูล หาดด้านหลังเกาะรังนกและเกาะลิดี มีกำแพงกันคลื่นเกือบตลอดแนวชายหาดทรายซึ่งยาวต่อเนื่องมาจากหาดบางศิลาจนถึงปากคลองทางตอนใต้ บริเวณนี้คือหาดทายธรรมชาติผืนสุดท้ายที่หลงเหลืออยู่ระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ชายหาดที่เหลืออยู่นี้ยังคงมี “สุขภาพดี” อยู่มาก หน้าหาดมีผักบุ้งทะเลปกคลุมผืนทราย ช่วยป้องกันการพัดพาของทรายโดยลม มีป่าชายหาดเป็นปราการทางธรรมชาติ ส่วนด้านในนั้นเป็นถนนเส้นเล็กๆที่ชาวบ้านใช้เดินทางเข้าออก ถัดจากส่วนนี้ไปทางทิศเหนือ กำลังมีโครงการก่อสร้างกำแพงบางส่วนเพิ่มเติมของหาดบางศิลา เราคงต้องลุ้นกันต่อไปว่า หาดธรรมชาติผืนสุดท้ายนี้จะยังคงความเป็นธรรมชาติแบบนี้อยู่ไปได้อีกนานเท่าใด คำถามสำคัญในการวิเคราะห์ว่าโครงการป้องกันชายฝั่งใดควรทำหรือไม่ คือ “ความจำเป็น” หากไม่ทำจะเกิดความเสียหายมากกว่า โดยสัดส่วนความเสียหายนั้นจะต้องถูก “ชั่งน้ำหนัก” กับผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นว่า “ได้สัดส่วน”กันหรือไม่ โดยต้องออกแบบแนวทางเลือกในการป้องกันที่เป็นไปได้ทั้งหมด เพื่อหา “แนวทางเลือกที่มีผลกระทบต่อธรรมชาติน้อยที่สุด” เกิด “ความขัดแย้งต่อการใช้ประโยชน์พื้นที่น้อยที่สุด” เมื่อนั้น มันจะเป็นแนวทางเลือกที่ผู้มีส่วนได้เสียยอมรับกันมากที่สุด “กำแพงกันคลื่น” คือ The best solution สำหรับพื้นที่นี้หรือไม่ ควรต้องถูกตอบก่อนการดำเนินโครงการผ่านการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม และรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนได้เสียผ่านเวทีประชาพิจารณ์ เมื่อกำแพงกันคลื่นไม่ต้องทำการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ปลายปี 2556 หน่วยงานที่รับผิดชอบจะตอบคำถามนี้อย่างไร?

Beachlover

November 5, 2019

เติมทรายชายหาดพัทยา มองเห็นอะไรเป็นบทเรียน [26 ต.ค.2562]

เขียนและเรียบเรียง โดย อภิศักดิ์ ทัศนี  เผยแพร่ใน https://www.facebook.com/Beach-for-life เมื่อ 22 ตุลาคม 2562 ———————————————————————————– ผมมีโอกาสเดินทางไปดูการเติมทรายที่ชายหาดพัทยา 2 ครั้ง ครั้งเเรก เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2561 ตอนนั้นโครงการเติมทรายชายหาดพัทยากำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ เเต่ใกล้จะเสร็จเเล้ว เราเห็นชายหาดพัทยาเหนือ ถึงพัทยากลาง มีการเติมทรายเเละเปิดให้ประชาชน นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการร่มเตียงได้ใช้พื้นที่ชายหาด เป็นภาพที่น่าประทับใจสำหรับผมนะ เพราะการเติมทรายพัทยา ถือเป็นการเติมทรายที่มีการศึกษา ออกเเบบ เเละดำเนินการได้จนเกือบจะเเล้วเสร็จ ภาพชายหาดที่กว้างยาวออกไป 35 เมตร จากเดิมที่มีชายหาดเพียงเเค่ 10-15 เมตร มันเป็นภาพที่เราประทับใจ เเละตื่นตาตื่นใจ รุ่งเช้าของอีกวันในการไปดูการเติมทรายชายหาดพัทยา ผมมีโอกาสได้พูดคุยกับผู้คุมงานโครงการเติมทราย ได้ฟังรายละเอียดการออกเเบบ วิธีการทำงาน การติดตามผลกระทบสิ่งเเวดล้อมในขณะดำเนินโครงการ เเละการประชาสัมพันธ์โครงการเพื่อสร้างการรับรู้เเละความร่วมมือจากประชาชน ผู้ประกอบการิมชายหาดพัทยา ครั้งเเรกนั้นผมมีข้อสรุปสั้นๆ เพื่อเป็นการย้อนเตือนความจำให้กับทุกท่านก่อน ที่จะพูดถึงสิ่งที่ได้ไปพบเห็น เรียนรู้จากการเดินทางไปดูโครงการเติมทรายครั้งที่ 2 ของผม เรียนรู้อะไรการเดินทางครั้งแรก การเติมทรายชายหาดพัทยา เป็นงานที่มีรายละเอียดเชิงเทคนิคค่อนข้างมาก […]

Beachlover

October 26, 2019
1 82 83 84 92